มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 13,000 คนต่อปี จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญและควรให้ความใส่ใจ เพื่อดูรับมือกับโรคได้อย่างถูกต้อง เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งเต้านม

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

สำรวจ มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่

มะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดที่คุกคามชีวิตของผู้ป่วย เนื่องด้วยการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ การรักษามะเร็งเต้านมมีวิธีผ่าเนื้องอกออกและกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ประมาณ 10-20% อาจเกิดกรณี มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่ ขึ้นได้อีก มะเร็งเต้านมที่กลับมาใหม่ คืออะไร มะเร็งเต้านม เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในเต้านม การรักษามะเร็งเต้านมจะผ่าเซลล์มะเร็งทั้งหมดออก อย่างไรก็ตาม บางเซลล์ที่ยังคงเหลือรอดในร่างกาย เพราะไม่ได้ถูกตรวจพบหรือแบ่งตัวเพิ่มจะกลายเป็นมะเร็งเต้านมต่อไป ผู้ป่วยอาจกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมที่เนื้องอกเดิม เรียกว่า “การกลับเป็นซ้ำที่จุดเริ่มต้นของโรค (Local Recurrence)” หรืออีกประเภทหนึ่งของการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำ คือ การเกิดเนื้องอกบริเวณเดิมที่เคยผ่าเนื้องอกออกแล้ว เรียกว่า “การกลับเป็นซ้ำเฉพาะที่ (Regional Recurrence)” มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ปอด กรณีเหล่านี้เรียกว่า “การลุกลาม (Metastasis)” มะเร็งเต้านมอาจกลับมาเกิดซ้ำอีกภายในเวลาหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากการรักษาครั้งเเรก สัญญาณเเละอาการของ การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ ขึ้นอยู่กับตำเเหน่งที่เกิดมะเร็งขึ้นอีก การเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำ บริเวณเต้านมเดิม หาก มะเร็งเต้านมกลับมาใหม่ เกิดขึ้นบริเวณเต้านมเดิม อาการที่เกิดขึ้น คือ มีเนื้องอกใหม่ในหน้าอก หน้าอกเเข็งผิดปกติ สัญญาณของหน้าอกอักเสบเเละเป็นรอยเเดง หัวนมเเบน รอยบุ๋ม มีเลือดหรือหนองไหล รวมถึงอาการผิดปกติอื่น ๆ การลุกลามไปที่สมอง อาการของ […]


มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม ยังสามารถมีลูกได้อยู่หรือเปล่า ?

ปัจจุบันมีผู้หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ เป็น โรคมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดคำถามสำคัญเรื่อง มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ว่า เมื่อเป็น โรคมะเร็งเต้านม จะส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำตอบที่น่าพึงพอใจสำหรับคำถามดังกล่าวว่า โรคมะเร็งเต้านม สามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความที่น่าสนใจนี้ ที่จะช่วยชี้เเจงบางประเด็นที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการเป็น โรคมะเร็งเต้านม และการตั้งครรภ์  สำหรับผู้ที่รักษา โรคมะเร็งเต้านม จนอาการดีขึ้นแล้วและต้องการตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อช่วยขอคำแนะนำสำหรับการวางแผนมีบุตรต่อไป มะเร็งเต้านมกับการตั้งครรภ์ ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้บ้าง ประเภทของการรักษา การรักษา โรคมะเร็งเต้านม นั้นมีหลากหลายรูปแบบ วิธีการรักษาเหล่านี้ จะถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ ว่าควรทำการรักษารูปแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับโรคและอาการของผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านม ไม่ใช่การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ทุกประเภท ที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเเละฉายรังสีจะยังคงมีบุตรได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด อาจเกิดความเสี่ยง ที่จะทำให้ภาวะรังไข่ล้มเหลว เเละเสี่ยงสูงมากที่จะเข้าสู่สู่วัยหมดประจำเดือนเร็วขึ้น ประเภทเเละระยะของมะเร็ง ประเภทและระยะของมะเร็งจะรุนเเรงขนาดไหนขึ้นอยู่กับการตรวจพบ เช่นเดียวกับประเภทของมะเร็ง ประเภทเเละความรุนเเรงจะชี้ชัดว่าจำเป็นต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือไม่ จึงส่งผลต่อความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่มีต่อรังไข่ด้วย นอกจากนี้ประเภทของเนื้องอก ยังส่งผลต่อโอกาสที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง มีมะเร็งเต้านมเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ไวต่อฮอร์โมน หมายความว่าไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ฮอร์โมน เเละต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเเทน อายุของผู้ป่วย อายุของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัดภาวะเจริญพันธุ์ ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี […]


มะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งเต้านมก็หายได้ ด้วย วิธีรักษามะเร็งเต้านม ที่ถูกต้อง

หนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตคนไทย รวมทั้งผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ โรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งปากมดลูก รวมถึง โรคมะเร็งเต้านม ที่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แม้โรคมะเร็งเต้านมจะน่ากลัว แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมก็อาจสามารถหายจากโรคได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ตามลักษณะของมะเร็งที่เป็นและสภาพร่างกายของผู้ป่วย ด้วย วิธีรักษามะเร็งเต้านม ที่ Hello คุณหมอนำมาฝากเหล่านี้ มาดู วิธีรักษามะเร็งเต้านม วิธีรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัดมะเร็งเต้านม การผ่าตัดถือเป็นวิธีรักษามะเร็งเต้านมหลักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น วิธีการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 2 วิธี ได้แก่ การตัดเต้านมออกทั้งเต้า การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (Total or Simple mastectomy) รวมถึงผิวหนังที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งและหัวนมด้วย เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ มีก้อนมะเร็งหลายก้อน หรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกหรือมีข้อห้ามในการฉายรังสีที่เต้านมหลังผ่าตัด การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม  การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม (Breast Conserving Surgery หรือ Lumpectomy) คือ การตัดก้อนมะเร็งและเนื้อเต้านมที่อยู่รอบๆ ออก โดยตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยมากแล้วจะยังคงเหลือหัวนม ฐานหัวนม และเนื้อเต้านมส่วนใหญ่เอาไว้ นิยมใช้กับผู้ป่วยที่มีมะเร็งขนาดเล็ก มีมะเร็งเพียงตำแหน่งเดียว เต้านมมีขนาดใหญ๋พอสมควร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน