backup og meta

น้ำมันหอมระเหย ตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2021

    น้ำมันหอมระเหย ตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้

    น้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันที่ส่วนใหญ่แล้วถูกกลั่นมาจากพืช เพื่อใช้ในการบำบัดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวด ใช้กลิ่นเพื่อคลายความเครียด นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยยังได้รับความนิยมในการใช้ บรรเทาอาการภูมิแพ้ อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ น้ำมันหอมระเหย สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ ไปดูกันว่า น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการภูมิแพ้ ได้อย่างไร

    น้ำมันหอมระเหย สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ ได้ผลดีจริงหรือไม่

    อาการภูมิแพ้ตามฤดูกาล (Seasonal Allergies) สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละฤดูแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนอาจมีอาการแพ้ช่วงปลายฤดูหนาว ฤดูฝน หรือช่วงฤดูร้อน อาการแพ้อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวจากเกสรดอกไม้หรือพืชอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ในช่วงนั้น อาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นอันตราย สามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ ให้ดีขึ้นได้

    การใช้ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการภูมิแพ้ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ได้รับความนิยม ซึ่งมีวิธีการใช้งานที่หลากหลาย ดังนี้

  • ใช้ทาผิวหนัง
  • ฉีดพ่นไปในอากาศ
  • ก้านกระจายกลิ่น
  • เติมลงในเครื่องพ่นควันกระจายกลิ่น
  • สูดดมโดยตรง
  • อาการภูมิแพ้ ที่หลาย ๆ คนมักจะประสบก็คือ อาการไอ จาม คัดจมูก ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้หายใจได้ไม่สะดวก หายใจได้ไม่เต็มที่ การใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นอีกหนึ่งวิธีมที่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถช่วยลดอาการแพ้ทางผิวหนังได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการภูมิแพ้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน เพราะน้ำมันหอมระเหยบางชนิดอาจทำให้อาการแย่ลงได้

    น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการภูมิแพ้ มีอะไรบ้าง

    สาระแน

    จากการศึกษาในปี 2010 ที่ได้ทำการทดลองในสัตว์พบว่า น้ำมันสาระแนส่งผลต่อการคลายกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) ซึ่งช่วยลดอาการหดตัวสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันสาระแนช่วยลดความวิตกกังวลและความเหนื่อยที่เกิดขึ้นจากอาการภูมิแพ้อีกด้วย

    ดอกลาเวนเดอร์

    น้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยบรรเทาการขยายตัวของ มิวคัสเซลล์ (Mucous Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สร้างเมือก นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์ยังมีส่วนช่วยป้องกันการอักเสบจากภูมิแพ้อีกด้วย

    กำยาน (Frankincense)

    กำยาน (Frankincense) เป็นยางหอมที่ได้จากพืชตระกูล Boswellia มีส่วนช่วยลดการอักเสบในร่างกาย จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า กำยานมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบในหลอดลม สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ทางเดินหายใจและการติดเชื้อไซนัส

    นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่ง ที่ได้ทำการศึกษาการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยใช้กำยาน ไม้จันทร์หอม และน้ำมันหอมระเหยราเวนซ่า (Ravensara Oil) รวมเข้าด้วยกัน พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และอาการจามที่ดีขึ้น

    ยูคาลิปตัส

    น้ำมันยูคาลิปตัส เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ให้ความรู้สึกเย็น เมื่อได้กลิ่นยามหายใจเข้าจะช่วยให้รู้สึกโล่ง หายใจได้สะดวก ลดอาการคัดจมูกที่เกิดจากอาการแพ้ได้ นอกจากนี้ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัสยังมีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบ ซึ่งอาจมีส่วนช่วย บรรเทาอาการภูมิแพ้  ได้

    มะนาว

    มีการศึกษาพบว่าสเปรย์ฉีดจมูกจากมะนาว มีส่วนช่วยในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ตามฤดูกาล และยับยั้งการทำงานของแบคทีเรีย

    น้ำมันทีทรี

    น้ำมันทีทรี (Tea Tree Oil) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อรา ไวรัสและต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเหมาะสำหรับโรคภูมิแพ้ผิวหนังบางชนิด นอกจากน้ำมันหอมระเหยทีทรียังมีส่วนช่วยลดการอักเสบ การวิจัยพบว่า น้ำมันทีทรีเมื่อใช้ทาเฉพาะที่ ช่วยลดอาการบวมจากการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากอาการแพ้ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันทีทรีก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้ควรลองในปริมาณเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่ามีอาการแพ้หรือไม่

    คาโมมายล์

    น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์ มีสารที่ช่วยต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถใช้ในการรักษาผิวหนัง การอักเสบและลดการเกิดเมือกที่มีสาเหตุมาจากไซนัสอักเสบ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการคันและบวมที่เกิดจากกลากได้เมื่อเจือจางกับน้ำมันตัวพาและทาเฉพาะที่

    หากต้องการใช้ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการภูมิแพ้ ควรเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่ได้รับการรับรองแล้วว่ามีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยใช้น้ำมันหอมระเหยชนิดนั้น ๆ มาก่อน ควรใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่ามีอาการแพ้หรือไม่ หากไม่มีปฏิกิริยาใน 24 ชั่วโมงก็ควรใช้อย่างปลอดภัย หากเกิดอาการคัน รอยแดง ควรหยุดใช้ในทันที เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เสมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 18/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา