จากผลการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของโสมต่อการรักษาอาการอ่อนเพลีย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Alternative and Complementary Medicine พ.ศ. 2561 ระบุว่า โสมเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการรักษาอาการอ่อนล้าเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่โสมเป็นพืชที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย
จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านการอ่อนล้าของโสมอย่างละเอียดและเป็นระบบพร้อมหลักฐานที่แน่ชัดเพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว
ขณะเดียวกัน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับสรรพคุณของสารพอลิแซ็กคาไรด์ในโสม ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Journal of Ethnopharmacology ปี พ.ศ. 2553 โดยให้สัตว์ทดลองที่ว่ายน้ำจนเหนื่อยบริโภคสารสกัดโสมเป็นเวลา 15 วัน และสรุปผลการทดลองว่า พอลิแซ็กคาไรด์อาจมีส่วนช่วยต้านอาการเหนื่อยล้าได้
ทั้งนี้ ยังคงเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของโสมในการต้านอาการอ่อนล้า
3.อาจช่วยต่อต้านมะเร็ง
โสม มีสารจินเซนโนไซด์ ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง จึงอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็ง
จากผลการวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของสารจินเซนโนไซด์ในการต่อต้านโรคมะเร็ง ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine ในปี พ.ศ. 2564 โดยศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยจำนวนมาก พบว่า สารจินเซนโนไซด์อาจมีส่วนช่วยยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งสมอง มะเร็งตับ มะเร็งปอด
ทั้งนี้ การศึกษาส่วนใหญ่ดำเนินการในหลอดทดลอง หรือในสถานการณ์จำลอง และการศึกษาในคนยังมีจำนวนน้อย จึงควรมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม เพื่อยืนยันคุณสมบัติต้านมะเร็งของโสม
4.อาจช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำ
สารจินเซนโนไซด์ในโสมมีสรรพคุณช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จึงอาจมีส่วนช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อมได้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย