หู คอ จมูก

หู จมูก และคอ เป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ การรักษาสุขภาพของหู จมูก และคอ ให้มีสุขภาพดี จะช่วยให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้มากยิ่งขึ้น Hello คุณหมอ จึงขอรวบรวมเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของ หู คอ จมูก ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

หู คอ จมูก

หูอื้อ ทําไง สาเหตุของหูอื้อ และวิธีบรรเทาอาการ

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อย บางครั้งเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมบางชนิด แต่บางครั้งอาการหูอื้อ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ สาเหตุของหูอื้อ เกิดจากอะไร  หูอื้อ ทําไง วิธีบรรเทาให้อาการดีขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] ภาวะหูอื้อ คืออะไร หูอื้อ เป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของการได้ยิน หากระดับการได้ยินอยู่ที่ 0-25 dB หรือเดซิเบล (DECIBEL) การได้ยินยังเป็นปกติ แต่ถ้าเริ่มระดับการได้ยินอยู่ที่ 26-40 dB จะเริ่มมีอาการหูอื้อเล็กน้อย ทำให้ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ถ้าเดซิเบลยิ่งมากขึ้น หมายความว่า จะเริ่มไม่ได้ยินเสียงพูดคุยหรือแม้แต่เสียงดัง และจะเข้าสู่ระดับความพิการ หูหนวก เมื่อมากกว่า 90 dB วิธีทดสอบอาการหูอื้อ เมื่อการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือมีเสียงรบกวนในหู อาการต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน รู้สึกได้ทันทีถึงความผิดปกติของการได้ยิน เว้นแต่ในบางกรณีที่อาการหูอื้อค่อย ๆ มีมากขึ้น โดยอาการหูอื้อ สามารถทดสอบได้กรณีที่หูสองข้างได้ยินไม่เท่ากัน ดังนี้ ใช้นิ้วมือถูเบา ๆ บริเวณหน้ารูหูทีละข้าง  สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน สาเหตุของหูอื้อ สาเหตุสำคัญของอาการหูอื้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ การอุดกั้นสัญญาณเสียง เกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง […]

หมวดหมู่ หู คอ จมูก เพิ่มเติม

โรคหู

สำรวจ หู คอ จมูก

โรคจมูก

เช็กด่วน! 6 อาการเสี่ยงสัญญาณเตือน ริดสีดวงจมูก

วันนี้ Hello คุณหมอ พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ริดสีดวงจมูก” กันค่ะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการแน่นจมูก หายใจลำบาก ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดปัญหาในการรับรสและกลิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าริดสีดวงจมูกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจนำภัยมาซึ่งสุขภาพของเราได้ เอาล่ะ! ลองมาเช็กกันดูสิคะว่า คุณมีอาการเข้าข่ายต่อการเป็นริดสีดวงจมูกหรือไม่ ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp) คืออะไร? ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp)  คือ เยื่อบุโพรงจมูก บริเวณโพรงจมูก มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ มีลักษณะเหมือนหยดน้ำหรือคล้ายเมล็ดองุ่น ทำให้จมูกเกิดอาการระคายเคือง บวม อักเสบ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกหายใจลำบาก มีปัญหาในการดมกลิ่น และการรับรส อย่างไรก็ตามริดสีดวงจมูกสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยกลางคนทั้งเพศชายและหญิง  สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก ปัจจุบันยังไม่มีการระบุที่แน่ชัดว่าแท้จริงแล้วริดสีดวงจมูกนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ได้มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยริดสีดวงจมูกมีการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดริดสีดวงจมูกได้ ดังนี้ โรคหอบหืด เป็นโรคที่ทำให้ระบบทางหายใจเกิดการอักเสบได้ง่าย การแพ้ยา เช่น การแพ้ยาแอสไพริน (Aspirin) ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา เช่น อาการแพ้เชื้อราในอากาศ โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic Fibrosis) โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่อาจส่งผลให้โพรงจมูกผลิตของเหลวออกมาเหนียวข้นกว่าปกติ โรคหลอดเลือดอักเสบในปอด หรือ โรคอีโอสิโนฟิลิก โพลีแองจิไอติส (Churg-Strauss Syndrome […]


โรคคอ

แพทย์เตือน! แคะหูบ่อย ระวัง เสี่ยงเป็น โรคเชื้อราในช่องหู

ใครที่ชอบแคะหูอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการอาบน้ำ ที่จะต้องนำคัตตอนบัดหรือสำลีมาปั่นหูเป็นประจำ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการขี้อุดตัน หูอื้อ แก้วหูทะลุ รวมถึงเสี่ยงต่อ “โรคเชื้อราในช่องหู” อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปรู้จักกับโรคเชื้อราในช่องหูให้ละเอียดมากขึ้นกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis) คืออะไร? โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis)  หมายถึง หูชั้นนอกมีการติดเชื้อรา ทำให้หูเกิดการอักเสบ และมีกลิ่นเหม็นภายในช่องหู โดยโรคเชื้อราในช่องหูนั้นมักพบในคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศอบอุ่นหรือร้อนชื้น และผู้ที่เล่นกีฬาว่ายน้ำ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคเชื้อราในช่องหูนั้นไม่ใช่โรคอันตราย ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อ โรคเชื้อราในช่องหูเกิดขึ้นได้อย่างไร โรคเชื้อราในช่องหูเกิดจากเชื้อราเกือบ 60 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และแคนดิดา (Candida) นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดสามารถรวมกับเชื้อราและทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องหู ดังนี้ ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศร้อนชื้น มีแนวโน้มในการเกิดเชื้อราในช่องหูมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศอื่นๆ เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อนชื้นนั่นเอง นักกีฬาว่ายน้ำ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องหูได้มากกว่าคนปกติทั่วไป หากว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาผิวเรื้อรัง ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อดังกล่าวนี้ หูอื้อ เรียกไม่ค่อยได้ยิน สัญญาณเตือนของอาการโรคเชื้อราในช่องหู อาการหูอื้อนั้น เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคเชื้อราในช่องหู อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในหูข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในบางกรณีอาจพบในหูสองข้างพร้อมๆกันได้ […]


โรคจมูก

ไขข้อข้องใจ ทำไม จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง บางครั้งไม่ได้กลิ่น เกิดจากอะไรกันแน่

Hyposmia เป็นอาการได้กลิ่นน้อยลง บางครั้งอาจสูญเสียการได้กลิ่นไปเพียงบางส่วน แต่บางครั้งก็ไม่ได้กลิ่นเลย ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องน่ารำคาญ แต่จริงๆ แล้วอาการนี้สามารถส่งผลร้ายแรงได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาการได้กลิ่น จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง จริงๆ แล้วเกิดจากอะไรกันแน่ จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง มีสาเหตุมาจากอะไร Hyposmia เป็นอาการที่จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง บางครั้งก็ไม่สามารถรับกลิ่นได้เลย ซึ่งมีสาเหตุมากจากหลายปัจจัย ดังนี้ ภูมิแพ้ ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน ได้รับบาดเจ็บ การติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด โพรงจมูกผิดรูป ไซนัสเรื้อรัง การสูบบุหรี่ ฮอร์โมนไม่สมดุล ปัญหาสุขภาพฟัน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่เกิดจากการใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะหลายชนิดรวมถึง ampicillin และ tetracycline ยากล่อมประสาทบางชนิดเช่น amitriptyline ยาแก้แพ้บางชนิดเช่น loratadine ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่ การสูญเสียการรับกลิ่นอาจรวมถึง การได้รับสารเคมีบางชนิดในระยะยาว การสูบบุหรี่ การใช้ยา เช่น โคเคน การรักษาด้วยรังสี สำหรับโรคมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอ เงื่อนไขที่อาจเกี่ยวข้องกับจมูกรับกลิ่นได้น้อยลง จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง นอกจากจะทำให้เรามีปัญหาในเรื่องของการดมกลิ่นแล้ว การที่จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง ยังเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอีกมากมาย เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) โรคอัลไซเมอร์ จากผลการวิจัยที่ได้ทำการศึกษาในปี 2013 โดยมีผู้เข้าร่วมหารวิจัยจำนวน 50 คน พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ที่มีโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งนั้น อาจมีการสูญเสียการได้กลิ่นบางส่วน การที่บางคนสูญเสียการได้กลิ่น หรือรับรู้กลิ่นได้น้อยลงนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเสมอไป ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการได้กลิ่นเช่น โรคอ้วน […]


โรคคอ

กล่องเสียงอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงการอักเสบของกล่องเสียงและเส้นเสียงในลำคอ สามารถแบ่งออกได้เป็นอาการกล่องเสียงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดแค่ชั่วคราว และอาการกล่องเสียงเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นจากการใช้เสียงมากเกินไป การติดเชื้อ สารระคายเคือง หรืออาจเป็นอาการจากโรคอื่น เช่น ไซนัสอักเสบ การรักาษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ คำจำกัดความกล่องเสียงอักเสบ คืออะไร กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงอาการอักเสบของกล่องเสียง ที่อาจเกิดขึ้นจากการระคายเคือง การติดเชื้อ หรือการใช้เสียงมากเกินไป ทำให้มีอาการอักเสบ อาการบวม และอาจทำให้เสียงแหบแห้ง ภายในกล่องเสียงจะประกอบด้วยเส้นเสียง เยื่อเมือก 2 ชั้นที่ทำหน้าที่ปกคลุมกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน โดยปกติแล้ว เส้นเสียงจะเปิดและปิดอย่างราบรื่น ทำให้สามารถสร้างเสียงจากการเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือนของเส้นเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงได้ แต่อาการอักเสบของกล่องเสียงจะทำให้อากาศไหลผ่านยากขึ้น จนทำให้เสียงที่เปร่งออกมาผิดเพี้ยนได้ โรคกล่องเสียงอักเสบมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยปกติอาการกล่องเสียงอักเสบที่พบได้บ่อยจะเป็นเพียงแค่อาการชั่วคราว ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก แต่หากมีอาการกล่องเสียงอักเสบเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือไม่หายไป ก็อาจเป็นสัญญาณที่ร้ายแรงได้เช่นกัน อาการอาการของกล่องเสียงอักเสบ ในกรณีส่วนใหญ่อาการของกล่องเสียงอักเสบ อาจมีดังนี้ เสียงแหบ เสียงอ่อนแอ หรือเสียงหาย ระคายเคืองในคอ เจ็บคอ คอแห้ง ไอแห้ง เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีอาการบวม กลืนลำบาก สาเหตุสาเหตุของกล่องเสียงอักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง นอกจากนั้นการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดโรคกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลันได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจรวมถึงสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ กรดไหลย้อน ไซนัสอักเสบเรื้อรัง วัณโรค การใช้เสียงมากเกินไป เช่น นักร้อง หรือนักแสดง การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ การใช้ยาสูดพ่นที่มีสเตียรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสัมผัสกับสารเคมีและฝุ่น ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของกล่องเสียงอักเสบ ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล่องเสียงอักเสบ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เสียงมากเกินไป การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบ แพทย์สามารถวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบได้ด้วยการตรวจดูอาการ โดยปกติแล้วอาการเสียงแสบมักจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบ นอกจากนี้ […]


โรคจมูก

จมูกไม่ได้กลิ่น อย่ามัวนิ่งนอนใจ อาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงได้

จมูกถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกายเรา นอกจากจะทำหน้าที่หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายแล้ว จมูกยังมีอีกหน้าที่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือ การรับกลิ่น ซึ่งบางครั้งกระบวนการรับกลิ่นก็อาจทำงานได้ไม่ดีนัก เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพหรือไลฟ์สไตล์บางอย่าง เช่น ไข้หวัด โรคภูมิแพ้ การสูบบุหรี่ หรืออายุที่มากขึ้น แม้ปัญหา จมูกไม่ได้กลิ่น จะดูเป็นภาวะที่พบได้บ่อย แต่หากเกิดขึ้นแล้ว คุณก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงถึงชีวิตได้ กระบวนการรับกลิ่น กับภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น ระบบรับกลิ่นของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มจากโมเลกุลในสสาร เช่น น้ำหอม ดอกไม้ เข้าสู่จมูกและไปกระตุ้นเซลล์รับกลิ่น (olfactory cells) ที่อยู่บริเวณเพดานช่องจมูก จากนั้นเซลล์ดังกล่าวก็จะส่งข้อมูลหรือกระแสประสาทผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง แล้วสมองก็จะแปลข้อมูลว่ากลิ่นที่เข้ามากระทบในจมูกนั้นเป็นกลิ่นอะไร แต่หากมีปัจจัยบางอย่างมารบกวนกระบวนการดังกล่าว เช่น อาการคัดจมูก ภาวะช่องจมูกอุดตัน เซลล์ประสาทถูกทำลาย ก็จะทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น หรือมีภาวะสูญเสียการรับกลิ่น (Anosmia) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการรับรสได้ด้วย เพราะเมื่อไม่ได้กลิ่น ต่อมรับรสของเราก็จะรับรสชาติได้เพียงแค่ไม่กี่รสเท่านั้น จมูกไม่ได้กลิ่น เป็นเพราะอะไรกันนะ ภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น หรือ สูญเสียการรับกลิ่น มักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ช่องจมูกหรือโพรงจมูกอุดตัน เนื่องจากเนื้องอก ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp) กระดูกในโพรงจมูกหรือผนังกั้นช่องจมูกผิดรูป เยื่อเมือกในจมูกระคายเคือง เนื่องจากไซนัสอักเสบ ไข้หวัด การสูบบุหรี่ ไข้หวัดใหญ่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) โรคจมูกอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ (Non-Allergic […]


โรคหู

ขี้หูอุดตันปัญหาที่ไม่ควรละเลย

ขี้หู (Earwax) เป็นของเสียที่ร่างกายสร้างขึ้นตามปกติและมีความสำคัญ หลายคนชอบแคะหูเพราะรู้สึกว่าขี้หูนั้นน่ารังเกียจจนต้องกำจัดออก แต่ทราบหรือไม่ว่าวิธีนี้กลับส่งผลให้เกิดอาการ ขี้หูอุดตัน ทำให้อาจจะได้ยินไม่ชัดเจน เพราะขณะแคะหูก็กลายเป็นการดันขี้หูเข้าไปนั่นเอง ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction) ขี้หูอุดตันที่สะสมในรูหู (Cerumen Impaction) เกิดจากการสะสมของขี้หูที่อยู่บริเวณหูชั้นนอก ซึ่งมีลักษณะแห้งและแข็งจนไม่สามารถหลุดออกได้เองตามธรรมชาติ จึงกลายเป็นภาวะอุดตันในรูหู ขี้หูอุดตันได้อย่างไรกัน โดยปกติขี้หูจะช่วยในการดักจับฝุ่นละออง เศษผง หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดเล็กไม่ให้เข้าไปในรูหูด้านใน รวมทั้งช่วยปกป้องอวัยวะสำคัญภายในรูหูอย่างเช่น “แก้วหู” ไม่ให้ถูกทำลาย จากนั้นขี้หูก็จะเกิดการหลุดลอกออกมาเองตามธรรมชาติ ซึ่งจะแห้งและร่วงไปเองโดยไม่ต้องใช้วิธีการแคะออก ทั้งนี้หากมีขี้หูมากเกินไปหรือไม่สามารถหลุกออกได้เองตามปกติ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการขี้หูอุดตันได้ ซึ่งพบว่ามักจะมีสาเหตุมาจากการใช้สำลีพันก้านหรือ คอตตอนบัด เช็ดในช่องรูหูและดันขี้หูเข้าไปในข้างในลึกมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีช่องหูตีบแคบอันเกิดจากการติดเชื้อหรือโรคผิวหนัง รวมถึงการใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง ที่อุดหู หรือหูฟังแบบสอดเข้าไปในหู ก็มีผลทำให้เกิดขี้หูอุดตันได้เช่นกัน 5 อาการที่บ่งบอกว่าคุณมีขี้หูอุดตัน รู้สึกหูอื้อข้างที่อุดตัน มีอาการปวดหู การได้ยินลดลง ได้ยินเสียงดังเกิดขึ้นภายในหู มีอาการคันในบริเวณหูหรืออาจจะมีของเหลวไหลออกจากหู อีกทั้งอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไอและเวียนศีรษะ อาการที่กล่าวมานี้บ่งชี้ได้ถึงการอุดตันของขี้หู ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภายในช่องหู เพราะอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน รักษาได้ แค่ใช้เครื่องดูดขี้หูจริงรึเปล่า วิธีรักษาอาการขี้หูอุดตันด้วยการใช้ “เครื่องดูดขี้หู” เป็นวิธีที่น่าสนใจ โดยแพทย์เฉพาะทางในด้านหู คอ จมูก หรือที่เรียกว่าโสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngologist) จะใช้เครื่องมือสำหรับดูดขี้หูโดยเฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ดูดขี้หู อุปกรณ์คีบหรือเขี่ย และอุปกรณ์อื่นๆ ทางการแพทย์ ระหว่างที่แพทย์ดูดขี้หูนั้น ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคัน […]


โรคหู

เสียงแว่วในหู แค่คิดไปเอง หรือ เกิดความผิดปกติกับ "หู"

Tinnitus หรืออาการ เสียงแว่วในหู เป็นการที่เราได้ยินเสียงแว่วในหู ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถพบได้โดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วมักจะพบเพียงร้อยละ 15-20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติบางอย่าง เช่น การสูญเสียการได้ยินเมื่อายุมากขึ้น การได้รับบาดเจ็บที่หู หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนโลหิต แม้อาการ เสียงแว่วในหูนั้นสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น แต่ก็ไม่ได้มีความร้ายแรงใดๆ ส่วนใหญ่แล้วอาการจะรุนแรงขึ้นตามอายุ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการนี้มาฝากกันค่ะ อาการของ เสียงแว่วในหู อาการเสียงแว่วในหู นั้นเป็นอาการที่เราจะสามารถรับรู้หรือได้ยินเสียงในหู แต่จะไม่มีเสียงที่เกิดขึ้นจริงภายนอก หรือคนอื่นๆ จะไม่ได้ยินเสียงในหูของเรา โดยแต่ละคนจะได้ยินเสียงในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ เสียง วิ้งๆ เสียงเหมือนแมลงกระพือปีก เสียงคำราม เสียงคลิกๆ เหมือนคลิกคีย์บอร์ด หรือการเคาะ เสียงฟ่อๆ เหมือนงูขู่ เสียงอื้ออึง ซึ่งเสียงที่เราได้ยินนั้น จะได้ยินอย่างหลากหลาย ทั้งเสียงต่ำและเสียงสูง บางคนอาจจะได้ยินจากหูเพียงข้างเดียว แต่สำหรับบางคนนั้นอาจจะได้ยินทั้ง 2 ข้าง บางคนที่ได้ยินหนักๆ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยจะสนใจเสียงในหูโดยไม่สนใจเสียงรอบๆ ข้าง ส่วนอาการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปบางครั้งก็เป็นๆ หายๆ บางครั้งก็ดังนานติดต่อกัน สาเหตุของอาการ เสียงแว่วในหู ปัญหาทางสุขภาพๆ หลายๆ อย่างสามารถทำให้เกิดอาการเสียงแว่วในหูได้ หรือทำให้อาการเสียงแว่วในหูแย่ลงได้ แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเกิดอาการเสียงแว่วในหูนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งสามารถที่พบได้โดยทั่วไป คือ เสื่อมตามอายุ ในหลายๆ คน ความสามารถในการได้ยินนั้น […]


โรคหู

เอ๊ะ! ปวดหู แบบนี้รู้ไหมว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการ ปวดหู นั้นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาภายในหูหรืออาจจะเกิดจากภายนอกก็ได้ ซึ่ง อาการปวดหูจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิด บางครั้งอาการปวดหูอาจเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดหัว วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาเหตุของการเกิดอาการปวดหูมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ สาเหตุของอาการ ปวดหู มีอะไรบ้างนะ อาการปวดหูมีสาเหตุได้ทั้งจากปวดจากภายในหูและปวดนอกหู ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหูนั้นสามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ 2 รูปแบบ คือ สาเหตุหลัก กับ สาเหตุรอง สาเหตุหลักของการ ปวดหู อาการปวดภายในหู หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการที่หูชั้นกลางมีการติดเชื้อที่บริเวณเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดอาการบวม บางครั้งอาจมีของเหลวไหลออกมาจากหู ซึ่งผู้ที่มีอาการหูชั้นกลางอักเสบ จะมีอาการปวดลึก ๆ ในหู มีอาการคัดจมูก ไอ หรืออาจจะมีไข้อ่อน ๆ ร่วมด้วย หูชั้นนอกอักเสบ หูชั้นนอกอักเสบเป็นการติดเชื้อบริเวณช่องหู ซึ่งมักจะมีอาการคัน รู้สึกหูตัน ๆ และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อดึงหู ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังจากที่ว่ายน้ำ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Swimmer Ear เนื่องจากขณะที่ว่ายน้ำ น้ำเข้าไปในหูและคั่งอยู่ ไม่สามารถออกมาได้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ อีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้ คือการใช้สำลีก้าน หรือใช้อุปกรณ์ในการแคะหูแหย่เข้าใปในรูหู ขี้หูตัน ขี้หู มีไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละออง น้ำ […]


โรคหู

จู่ ๆ ก็ หูดับเฉียบพลัน แบบกะทันหัน ภาวะอันตรายที่คุณควรระวัง

อาการหูดับโดยทั่วไป ใช้ระยะเวลาเพียงไม่เท่าไหร่ก็กลับมาเป็นปกติได้ แต่อาการ หูดับเฉียบพลัน ร้ายแรงกว่าหูดับแบบธรรมดา เพราะคุณอาจหูดับไปตลอด และไม่ได้ยินเสียงอีกเลย Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่าน ไปรับทราบข้อมูลน่ารู้เรื่องนี้กันค่ะ หูดับเฉียบพลัน เป็นอย่างไร หากจะพูดถึงอาการหูดับ อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดี เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ และสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน เช่น ฟังเพลงโดยเปิดเสียงดังมากจนเกินไป หรือไปในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมากกว่าปกติ สถานการณ์เหล่านี้ เป็นเหตุให้มีอาการหูดับขึ้นมาได้ แต่ถ้าอยู่ ๆ เกิดหูดับขึ้นมากะทันหันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ไม่ว่าจะดับเพียงข้างเดียว หรือสองข้างก็ตาม (แต่โดยมากจะเกิดแค่เพียงข้างเดียว) คุณควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายที่ไม่ควรละเลย สาเหตุที่เกิดอาการหูดับชนิดเฉียบพลัน อาการหูดับไม่ใช่โรคที่เพิ่งเกิดเมื่อปีหรือสองปีที่ผ่านมา แต่ทว่า…จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปถึงสาเหตุของอาการหูดับแบบเฉียบพลันได้ว่าเกิดจากอะไร แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง โรคแพ้ภูมิตัวเอง ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคบางชนิดที่ใช่รักษาโรคมะเร็ง หรือรักษาอาการติดเชื้อชนิดรุนแรง ปัญหาการไหลเวียนของโลหิต ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น เส้นเลือดตีบ ความผิดปกติที่หูชั้นใน เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณมีอาการ หูดับเฉียบพลัน สัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าคุณกำลังจะมีอาการหูดับเฉียบหลันนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีสัญญาณใด ๆ ทางสุขภาพที่แสดงออกมาให้รับรู้ได้ มีเพียงความผิดปกติทางการได้ยินเท่านั้น ที่ทำให้คุณสามารถที่จะเดาออกว่า คุณกำลังอยู่ในสภาวะหูดับแบบเฉียบพลัน โดยอาจมีการหูดับทันทีในครั้งเดียว หรือค่อย ๆ ดับลงในระยะเวลา 2-3 […]


โรคหู

หูอื้อ ทำไงดี สาเหตุ และวิธีการแก้หูอื้ออย่างมีประสิทธิภาพ

อาการหูอื้อ อาจจะเป็นอาการที่ ไม่ว่าใครก็คงเคยเป็นกันสักครั้งหนึ่ง และหลายคนอาจจะไม่ให้ความสนใจกันเสียเท่าไหร่ เพราะคิดว่าอาการนี้ไม่เป็นอันตรายอะไร เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่ถ้าหากอาการ หูอื้อ ไม่ยอมหายไปเสียที เราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ หาคำตอบได้จากบทความของ Hello คุณหมอนี้ อย่างไรจึงจะเรียกว่า หูอื้อ หูอื้อ หมายถึงอาการที่เราจะได้ยินเสียงลดลง หรือได้ยินเสียงอื่น เช่น เสียงดังหึ่ง ๆ อยู่ในหู เป็นเวลาติดต่อกัน อาการหูอื้อนั้นเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ มากมาย เสียงแว่วที่ได้ยินนั้นอาจจะมีตั้งแต่เสียงก้องต่ำๆ ไปจนถึงเสียงหวีดแหลม ๆ และอาจได้ยินในหูข้างเดียว หรือได้ยินพร้อมกันทั้งสองข้าง แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วอาการหูอื้อนั้นจะไม่เป็นอันตรายอะไร นอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น แต่ในบางครั้ง อาการหูอื้อนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการนอนหลับ และอาจกลายเป็นตัวรบกวนทางจิตใจได้ รบกวนสมาธิของคุณ หรือทำให้คุณไม่สามารถได้ยินเสียงภายนอกได้อย่างชัดเจน เราอาจมีอาการหูอื้ออยู่ตลอดเวลา หรือเป็น ๆ หาย ๆ ก็ได้ อาการหูอื้อนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการหูอื้อแบบได้ยินอยู่คนเดียว (Subjective tinnitus) อาการนี้หมายความว่าไม่มีเสียงเกิดขึ้นจริง มีเพียงตัวผู้ที่มีอาการหูอื้อเท่านั้นที่ได้ยิน  อาการหูอื้อประเภทนี้เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด และอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประสาทการได้ยิน อาการหูอื้อแบบคนอื่นได้ยินด้วย (Objective tinnitus) อาการนี้หมายถึงการเกิดเสียงที่แพทย์สามารถได้ยินด้วยในขณะที่ทำการตรวจร่างกาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน