โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน วิธีรักษาและการควบคุม

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน อาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ใช้อินซูลินบำบัดผิดวิธี หากไม่ทำการรักษาอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด ระบบประสาทเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานสามารถรักษาและควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวาน คืออะไร อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงเกินกว่า 200  มิลลิกรัม/เดซิลิตร จากค่าปกติที่ควรอยู่ประมาณ 99-140  มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ ดังนี้ อาการของผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ในระยะแรก ได้แก่ กระหายน้ำ ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง น้ำหนักลดลง ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยล้า ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผิวแห้ง ปากแห้ง น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาการของผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ในระยะรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้อที่ผิวหนังและในช่องคลอด หายใจถี่เร็ว อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ ลมหายใจมีกลิ่น เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องผูก  วิงเวียนศีรษะ อาเจียน แผลหายช้า มองเห็นภาพซ้อน กระสับกระส่าย […]


โรคเบาหวาน

อาการของคนเป็นเบาหวาน สังเกตได้อย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินเพียงพอเพื่อช่วยให้น้ำตาลเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่ง อาการของคนเป็นเบาหวาน อาจสังเกตได้จากระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เท้าบวม ปัสสาวะบ่อย หากมีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอ และรับการรักษาทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานเกิดจากอะไร โรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงกับการทำงานของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อน มีบทบาทสำคัญในการนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ให้ร่างกายนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากเกิดความผิดปกติในการทำงานของอินซูลิน ก็อาจทำให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดสูงและนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus หรือ T1DM) อาจเกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเซลล์ในตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ย ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus หรือ T2DM) อาจเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ หรือภาวะที่ร่างกายมีอินซูลินแต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคเบาหวาน

รักษาเบาหวาน สุขภาพที่ดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน เริ่มต้นที่ควบคุมน้ำตาล

โรคเบาหวาน เป็นภาะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือพบภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลจากอาหารให้เป็นพลังงานแก่เซลล์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย หากมีแผลหายช้า น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย และหงุดหงิดง่าย อาจจะเป็นเบาหวานแล้วก็ได้ ประเภทของโรคเบาหวาน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานอาจแตกต่างกันออกไป โดยเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ส่งผลทำลายเซลล์ในตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ นำไปสู่การสะสมของน้ำตาลในเลือดปริมาณมาก นอกจากนี้ หากครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ก็อาจทำให้บุตรเสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่เชื่อมโยงให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินอาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต น้ำหนักเกินมาตรฐาน อายุที่มากขึ้น ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลไม่ดีสูง ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเผชิญกับภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) ที่สังเกตได้จากระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่แสดงอาการใด ๆ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์อาจต่อต้านอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่กระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารก เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดบุตรยาก คลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเบาหวาน หรือไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คอดำ เบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการคอดำ สามารถมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีลักษณะเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งมีลักษณะผิวคล้ำ หนา นูน หยาบกร้าน หรือบางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนังมากขึ้น มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีรูปร่างอ้วน ดังนั้น หากมีอาการคอดำเกิดขึ้นอย่างกะทันหันควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน อาการคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน อาการคอดำ เป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ได้แก่ ผิวคล้ำขึ้น ผิวหนา หยาบกร้าน บางคนอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมา และอาจมีอาการคันหรือมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาจพบตามบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น รักแร้ ขาหนีบ คอ ทั้งนี้ควรเข้าพบคุณหมอหากมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หรือมีอาการคัน เจ็บปวด มีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ สาเหตุของคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน คอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุจากระดับอินซูลินที่สูงขึ้นไปกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเจริญเติบโตมากกว่าปกติ ภาวะนี้ทางการแพทย์ เรียกว่า โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) ส่วนใหญ่พบมากผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีรูปร่างอ้วน หรือในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีรูปร่างอ้วน การรักษาคอดำ ในผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการคอดำ อาจเป็นเพียงการรักษาในกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนให้ลดน้ำหนัก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เท้าบวม เบาหวาน สาเหตุและการดูแล

เท้าบวม เบาหวาน หรือเท้าเบาหวาน เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวานเมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และสะสมในเส้นเลือดมากขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดีจนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เท้าได้เพียงพอ ของเหลวจะเข้าไปสะสมอยู่ตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ขา ข้อเท้า เท้า จนทำให้เกิดอาการบวมขึ้น นอกจากนี้ บาดแผลที่เท้าและการติดเชื้ออาจส่งผลทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้เช่นกัน หากมีบาดแผลที่เท้าหรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ควรเข้ารับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน สาเหตุของอาการเท้าบวม เบาหวาน เท้าบวมจากเบาหวาน อาจเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ ที่ผู้ป่วยเบาหวานพบบ่อยและส่งผลต่อเท้า ดังนี้ โรคหลอดเลือดตีบ โรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้เส้นเลือดต่างๆ แข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น จากการสะสมของน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือด จนทำให้หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันเรื้อรัง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื้อบริเวณเท้าได้อย่างเพียงพอ หากผู้ป่วยเบาหวานเกิดบาดแผลที่เท้าจะส่งผลให้แผลหายช้าหรือแผลอาจไม่สมานตัว เนื่องจากหลอดเลือดตีบจนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เท้าเพื่อรักษาแผลได้ จนอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น เท้าบวม ตะคริว ปวด แผลเปื่อย สีผิวที่เท้าเปลี่ยน ในกรณีรุนแรงเมื่อเลือดไหลเวียนได้น้อยลงอาจทำให้มีอาการเจ็บปวด ติดเชื้อ กลายเป็นเนื้อตาย คุณหมออาจต้องรักษาด้วยการตัดเนื้อเยื่อบริเวณเนื้อตาย นิ้วเท้า หรือรุนแรงถึงขั้นตัดขา โรคระบบประสาทจากเบาหวาน โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานอาจทำลายเส้นประสาทจนทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ความรูสึกที่เท้าเปลี่ยนแปลงไป หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เจ็บปวด ระคายเคืองหรือชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งหากเป็นการชาที่รุนแรงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อมีบาดแผล จนนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงที่เท้าได้ จึงอาจทำให้ไม่รู้ตัวว่าได้รับบาดเจ็บบริเวณเท้า นำไปสู่ความเสี่ยงทำให้แผลอักเสบ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

แผลเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ทำให้ผิวหนังรักษาตัวเองได้ช้าลง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีแผลเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถพัฒนากลายเป็นแผลที่ใหญ่ขึ้นและเสี่ยงติดเชื้อได้ โดยส่วนใหญ่แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นบริเวณเท้า เนื่องจากเส้นเลือดตีบตันจนเลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณเท้าได้ ทำให้เลือดไหลเวียนกลับมาไม่สะดวก ทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบ ไม่รู้สึกเจ็บ เกิดบาดแผลได้ง่าย และเมื่อเกิดแผลจึงทำให้แผลหายช้า สาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า แผลเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นแผลเปิดที่เท้าและอาจมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แผลเบาหวานหายช้า อาจมีดังนี้ ความผิดปกติของหลอดเลือด ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีภาวะเส้นเลือดตีบแข็งและอุดตันในเส้นเลือดแดงใหญ่และเส้นเลือดฝอย ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ และเกิดเป็นแผลขึ้น พบบ่อยที่บริเวณปลายนิ้วเท้าและตำแหน่งการลงน้ำหนัก เช่น ส้นเท้า นอกจากนี้ การที่เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เพียงพอ ยังอาจส่งผลให้แผลที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น เช่น ตะปูตำ เล็บขบ หรือแผลจากการบาดเจ็บสมานตัวได้ช้าลง โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ มีไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มการตีบตันของเส้นเลือดมากขึ้นอีกด้วย การติดเชื้อแทรกซ้อน ส่วนใหญ่แผลเบาหวานมักมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้ออื่น ๆ ร่วมด้วย ส่งผลทำให้แผลเกิดการอักเสบและลุกลามมากขึ้น ร่วมกับปัญหาเส้นเลือดฝอยอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ จนอาจทำให้แผลไม่สมานตัวและมีกลิ่นเหม็นเน่า นอกจากนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนทางประสาทและหลอดเลือด อาจมีแนวโน้มทำให้แผลเบาหวานรักษายากยิ่งขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่คุณหมอจะรักษาอวัยวะเหล่านั้นไว้ได้ จนจำเป็นต้องตัดเนื้อตายส่วนนั้นทิ้งไป ปลายประสาทเสื่อม ปลายประสาทเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานหลายปี โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมีที่รักษาความสมดุลของร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์เส้นประสาท ปลายประสาทเสื่อม สามารถแบ่งได้ดังนี้ ประสาทอัตโนมัติเสื่อม ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการหดและขยายของหลอดเลือดและการหลั่งเหงื่อ ทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อน้อยลง ผิวแห้ง แตก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวานขึ้นตา อาการที่ควรสังเกต

เบาหวานขึ้นตา หรือ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อหลอดเลือดบริเวณด้านหลังดวงตา หรือที่เรียกว่า เรตินา (Retina) ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ยิ่งระยะของโรคเบาหวานลุกลามและระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจยิ่งเพิ่มโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในดวงตามากขึ้น จนอาจทำให้สูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ หากอาการรุนแรงขึ้น อาจส่งผลให้หลอดเลือดฝอยบริเวณจอประสาทตาและหลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายเสื่อมได้เช่นกัน เบาหวานขึ้นตา อาการเป็นอย่างไร เบาหวานขึ้นตา อาจทำให้หลอดเลือดด้านหลังดวงตาเกิดความเสียหาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 40%-45% มักเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ซึ่งในระยะเริ่มต้นอาจยังไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจมีปัญหาการมองเห็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ อาการเบาหวานขึ้นจอตา เมื่อโรคเบาหวานลุกลามมากขึ้นหรือเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้มีอาการเหล่านี้ มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นเป็นจุดหรือเส้นสีดำในดวงตา ตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัดเจน ดวงตาไม่สามารถปรับให้มองเห็นในที่มืดได้ดีเท่าที่ควร ไขมันรั่วในจอตา ทำให้จอประสาทตาบวม จอประสาทตาหลุดลอก เลือดออกในน้ำวุ้นตา สูญเสียการมองเห็น อาการจอตาบวมน้ำจากเบาหวาน เกิดจากของเหลวสะสมอยู่บริเวณกึ่งกลางของเรตินา อาจทำให้มีอาการเหล่านี้ ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นคลื่นหรือเส้นสีดำในตา มองเห็นสีซีดจางลงหรือสีเหลือง มองเห็นเงาตะกอนน้ำวุ้นตา (Floaters) คือ เห็นเป็นเงาดำเล็ก ๆ ที่เกิดจากตะกอนในน้ำวุ้นตา อาการเบาหวานและต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีความเสี่ยงเกิดโรคต้อหินเป็น 2 เท่า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานอาจมีภาวะแทรกซ้อนมีเส้นเลือดผิดปกติที่บริเวณม่านตา อาจอุดทางเดินของน้ำภายในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้น หากปล่อยไว้เป็นเวลานานความดันที่เกิดขึ้นอาจกดให้ประสาทตาฝ่อได้ ซึ่งโรคต้อหินเป็นโรคที่ทำลายเส้นประสาทตา […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

6 พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานที่พบบ่อย เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป แต่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อและเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เมื่อเซลล์ได้รับน้ำตาลน้อยลง ก็อาจทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 90%-95% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ออกกำลังกาย และปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น โรคเบาหวานอาจส่งผลต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด เส้นประสาท ดวงตา ไต ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ก็อาจมีแนวโน้มเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต 6 พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการเบาหวาน สัญญาณเตือนโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการเบาหวาน ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเป็นโรคเบาหวาน มักเป็นผลจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ก่อนจะไปพบคุณหมอสามารถตรวจอาการเบื้องต้นว่าเข้าข่ายป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ และรีบเข้าปรึกษาคุณหมอ เพื่อการตรวจรักษาอย่างถูกต้องร่วมกับการดูแลตนเอง อาการเบาหวาน โรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes Mellitus) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกภูมิคุ้มกันทำลาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น แต่อาจพบได้ในผู้ใหญ่บางรายได้เช่นกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน เป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนร่วมด้วย โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีอาการแตกต่างกัน แต่มีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ เหนื่อยง่าย หิวบ่อย ถ่ายปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปากแห้งและคันตามผิวหนัง ตาพร่าหรือมองเห็นภาพไม่ชัด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 อาการป่วยมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ และมักวินิจฉัยพบเมื่ออยู่ในระยะอันตรายแล้ว ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงแรกอาจยังไม่แสดงอาการชัดเจนมากนัก หากผู้ป่วยไม่ทันสังเกตก็มักจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทราบว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานเมื่อร่างกายเกิดอาการและส่งผลกระทบกับสุขภาพโดยรวม ดังนั้น […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานอาการที่ควรสังเกต

เบาหวานอาการที่สังเกตได้สังเกตได้ชัดคือ อาการหิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำมากขึ้น ปากแห้ง ตาพร่า นอกจากนี้ยังอาจมีอาการที่แตกต่างกันตามโรคเบาหวานแต่ละชนิด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคเบาหวาน อาจสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวไว สามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ เบาหวานอาการเป็นอย่างไร อาการเริ่มต้นของเบาหวานทั้ง 2 ประเภทที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้ หิวบ่อยและอ่อนเพลีย ร่างกายจะเปลี่ยนอาหารเป็นกลูโคสเพื่อให้เซลล์ดูดซึมและใช้เป็นพลังงาน โดยมีอินซูลินช่วยดูดซึมกลูโคส หากร่างกายสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือเซลล์ต่อต้านอินซูลิน ก็ไม่สามารถดูดซึมกลูโคสไปเป็นพลังงานให้ร่างกายได้ ทำให้มีอาการหิวบ่อยและเหนื่อยมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำมากขึ้น โดยปกติคนทั่วไปจะปัสสาวะประมาณวันละ 4-7 ครั้ง แต่ผู้ป่วยเบาหวานอาจปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมกลูโคสได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจึงต้องผลิตปัสสาวะมากขึ้นเพื่อขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย และเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำมากจึงส่งผลให้ผู้ป่วยกระหายน้ำมากขึ้นตามไปด้วย ปากแห้งและคันผิวหนัง เนื่องจากร่างกายขับของเหลวออกปริมาณมาก ทำให้ร่างกายขาดน้ำและสูญเสียความชุ่มชื้น จนผิวแห้ง ปากแห้ง และมีอาการคันที่ผิวหนัง ตาพร่ามัว การเปลี่ยนแปลงระดับของเหลวในร่างกายอาจทำให้เลนส์ในดวงตาบวมซึ่งส่งผลต่อการโฟกัสของดวงตา และทำให้มีอาการมองเห็นไม่ชัดได้ น้ำตาลในเลือดสูง หมายถึงภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะมาก ตาพร่า หิวมากขึ้น ชาที่เท้า เหนื่อยล้า ปัสสาวะมีน้ำตาล น้ำหนักลด ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน