backup og meta

วิธี ฆ่าเชื้อในขวดนม ลูกรัก ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่คุณแม่ควรศึกษาไว้

วิธี ฆ่าเชื้อในขวดนม ลูกรัก ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19  ที่คุณแม่ควรศึกษาไว้

นอกจากผู้สูงวัยที่ทุกคนควรใส่ใจให้ห่างไกลจากจากโคโรนาไวรัสแล้ว เด็กเล็กในบ้านของคุณก็เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งทราบกันดีว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถติดต่อกันได้ทางสารคัดหลั่ง ดังนั้นครอบครัวใดที่มีบุตรหลานอายุยังน้อย หรืออยู่ในช่วงยังไม่หย่าจากขวดนม ก็อาจจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ถึงการทำความสะอาดให้มากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้เกี่ยวกับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม ของเด็ก ๆ มาฝากทุกครอบครัวกันค่ะ เพราะเป็นสิ่งของที่ลูกรักคอยหยิบจับเอาเข้าปากโดยตรงตลอดเวลา  และเหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ในช่วงการระบาดโควิด-19 (COVID-19) เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องฆ่าเชื้อในขวดนม

อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็ก ๆ มีการทำงานไม่ค่อยเต็มที่มากนัก เป็นสาเหตุให้เชื้อโรค แบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ภายในขวด หรือสารตกค้างจากน้ำประปา นมผง รวมถึงไวรัสที่กำลังระบาดนี้เข้าไปสร้างความเสียหายให้แก่ระบบทางเดินหายใจ จนเกิดการล้มป่วยอย่างหนักได้ง่าย

วิธีฆ่าเชื้อในขวดนม และจุกนมเด็กทารก

ปัจจุบันการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอันดับ 1 ที่คุณแม่ในยุคโควิด-19 ต้องเคร่งครัดและใส่ใจมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ ซึ่งคุณแม่ทั้งหลายสามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปอย่างง่ายดายด้วยวิธี ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 สำหรับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม : ต้มในน้ำเดือดที่มีอุณภูมิความร้อนสูง

  1. นำขวด และจุกนมวางลงในหม้อ
  2. จากนั้นเติมน้ำลงไป แล้วต้มไว้ประมาณ 5 นาที
  3. ปิดเตา และแช่ขวดนมไว้จนกว่าอุณหภูมิของน้ำเย็นลง
  4. ล้างมือให้สะอาดก่อนการจับขวดนมของลูกคุณขึ้นมาก่อนเสมอ

หากในกรณีคุณยังไม่ได้นำมาใช้งานในทันทีโปรดเก็บขวดนม และจุกนมในภาชนะที่สะอาด มีฝาที่ปิดสนิทแช่ใส่ตู้เย็นไว้จะเป็นการดีที่สุด

วิธีที่ 2 สำหรับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม : การฆ่าเชื้อในไมโครเวฟ

  1. วางขวดนม และจุกนมลงในภาชนะที่สามารถเข้าในเตาไมโครเวฟได้ในลักษณะแบบคว่ำลง
  2. เติมน้ำลงในภาชนะ และเปิดเครื่องใช้เวลาประมาณ 30 นาที
  3. เก็บขวดไว้ในเครื่องไมโครเวฟจนกว่าจะนำมาใช้อีกครั้ง

ทังนี้คุณควรทำความสะอาดมิให้มีเศษอาหาร หรือสิ่งสกปรกใด ๆ ปะปนก่อนนำขวดนมไปฆ่าเชื้อ และอาจต้องทำการฆ่าเชื้ออีกรอบเมื่อคุณยังไม่ได้นำไปใช้งาน

วิธีที่ 3 สำหรับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม : การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ

  1. นำขวดนม และจุกนมไปแช่น้ำในภาชนะ เช่น กะละมัง
  2. เทผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในขวดนมสำหรับเด็ก หรือทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องจากข้างฉลาก
  3. แช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที อาจมากหรือน้อยกว่านั้นตามคำแนะนำของผู้ผลิต
  4. ปล่อยทิ้งไว้จนกว่าจะนำมาใช้งาน หรือล้างออกด้วยน้ำอุ่น และน้ำยาล้างจานชนิดอ่อนโยนอีกรอบ

วิธีนี้คุณแม่ต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้รอบคอบ และอาจต้องใช้วิธีการฆ่าเชื้ออื่น ๆ ข้างต้นร่วมด้วย เพื่อเป็นการชำระล้างสารเคมีออกจนหมด ก่อนนำมาให้ลูกรักของคุณได้สัมผัสเข้าไปในปาก

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

การฆ่าเชื้อสิ่งแปลกปลอมในขวดนม ควรปฏิบัติทุกครั้งเมื่อลูกรักดื่มเสร็จ หรือภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงเพราะเชื้อโรคสามารถเติบโต ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นที่ต้องทำความสะอาดและชงนมให้ลูกใหม่อีกครั้ง หลังการชำระล้างอาจต้องใช้วิธีการฆ่าเชื้ออื่น ๆ ด้วยอุณภูมิที่ร้อนจัดร่วมด้วย ก่อนนำมาใช้งานเสมอ เช่น การต้มในน้ำเดือด

หากครอบครัวไหนอยากเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ตนเองมากขึ้น ก็อาจซื้อเครื่องอบขวดนมไฟฟ้าที่สามารถปรับอุณหภูมิ ตั้งเวลา หรือแม้แต่เป็นภาชนะเก็บขวดนมไปเลยก็ย่อมได้

แต่ในยุคที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 (COVID-19) อีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องอาจทำเพิ่มเติมเพื่อปกป้องลูกน้อยของคุณ นั่นก็คือ การปลูกฝังให้เด็ก ๆ หมั่นล้างมือตนเองด้วยสบู่ หลังจากการสัมผัสวัตถุอยู่บ่อย ๆ และฝึกให้พวกเขาใส่หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเล็กทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกไปข้างนอก

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cleaning and sterilising baby bottles https://www.pregnancybirthbaby.org.au/cleaning-and-sterilising-baby-bottles Accessed April 07, 2020

The Safest Way to Sterilize Baby Bottles https://www.healthline.com/health/parenting/sterilize-baby-bottles Accessed April 07, 2020

How to Sterilize Baby Bottles and Nipples https://www.verywellfamily.com/how-to-sterilize-baby-bottles-nipples-and-more-290136 Accessed April 07, 2020

Water, Sanitation & Environmentally-related Hygiene https://www.cdc.gov/healthywater/hygiene/healthychildcare/infantfeeding/cleansanitize.html Accessed April 07, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคแมว ภัยจากสัตว์เลี้ยงสู่คน ที่ทาสแมวควรระวัง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา