ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการมีอยู่ของทารกตัวน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในครรภ์ อาการมากมายที่เกิดขึ้นมาจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อาการนี้อันตรายหรือไม่ และอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือเปล่า [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ก็เป็นอาการหนึ่งของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีประจำเดือนมา จึงต้องลองสังเกตร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากเป็นช่วงที่ถึงรอบเดือน ใกล้กับช่วงเวลาประจำเดือนมา แล้วเกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนอาจมาใน 1-2 วัน แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงที่ประจำเดือนจะมา แต่เกิดมีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ให้ลองใช้ชุดตรวจครรภ์ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ แล้วเกิดอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน อาจเกิดความกังวลว่า อาการนี้อันตรายหรือไม่ สามารถมีข้อสังเกตได้ ดังนี้ 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ : หากเกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดบีบ ๆ รัด ๆ ตรงกลางท้อง ร่วมกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลายวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด   ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ท้องนอกมดลูกเกิดจากกรณีใด สัญญาณเตือนและปัจจัยเสี่ยง

การท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ ภาวะที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนนอกโพรงมดลูก โดยเกิดมากที่บริเวณปีกมดลูกหรือบริเวณท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง เป็นภาวะการตั้งครรภ์ผิดปกติที่อาจเป็นอันตรายกับทั้งหญิงตั้งครรภ์ได้ และตัวอ่อนในครรภ์จะไม่สามารถเติบโตจนคลอดไดh หลายคนอาจสงสัยว่า ท้องนอกมดลูกเกิดจากกรณีใด ผู้หญิงบางคนอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะท้องนอกมดลูกได้ง่ายกว่าคนอื่น เช่น เคยผ่าตัดหรือทำหัตการใด ๆ ที่บริเวณท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด การสูบบุหรี่ โดยหากหญิงตั้งครรภ์มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องฉับพลัน มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะท้องนอกมดลูก ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยโรคและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด ท้องนอกมดลูกเกิดจากกรณีใด ภาวะท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นเมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิและกลายเป็นตัวอ่อนเดินทางไปไม่ถึงผนังมดลูก แต่ไปฝังตัวอยู่บริเวณนอกมดลูกเสียก่อน โดยส่วนใหญ่มักไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่ และบริเวณอื่น ๆ เช่น รังไข่ ปากมดลูก บริเวณอื่น ๆ ภายในช่องท้อง แต่เนื่องจากอวัยวะด้านนอกไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับตัวอ่อนที่เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และไม่สามารถขยายตัวได้เหมือนมดลูก การตั้งครรภ์จึงไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ ตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกไม่อาจอยู่รอดและมีพัฒนาการต่อไปได้ เนื้อเยื่อที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีภาวะเลือดออกภายในช่องท้อง และเสี่ยงถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สาเหตุของภาวะท้องนอกมดลูก อาจมีดังนี้ ฮอร์โมนภายในร่างกายทำงานผิดปกติ ความผิดปกติทางพันธุกรรม อาการอักเสบและรอยแผลเป็นภายในท่อนำไข่จากการผ่าตัดก่อนหน้านี้ ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางไปถึงมดลูกได้ตามปกติ ตัวอ่อนเจริญเติบโตผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ท้องนอกมดลูก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องเป็นตะคริว เกิดจากอะไร

คนท้องเป็นตะคริวเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นเพราะร่างกายขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก โดยตะคริวอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวระหว่างตั้งครรภ์ และเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวลใจ แต่หากเป็นตะคริวหรือมีอาการปวดท้องรุนแรงอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดจากสภาวะร่างกายและปัญหาขณะตั้งครรภ์ เช่น มดลูกหดตัว ท้องอืด แท้งบุตร ตั้งครรภ์นอกมดลูก คลอดก่อนกำหนด จึงอาจต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากพบความผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอทันที คนท้องเป็นตะคริว เกิดจากอะไรได้บ้าง คนท้องเป็นตะคริว เกิดจากร่างกายขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือด เนื่องจากทารกจำเป็นต้องดึงแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายคุณแม่ไปสร้างกระดูกและพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายทารก ทำให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสเลือดของคุณแม่ลดลงจนอาจเกิดเป็นตะคริวได้ รวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักตัวมากขึ้นทำให้ขาและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น หรือการนั่งเป็นเวลานานก็อาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเท่าที่ควรจนเลือดคั่งบริเวณน่องหรืออวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและเกิดเป็นตะคริวขึ้น ส่วนใหญ่ตะคริวในคนท้องจะเกิดขึ้นในอายุครรภ์ประมาณ 21-24 สัปดาห์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ตะคริวยังอาจเกิดขึ้นในมดลูกซึ่งอาจทำให้คุณแม่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบาย อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ คนท้องเป็นตะคริวระหว่างตั้งครรภ์ระยะแรก คนท้องเป็นตะคริวในระยะแรกอาจเกิดจากปัญหาการตั้งครรภ์และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ ดังนี้ ตะคริวที่เกิดขึ้นขณะไข่กำลังฝังตัวบริเวณโพรงมดลูก อาจมีอาการเกิดขึ้นในช่วง 6-12 วัน หลังการปฏิสนธิ อาจทำให้มีเลือดออกและเป็นตะคริวเล็กน้อย หรือเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก และอาจมีอาการคลื่นไส้ เจ็บเต้านม ปวดหลังส่วนล่าง ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน ซึ่งประมาณ 2-3 วันอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ตะคริวที่เกิดขึ้นจากอาการท้องอืด ท้องผูกและมีแก๊สในกระเพาะอาหาร […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการ

ความอ่อนเพลียเป็นอาการที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมากอาจยิ่งทำให้อ่อนเพลียมากขึ้น ซึ่งอาการอ่อนเพลียจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีอาจช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ได้ อ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุใด อาการอ่อนเพลียมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกประมาณสัปดาห์ที่ 1-13 ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงและการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อาการจุกเสียดท้อง อาจยิ่งทำให้อ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์มากขึ้น เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไปจนถึงไตรมาสที่ 2 อาการอ่อนเพลียจะค่อย ๆ ดีขึ้นหรือหายไปเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาการอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากความเครียดและน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้คุณแม่นอนหลับไม่สนิทและไม่สบายตัวจนก่อให้เกิดความอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้ อาการอ่อนเพลียขณะตั้งครรภ์อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ ดังนี้ โรคโลหิตจาง อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้รู้สึกปวดกล้ามเนื้อและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยรวม อาจนำไปสู่อาการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน เนื่องจากอาการปวดเมื่อยรุนแรง โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะขาดไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ในช่วงแรก แต่ต่อมาอาจแสดงอาการต่าง ๆ เช่น ปวดตามข้อ โรคอ้วน การทำงานของหัวใจผิดปกติ ทั้งยังอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก การติดเชื้อ  เช่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Threatened abortion (ภาวะแท้งแบบคุกคาม) คืออะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร

Threatened abortion คือ ภาวะแท้งแบบคุกคาม ที่อาจเกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ พบได้ร้อยละ 20-25 ของสตรีตั้งครรภ์ โดยในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ร้อยละ 50 จะมีการแท้งเกิดขึ้นจริงๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามอีกร้อยละ 50 ก็จะสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ปกติ หญิงตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอยเป็นระยะเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ โดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด และมักจะไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย แต่ในบางรายมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย หากพบสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาจากคุณหมอทันที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุของภาวะ Threatened abortion สาเหตุของ Threatened abortion ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะแท้งคุกคามได้ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด Threatened abortion มีดังนี้ มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป อาจมีแนวโน้มเสี่ยงแท้งบุตรร้อยละ 15 การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศสำคัญที่ช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต สูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่อาจเข้าสู่กระแสเลือดและส่งไปยังทารกในครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อระบบประสาทของทารกในครรภ์ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการพิการแต่กำเนิดและแท้งบุตรได้ ความผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ ที่อาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมี ส่งผลมีให้ความเสี่ยงที่ทารกพิการแต่กำเนิด หรือแท้งบุตร เพิ่มมากขึ้น โรคเรื้อรัง เช่น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาการครรภ์เป็นพิษ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

อาการครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักพบได้ในช่วงหลังการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 ขึ้นไป ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โปรตีนในปัสสาวะสูง ส่งผลให้เท้า มือ และขาบวม นำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น คลอดก่อนกำหนด แท้งบุตร โรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะภายในเสียหาย ชัก และเสียชีวิต ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติ และตรวจสุขภาพตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษและรักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุที่ทำให้เกิด อาการครรภ์เป็นพิษ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัย ที่ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนเลือดผิดปกติ นำไปสู่ความดันโลหิตสูง จนก่อให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้ โรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus) การตั้งครรภ์ท้องแรก การตั้งครรภ์แฝด การตั้งครรภ์จากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ุ คนในครอบครัวมีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ลักษณะอาการครรภ์เป็นพิษ อาการครรภ์เป็นพิษ อาจสังเกตได้จากอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องส่วนบน บริเวณใต้ซี่โครงขวา หรือจุกแน่นลิ้นปี่รุนแรง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลูกไม่ค่อยดิ้น เป็นสัญญาณเตือนหรือไม่

โดยปกติแล้ว คุณแม่อาจรู้สึกว่าลูกในครรภ์เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายหรือเริ่มดิ้นในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 18-20 ในท้องแรก หรือในท้องหลังจะรู้สึกในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ การที่ลูกในครรภ์ขยับร่างกายหรือดิ้นอย่างสม่ำเสมออาจทำให้คุณแม่รู้สึกเบาใจว่าลูกเจริญเติบโตและแข็งแรงดี แต่หาก ลูกไม่ค่อยดิ้น หรือดิ้นน้อยลง อาจทำให้คุณแม่เริ่มกังวลว่าอาจมีความผิดปกติเกิดกับลูกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาสาเหตุของอาการลูกไม่ค่อยดิ้น ที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกในครรภ์อาจผิดปกติ เช่น ตำแหน่งของลูกในท้อง น้ำหนักของคุณแม่ ความผิดปกติภายในร่างกาย อาจช่วยให้คุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติของลูกในครรภ์ในเบื้องต้นได้ หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้เข้าพบคุณหมอและรักษาได้อย่างทันท่วงที สาเหตุที่ ลูกไม่ค่อยดิ้น ลูกไม่ค่อยดิ้น อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ อายุครรภ์น้อยหรือมากเกินไป ช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 16-22 ของการตั้งครรภ์คุณแม่อาจยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นหรือขยับร่างกาย เนื่องจากลูกยังเจริญเติบโตไม่มากพอ โดยปกติแล้ว คุณแม่จะเริ่มสัมผัสได้ว่าลูกดิ้นในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 18 - 20 ในท้องแรก หรือในท้องหลังจะรู้สึกในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ จากนั้นลูกจะดิ้นอย่างสม่ำเสมอ และบางครั้งอาจดิ้นแรงขึ้น แต่เมื่ออายุครรภ์มาถึงช่วงสัปดาห์ที่ 36 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ การดิ้นของลูกอาจเปลี่ยนไปหรือน้อยลง เนื่องจากลูกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจนมีพื้นที่ในครรภ์น้อยลง ทำให้ดิ้นหรือขยับร่างกายได้ยากกว่าเดิม ตำแหน่งของลูกในครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นได้มากน้อยแค่ไหนนั้น อาจขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลูกและรกด้วย รกคืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกว้าง ถูกสร้างขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ มีหน้าที่ช่วยแลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูก หากรกไปอยู่บริเวณด้านหน้ามดลูกแล้วกั้นกลางระหว่างลูกกับหน้าท้อง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่ อายุ ปัญหาสุขภาพ โรคประจำตัว การใช้ชีวิตและปัญหาขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพครรภ์ สุขภาพคุณแม่และสุขภาพทารกในครรภ์ ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักแรกเกิดต่ำ พิการแต่กำเนิด หรือทารกเสียชีวิตขณะคลอดได้ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์และการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์มซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพครรภ์และสุขภาพทารกในครรภ์ มีดังนี้ อายุ การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ ทารกน้ำหนักตัวน้อย การคลอดก่อนกำหนดและการแท้งบุตร นอกจากนี้ วัยรุ่นยังมีแนวโน้มในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์หรือปัญหาสุขภาพทารก เช่น แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด มดลูกอักเสบหลังจากคลอดบุตร วัยรุ่นอาจละเลยการเข้ารับการตรวจครรภ์และการดูแลก่อนคลอด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาขณะตั้งครรภ์ หรืออาจทำให้ทารกในครรภ์มีปัญหาสุขภาพ  เช่น พิการแต่กำเนิด โรคทางพันธุกรรม การตั้งครรภ์ที่อายุเกิน 35 ปี เมื่ออายุมากขึ้นปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงในการตั้งครรภ์บางประการอาจเพิ่มขึ้นตามอายุด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เลือดออกมากขณะคลอด ใช้เวลาคลอดนานกว่า 20 ชั่วโมง เเละเพิ่มความเสี่ยงว่าทารกอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม ปัจจัยด้านการใช้ชีวิต การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด พิการแต่กำเนิด หรืออาจเกิดโรคไหลตายในเด็ก ทั้งยังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ การสูดดมควันบุหรี่มือสองยังทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นได้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ลูกดิ้นน้อย เป็นเพราะอะไร

ลูกดิ้นน้อย อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันไปหลายประการ เช่น ตำแหน่งของทารกอยู่ห่างจากส่วนหน้าของมดลูก ทำให้คุณแม่อาจสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของทารกได้ไม่ชัด หรืออาจอยู่ในช่วงใกล้คลอด ซึ่งทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจนอาจทำให้ดิ้นได้น้อยลง หรืออาจเกิดจากปัญหาการตั้งครรภ์ เช่น ทารกเจริญเติบโตช้า ความผิดปกติของมดลูกและรก ทารกในครรภ์มีภาวะเครียดหรือสุขภาพมีปัญหา ซึ่งอาจต้องได้รับการตรวจสอบจากคุณหมอเพื่อความแน่ชัด การดิ้นของลูกเกิดขึ้นอย่างไร ทารกในครรภ์จะเริ่มดิ้นมากขึ้นซึ่งแสดงถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก คุณแม่อาจรู้สึกถึงการเตะ ต่อย กลิ้งตัวที่ชัดเจนและบ่อยขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 16-24 คุณแม่อาจสังเกตเห็นการดิ้นได้ง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนราบ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ทารกอาจดิ้นบ่อยขึ้นและแรงขึ้น บางครั้งเมื่อลูกตัวใหญ่ขึ้นอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บซี่โครงในขณะที่ลูกดิ้นได้ สาเหตุที่ลูกดิ้นน้อย ลูกดิ้นน้อย อาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ดังนี้ ตำแหน่งของทารก หากทารกอยู่ไกลจากด้านหน้าของมดลูกหรือทารกหันหลังไปฝั่งตรงข้ามกับหน้าท้อง หรือรกเกาะทางด้านหน้าของมดลูก อาจทำให้คุณแม่สัมผัสถึงการเคลื่นไหวของทารกได้น้อยลง อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะถึงเวลาคลอด แต่บางครั้งขนาดตัวของทารกที่ใหญ่อาจทำให้ทารกดิ้นได้น้อยลงเนื่องจากมีพื้นที่จำกัด และทารกอาจเริ่มกลับหัวเพื่อเตรียมการคลอด ความผิดปกติบางประการ อาจเป็นสัญญาณอาการป่วยของทารกในครรภ์ การเจริญเติบโตของทารกที่ช้าลง ความผิดปกติของรกหรือความผิดปกติของมดลูก ในบางกรณีสายสะดืออาจพันรอบคอทารก ความผิดปกติเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมจากคุณหมอ ควรทำอย่างไรถ้าลูกไม่ดิ้น คุณแม่ควรสังเกตรูปแบบการดิ้นของลูกในครรภ์อยู่เสมอ เพื่อติดตามความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ หากตั้งครรภ์แล้ว 24 สัปดาห์ แต่ยังไม่เห็นหรือสัมผัสได้ถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ หรือลูกดิ้นน้อยลงกว่าที่เคยเป็น ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อรับการอัลตราซาวด์และตรวจสุขภาพของทารก อายุครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 24-28 หากลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง คุณหมอจะตรวจอย่างเต็มรูปแบบรวมถึงการตรวจขนาดมดลูก วัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีน หากพบว่ามดลูกมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติ คุณหมออาจสแกนอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หากลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ผื่นลมพิษในขณะตั้งครรภ์

ผื่นลมพิษในขณะตั้งครรภ์ คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพผิวหนัง เช่น สิว รอยแตกลาย ผิวคล้ำ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในหญิงตั้งครรภ์ แม้ผื่นลมพิษในขณะตั้งครรภ์จะเป็นปัญหาผิวที่พบได้น้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้อาหาร แมลงกัดต่อย ยา สารเคมี เป็นต้น เนื่องจากฮอร์โมนที่แปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์ อาจมีส่วนทำให้ร่างกายไวต่อเชื้อโรคและทำให้เกิดผื่นลมพิษขณะตั้งครรภ์ได้ สาเหตุของผื่นลมพิษในขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจประสบปัญหาฮอร์โมนแปรปรวน หน้าท้องเริ่มขยายขึ้น อาจทำให้ผิวแห้ง แตก มีอาการคัน ไวต่อเชื้อโรคและอาการแพ้ อาจทำให้เกิดลมพิษและผื่นที่รุนแรงขึ้น โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ผดผื่น ผดร้อน เมื่อตั้งครรภ์อาจมีเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังของคุณแม่รู้สึกอบอุ่นผิดปกติ มีเหงื่อออกมากขึ้นและอาจเกิดผดผื่นหรือผดร้อนได้ อาจทำให้มีตุ่มเล็ก ๆ สีแดงเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ บนผิวหนังและมีอาการคัน การรักษา หลีกเลี่ยงพื้นที่ความร้อนสูงที่อาจทำให้เหงื่อออกง่าย เปิดพัดลมหรือเปิดแอร์ให้ผิวเย็นลงอาการผื่นจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่หากอาการรุนแรงอาจใช้คาลาไมน์บรรเทาอาการคันหรือสเตียรอยด์เฉพาะที่ เช่น เบต้าเมทาโซน (Betamethasone) ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา ลมพิษ ลมพิษเป็นอาการแพ้ที่อาจเกิดจากความร้อน การเกา ความเครียด แรงเสียดสีที่ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น อาจทำให้มีตุ่มนูนหรือรอยบุ๋มสีแดงบนผิวหนังและมีอาการคันที่อาจรุนแรงขึ้น การรักษา หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นอาจต้องรักษาด้วยยาเม็ดต่อต้านฮีสตามีน ทั้งนี้ หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยา ผื่น PUPPP (Pruritic Urticarial Papules […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้อง ท้องผูก สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

คนท้อง ท้องผูก เป็นอาการที่พบบ่อย โดยคนท้องอาจขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ทำให้ขับถ่ายยากและอาจมีอาการเจ็บปวด รู้สึกเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด หรืออยากถ่ายอุจจาระอีก อย่างไรก็ตาม อาการท้องผูกในคนท้องมักหายไปเองเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นหรือหลังคลอดบุตร แต่หากท้องผูกรุนแรงขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อรับยารักษาตามอาการ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ลำไส้อุดตัน ริดสีดวงทวาร [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] สาเหตุที่ทำให้ คนท้อง ท้องผูก สาเหตุโดยทั่วไปของอาการท้องผูก คือ การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใยน้อย และดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง และเคลื่อนที่จากลำไส้ใหญ่ไปสู่ทวารหนักได้ลำบากขึ้น จนทำให้เกิดอาการท้องผูกตามมา แต่อาการท้องผูกในคนท้องอาจมาจากสาเหตุอื่นดังต่อไปนี้ได้ด้วย ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ช้าลง จนอาจส่งผลให้คนท้องท้องผูกได้ ยาและอาหารเสริม ยาหรืออาหารเสริมบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้คนท้องท้องผูกได้ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินรวมบางชนิด ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ยาลดกรด ยาแก้ปวดบางชนิด คนท้อง ท้องผูก อันตรายหรือไม่ ผู้หญิงที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์มักท้องผูกมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ แม้อาการท้องผูกส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากเป็นเรื้อรัง หรือไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ริดสีดวงทวาร ลำไส้อุดตัน  หรืออาการท้องผูกบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของเนื้องอกได้ อย่างไรก็ตาม หากท้องผูกเรื้อรังและรุนแรงร่วมกับมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออุจจาระมีเลือดปน ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาอาการคนท้องท้องผูก การรักษาอาการคนท้องท้องผูกในเบื้องต้น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม