โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานลงไต ภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้ไตทำงานผิดปกติ และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของไตวาย อีกทั้งก่อให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ  สาเหตุเบาหวานลงไต เบาหวานลงไต (Diabetic Nephropathy หรือ Diabetic Kidney Disease) จัดเป็นภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรงของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes) โดยสาเหตุหลักเกิดจากโรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ในไตถูกทำลาย เมื่อไตเกิดความผิดปกติจึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้น้อยลง เมื่อกระบวนการขับของเสียที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียบริเวณไตจึงเริ่มส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดภาวะไตวาย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการเบาหวานลงไต    เบาหวานลงไตในระยะแรกมักไม่แสดงอาการมากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะผู้ป่วยเบาหวานจะเริ่มมีอาการ ดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ  คลื่นไส้อาเจียน  หายใจถี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใบหน้า […]


โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอท ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือไม่

ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอท เกิดจากความเชื่อในอดีตที่ว่า การรับประทานแครอทอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน แต่ความจริงแล้ว แครอทเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าสารอาหารที่สำคัญนานาชนิด เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ ส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน  [embed-health-tool-bmi] ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอท จริงหรือไม่ เนื่องจากแครอทมีรสหวาน โดยมีดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index)  มากกว่า 40 แครอทจึงถูกจัดว่ามีค่าดัชนีปานกลาง ในแง่ของผลกระทบที่มีต่อน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดความเชื่อว่า หากกินแครอทซึ่งมีรสหวานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น  แต่ความเชื่อที่ว่าผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรกินแครอทเพราะมีรสหวานนั้นไม่เป็นความจริง เพราะแครอทจัดว่าเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเค โพแทสเซียม วิตามินซี และแอนโธไซยานิน และยังอุดมด้วยไฟเบอร์ซึ่งมีส่วนสำคัญในการควบคุมการปล่อยอินซูลิน (Insulin) และกลูโคส (Glucose) เข้าสู่กระแสเลือด และยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง รวมทั้งประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ อีกด้วย แครอทมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไร แครอทมีประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน ดังต่อไปนี้ แครอทอุดมด้วยไฟเบอร์ในปริมาณมาก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  สารแคโรทีนอยด์ในแครอทช่วยป้องกันเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ลดความเสี่ยงการสูญเสียการมองเห็น แครอทอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แครอทอุดมด้วยวิตามินเอ มีคุณสมบัติช่วยรักษาสมดุลระบบภูมิคุ้มกันอย่าง ทีเซลล์ […]


โรคเบาหวาน

กัญชารักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

กัญชารักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ให้ความคิดเห็นสนับสนุนว่า การใช้กัญหาอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอาจสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมถึงมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจเลือกใช้กัญชาเพื่อรักษาเบาหวาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน [embed-health-tool-heart-rate] กัญชารักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ จากผลการศึกษาและวิจัยในต่างประเทศ พบว่า กัญชามีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยในปี พ.ศ. 2556 นักวิจัยได้ทำการทดลองอาสาสมัครจำนวน 4,657 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี พบว่า อาสาสมัครจำนวน 2,554 คน ที่ใช้กัญชา มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 16% และระดับอินซูลินลดลง 17% รวมถึงมีระดับคอเลสเตอรอลที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการทดลองนี้คือ การค้นพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้กัญชามีอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมากกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้กัญชา นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2558 พบว่า สารสกัดในกัญชา ที่เรียกว่า สารแคนนาบิไดอัล (Canabidiol หรือ CBD) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดจากการอดอาหารได้ และช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ตับอ่อน ลดความต้านทานต่ออินซูลิน  5 สายพันธุ์กัญชารักษาโรคเบาหวาน หลายคนอาจไม่ทราบว่ากัญชามีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่มีความต้องการใช้กัญชาในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนตัดสินใจใช้กัญชารักษาเบาหวาน เพราะหากรักษาผิดวิธีหรือใช้กัญชาผิดสายพันธุ์อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน […]


โรคเบาหวาน

ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง

ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยบาหวาน โดยเฉพาะธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีอย่างข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง คินัว เนื่องจากอุดมด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น อาจป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ป้องกันโรคอ้วน [embed-health-tool-bmi] ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หากผู้ป่วยเบาหวานต้องการรับประทานธัญพืช อาจเลือกธัญพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี เนื่องจาก ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ ที่ร่างกายต้องการ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานอาจบริโภคธัญพืชประมาณ 45%-55% จากแคลอรี่ทั้งหมดที่รับประทานในแต่วัน เพื่อเสริมสร้างความสมดุลให้แก่สุขภาพร่างกาย โดยธัญพืชที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานได้อาจมีดังนี้ ข้าวโอ๊ต โฮลวีต ข้าวฟ่าง คินัว ข้าวกล้อง ข้าวโพด ข้าวไรย์เต็มเมล็ด บัลเกอร์ ข้าวทริทิเคลี นอกจากธัญพืช ผู้ป่วยเบาหวานอาจรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ผลไม้และผักชนิดต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว ปลาแซลมอน ปลาทู ปลาซาร์ดีน เพราะอาจเป็นอีกตัวช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด เติมวิตามินพร้อมแคลเซียมให้แก่ร่างกาย เพิ่มเอนไซม์ในการช่วยย่อยแป้ง และมีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการรุนแรงจากโรคเบาหวาน ประโยชน์ของ ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประโยชน์ของธัญพืชในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ อาจช่วยป้องกันระดับคอเลสเตอรอล เบต้ากลูแคนในธัญพืชอาจช่วยลดระดับคอลเลสเตอรอลโดยรวมและไขมันไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดแดง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

การ ฝังเข็ม เป็นหนึ่งในการรักษาตามศาสตร์ดั้งเดิมของทางแพทย์แผนจีน อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอ และเข้ารับการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ การฝังเข็มอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น การการศึกษาของประเทศจีนในปี พ.ศ. 2561  พบว่า หนูทดลองที่เป็นเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มเป็นระยเวลา 3 สัปดาห์ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เเละ มีระดับอินซูลินที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 วารสารการฝังเข็มทางการแพทย์ ปีพ.ศ. 2559 ได้กล่าวถึง การฝังเข็มรักษาเบาหวานว่า อาจเป็นทางเลือกในการรักษาหนึ่งที่ช่วยเเก้ไขภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยกระตุ้นความไวของอินซูลินระยะยาวได้ แต่ทั้งนี้การดูแลตนเองอย่างถูกต้องด้วยการควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกาย วางแผนรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ รูปแบบการฝังเข็มที่แพทย์แผนจีนเลือกใช้ อาจพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนี้ การฝังเข็มใช้แรงกระตุ้นจากไฟฟ้า การฝังเข็มแบบสมุนไพร การฝังเข็มตามจุดที่เชื่อมโยง ข้อดีของการฝังเข็มที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ ผู้ป่วยเบาหวานที่ทำการรักษาด้วยเทคนิคฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยพบว่าอาจช่วยปกป้องเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ และมีส่วนช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนหลายชนิด เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) อินซูลิน (Insulin) กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticold) เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ได้อีกด้วย ความเสี่ยงของการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ก่อนชจะตัดสินใจรับการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ควรศึกษาความเสี่ยงของการฝังเข็มด้วย โดยความเสี่ยงที่พบได้ อาจมีดังนี้ ความเจ็บ อาจมีรอยช้ำตามจุดที่ปักเข็มลงไป เลือดออก เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็มรักษาเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF ทำได้อย่างไรบ้าง

ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถบ่งบอกได้ว่า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ หากวัดได้เกินกว่า 100 มิลลิกรัม นั่นอาจหมายความว่า อาจเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารบางรูปแบบ เช่น ควบคุม เบาหวาน ด้วยการทำ IF อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนตัดสินใจทำ IF เพราะหากเลือกรูปแบบของการทำ IF ไม่เหมาะสม อาจยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไร ผลการวิจัยระบุไว้ว่าการใช้วิธีคุมเบาหวานด้วย (Intermittent Fasting หรือ IF) อาจทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว และส่งเสริมให้สุขภาพหัวใจมีความแข็งแรงขึ้น เนื่องจาก IF จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี ปรับปรุงระดับอินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดเอวันซี (Hemoglobin A1c) ให้คงที่ตามเกณฑ์ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง จากผลการศึกษา การวิจัย พบว่าผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 3 คน ได้รับการดูแลตามที่แพทย์กำหนด เป็นเวลา 10-25 ปี โดยอดอาหารวันเว้นวัน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ตาปลาและหนังหนาด้านจากเบาหวาน อาการและวิธีรับมือ

ผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีนับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและภาวะขาดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลที่เท้า นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้เมื่อเกิดแผลที่เท้าแล้ว ยังหายช้ากว่าปกติด้วย ทั้งนี้ การทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน อาทิเช่น ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงวิธีดูแลเท้าที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลสุขภาพเท้าได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน  ตาปลาและหนังหนาด้านในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อย โดยเกิดเนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนนั้น ๆ ได้รับการเสียดสีหรือแรงกดทับซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น หลวมเกินไป หรือคับเกินไป หากปล่อยให้ ตาปลาและหนังหนาด้าน เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ  และมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดตาปลาและหนังหนาด้าน ด้วยการดูแลสุขภาพเท้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เลือกสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้าของตน ลักษณะอาการตาปลาและหนังหนาด้าน ที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ หากผู้ป่วยเบาหวานมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเท้าของคุณมีอาการ ตาปลาและหนังหนาด้าน ผิวหนังมีลักษณะหนา แข็ง และหยาบกร้าน ผิวเป็นขุยแห้ง มีลักษณะผิวคล้ายกับขี้ผึ้ง กดแล้วรู้สึกเจ็บภายใต้ผิวหนัง จัดการตาปลาและหนังหนาด้าน ด้วยการเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าแต่ละแบบมีรูปแบบการกดทับที่เท้าต่างกัน หากเท้าเกิดการกดทับซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตาปลาและหนังหนาด้าน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องเลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายและมีขนาดพอดีกับเท้า ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป หากซื้อรองเท้ามาใหม่ ให้ลองสวมใส่อย่างน้อย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน สาเหตุ และการรับมือ

อาการบวมส่วนปลาย หรืออาการบวมของรยางค์ (Peripheral Edema) เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบหมุนเวียนเลือด จึงทำให้เกิดอาการบวมและเป็นแผลได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องให้ความสำคัญในดูแลแผลและควบคุมอาการบวม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] อาการบวมส่วนปลาย ในผู้ป่วยเบาหวาน  อาการบวมส่วนปลาย เกิดจากแรงดันในหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำรั่วออกมาจากเส้นเลือดฝอยออกมาสู่บริเวณเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ผิวหนังเกิดอาการบวมตึง และมีลักษณะบุ๋มลงไป แต่ในผิวผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีลักษณะบุ๋ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม อาการบวมสามารถขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณขา หน้าท้อง ปอด แต่ส่วนใหญ่อาการบวมส่วนปลายมักเกิดขึ้นบริเวณเท้า ข้อเท้า และขา เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดเพียงข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ สาเหตุของ อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ลิ่มเลือดอุดตันของเส้นเลือดดำ การอักเสบของเนื้อเยื่อ  ถุงน้ำบริเวณใต้ข้อพับเข่าแตก  ระบบหมุนเวียนน้ำเหลืองเกิดการอุดตัน อาการบวมน้ำจากการใช้อินซูลิน  ภาวะอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคตับ โรคหัวใจ และโรคไตอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย และมีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า  ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ ยาฮอร์โมน ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานบางชนิด รับมืออย่างไร หากมีอาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานสามารถลด อาการบวมส่วนปลายในผู้ป่วยเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

หลอดเลือดแข็ง เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อันตรายที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากอาจทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือด และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเรียนรู้วิธีการลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแข็งจากโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต [embed-health-tool-bmi] หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็ล้วนทำให้กเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ เนื่องจาก เมื่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเกิดเป็นคราบหรือตะกอนเกาะตามผนังของหลอดเลือด ส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดหนาและแข็งผิดปกติ ขาดความยืดหยุ่น อีกทั้งยังทำให้รูของหลอดเลือดตีบแคบลง การไหลเวียนเลือดไม่ดี จนพัฒนาเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่รุนแรงขึ้น ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากสมดุลของการนำนำ้ตาลไปเปลี่ยนใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกายบกพร่องไป โดยอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ โดยอินซูลินนั้นมีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือเกิดจากการที่ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อร่างกายเกิดภาวะดังกล่าว จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าที่ควน และหากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้ดี อาจส่งผลต่อทำให้ ระบบไหลเวียนเลือดเสียหาย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึง หลอดเลือดแข็ง ได้นั่นเอง วิธีป้องกันหลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหลอดเลือดแข็งได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เลิกบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่มือสอง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อรับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นเบาหวานยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคเบาหวานได้โดยการรับประทานยาลดระดับน้ำตาล รวมไปถึงการใช้ยาฉีดอินซูลิน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

อาการเบาหวานที่พบบ่อยในเด็ก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

อาการเบาหวานที่พบได้ในเด็ก อาจได้แก่ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย ไม่ร่าเริง ไม่มีสมาธิ ซึ่งการทราบถึงอาการหรือสัญญาณของโรคเบาหวาน อาจช่วยให้ผู้ปกครองสามารถสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้รีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจและให้การรักษาได้โดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] อาการเบาหวานที่พบบ่อยในเด็ก โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาทำลายเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้อินซูลินในร่างกายลดลง ไม่เพียงพอในการจัดการกับน้ำตาลของร่างกาย จนนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยอาการเบาหวานที่พบได้ในเด็กอาจมีดังนี้ กระหายน้ำบ่อย หรือมีพฤติกรรมการดื่มน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนหลังจากที่นอนหลับไปแล้ว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่ร่าเริง นอนกลางวันบ่อย ๆ ห น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  ไม่มีสมาธิ หากเด็ก ๆ มีอาการข้างต้น หรือกังวลว่าอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ปกครองควรรีบพาบุตรหลานของท่านไปพบคุณหมอ เพื่อปรึกษาและเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หากพบว่าเป็นโรคเบาหวานจะได้รีบเริ่มให้การรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว  การวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก จำเป็นต้องใช้การตรวจเลือด โดยจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหารเป็นหลัก หรือ ในบางครั้งหากมีอาการที่ชัดเจนว่าเข้าได้กับโรคเบาหวาน อาจทำการเจาะเลือดแบบสุ่ม แล้วทำการประเมินร่วมกันได้ นอกจากการตรวจระดับน้ำตาลเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว อาจมีการเจาะเลือดตรวจภูมิ (Antibody) ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประกอบกันไปด้วย […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน