สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

หมวดหมู่ สุขภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพ

อาการของโรค

9 สาเหตุของอาการ รอยช้ำ ที่ควรรู้

รอยช้ำ หรือ ฟกช้ำ คือการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอย และหลอดเลือดแดงที่อยู่ลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง จนเลือดมาคั่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนังชั้นนอก ทำให้เห็นเป็นรอยคล้ำดำเขียว รอยช้ำสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน คุณอาจเผลอเตะประตู เดินชนขาโต๊ะ ผ่านไปไม่นานบริเวณนั้นก็กลายเป็นรอยช้ำ แต่บางคนอาจมีรอยช้ำเกิดขึ้นบนร่างกาย โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นเช่นนั้น นั่นหมายความว่า คุณมีแนวโน้มเกิดรอยช้ำง่ายกว่าคนอื่น ซึ่งอาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ รอยช้ำ 1. อายุที่มากขึ้น เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ผิวหนังจะบางลง และสูญเสียชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ที่ทำหน้าที่เสมือนเบาะคอยรองรับแรงกระแทก ร่างกายผลิตคอลลาเจนลดลง อีกทั้งเส้นเลือดยังเปราะแตกง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณมีโอกาสเกิดรอยช้ำได้ง่ายขึ้น 2. การรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) ยาต้านเกล็ดเลือด (Anti-platelet drugs) ยาเจือจางเลือด (Blood thinner) หรืออาหารเสริมบางชนิด เช่น น้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย จะไปลดความสามารถในการแข็งตัวของเลือด และทำให้คุณเกิดรอยช้ำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) ก็เป็นสาเหตุให้หลอดเลือดบางลง และทำให้เกิดรอยช้ำง่ายขึ้นเช่นกัน หากคุณกินยาเหล่านี้แล้วพบรอยช้ำ อย่าหยุดกินยากะทันหัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ทันที 3. ฟกช้ำ จากการขาดวิตามินซี วิตามินซี เป็นสารอาหารที่จำเป็นในการเยียวยาและซ่อมแซมร่างกาย หากคุณได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทและอื่นๆ คำจำกัดความ แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้ออ่อนล้า กล้ามเนื้อกระตุก ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ ความดันเลือดต่ำ พูดหรือกลืนลำบาก อ่อนเพลีย มีอาการพาร์กินสัน จานประสาทตาบวม (Papilledema) อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ อาการชัก ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias) หัวใจวาย กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms) อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ ผิวแห้ง เล็บเปราะ มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย ภาวะสมองเสื่อม ต้อกระจก ผื่นผิวหนังอักเสบ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน การติดเชื้อ ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การนั่งเครื่องบิน กับปัญหาสุขภาพที่คุณอาจต้องเผชิญ

การนั่งเครื่องบิน หรือโดยสารเครื่องบินไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตยุคใหม่ จนหลายคนอาจไม่ทันฉุกคิดว่า การเดินทางเป็นระยะเวลานานๆ โดยต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากนั้น อาจส่งผลเสียสุขภาพของเราได้มากมายหลายด้าน เพราะฉะนั้นหากอยากให้การเดินทางของคุณ ไม่ว่าจะเพื่อการพักผ่อนหรือการทำงาน เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด Hello คุณหมอ อยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับปัญหาสุขภาพที่อาจต้องเจอ จากการเดินทางโดยเครื่องบิน จะได้เตรียมพร้อมรับมือเอาไว้ให้ดี ปัญหาสุขภาพจาก การนั่งเครื่องบิน ภาวะพร่องออกซิเจน จาก การนั่งเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินอยู่ในที่สูง อากาศภายในห้องโดยสารจะมีแรงดันลดลงถึง 75% จากชั้นบรรยากาศปกติ ทำให้สามารถเกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ขึ้นได้ นั่นก็คือ การที่ออกซิเจนในเลือดจะลดลงประมาณ 5-10%  ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากสภาวะนี้ได้ อาจทำให้เวียนศีรษะ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease; COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) มีความเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงจากภาวะพร่องออกซิเจนมากกว่าคนปกติ ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอก่อนออกเดินทางทุกครั้ง หากจำเป็นต้องพกถังออกซิเจนไป อย่าลืมแจ้งสายการบินให้ทราบล่วงหน้า โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการนั่งในห้องโดยสารเป็นเวลานาน โดยปกติ ห้องโดยสารบนเครื่องบินจะมีเครื่องกรองอากาศที่กำจัดไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ในกรณีที่เครื่องบินล่าช้า หรือมีเหตุที่ทำให้ต้องปิดเครื่องกรองนี้ ก็อาจจะทำให้แบคทีเรียหรือไวรัสแพร่กระจายในห้องโดยสารได้ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจจาก การนั่งเครื่องบิน มากที่สุดก็คือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นก่อนเดินทางทุกครั้ง […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test)

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม เพื่อวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่ ข้อมูลพื้นฐานการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คืออะไร การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม การตรวจด้วยวิธีนี้ เป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ ในการวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่ และสามารถหาสารก่อภูมิแพ้ ที่เป็นสาเหตุของอาการได้ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ จะมีปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอีในซีรั่มสูงขึ้น เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ อาหาร ละอองเกสร ฝุ่น เชื้อรา พิษของแมลง ยา สารที่ปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ความจำเป็นในการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คุณควรเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อหาอาการภูมิแพ้ หากเกิดสัญญาณหรืออาการที่บ่งชี้ถึงอาการแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารใดสารหนึ่ง อาการต่างๆ ประกอบด้วย ผื่นแพ้ทางผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ตาแดง คันตา ไอ แน่นจมูก และมีน้ำมูก อาการหอบหืด คันและชาในปาก ปวดท้อง อาเจียน และท้องร่วง ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด ไม่ควรเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด หากมีภาวะหรือโรดต่างๆ ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้หลายชนิด ไม่สามารถรวมข้อมูลได้ หากผลการตรวจไม่สามารถระบุสารก่อภูมิแพ้ที่แน่นอนได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทดสอบภูมิแพ้ด้วยการตรวจเลือด ได้แก่ โรคที่เพิ่มปริมาณอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันในรูปโปรตีนในร่างกาย ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินอี และ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คุณไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษก่อนเข้ารับการตรวจ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้   คำจำกัดความต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คืออะไร ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อยู่ในลำคอและสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่การทำงานบางประการของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบประสาท และความคุมความร้อนในร่างกาย แต่ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พบได้บ่อยเพียงใด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ผู้หญิงมักมีภาวะดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ได้แก่ กระสับกระส่าย มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรงหรือไม่เป็นจังหวะ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (Trial fibrillation) อาการอื่น ๆ ได้แก่ ดวงตาระคายเคือง น้ำหนักลด มีความไวต่อความร้อน ขับถ่ายอุจจาระหรือท้องเสียบ่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์ (Graves’s disease) มีต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก) อาจมีตาโปน (Exophthalmos) สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการบวมที่คอส่วนล่าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ควรไปพบคุณหมอ และต้องอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลง ที่คุณสังเกตได้โดยละเอียดเนื่องจากสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจสัมพันธ์กับภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก หากคุณได้เข้ารับการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแล้ว หรือเข้ารับการรักษาในเร็ว ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รับมือกับ เชื้อดื้อยา ก่อนที่จะสายเกินไป

องค์การอนามัยโลก กำหนดให้ระหว่างวันที่  12-18 พฤศจิกายน 2561 เป็นช่วงสัปดาห์ Antibiotic Awareness Week หรือ “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียโลก” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาของ เชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก นพ.ณัฐพงศ์ เดชธิดา มีมุมมองจากประสบการณ์และข้อมูลในเรื่องนี้มาฝาก สถานการณ์ เชื้อดื้อยา ในประเทศไทย ‘เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ’ คือ การที่เชื้อแบคทีเรียที่เคยไวต่อยาปฏิชีวนะมาก่อน เกิดการกลายพันธุ์เป็น เชื้อดื้อยา โดยเมื่อเชื้อดังกล่าวสัมผัสกับยาปฏิชีวนะแล้ว ยาไม่สามารถยับยั้งหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนเดิม ทำให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ทำได้ยาก ต้องใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง เกิดพิษ และผลกระทบข้างเคียงมาก สถานการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาในประเทศไทย มีการเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการของการพัฒนายา และการระงับการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงประชาชนก็ตระหนักถึงการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่จำเป็นมากขึ้นแล้วก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะในไข้หวัดธรรมดา ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส และแผลผิวหนังติดเชื้อระดับที่หนึ่งนั้น เป็นเรื่องไม่จำเป็น จากประสบการณ์ของผู้เขียนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าคนไข้ตระหนักมากขึ้นถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และเลือกไม่ซื้อยาปฏิชีวนะที่ร้านขายยาก่อนพบหมอ พฤติกรรมการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นและไม่จำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคดังกล่าว จึงมีแนวโน้มดีขึ้น เชื้อดื้อยากลุ่มหลักในไทย หากแต่สถานการณ์เรื่องเชื้อดื้อยาในโรคที่รุนแรง ก็ยังไม่ลดลงหรือหายไปแต่อย่างใด ในบทความนี้จะกล่าวถึงเชื้อดื้อยา 3 กลุ่มหลัก ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นภาวะวิกฤติของการดื้อยาในประเทศไทย ดังต่อไปนี้ 1.โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae พบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อต่อยา Oxacillin, […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia)

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ คำจำกัดความไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ คืออะไร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ อาการของโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ จะไม่ได้ดีขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา แต่อาจทำให้เกิดปัญหาที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ด้วยเหตุผลนี้ แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษาอาการไส้เลื่อนที่เกิดการเจ็บปวดหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น โรคนี้ทำให้หน้าท้องนูนขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อไอ ก้มตัวลง หรือทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก หรืออาจขัดขวางการทำงานของระบบย่อยอาหาร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ พบบ่อยแค่ไหน ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเกิดได้กับคนทุกวัย การรักษาอาการของโรคสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ บางครั้งไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบอาจเกิดขึ้น โดยไม่ปรากฎอาการใดๆ หากลำไส้มีขนาดเล็ก คุณอาจไม่สังเกตเห็นหรือไม่รู้สึกเจ็บ ในบางกรณี อาจรู้สึกปวดหรือหน่วงบริเวณขาหนีบ โดยปกติ ลำไส้สามารถกลับสู่ภายในผนังช่องท้องได้ โดยการลดแรงดันที่ผนังช่องท้อง เช่น การเอนหลังหรือนอนราบ ปัญหาอาจเกิดขึ้น เมื่อลำไส้ติดค้างอยู่ที่ผนังช่องท้อง ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนในลำไส้ เนื้อเยื่อในลำไส้อาจตาย เนื่องจากไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ อาจเกิดการอุดตันในระบบขับถ่าย และหากลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษา อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ มีอาการผิดปกติหรือสังเกตอาการนูนบริเวณท้อง หากมีอาการปวดขณะก้ม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis)

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองประเภทหนึ่ง คำจำกัดความกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คืออะไร โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) ประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อร่วมประสาท (neuromuscular disorder) โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี ทำให้กล้ามเนื้อในดวงตา ใบหน้า ลำคอ แขน และขาอ่อนแอและอ่อนแรงลง อาการอ่อนแอที่มากที่สุด มักเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีแรก แล้วหลังจากนั้นจะอาการของโรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี จะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี พบได้บ่อยแค่ไหน ทุกคนสามารถเป็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เอ็มจีได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้พบได้มากที่สุดในผู้หญิงก่อนช่วงอายุ 40 ปีและในผู้ชายหลังช่วงอายุ 50 ปี คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณโปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีส่งผลให้เกิดอาการที่หลากหลาย ได้แก่ หายใจลำบาก เนื่องจากผนังกล้ามเนื้อหน้าอกอ่อนแรง เคี้ยวหรือกลืนลำบาก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome)

คำจำกัดความกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายคืออะไร กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome : SIRS) เป็นสัญญาณการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ เป็นการตอบสนองต่อการอักเสบโดยทั่วไป ในบางครั้ง เกิดความสับสนระหว่างกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง 2 อาการนี้ คือ การติดเชื้อ กล่าวคือ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาจเกิดหลังจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การขาดเลือด หรือการติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อการติดเชื้อแสดงอาการ ในขณะที่กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บในร่างกาย แต่เป็นความซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในร่างกาย ในกรณีของการติดเชื้อ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายสามารถกลายเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายพบบ่อยแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาการทั่วไปของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย มีดังนี้ อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) หรือต่ำกว่า 96.8 องศาฟาเรนไฮต์ (36 องศาเซลเซียส) อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 90 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจสูงกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดน้อยกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 เซลล์ หรือน้อยกว่า 4,000 เซลล์ บางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากพบสัญญาณอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) ตัวการร้าย (แอบ) ทำลายสุขภาพ

พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง พลังงานที่ร่างกายได้รับจากการกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งได้แก่ การกินของหวานหรืออาหารมัน เช่น แป้งทอดกรอบ  เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ พามาดูกันว่า พลังงานว่างเปล่ามีอะไรบ้าง และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ใครที่ชอบกินเมนูเหล่านี้ จะได้ตั้งสติก่อนกินให้ดี ไม่อย่างนั้น น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้น ปัญหาสุขภาพอาจมาเยือน พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) คืออะไร พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง อาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ให้พลังงานหรือมีปริมาณแคลอรี่ที่สามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ก่อนเลือกซื้ออาหารใด ๆ มาบริโภค อย่างไรก็ตาม เราควรฉลากผลิตภัณฑ์หรือฉลากอาหาร เพื่อดูว่าอาหารนั้น ๆ จัดอยู่ในประเภทพลังงานว่างเปล่าหรือไม่ โดยให้ตรวจสอบว่า มีปริมาณแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลสูงหรือเปล่า เนื่องจากแคลอรีที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่อยู่ในอาหาร 2 ประเภท ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีน้ำมัน รวมถึงไขมันที่เป็นก้อนแข็ง (Solid Fats) คือไขมันที่จะกลายเป็นก้อนแข็งที่อุณหภูมิห้อง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน