สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก "ปลูกฝี" สำคัญยังไง ยังจำเป็นอยู่ไหม

การปลูกฝีเคยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่โรคฝีดาษ (Smallpox) เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์ วัคซีนป้องกันฝีดาษซึ่งเริ่มต้นจากการปลูกฝี ไม่เพียงช่วยลดการเสียชีวิตนับล้านคนทั่วโลก แต่ยังนำไปสู่การประกาศกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523  อย่างไรก็ตาม ความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกฝีเริ่มจางหายไปเมื่อวัคซีนนี้ไม่ได้เป็นที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน บทความนี้จะพาผู้อ่านย้อนรอยความสำคัญของการปลูกฝีในอดีต และพิจารณาว่าการปลูกฝียังมีความจำเป็นในยุคสมัยใหม่หรือไม่ [embed-health-tool-vaccination-tool] ปลูกฝี ในอดีตเป็นอย่างไร? การปลูกฝีเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1796 โดย ดร.เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ผู้ค้นพบว่าวัคซีนจาก Cowpox สามารถป้องกันโรคฝีดาษได้ ทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนที่ใช้ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 จนนำไปสู่การประกาศว่าฝีดาษถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ในปี 1980 สำหรับประเทศไทย การปลูกฝีเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมักทิ้งรอยแผลเป็นเล็ก ๆ บริเวณหัวไหล่ หลังจากการกำจัดโรคฝีดาษอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2523 การปลูกฝีก็หยุดลง แต่กลับมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งในยุคที่โรคฝีดาษลิงระบาด โดยวัคซีนที่พัฒนาจากวัคซีน Smallpox เช่น JYNNEOS กำลังถูกศึกษาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ โรคฝีดาษลิงคืออะไร โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสในตระกูล Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษ (Smallpox) แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่โรคฝีดาษลิงมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อ ไวรัส Monkeypox ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในลิงในปี ค.ศ. 1958 และตรวจพบในมนุษย์ครั้งแรกในปี […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia)

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ คำจำกัดความไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ คืออะไร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ อาการของโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ จะไม่ได้ดีขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา แต่อาจทำให้เกิดปัญหาที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ด้วยเหตุผลนี้ แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษาอาการไส้เลื่อนที่เกิดการเจ็บปวดหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น โรคนี้ทำให้หน้าท้องนูนขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อไอ ก้มตัวลง หรือทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก หรืออาจขัดขวางการทำงานของระบบย่อยอาหาร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ พบบ่อยแค่ไหน ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเกิดได้กับคนทุกวัย การรักษาอาการของโรคสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ บางครั้งไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบอาจเกิดขึ้น โดยไม่ปรากฎอาการใดๆ หากลำไส้มีขนาดเล็ก คุณอาจไม่สังเกตเห็นหรือไม่รู้สึกเจ็บ ในบางกรณี อาจรู้สึกปวดหรือหน่วงบริเวณขาหนีบ โดยปกติ ลำไส้สามารถกลับสู่ภายในผนังช่องท้องได้ โดยการลดแรงดันที่ผนังช่องท้อง เช่น การเอนหลังหรือนอนราบ ปัญหาอาจเกิดขึ้น เมื่อลำไส้ติดค้างอยู่ที่ผนังช่องท้อง ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนในลำไส้ เนื้อเยื่อในลำไส้อาจตาย เนื่องจากไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ อาจเกิดการอุดตันในระบบขับถ่าย และหากลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษา อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ มีอาการผิดปกติหรือสังเกตอาการนูนบริเวณท้อง หากมีอาการปวดขณะก้ม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis)

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองประเภทหนึ่ง คำจำกัดความกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คืออะไร โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) ประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อร่วมประสาท (neuromuscular disorder) โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี ทำให้กล้ามเนื้อในดวงตา ใบหน้า ลำคอ แขน และขาอ่อนแอและอ่อนแรงลง อาการอ่อนแอที่มากที่สุด มักเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีแรก แล้วหลังจากนั้นจะอาการของโรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี จะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี พบได้บ่อยแค่ไหน ทุกคนสามารถเป็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เอ็มจีได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้พบได้มากที่สุดในผู้หญิงก่อนช่วงอายุ 40 ปีและในผู้ชายหลังช่วงอายุ 50 ปี คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณโปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีส่งผลให้เกิดอาการที่หลากหลาย ได้แก่ หายใจลำบาก เนื่องจากผนังกล้ามเนื้อหน้าอกอ่อนแรง เคี้ยวหรือกลืนลำบาก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome)

คำจำกัดความกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายคืออะไร กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome : SIRS) เป็นสัญญาณการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ เป็นการตอบสนองต่อการอักเสบโดยทั่วไป ในบางครั้ง เกิดความสับสนระหว่างกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง 2 อาการนี้ คือ การติดเชื้อ กล่าวคือ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาจเกิดหลังจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การขาดเลือด หรือการติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อการติดเชื้อแสดงอาการ ในขณะที่กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บในร่างกาย แต่เป็นความซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในร่างกาย ในกรณีของการติดเชื้อ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายสามารถกลายเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายพบบ่อยแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาการทั่วไปของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย มีดังนี้ อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) หรือต่ำกว่า 96.8 องศาฟาเรนไฮต์ (36 องศาเซลเซียส) อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 90 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจสูงกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดน้อยกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 เซลล์ หรือน้อยกว่า 4,000 เซลล์ บางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากพบสัญญาณอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) ตัวการร้าย (แอบ) ทำลายสุขภาพ

พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง พลังงานที่ร่างกายได้รับจากการกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งได้แก่ การกินของหวานหรืออาหารมัน เช่น แป้งทอดกรอบ  เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ พามาดูกันว่า พลังงานว่างเปล่ามีอะไรบ้าง และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ใครที่ชอบกินเมนูเหล่านี้ จะได้ตั้งสติก่อนกินให้ดี ไม่อย่างนั้น น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้น ปัญหาสุขภาพอาจมาเยือน พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) คืออะไร พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง อาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ให้พลังงานหรือมีปริมาณแคลอรี่ที่สามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ก่อนเลือกซื้ออาหารใด ๆ มาบริโภค อย่างไรก็ตาม เราควรฉลากผลิตภัณฑ์หรือฉลากอาหาร เพื่อดูว่าอาหารนั้น ๆ จัดอยู่ในประเภทพลังงานว่างเปล่าหรือไม่ โดยให้ตรวจสอบว่า มีปริมาณแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลสูงหรือเปล่า เนื่องจากแคลอรีที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่อยู่ในอาหาร 2 ประเภท ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีน้ำมัน รวมถึงไขมันที่เป็นก้อนแข็ง (Solid Fats) คือไขมันที่จะกลายเป็นก้อนแข็งที่อุณหภูมิห้อง เช่น […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน (Clonidine Suppression Test)

ข้อมูลพื้นฐานการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน คืออะไร การทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน (Clonidine Suppression Test) เป็นการทดสอบประเภทหนึ่ง เพื่อทดลองและคัดแยกการวินิจฉัยเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (phaeochromocytoma) ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และมีความเปลี่ยนแปลงก้ำกึ่งในเมตาโบไลท์พลาสมาแคทีโคลามีน (plasma catecholamines metabolites) หรือยูรินารีแคททีโคลามีน (urinary catecholamine metabolites) ยาโคลนิดีน (Clonidine) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ทำงานที่สมองโดยลดการทำงานของระบบประสาท (sympathetic tone) ซึ่งเป็นความรุนแรงของสัญญาณระบบประสาทไปยังต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla) ความจำเป็นในการ ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน เหตุผลในการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน มีดังนี้ เพื่อหาดูว่า ค่าระดับเริ่มต้นของพลาสมาแคทีโคลามีนที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากอะดรีเนอร์จิกมีมากเกินไปโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic hyperadrenergic state) หรือเพราะโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา ค่าของพลาสมาเมทาเนฟรีน (plasma metanephrines) และ/หรือพลาสมาแคทีโคลามีน ที่เพิ่มสูงขึ้นน้อยกว่า 4 เท่า ของขีดจำกัดสูงสุดของค่าปกติของการทดสอบที่กำหนด ในผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา หรือชนิดพาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) การทดสอบนี้ไม่ได้บ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีค่าผลการตรวจทางชีวเคมีของพลาสมา หรือปัสสาวะเป็นบวกอย่างชัดเจน สำหรับโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (แคททีโคลามีน หรือเมทาเนฟรีน หรือกรดวานิลลีแมนเดลิค [VMA]) การทดสอบนี้ไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีค่าเริ่มต้นเมทาเนฟรีน และนอร์เมทาเนฟรีน (แยกจากโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา) ที่ปราศจากพลาสมาเป็นปกติ ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน ไม่ควรพิจารณาการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีนเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการวินิจฉัยโรค การทดสอบนี้เป็นแค่วิธีหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัยโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลของการทดสอบนี้อาจสร้างความสับสนได้เช่นกัน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy)

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ ข้อมูลพื้นฐานตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ คืออะไร ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยกระบวนการตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น การใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (Core Needle Biopsy) การเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration หรือ FNA) การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อทั้งก้อนออกไปตรวจ (Excisional Biopsy) การตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจจะให้ตัวอย่างของเนื้อเยื่อเต้านม ที่แพทย์สามารถใช้เพื่อระบุและวินิจฉัยความผิดปกติในเซลล์ที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านม ความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม ข้อสงสัยหรือข้อกังวลที่พบจากการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) โดยผลจากการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมจะช่วยให้แพทย์บ่งชี้ได้ว่า จำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือการรักษาอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ ความจำเป็นในการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ สาเหตุของการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ มีดังนี้ คุณหรือแพทย์รู้สึกได้ถึงก้อนเนื้อในเต้านม และแพทย์สงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งเต้านม ผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม แสดงให้เห็นบริเวณที่น่าสงสัยในเต้านม สแกนด้วยอัลตราซาวด์แล้วพบสิ่งต้องสงสัย ตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่เต้านมแล้วพบสิ่งต้องสงสัย มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณหัวนม หรือรอบหัวนม ทั้งตกสะเก็ด ลอก มีรอบบุ๋ม หรือมีสารคัดหลั่งเป็นเลือด ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ ข้อมูลทั่วไปที่คุณควรทราบก่อนเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม […]


อาการของโรค

อาการเจ็บหน้าอก สัญญาณของหลายโรคร้ายที่ไม่ควรเพิกเฉย

อาการเจ็บหน้าอก เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉยด้วยประการทั้งปวง หลายคนมักคิดว่า อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหัวใจ แต่อาการนี้อาจบ่งชี้ถึงอาการโรคอื่นๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น โรคเกี่ยวกับปอด หลอดอาหาร ซี่โครง เส้นประสาท ล้วนนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกได้ บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก เพื่อที่คุณจะสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาได้ทันท่วงที อาการเจ็บหน้าอก คืออะไร อาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดขึ้นได้บริเวณตั้งแต่ลำคอ เรื่อยไปจนถึงหน้าท้องส่วนบน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกมีหลายระดับ คุณอาจรู้สึกเจ็บแปลบ ปวดตื้อๆ แสบร้อน ปวดหรือเจ็บเหมือนถูกแทง นอกจากนี้ คุณอาจมีความรู้สึกแน่นหน้าอก หรือมีความรู้สึกเหมือนถูกบีบที่กลางอก คุณควรเข้าพบหมอ หากเกิดอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดอาการเฉียบพลัน และอาการไม่หายไป แม้จะใช้ยาระงับอาการหรือปรับพฤติกรรมแล้วก็ตาม ในกรณีที่อาการเจ็บหน้าอกเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินทันที เกิดอาการแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนถูกบีบบริเวณใต้กระดูกหน้าอก เกิดปัญหาที่กราม แขนข้างซ้าย หรือหลังจากอาการเจ็บหน้าอก เกิดอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกพร้อมกับหายใจถี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน เจ็บหน้าอกพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นหรือหายใจถี่ มึนงง หน้าซีด เหงื่อออกมากผิดปกติ ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง หรืออัตราการเต้นของหัวใจต่ำมาก อาการเจ็บหน้าอก อาจเป็นสัญญาณของโรคเหล่านี้ โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจหลายโรคเป็นสาเหตุที่พบกันบ่อยของอาการเจ็บหน้าอก โรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแบบปวดเค้น อาการเจ็บหน้าอกประเภทนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ อาจกระจายไปสู่การเจ็บแขน ไหล่ กราม หรือหลังได้ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย เมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้ อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial Infarction) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis)

ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis) เป็นโรคที่ท่อน้ำดีในตับค่อยๆ ถูกทำลาย จนมีสารอันตรายสะสมในตับ และนำไปสู่การเกิดตับแข็ง ถือเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างหนึ่ง คำจำกัดความ โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ คืออะไร ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis) หรือที่บางครั้งเรียกว่า PBC เป็นโรคที่ท่อน้ำดีในตับค่อยๆ ถูกทำลาย น้ำดีเป็นของเหลวที่ตับผลิตขึ้น มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร และช่วยกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว คอเลสเตอรอล และสารพิษต่างๆ เมื่อท่อน้ำดีถูกทำลาย อย่างเช่นในกรณีของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ สารอันตรายอาจสะสมตัวอยู่ในตับ และบางครั้งก็นำไปสู่แผลเป็นในเนื้อเยื่อตับอย่างถาวร หรือที่เรียกว่าตับแข็ง โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ถือเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างหนึ่ง ซึ่งร่างกายจะหันมาโจมตีเซลล์ของตัวเอง นักวิจัยคิดว่ามันถูกกระตุ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ปกติแล้ว โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิจะพัฒนาขึ้นมาอย่างช้าๆ และการกินยาสามารถชะลออาการไม่ให้กำเริบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มต้นรักษาแต่เนิ่นๆ โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิพบบ่อยแค่ไหน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ อาการทั่วไปของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิคือ อาการคัน หรือคันอย่างรุนแรง เหนื่อยล้า ผิวเหลือง และบางส่วนของตาเป็นสีเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้องส่วนบนขวา ตาและปากแห้ง ช่องคลอดแห้ง หากตับของผู้ป่วยเสียหายอย่างรุนแรง อาจมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอาการท่อน้ำดีอักเสบ (Cholangitis) เช่น ของเหลวสะสมอยู่ในท้อง หรือภาวะมีน้ำในเยื่อบุช่องท้อง เลือดออกที่เส้นเลือดใหญ่ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและทวารหนัก หรือที่เรียกว่า เลือดออกที่หลอดเลือดขอด กระดูกบางก่อนวัยอันควร (โรคกระดูกพรุน) อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาว่า โรคนี้เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่งที่ร่างกายโจมตีเซลล์ของตนเอง โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิเกิดขึ้นได้อย่างไร การติดเชื้อของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ เริ่มต้นเมื่อเม็ดเลือดขาวชนิด T (T cells) […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจกรดยูริกในเลือด ข้อมูลพื้นฐาน และข้อควรรู้

ตรวจกรดยูริค หรือ การตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid Bolld Test) เป็นการระบุปริมาณของกรดยูริกที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด ซึ่งอาจช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกาย อาการของโรค รวมไปถึงเพื่อช่วยในการควบคุมระดับของกรดยูริคในเลือดสำหรับผู้ที่มีภาวะบางอย่าง เช่น เกาต์ นิ่ว หรือกำลังรับการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง [embed-health-tool-bmi] ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจกรดยูริกในเลือด คืออะไร การตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid Bolld Test) เป็นการระบุปริมาณของกรดยูริกที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด อาหารที่คุณรับประทาน และกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นวิธีทั่วไปในการสังเคราะห์กรดยูริก ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการกรองกรดยูริก ตามปกติแล้ว กรดยูริกจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ หรืออาจผ่านทางอุจจาระในบางกรณี บางครั้ง ระดับของกรดยูริกในเลือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือผลิตกรดยูริกออกมากเกินไป ผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป มักจะต้องทรมานกับอาการที่มีผลึกแข็งเกิดขึ้นภายในข้อต่อ อาการปวดแบบนี้มักเรียกว่าโรคเกาต์ (gout) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ผลึกกรดยูริกเหล่านี้อาจจะสมในข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้เกิดเป็นก้อนแข็งเรียกว่าโทฟี (tophi) ระดับกรดยูริกสูงยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไต หรือไตวายได้ ความจำเป็นในการ ตรวจกรดยูริกในเลือด ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับของกรดยูริกสูง หรือสงสัยว่าอาจมีอาการของโรคเกาต์ มักได้รับคำแนะนำให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังทำเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีบำบัด ก็มักจะต้องเข้ารับการตรวจนี้เช่นกัน เพื่อรักษาระดับของกรดยูริกให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ในบางกรณี สำหรับผู้ที่มีอาการนิ่วในไตกำเริบ หรือเป็นโรคเกาต์ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการเกิดนิ่ว ข้อควรรู้ก่อนตรวจ ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจกรดยูริกในเลือด การตรวจกรดยูริกในเลือด เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นเป็นโรคเกาต์หรือไม่ เพราะถึงแม้จะมีระดับของกรดยูริกสูง และมีอาการปวดข้อ ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับโรคเกาต์เสมอไป นอกจากนี้ ยังอาจมีการวัดระดับของกรดยูริกในปัสสาวะ […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการเสียวฟัน กับสาเหตุที่คุณนึกไม่ถึง และวิธีดีๆ ในการรับมือ

หากคุณมี อาการเสียวฟัน คุณจะมีอาการปวดฟัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ฟันสัมผัสกับสารหรืออุณหภูมิหนึ่งๆ เคลือบฟันเป็นปราการด่านแรกของฟันของคุณ หากเคลือบฟันเสียหาย ปลายเส้นประสาทจะเปิดออก ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเสียวฟัน มักเป็นผลมาจากเคลือบฟันที่ถูกทำลาย วันนี้…เราจะลองมาหาค้นหาสาเหตุ เพื่อป้องกันอาการเสียวฟันและดูแลรักษาฟันกัน สาเหตุของ อาการเสียวฟัน นิสัยการแปรงฟัน หากคุณแปรงฟันแรงเกินไป หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็ง เคลือบฟันของคุณอาจถูกทำลายลงได้ ทำให้เนื้อฟันเปิดออก และเกิดอาการเหงือกร่น เหงือกร่น ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์ มักมีอาการเหงือกร่น และเนื้อฟันเปิดออก เหงือกอักเสบ อาการเหงือกอักเสบอาจทำให้รากฟันเปิดออกได้ ฟันร้าว แบคทีเรียจากคราบพลัค อาจแทรกตัวเข้าไปตามรอยร้าวของฟันและทำให้เนื้อฟันอักเสบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีโพรงหนองและแม้กระทั่งมีอาการติดเชื้อได้ การบดฟันหรือการกัดฟัน นิสัยดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อฟันได้ ผลิตภัณฑ์ทำให้ฟันขาว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้สารเคมีที่รุนแรง เพื่อกำจัดรอยคราบบนฟัน อย่างไรก็ดี สารเคมีดังกล่าวยังอาจทำลายเคลือบฟันได้อีกด้วย พลัค การก่อตัวของคราบพลัคที่ฟัน การใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นเวลานาน กรดชนิดต่างๆ ที่พบได้ในน้ำยาบ้วนปากจำนวนมากที่วางจำหน่ายทั่วไป กรดเหล่านี้ทำให้อาการเสียวฟันที่เป็นอยู่แย่ลง และทำให้เนื้อฟันเสียหายมากยิ่งขึ้น หากคุณต้องการใช้น้ำยาบ้วนปาก ให้เลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารที่มีกรด อาหารดังกล่าวสามารถทำลายเคลือบฟันได้ทีละน้อย กระบวนการทันตกรรม กระบวนการทันตกรรมบางประการ เช่น การขูดหินปูน การรักษารากฟัน การครอบฟัน และกระบวนการรักษาฟันประเภทอื่นๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟันได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการเสียวฟันจะหายไปเองหลังจาก 4 ถึง 6 สัปดาห์ การรับมือกับอาการเสียวฟัน ปฏิบัติต่อฟันของคุณอย่างอ่อนโยน ห้ามแปรงฟันแรงเกินไป ไม่เช่นนั้นคุณอาจมีความเสี่ยงในการทำลายสารเคลือบฟันของคุณได้ การแปรงฟันไปๆ มาๆ ตามแนวขวางของฟัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน