backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/05/2021

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer)

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) มักไม่ค่อยตรวจพบในระยะเริ่มแรก เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการในร่างกายจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ สำหรับตัวเลือกในการรักษามะเร็งตับอ่อนนั้น จะเลือกตามขอบเขตของมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี หรืออาจจะใช้วิธีที่ทั้งหมดที่กล่าวมารักษาร่วมกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอมีเรื่องนี้มาฝากกัน

คำจำกัดความ

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) คืออะไร

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) เริ่มที่เนื้อเยื่อของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะในช่องท้องที่อยู่ด้านหลังช่วงล่างของกระเพาะอาหาร ตับอ่อนของคุณจะปล่อยเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหารและสร้างฮอร์โมนที่ช่วยจัดการน้ำตาลในเลือดของคุณ การเจริญเติบโตหลายประเภทสามารถเกิดขึ้นได้ในตับอ่อน รวมถึงเนื้องอกที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็ง

มะเร็งชนิดที่พบบ่อยที่สุดที่ก่อตัวในตับอ่อน เริ่มต้นในเซลล์ที่เป็นแนวท่อที่นำเอนไซม์ย่อยอาหารออกจากตับอ่อน (มะเร็งท่อน้ำดีในตับอ่อน)

มะเร็งตับอ่อนมักไม่ค่อยตรวจพบในระยะเริ่มแรก เนื่องจาก มันไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการในร่างกายจนกว่าจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ สำหรับตัวเลือกในการรักษามะเร็งตับอ่อนนั้น จะเลือกตามขอบเขตของมะเร็ง ซึ่งอาจรวมถึงการผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี หรืออาจจะใช้วิธีที่ทั้งหมดที่กล่าวมารักษาร่วมกัน

มะเร็งตับอ่อน พบบ่อยเพียงใด

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า มะเร็งตับอ่อนนั้นมักจะตรวจไม่พบจนกว่าอาการจะลุกลามและรักษาได้ยาก ในกรณีส่วนใหญ่ อาการจะเกิดขึ้นหลังจากมะเร็งตับอ่อนเติบโตและเริ่มแพร่กระจายแล้วเท่านั้น โดยมะเร็งตับอ่อนมากกว่า 95% เป็นชนิดของต่อมมีท่อ (Exocrine Type)

อาการ

อาการของ มะเร็งตับอ่อน

สัญญาณและอาการของมะเร็งตับอ่อนมักไม่เกิดขึ้นจนกว่าโรคจะลุกลาม ซึ่งอาจรวมถึงอาการต่าง ๆ เหล่านี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน

ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งตับอ่อน แต่แพทย์ได้ระบุปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้ รวมถึงการสูบบุหรี่และการกลายพันธุ์ของยีนที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้นแล้ว มะเร็งตับอ่อนยังเกิดขึ้นเมื่อดีเอ็นเอในเซลล์ตับอ่อนของคุณเสียหาย เซลล์มะเร็งเซลล์เดียวเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นไปตามขอบเขตปกติของร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาเซลล์จากเนื้องอกจะแพร่กระจายผ่านระบบเลือดหรือน้ำเหลืองของคุณ

ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า ดีเอ็นเอของเซลล์เสียหายอย่างไร เมื่อแพทย์กำจัดมะเร็งตับอ่อนและวิเคราะห์ พวกเขามักจะพบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในยีนที่เรียกว่า “การกลายพันธุ์” ซึ่งบางครั้งการกลายพันธุ์นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อนอาจตรวจไม่พบจนกว่าจะถึงขั้นลุกลาม เมื่อถึงเวลาที่เกิดอาการ การวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนมักจะค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่น่าเสียดายที่การรักษาไม่สามารถทำได้ในตอนนั้น

สำหรับการวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนมักเกิดขึ้นเมื่อมีคนมาพบคุณหมอหลังจากมีอาการหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยอาการของมะเร็งตับอ่อนที่พบได้บ่อย ได้แก่

จากนั้นแพทย์จะเริ่มค้นหาสาเหตุโดยใช้วิธีการดังนี้

  • ซักประวัติทางการแพทย์ โดยแพทย์จะสอบถามถึงความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เช่น เวลาที่เริ่มมีอาการ ลักษณะ และตำแหน่งของความเจ็บปวด ประวัติการสูบบุหรี่ และปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ
  • ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์อาจจะคลำพบก้อนในช่องท้อง และสังเกตเห็นต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม ผิวหนังที่ตัวเป็นสีเหลือง หรือน้ำหนักลด
  • การทดสอบในห้องปฏิบัติการ อาจแสดงหลักฐานชัดเจนว่ามีการปิดกั้นการไหลของน้ำดี หรือความผิดปกติอื่น ๆ

จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการและคำอธิบาย แพทย์มักจะสั่งให้ทำการทดสอบภาพ ดังนี้

  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) โดยเครื่องสแกนจะถ่ายภาพเอกซเรย์หลายภาพและคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพเหล่านี้ใหม่ ให้เป็นภาพที่มีรายละเอียดภายในช่องท้อง CT Scan จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) การใช้คลื่นแม่เหล็ก เครื่องสแกนจะสร้างภาพที่มีรายละเอียดของช่องท้อง โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ ตับอ่อนและถุงน้ำดี
  • อัลตราซาวด์ คลื่นเสียงที่ไม่เป็นอันตรายจะสะท้อนออกจากอวัยวะภายในท้อง จากนั้นจะสร้างภาพขึ้น ซึ่งอาจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้
  • การตรวจเอกซเรย์ปล่อยโพซิตรอน (PET Scan) กลูโคสกัมมันตรังสีที่ฉีดเข้าไปในเส้นเลือดจะถูกดูดซึมโดยเซลล์มะเร็ง การสแกน PET อาจช่วยกำหนดระกับการแพร่กระจายของมะเร็งตับอ่อน

หากการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ตรวจพบมวลในตับอ่อน การวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนน่าจะเป็นไปได้ แต่ยังไม่แน่ชัด มีเพียงการตรวจชิ้นเนื้อ โดยนำเนื้อเยื่อจริงออกจากก้อนเนื้อเท่านั้น ที่สามารถวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้ การตรวจชิ้นเนื้อสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • การตรวจชิ้นเนื้อด้วยการใช้เข็มเจาะใต้ผิวหนัง ภายใต้คำแนะนำในการถ่ายภาพ นักรังสีวิทยาจะสอดเข็มเข้าไปในมวลเพื่อจับเนื้อเยื่อบางส่วน ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างว่า “การเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration หรือ หรือ FNA)’
  • การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde Cholangio Pancreatography หรือ ERCP) เป็นการใช้ท่อที่มีความยืดหยุ่นพร้อมกล่องและเครื่องมืออื่น ๆ ที่ปลายของเครื่องมือ ใส่ผ่านปากไปยังลำไส้เล็กที่ใกล้กับตับอ่อน ERCP สามารถรวบรวมภาพจากพ้นที่เช่นเดียวกับการตรวจชิ้นเนื้อขาดเล็กด้วยแปรง
  • อัลตราซาวด์ส่องกล้อง วิธีนี้จะคล้ายกับ ERCP โดยกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) จะอยู่ใกล้กับตับอ่อน การตรวจอัลตราซาวด์บนเอนโดสโคปจะหามวล จากนั้นเข็มบนเอนโดสโคปจะดึงเนื้อเยื่อบางส่วนออกจากมวล
  • การส่องกล้องเป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้แผลเล็ก ๆ หลายแผล การใช้การส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะสามารถรวบรวมเนื้อเยื่อเพื่อตรวจชิ้นเนื้อและดูภายในช่องท้อง เพื่อตรวจสอบว่า มะเร็งตับอ่อนแพร่กระจายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องมีความเสี่ยงสูงกว่าวิธีการตรวจชิ้นเนื้ออื่น ๆ

การรักษามะเร็งตับอ่อน

การรักษามะเร็งตับอ่อนที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับระยะแพร่กระจาย หรือระยะของมะเร็ง ขั้นตอนของการรักษามะเร็งตับอ่อนเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจ สิ่งที่ยาก ก็คือ การพยายามรักษาโดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัดใหญ่ ในทางปฏิบัติแพทย์จะเลือกวิธีการรักษา โดยพิจารณาจากการศึกษาภาพ ผลการผ่าตัด และสถานะความเป็นอยู่โดยทั่วไปของแต่ละบุคคล

ระยะของมะเร็งตับอ่อน

ระยะ (Stage) เป็นคำที่ใช้ในการรักษามะเร็ง เพื่ออธิบายขอบเขตของการแพร่กระจายของมะเร็ง ระยะของมะเร็งตับอ่อนใช้เป็นแนวทางในการรักษาและจำแนกผู้ป่วยสำหรับการทดลองทางคลินิก ระยะของมะเร็งตับอ่อน ได้แก่

  • ระยะ 0 ไม่มีการแพร่กระจาย มะเร็งตับอ่อนจำกัดอยู่ที่ชั้นบนสุดของเซลล์ในท่อของตับอ่อน มะเร็งตับอ่อนไม่สามารถมองเห็นได้จากการทดสอบจากการถ่ายภาพหรือแม้แต่ด้วยตาเปล่า
  • ระยะ 1 การเติบโตเฉพาะที่ มะเร็งตับอ่อนจำกัดอยู่ที่ตับอ่อน แต่โตน้อยกว่า 2 เซนติเมตร (ระยะ IA) หรือมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร (ระยะ IB)
  • ระยะ 2 การแพร่กระจายในเฉพาะที่ มะเร็งตับอ่อนมีความสูงมากกว่า 4 เซนติเมตร และจำกัดอยู่ที่ตับอ่อน หรือมีการแพร่กระจายในเฉพาะที่ที่มะเร็งเติบโตนอกตับ หรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง ยังไม่แพร่กระจายไปยังขนาดที่ห่างไกล
  • ระยะ 3 การแพร่กระจายที่กว้างขึ้น เนื้องอกอาจจะขยายไปสู่เส้นเลือดใหญ่ หรือเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังบริเวณที่ห่างไกล
  • ระยะ 4 การแพร่กระจายที่ยืนยันแล้ว มะเร็งตับอ่อนได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ห่างไกล

การกำหนดระยะของมะเร็งตับอ่อนมักเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก การทดสอบภาพ เช่น CT Scan และอัลตราซาวด์สามารถให้ข้อมูลบางอย่าง แต่การรู้ว่ามะเร็งตับอ่อนแพร่กระจายไปไกลแค่ไหน มักต้องได้รับการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดมีความเสี่ยง แพทย์จะพิจารณาก่อนว่า มะเร็งตับอ่อนจะสามารถกำจัดออกได้โดยการผ่าตัดหรือไม่ ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

  • แก้ไขได้ ในการทดสอบภาพมะเร็งตับอ่อนยังไม่แพร่กระจาย หรืออาจแพร่กระจายแต่ยังไม่ไกล และศัลยแพทย์อาจรู้สึกว่าอาจกำจัดออกได้ทั้งหมด มะเร็งตับอ่อนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าสามารถผ่าตัดได้ เมื่อได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก
  • ขั้นสูงเฉพาะที่ (ไม่สามารถผ่าตัดได้) มะเร็งตับอ่อนได้เติบโตขึ้นเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการทดสอบการถ่ายภาพ ดังนั้น จึงสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกได้อย่างปลอดภัย
  • การแพร่กระจาย มะเร็งตับอ่อนแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นอย่างชัดเจน ดังนั้น การผ่าตัดจึงไม่สามารถกำจัดมะเร็งได้

หากสามารถผ่าตัดมะเร็งตับอ่อนได้ การผ่าตัดตามด้วยเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือทั้ง 2 อย่างอาจช่วยให้รอดชีวิตได้

การรักษามะเร็งตับอ่อนที่แก้ไขได้

ผู้ที่เป็นมะเร็งตับอ่อนที่สามารถแก้ไขได้ อาจได้รับการผ่านตัด 1 ใน 3 ครั้ง โดยขั้นตอนมีดังนี้

  • การผ่าตัดแบบยกยวง (Whipple procedure) ศัลยแพทย์จะเอาส่วนหัวของตับอ่อนออกและบางครั้งก็เป็นส่วนของตับอ่อน ส่วนของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ต่อมน้ำเหลืองบางส่วน ถุงน้ำดี และท่อน้ำดีทั่วไป อวัยวะที่เหลือจะเชื่อมต่อใหม่ ด้วยวิธีใหม่ เพื่อให้ย่อยอาหารได้ ขั้นตอนการผ่าตัดแบบยกยวงเป็นการผ่าตัดที่ยากและซับซ้อน เมื่อเวลาผ่าตัดไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง ศัลยแพทย์จะมองเห็นภายในช่องท้อง มะเร็งตับอ่อนที่คิดว่าจะสามารถผ่าตัดได้กลับกลายเป็นแพร่กระจาย และไม่สามารถแก้ไขได้ ก็จะทำให้ขั้นตอนการผ่าตัดแบบยกยวงไม่สมบูรณ์
  • การผ่าตัดตับอ่อนส่วนปลาย ส่วนหางหรือส่วนของร่างกายของตับอ่อนจะถูกเอาออก แต่ไม่ใช้ส่วนหัว การผ่าตัดนี้ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับมะเร็งตับอ่อน เนื่องจาก เนื้องอกส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนอกส่วนหัวของตัวอ่อนภายในร่างกายหรือส่วนหางนั้นไม่สามารถแก้ไขได้
  • การผ่าตัดตับอ่อนทั้งหมด ตับอ่อนและม้ามทั้งหมดจะถูกผ่าตัดออก แม้ว่ามันจะเคยถูกคิดว่ามีประโยชน์ แต่การผ่าตัดนี้ยังถือเป็นเรื่องที่แปลกอยู่ในปัจจุบัน

เคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด หรือทั้ง 2 อย่าง สามารถใช้ร่วมกับการผ่าตัดมะเร็งตับอ่อนที่ผ่าตัดได้และไม่สามารถผ่าตัดได้เพื่อ

  • ลดขนาดของมะเร็งตับอ่อนก่อนการผ่าตัดเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการผ่าตัด (Neoadjuvant Therapy)
  • ป้องกันหรือชะลอไม่ให้มะเร็งตับอ่อนกลับมาหลังจาได้รับการผ่าตัด (Adjuvant Therapy)

เคมีบำบัดหรือคีโมนั้นจะรวมถึงยามะเร็งที่เดินทางไปทั่วร่างกาย คีโมจะทำการฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนในเนื้องอกหลัก รวมทั้งเซลล์ที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ยาเคมีบำบัดที่สามารถรักษามะเร็งตับอ่อนได้แก่

  • ฟลูออโรยูราซิล (5-Fluorouracil) หรือเคปไซตาบีน (Xeloda)
  • เจมไซตาบีน (Gemzar)

ทั้งฟลูออโรยูราซิลและเจมไซตาบีนจะได้รับเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นประจำในระหว่างการไปพบคุณหมอด้านมะเร็ง ยาชนิดกินอย่าง เคปไซตาบีน (Capecitabine) อาจใช้แทนฟลูออโรยูราซิลได้ โดยเฉพาะการฉายรังสี ในการรักษาด้วยรังสี เครื่องจะส่งรังสีเอกซ์พลังงานสูงไปยังตับอ่อน เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อน การรักษาด้วยรังสีจะทำในระหว่างการรักษาทุกวัน โดยปกติจะใช้เวลาหลายสัปดาห์

ทั้งการฉายรังสีและเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์ปกติบางส่วน พร้อมกับเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงอาจรวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย รวมถึงความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือด แต่อาการมักจะหายไปใน 2-3 สัปดาห์หลังจากการรักษาด้วยรังสีเสร็จสิ้น

การรักษามะเร็งตับอ่อนชั้นสูงเฉพาะที่ (ไม่สามารถผ่าตัดได้)

ในมะเร็งตับอ่อนขั้นสูงเฉพาะที่ การผ่าตัดไม่สามารถเอาเนื้องอกทั้งหมดออกได้ เนื่องจาก การผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งตับอ่อนออกเพียงบางส่วนไม่ได้ช่วยอะไร การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดจึงดีที่สุด การรักษาประกอบด้วยเคมีบำบัด โดยอาจจะมีหรือไม่มีรังสีบำบัด ทั้งฟลูออโรยูราซิลหรือเจมไซตาบีน สามารถยืดอายุในผู้ที่เป็นมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลามได้

การรักษามะเร็งตับอ่อนระยะแพร่กระจาย

ในมะเร็งตับอ่อนระยะแพร่กระจาย การผ่าตัดจะใช้เพื่อควบคุมอาการเท่านั้น เช่น ปวด ดีซ่าน หรือกระเพาะอาหารอุดตัน อาจใช้การฉายรังสีเพื่อบรรเทาอาการได้เช่นกัน ยาเคมีบำบัดยังสามารถช่วยปรับปรุงอาการของมะเร็งตับอ่อนได้

เจมไซตาบีน เป็นยาเคมีบำบัดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษามะเร็งตับอ่อนระยะแพร่กระจาย การผสมยาอื่น ๆ ได้แก่ เจมไซตาบีนกับเออร์โลทินิบ (Tarceva) เจมไซตาบีนที่มีเคปไซตาบีน (Capecitabine) เจมไซตาบีนกับซิสพลาติน (Cisplatin) และเจมไซตาบีนกับแนบแพคลิแท๊กเซิล (Nab-paclitaxel)

หากคุณมีสุขภาพที่ดีพอสมควรคุณอาจได้รับ FOLFIRINOX (5-FU / Leucovorin / Oxaliplatin / Irinotecan) การผสมยาอื่น ๆ ได้แก่ เจมไซตาบีนเพียงอย่างเดียวหรือยาตัวอื่น ๆ เช่น แนบแพคลิแท็กเซิล หรือเคปไซตาบีน

การรักษาแบบประคับประคองสำหรับมะเร็งตับอ่อน

เมื่อมะเร็งตับอ่อนดำเนินไประยะเวลาหนึ่ง การักษาจะเปลี่ยนจากการยืดอายุเป็นการบรรเทาอาการ โดยพาะอย่างยิ่ง ความเจ็บปวด การรักษาหลายวิธีสามารถช่วยป้องกันความรู้สึกไม่สบายจากมะเร็งตับอ่อนขั้นสูง สำหรับขั้นตอนในการรักษา มีดังนี้

  • การขดท่อน้ำดีสามารถบรรเทาอาการตัวเหลืองได้ ซึ่งจะช่วยลดอาการคันและเบื่ออาหารที่เกี่ยวข้องกับการอุดตันของน้ำดี
  • ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Analgesics) และการบล็อกเส้นประสาทที่เรียกว่า การทำลายเส้นประสาท Celiac (Celiac Plexus Blockade) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  • ยาซึมเศร้าและการให้คำปรึกษา สามารถช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับมะเร็งตับอ่อน

หากคุณต้องการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อนได้ สามารถทำได้ดังนี้

  • หยุดการสูบบุหรี่ ถ้าคุณสูบบุหรี่และพยายามที่จะหยุด ลองพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่จะช่วยให้คุณหยุด รวมทั้งกลุ่มสนับสนุนและการบำบัดนิโคติน ถ้าคุณไม่สูบบุหรี่อย่าคิดที่จะเริ่มสูบ
  • รักษาน้ำหนักให้แข็งแรง หากคุณมีน้ำหนักที่เหมาะสม พยายามรักษาน้ำหนักเอาไว้ให้คงที่ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ให้ตั้งเป้าไปที่การลดน้ำหนักอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ ออกกำลังกายทุกวันร่วมกับการกินอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชในปริมาณที่น้อยลง เพื่อช่วยลดน้ำหนัก
  • เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาการที่เต็มไปด้วยผักและผลไม้หลากสี เมล็ดธัญพืช อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

พิจารณาการเข้าพบกับที่ปรึกษาทางพันธุกรรม หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อน คุณสามารถตรวจสอบประวัติสุขภาพในครอบครัวของคุณและพิจารณาว่า คุณอาจจะได้รับประโยชน์จากการทดสอบทางพันธุกรรม เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการเป็นตับอ่อนหรือมะเร็งอื่น ๆ หรือไม่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 13/05/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา