โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยโภชนาการที่สมดุล

นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมอแล้ว อีกหนึ่งวิธีสำหรับ รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 คือ การให้ความสำคัญในเรื่อง ของอาหาร เนื่องจากอาหารจะส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเส้นประสาทเสียหาย ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคติดเชื้อ โรคไต ซึ่งอาจทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวลดลง [embed-health-tool-bmi] อาหาร สำคัญอย่างไรกับ เบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ร่างกายจึงไม่สามารถจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญสำหรับการ รับมือเบาหวานชนิดที่ 2 จึงเป็นการระมัดระวังไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงมากจนเกินไป โดยเฉพาะหลังจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ผู้ป่วยควรคำนึงถึง ค่าดัชนีน้ำตาล (GI) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถบอกได้ว่า อาหารแต่ละชนิดจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานพุ่งขึ้นสูงเท่าไหร่ หากต้องการควบคุมเบาหวานได้ดี จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เนื่องจากไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมากจนเกินไปหลังรับประทาน อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้ โปรตีน ควรเน้นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ ที่ปรุงโดยไม่ผ่านการทอด ถั่วต่าง ๆ ธัญพืชเต็มเมล็ด เต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมไขมันต่ำ ผัก ควรรับประทานผักเพิ่มขึ้น โดยในแต่ละมื้อแนะนำให้รับประทานผักในสัดส่วนประมาณ ½ […]


โรคเบาหวาน

อาหารทดแทน ทางเลือกใหม่สำหรับเบาหวานทุกระยะ

สำหรับผู้เป็นเบาหวาน การดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสม ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการควบคุมภาวะของโรคเบาหวาน เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปมีผลโดยตรงกับระดับน้ำตาลในเลือด ปัจจุบันจึงมีการคิดค้นอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวานโดยเฉพาะ เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลร่างกายที่สะดวกและจัดการโภชนาการได้สมดุลมากขึ้น อาหารทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ตอบโจทย์แนวทางการดูแลรักษาผู้เป็นเบาหวานและผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน1 เนื่องจากมีประโยชน์ที่สอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และจำกัดพลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนมีคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ ช่วยเพิ่มความอิ่มหลังมื้ออาหาร ทั้งยังให้พลังงานต่ำกว่ามื้ออาหารปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก โดยมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) สูง หลีกเลี่ยง ไขมันทรานส์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวซึ่งในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว (MUFA) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA) สูง ดีต่อสุขภาพหัวใจ มีการปรึกษาและวางแผนทางโภชนาการและมื้ออาหารทดแทน ในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนเป็นสูตรอาหารที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นอาหารเสริมหรือทดแทนมื้ออาหารได้เป็นอย่างดี อาาหรทดแทนสูตรครบถ้วนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน นอกจากจะครบถ้วนด้วยสารอาหารหลัก ต่าง ๆ พร้อมแร่ธาตุและวิตามินนานาชนิดแล้ว ยังมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษที่ย่อยและดูดซึมได้อย่างช้า ๆ มีโปรตีนสูงถึง 20% มากกว่าสูตรมาตรฐานทั่วไป และมีกรดไขมัน MUFA สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จำเป็นสำหรับผู้เป็นเบาหวานที่ต้องได้รับอย่างครบถ้วน ประโยชน์ของอาหารทดแทนที่ครอบคลุมถึงผู้เป็นเบาหวานในแต่ละกลุ่ม ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) เป็นภาวะที่เริ่มมีความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาล คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (Fasting Blood Sugar) […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เคล็ดลับการเลือกอาหารฉบับง่ายสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและคงที่ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เรื่องการรับประทานอาหารจึงมีส่วนช่วยให้รับมือกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น ซึ่งผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องของสารอาหารก่อนเริ่มปรับแผนการรับประทาน โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างเหมาะสมอย่าง คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ FOS) โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็น คาร์โบไฮเดรต แม้จะเป็นสารอาหารที่คุ้นเคย แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ด้วยวิธีการควบคุม 2 วิธี คือ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและค่าดัชนีน้ำตาล การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต เป็นการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน เพียงนับจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคในแต่มื้อของแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับแคลอรี่ประมาณครึ่งหนึ่งจากคาร์โบไฮเดรต1 ซึ่งหมายความว่าหากอาหารที่บริโภคใน 1 วันมีปริมาณ 1,500 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับไม่ควรมากกว่า 700-800 กิโลแคลอรี่ ซึ่งจะเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 175-200 กรัม/วัน (4 กิโลแคลอรี่/คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม) ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 กับการดูแลเรื่องอาหารให้สมดุล

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม [embed-health-tool-heart-rate] ทำความรู้จักโรคเบาหวาน1 โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิดคือ เบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภา อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นอาการจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานดังนั้น หากเพิ่งเริ่มเป็นหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก อาจจะยังไม่มีอาการเเสดงให้สังเกตุได้ชัดเจน และบางครั้งอาจใช้เวลาหลายปี กว่าจะปรากฏอาการให้เห็น ซึ่งมีดังนี้ กระหายน้ำ และความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยเมื่อยล้า แผลหายช้า  รู้สึกชาหรือมีอาการเสียวแปล๊บ ๆ ซ่า ๆตามปลายมือและเท้า ผิวบริเวณข้อพับ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่2 อาการ สาเหตุ การรักษา

เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลิน หรือร่างกายอาจผลิตอินซูลินได้ไม่ดีพอ ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้เซลล์รับน้ำตาลได้น้อยลง จนอาจทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ โดยเบาหวานชนิดที่2 เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคเบาหวาน โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน เบาหวานชนิดที่2 คืออะไร เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล โดยร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน ปกติแล้ว อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อและเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แต่หากเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เบาหวานชนิดที่2 อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงต้องใช้ยารักษาโรคเบาหวาน หรือการรักษาอินซูลินควบคู่ไปด้วย โรคเบาหวานชนิดที่2 อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน  อาการของเบาหวานชนิดที่2 สำหรับอาการของเบาหวานชนิดที่2 อาจได้แก่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง มองเห็นภาพซ้อน ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงตอนกลางคืน กระหายน้ำตลอดเวลา รู้สึกชาที่มือหรือเท้า รู้สึกหิวตลอดเวลา […]


โรคเบาหวาน

สถิติเบาหวานในประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกันเบาหวานที่ควรรู้

สถิติเบาหวานในประชากรทั่วโลกและในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต สถิติเบาหวานในประเทศไทยล่าสุด พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากเบาหวานโดยเฉลี่ย 200 คน/วัน และผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นโรคเบาหวานประมาณ 5 ล้านคนการจัดการโรคเบาหวานและการดูแลตัวเองอาจช่วยป้องกัน และลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานได้ สถิติเบาหวานในประเทศไทย โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทั้งประชากรทั่วโลกและในประเทศไทย ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลงด้วยภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต แผลที่เท้า โรคปลายประสาทตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม โดยคนไทยเสียชีวิตจากโรคเบาหวานมากถึง 200 คน/วัน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานสูงถึง 5.3 ล้านคน และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พบว่า กลุ่มอายุ 60-69 ปี มีความชุกเป็นโรคเบาหวานสูงที่สุด ในผู้ชายคิดเป็นร้อยละ 15.9 และผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 21.9 จากการสำรวจสุขภาพคนไทยครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2557 พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานเกิดจากอะไร

เบาหวานเกิดจากอะไร เป็นคำถามที่อาจตอบได้ยาก เนื่องจากโรคเบาหวานอาจเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลิน รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน เป็นต้น เพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีแนวโน้มว่าเสี่ยงเป็นเบาหวาน จะได้ดูแลตนเองและเข้ารับการรักษาอย่างตรงจุดและทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] เบาหวานเกิดจากอะไร เบาหวาน ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถจัดการฮอร์โมนที่เรียกว่า อินซูลิน ได้อย่างเหมาะสม อาจเกิดจากตับอ่อนผลิตได้ไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน โดยอินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการนำกลูโคสจากอาหารที่รับประทานออกจากกระแสเลือด เข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ จนเป็นโรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต และสูญเสียการมองเห็นได้ สำหรับสตรีตั้งครรภ์อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายในช่วงตั้งครรภ์อาจผลิตฮอร์โมนสร้างความสมดุล คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านั้นอาจไปกระทบต่อเซลล์ที่ทำให้ร่างกายดื้ออินซูลิน นำไปสู่โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ประเภทของเบาหวาน ประเภทของเบาหวาน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ส่งผลให้ทำลายเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตอินซูลิน จนไม่อาจสร้างอินซูลินให้เพียงพอต่อร่างกาย โดยส่วนใหญ่เบาหวานชนิดนี้อาจพบได้บ่อยในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เบาหวานชนิดที่ 2  […]


โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือด และการวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือด คือ ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดซึ่งมาจากอาหารที่รับประทาน และเป็นแหล่งพลังงานหลักไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ เพื่อประเมินการรักษา การดูแลตนเอง และป้องกันความเสี่ยงในการมีโรคแทรกซ้อน ระดับน้ำตาลในเลือด คืออะไร กลูโคสเป็นน้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย   หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจะเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เนื่องจากเกิดความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นพลังงานได้ จึงทำให้กลูโคสยังคงสะสมอยู่ในเลือดและเพิ่มขึ้น จนพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหาร ค่าปกติควรอยู่ระหว่าง 60-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก่อนมื้ออาหาร และเพิ่มขึ้นเป็น 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังจากมื้ออาหาร หากน้อยกว่าจะเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือหากมากกว่าเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งทั้งสองภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง มักส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอื่น ๆ ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง เพราะร่างกายพยามยามกำจัดน้ำตาลส่วนเกินทำให้ร่างกายอาจสูญเสียน้ำจำนวนมาก และภาวะร่างกายสลายไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการโคม่าจากเบาหวานได้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มักส่งผลกระทบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) อาการ ภาวะแทรกซ้อน การป้องกัน

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) คือ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ร่างกายบกพร่อง จึงทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในกระเเสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เเก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมไปถึงผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle) ไม่ค่อยออกกำลังกาย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เเละมักพบตั้งเเต่วัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น ภาวะแทรกซ้อน Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ควบคุมให้ดี อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายเสื่อมลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  ภาวะเบาหวานขึ้นตา หากคุมเบาหวานได้ไม่ดี นอกจากเส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายจะเสื่อมแล้ว ยังทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตาเสียหายได้ด้วย จนทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะจอประสาทตาเสื่อม รวมทั้งโรคต้อหิน เเละโรคต้อกระจก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจรุนเเรงจนทำให้ตาบอดได้ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เมื่อควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการคัน ปัญหาผิวหนังที่พบบ่อย

เบาหวาน อาการคัน มักเป็นปัญหาผิวที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เช่น ผิวแห้ง ติดเชื้อรา เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังและเส้นประสาทไม่ดี ทำให้เกิดอาการคัน การดูแลเบาหวานและผิวหนังที่ดี จะช่วยให้บรรเทาอาการคันลงได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน อาการคัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีอาการคันที่ผิวหนัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผิวแห้ง การไหลเวียนของเลือดไม่ดี เส้นใยประสาทถูกทำลาย หรือการติดเชื้อรา หากอาการคันเกิดจากการไหลเวียนเลือดผิดปกติ อาจทำให้รู้สึกคันบริเวณขา หรือเมื่ออาการคันเกิดจากเส้นใยประสาทถูกทำลาย เนื่องจากมีการสะสมของน้ำตาล และสารอื่น ๆ เช่น สารเร่งความชรา (Advance Glycation End Products หรือ AGEs) อาจสร้างความเสียหายให้กับเส้นใยประสาทและอาจทำให้เกิดอาการคันได้ นอกจากนี้ ปัญหาผิวอื่น ๆ จากโรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดอาการคันได้เช่นกัน ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เป็นแบคทีเรียที่พบได้ตามปกติบนผิวหนัง แต่ในผู้ป่วยเบาหวานอาจพบได้บ่อยและอาจสร้างปัญหาร้ายแรงให้กับผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้ายได้ เช่น อาจทำให้เกิดฝีหรือตุ่มอักเสบ การติดเชื้อที่เท้าที่อาจร้ายแรงจนถึงขั้นสูญเสียเท้า การติดเชื้อรา ส่วนใหญ่เชื้อรามักอาศัยอยู่ในบริเวณผิวหนังที่อับชื้นอย่างบริเวณข้อพับ รักแร้ เท้า ขาหนีบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคัน หรือแผลพุพอง เช่น เชื้อราในร่มผ้า […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน