โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ที่บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หากเป็นโรคเบาหวาน การ ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง ถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของแผนการรักษาเบาหวาน โดยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา ซึ่งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยเลือดเพียงเล็กน้อย การตรวจระดับน้ำตาลหรือตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง อาจช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนระยะยาวของโรคเบาหวาน และช่วยให้คุณหมอมีข้อมูลเพียงพอในการเลือกวิธีรักษาเบาหวานที่เหมาะสมที่สุด ตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง คืออะไร การไปโรงพยาบาลเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดอาจใช้เวลานาน เริ่มจากการนัดหมอ การเดินทางไปโรงพยาบาล รอเข้าพบคุณหมอ ในทางกลับกัน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่บ้าน ซึ่งช่วยให้คุณสังเกตอาการและควบคุมโรคเบาหวานของคุณได้มีหลายประเภท เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจค่าน้ำตาลเฉลี่ย (A1C) การตรวจเลือด เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในบ้าน พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องควบคุมเบาหวาน โดยค่าของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานควรอยู่ระหว่าง 70 ถึง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การเจาะน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง เรียกว่า Fasting blood glucose (FBG) ควรมีค่าต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร น้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอาการที่ระดับกลูโคสมีค่าต่ำกว่า 70 สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลเกินกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนั้น หากการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและมีระดับของน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คุณอาจมีภาวะเสี่ยงต่อเบาหวาน หรือเรียกอีกอย่างว่า “Prediabetes” การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ได้ช่วยในการควบคุมเบาหวานอย่างเดียว แต่ยังช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานกับผิวหนัง ทำไมจึงเกิดอาการคันและติดเชื้อง่าย

เบาหวานกับผิวหนัง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมาควบคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอาการคันผิวในผู้ป่วยหวานซึ่งมักมีผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น นอกจากนั้นแล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคันได้อีกด้วย ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องดูแลตนเอง รับประทานยาสม่ำเสมอและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการคันเเละโรคเกี่ยวกับผิวหนังอื่น ๆ ที่อาจเกิดเเทรกซ้อนขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานกับผิวหนัง และอาการคันผิว อาการคันผิวหนัง ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งมักมีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนังให้สังเกตพบร่วมด้วย หรือ อาจเกิดจากผิวเเห้ง เนื่องจากผิวขาดน้ำ เพราะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย เเละ เป็นการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย อีกทั้งน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างเรื้อรังยังส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เเละ ระบบเส้นประสาทที่หล่อยเลี้ยงชั้นผิวหนัง จึงทำให้มีผิวเเห้ง คัน เเละ เกิดการระคายเคืองได้ง่าย การติดเชื้อแบคทีเรีย ผิวหนังอักเสบติดเชื้อเเบคทีเรียนับว่าเป็นการติดเชื้อที่ควรรีบได้รับการรักษาที่ถูกต้องเเละเหมาะสม เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระเเสเลือดได้ ผื่นผิวหนังอักเสบอาจพบได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น ขา เเขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเเผลนำมาก่อน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังศีรษะ  โดยสามารถก่อให้เกิดตุ่มหนอง เเละ แผลพุพองอักเสบ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป การติดเชื้อรา เนื่องจากเมื่อมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำงานบกพร่องไป ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ควบคุมให้ดีจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ผิวหนัง รวมถึงบริเวฯอวัยวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อราในช่องคลอด โรคกลากเกลื้อน ซึ่งการติดเชื้อรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย ได้แก่ เท้า (น้ำกัดเท้า) น้ำกัดเท้า หรือ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ปัญหาสุขภาพตา ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

ปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่มาจากโรคเบาหวานนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งปัญหาความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่ง ปัญหาสุขภาพตา ที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การมองไม่ชัด จอตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ปัญหาสุขภาพตา ที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาสุขภาพตาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังต่อไปนี้ ตามัวหรือตาพร่า อาการตามัวหรือตาพร่า เป็นปัญหาตาที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เลนส์ตาอาจมีการบวม ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เพื่อแก้ไขอาการนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจจะใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้การมองกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีโอกาสที่จะเกิดอาการต้อหินได้มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ความเสี่ยงของโรคนั้นอาจเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งต้อหินอาจเกิดขึ้นเมื่อความดันในตาเพิ่มสูงขึ้น และไม่สามารถขับของเหลวในตาออกไปได้เท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้เส้นเลือด เส้นประสาทตา เกิดความเสียหาย จนอาจถึงขั้นตาบอดได้ ในช่วงแรก ผู้ป่วยต้อหินอาจจะไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งต้อหินสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงด้านการมองเห็น เช่น ปวดหัว ปวดตา ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ น้ำตาไหล ซึ่งต้อหินที่อาจพบได้บ่อย คือ ต้อหินมุมเปิด ซึ่งการใช้ยาลดความดันในดวงตา และเพิ่มความเร็วในการขับของเหลวในดวงตา อาจช่วยรักษาต้อหินประเภทนี้ได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

พฤติกรรมการกินผิดปกติ ในกลุ่มวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

พฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น การกินมากเกินไป อดอาหารมากเกินไป เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนและวิธีการป้องกันพฤติกรรมการกินผิดปกติ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1มีสุขภาพที่ดี และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] พฤติกรรมการกินผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจนว่าทำไมกลุ่มวัยรุ่นจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคการกินผิดปกติเพิ่มขึ้น แต่พบว่าพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติมักจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่ป่วยเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และจากผลการวิจัยยังพบเหตุผลบางประการที่ช่วยอธิบายความขัดแย้งที่ว่า “ทำไมอัตราวัยรุ่นที่เป็นโรคการกินผิดปกติถึงอยู่ในระดับต่ำ แต่อัตราพฤติกรรมการกินผิดปกติกลับเพิ่มสูงขึ้น” ซึ่งเหตุผลเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับอาการทางสุขภาพ และการรักษาโรค อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติในวัยรุ่นจะค่อนข้างต่ำ แต่ก็มีรายงานว่า วัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีแนวโน้มพฤติกรรมการกินผิดปกติแบบไม่แสดงอาการในระดับที่สูงกว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ตัวอย่างของพฤติกรรมการกินผิดปกติแบบไม่แสดงอาการก็คือ มีการจำกัดปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อ และจริงจังกับการออกกำลังกายมากเกินไปเพื่อที่จะลดน้ำหนัก มากไปกว่านั้น ยังมีรายงานอีกว่าวัยรุ่นที่ป่วยเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะหยุดฉีดหรือลดปริมาณการฉีดยาอินซูลินลง ซึ่งการทำเช่นนั้นจะส่งผลให้เกิดภาวะไกลโคซูเรีย (Glycosuria) คือมีน้ำตาลในปัสสาวะมากเกินไป และภาวะที่เรียกว่า “น้ำตาลเป็นพิษ” ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอย่างมาก เพราะการลดหรือหยุดฉีดอินซูลินจะไปขัดขวางไม่ให้เกิดการเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไป ซึ่งต่างกับวัยรุ่นที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินโดยอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองต่ออาหารที่กินเข้าไป อันตรายจากพฤติกรรมการกินผิดปกติ มีงานวิจัยระบุว่า ความเสี่ยงของการมีพฤติกรรมกินอาหารผิดปกติของวัยรุ่นที่ป่วยเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกหดหู่ ความรู้สึกอยากผอม ความรู้สึกว่าแต่ก่อนเคยควบคุมอาหารได้ ตอนนี้ก็เลยมีความคาดหวังเป็นอย่างมากที่จะรักษาน้ำหนักปัจจุบันเอาไว้ให้ได้ จึงทำให้มีการควบคุมปริมาณของอาหารและสารอาหารที่จะกินในแต่ละวันมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติของวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

ลูกเป็นโรคเบาหวาน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

โรคเบาหวาน คือกลุ่มโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากอินซูลินที่ไม่เพียงพอ หรือร่างกายไม่อาจตอบสนองต่ออินซูลิน โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย หาก ลูกเป็นโรคเบาหวาน ตั้งแต่เด็กคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพของลูกด้วยการหมั่นพาเข้าตรวจสุขภาพ และปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของโรคเบาหวาน ประเภทของโรคเบาหวาน มีดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปากแห้ง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานในเด็ก ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในเด็กหากไม่รีบรักษา ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานอาจทำให้เด็กเสี่ยงเป็นหลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดในสมองแตก เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เส้นประสาทเสียหาย น้ำตาลในเลือดปริมาณมากอาจทำให้ผนังหลอดเลือดของทุกส่วนในร่างกายรวมถึงหลอดเลือดเส้นประสาทเสียหายและแคบลง ทำให้เด็กอาจรู้สึกชา  เจ็บปวด สุขภาพตาเสื่อม ระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับสูงอาจทำลายหลอดเลือดเรตินาดวงตา นำไปสู่การมองเห็นเปลี่ยนแปลง ภาพซ้อน ตาพร่ามัว กระดูกพรุน โรคเบาหวานอาจทำลายมวลกระดูกของเด็ก ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อเจริญเติบโต ไตเสียหาย ไตมีส่วนช่วยในการขจัดของเสียออก แต่หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้เด็กที่เป็นโรคเบาหวานมีอาการเบาหวานแย่ลง ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก็สามารถทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในการกรองของเสียออกได้ เริ่มต้นดูแลลูกอย่างไรเมื่อ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ทารกกับโรคเบาหวาน ข้อควรรู้เพื่อการดูแลลูกอย่างถูกต้อง

ทารกกับโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่อาจพบในคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมไม่ดีระหว่างตั้งครรภ์ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ช่วงระยะที่ตั้งครรภ์จนถึงก่อนชคลอดลูก นอกจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ เช่น เกิดภาวะดีซ่าน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วหอบ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการที่คุณแม่จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งตัวคุณแม่เอง และ ลูกน้อยในครรภ์ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการของ ทารกกับโรคเบาหวาน ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานอาจจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าทารกทั่วไป ซึ่งอาจมีน้ำหนักแรกคลอดได้มากถึง 4 กิโลกรัมรวมอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้อื่น ๆ ดังต่อไปนี้ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ในช่วงแรกคลอด เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกคุ้นชินกับระดับน้ำตาลที่ค่อนข้างสูงจากคุณแม่ จึงทำให้ร่างกายทารกผลิตฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ออกมาปริมาณมากเช่นกัน เพื่อพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลของร่างกายทารกเอง แต่เมื่อทันทีที่คลอดแล้ว ทารกจะไม่ได้รับน้ำตาลจากคุณแม่อีก จึงอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ช่วงแรกคลอด คุณหมอจึงจำเป็นจะต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของทารกอย่างใกล้ชิดในช่วง 12-24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อาจมีปัญหาของระบบหัวใจและปอดทำให้หายใจเร็วหัวใจเต้นเร็ว ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยอาการดังกล่าวอาจเป็นอาการขของภาวะที่ปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ทารกดื่มนมน้อย ซึม นอนหลับมาก ไม่ค่อยร้องไห้ หรือร้องเสียงเบา ๆ เกิดภาวะดีซ่านหรือตัวเหลือง ส่งผลให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง คลอดก่อนกำหนด เสี่ยงต่อกาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคอ้วนได้ เมื่อเติบโตขึ้น สำหรับคุณแม่ที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีนั้น เพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดได้ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานในเด็ก โรคที่พ่อแม่ควรทำความรู้จักก่อนสายเกินไป

เบาหวานในเด็ก เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในเด็กซึ่งพบได้ยาก โดยส่วนใหญ่มักพบว่าเด็กป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ ๅ  ซึ่งพ่อแม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความรู้จักและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้อย่างละเอียด เพื่อจะได้ดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกวิธี  ช่วยให้ลูกสามารถอยู่กับโรคนี้ได้และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข การทำความเข้าใจเบาหวานในเด็ก พ่อแม่จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับเบาหวานในเด็ก ซึ่งแตกต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่ โดยเบาหวานในเด็กที่พบบ่อยคือเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ทางการแพทย์สันนิษฐานว่า เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินชูคืนได้ การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเบาหวานในเด็กจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การศึกษาตัวผู้ป่วยและครอบครัว พ่อแม่ควรทำความเข้าใจลูกที่ป่วยเป็นเบาหวานในเด็ก และให้การดูแลรักษอย่างเหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันควรให้ความใส่ใจกับสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ด้วย การติดต่อกับทีมผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างใกล้ชิด พ่อแม่จำเป็นต้องพาลูกไปตรวจสุขภาพเป็นประจำสม่ำเสมอ สังเกตอาการและปรึกษาแพทย์หากพบข้อสงสัย อาการเบาหวานในเด็ก เบาหวานในเด็ก อาจมีอาการเหล่านี้ ได้แก่ กินเก่ง แต่น้ำหนักตัวมักลดลง หายใจหอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ดื่มน้ำมากกว่าปกติ มักกระหายน้ำถี่ ปัสสาวะมากและบ่อยโดยเฉพาะในตอนกลางคืน หากเป็นแผล มักหายช้ากว่าปกติ การรักษาเบาหวานในเด็ก เบาหวานในเด็ก ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด โดยปกติมักรักษาโดยการฉีดอินซูลินตลอดชีวิต รวมทั้งการดูแลเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม และที่สำคัญคือการพักผ่อนอย่างเพียงพอและออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากนั้นแล้ว ผู้ป่วยเด็กที่เป็นเบาหวานมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าผู้ใหญ่ และมักควบคุมได้ยากว่า เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถควบคุมความต้องการของตนเองได้ ทำให้ความสามารถในการควบคุมเบาหวานทำได้ยาก ทำไมจึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับเบาหวานในเด็ก การศึกษาเกี่ยวกับเบาหวาน โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก พ่อแม่จำเป็นต้องใส่ใจอย่างจริงจังเด็กที่เป็นเบาหวานควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะในการพูดคุย […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรับมือที่ควรรู้

เบาหวานในเด็ก เป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อไม่มีอินซูลิน จึงอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจนส่งผลให้เด็กเป็นโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อาการ สัญญาณเตือน รวมถึงสาเหตุ และวิธีรับมือกับโรคที่ถูกต้อง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้คนรอบข้างสามารถดูแลเด็กที่เป็นเบาหวาน และช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น [embed-health-tool-”bmi”] เบาหวานในเด็ก คืออะไร  โรคเบาหวานในเด็ก หรือเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก (Type 1 diabetes in children) เป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องใช้อินซูลินเพื่อการใช้ชีวิต จึงต้องหาอะไรเพื่อมาทดแทนอินซูลินที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 รู้จักกันในชื่อ “โรคเบาหวานในเด็ก” ซึ่งเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากร่างกายไม่มีการผลิตอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลำเลียงน้ำตาลจากไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น เมื่อร่างกายไม่มีการผลิตอินซูลิน จึงทำให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้ตับอ่อนสูญเสียความสามารถในการผลิตอินซูลิน กลุ่มเซลล์ที่อยู่ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินจะโดนทำลายทีละนิดจนหมด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ การฉีดอินซูลินหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลินจึงมีความจำเป็นต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อาการของโรคเบาหวานในเด็ก อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก มักจะมีอาการและพัฒนาความรุนแรงของอาการอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด  เช่น กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย ปริมาณน้ำตาลจำนวนมากที่อยู่ในกระแสเลือดดึงเอาของเหลวจากเนื้อเยื่อออกมามากทำให้เด็ก ๆ มีอาการกระหายน้ำ และดื่มน้ำอยู่บ่อย ๆ ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย บางครั้งทำให้เด็ก ๆ […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานในเด็ก สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติเรื้อรัง มักพบในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ แต่เด็กก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน โดย โรคเบาหวานในเด็ก ที่พบ ได้บ่อย คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งอาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในเด็ก เช่น พันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทาน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานในเด็ก เพื่อหาวิธีการป้องกันอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุของ โรคเบาหวานในเด็ก ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ระบุแน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะต่อสู้กับเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ที่เป็นอันตราย แต่ในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 พบว่า ระบบภูมิคุ้มกันกลับทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อนโดยไม่ตั้งใจ อาจเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเชื้อโรคที่จะเข้าโจมตีร่างกาย พันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเองก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้ โดยปกติ ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตอินซูลินซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล (กลูโคส) จากกระแสเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย น้ำตาลจะเข้าสู่กระแสเลือดเมื่ออาหารถูกย่อย แต่หากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย ร่างกายก็จะผลิตอินซูลินน้อย หรือไม่ผลิตอินซูลินเลย จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดในร่างกายเด็กเพิ่มขึ้นและเกิดเป็นปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานในเด็ก ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานในเด็ก อาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว มาจากการที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน