ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ล้วนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ทั้งสิ้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการรักษาและป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับการมีอยู่ของทารกตัวน้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในครรภ์ อาการมากมายที่เกิดขึ้นมาจึงสร้างความวิตกกังวลให้กับแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อาการนี้อันตรายหรือไม่ และอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรือเปล่า [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์หรือไม่ หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ อาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ก็เป็นอาการหนึ่งของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างตรงที่อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีประจำเดือนมา จึงต้องลองสังเกตร่างกายของตัวเองเป็นประจำ หากเป็นช่วงที่ถึงรอบเดือน ใกล้กับช่วงเวลาประจำเดือนมา แล้วเกิดอาการปวดท้องน้อย ประจำเดือนอาจมาใน 1-2 วัน แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงที่ประจำเดือนจะมา แต่เกิดมีอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ให้ลองใช้ชุดตรวจครรภ์ ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน ตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่ ขณะที่แม่กำลังตั้งครรภ์ แล้วเกิดอาการปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน อาจเกิดความกังวลว่า อาการนี้อันตรายหรือไม่ สามารถมีข้อสังเกตได้ ดังนี้ 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ : หากเกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน หรือปวดบีบ ๆ รัด ๆ ตรงกลางท้อง ร่วมกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นเลือดสดหรือมูกเลือด อาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลายวัน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด   ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ […]

สำรวจ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แพ้ท้องกี่เดือน อาการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และวิธีบรรเทาอาการ

แพ้ท้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในขณะตั้งท้องที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกเ ซึ่งคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า แพ้ท้องกี่เดือน ถึงจะหาย เพราะอาการแพ้ท้องอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น การรู้สาเหตุและวิธีจัดการกับอาการแพ้ท้องจึงอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น และลดความเหนื่อยล้าในขณะตั้งท้องได้ [embed-health-tool-due-date] แพ้ท้องกี่เดือน แพ้ท้องเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อ่อนล้า เมื่อยล้า และอ่อนเพลีย สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน โดยมักจะเป็นมากในช่วงเช้าของวัน อาการแพ้ท้องมักเริ่มต้นประมาณ 5 หรือ 6 สัปดาห์แรกของการตั้งท้อง และอาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน จากนั้นอาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือประมาณเดือนที่ 3 ของการตั้งท้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นมากที่ช่วงอายุครรภ์ 9-14 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นติดต่อกันตลอดการตั้งท้องได้เช่นกัน อาการแพ้ท้องเป็นอย่างไร อาการแพ้ท้องอาจโดนกระตุ้นจากการได้กลิ่นหรือได้รับรสชาติจากอาหารบางชนิด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งท้อง ร่วมกับความเครียดและสภาวะทางจิตใจ ที่อาจทำให้ร่างกายต่อต้านกลิ่นบางชนิดจนทำให้รู้สึกเหม็น ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึมเศร้า และเกิดความวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงขึ้นหรือมีอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาความผิดปกติ ปัสสาวะเป็นสีเข้ม ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ ร่างกายขาดน้ำ อ่อนเพลียมาก รู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลมเมื่อยืนขึ้น หัวใจเต้นแรงผิดปกติ สาเหตุของอาการแพ้ท้อง ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ท้อง ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับบฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ความผันผวนของความดันโลหิต โดยเฉพาะความดันโลหิตที่ลดลงในขณะตั้งท้อง การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่เปลี่ยนแปลงในขณะตั้งท้อง เนื่องจากฮอร์โมนที่แปรปรวนจึงอาจทำให้ร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตได้น้อยลง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

แพ้ท้องหนักมาก เกิดขึ้นได้อย่างไร และวิธีรักษาอาการแพ้ท้อง

แพ้ท้องหนักมาก เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวันติดต่อกัน ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและเสียสมดุลแร่ธาตุ จนอาจทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว มึนงง อ่อนล้า หรือหมดสติ ดังนั้น หากมีอาการแพ้ท้องหนักมากจึงควรเข้าพบคุณหมอและรับการรักษา เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง [embed-health-tool-due-date] แพ้ท้องหนักมาก เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการแพ้ท้องเป็นอาการที่เกิดขึ้นในคนท้อง โดยเฉพาะในช่วง 1-2 เดือนแรกของการตั้งท้อง มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนล้า และอ่อนเพลีย ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 หรือประมาณช่วงเดือนที่ 3 ของการตั้งท้อง แต่บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งท้องได้ โดยปกติอาการแพ้ท้องมักจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ในแต่ละวัน และอาจมีอาการอาเจียนเกิดขึ้น 1-2 ครั้ง/วัน แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ท้องหนักมาก อาการคลื่นไส้อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงใน 1 วัน และอาจอาเจียนบ่อยกว่าปกติ จนส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย อาการแพ้ท้องหนักมาก การแพ้ท้องหนักมากอาจทำให้คนท้องมีอาการ ดังนี้ อาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง/วัน ร่างกายขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรุนแรง ซึ่งอาจสังเกตได้จากปริมาณปัสสาวะที่น้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ผิวแห้ง ปากแห้ง น้ำหนักลดลง อ่อนเพลีย หน้ามืดเวียนหัว มึนงง หรือหมดสติ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการรุนแรงขึ้นหรือมีอาการต่อไปนี้ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับของเหลวทางหลอดเลือดดำ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Hyperemesis gravidarum คือ อาการแพ้ท้องรุนแรง สามารถรักษาได้อย่างไร

Hyperemesis gravidarum คือ ภาวะแพ้ท้องรุนแรง พบมากในหญิงตั้งครรภ์ระยะแรก สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย หรือการเข้าใกล้สิ่งกระตุ้นบางอย่างที่ทำให้แพ้ท้อง โดยทั่วไป อาจรักษาด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมไปถึงการใช้ยาแก้อาเจียน ยาลดกรด เป็นต้น แต่หากดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ทุเลาและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] Hyperemesis gravidarum คือ อะไร โดยปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์ในระยะแรกมักมีอาการแพ้ท้องที่อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเอชซีจีหรือฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่สบายตัวบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่หญิงตั้งครรภ์ระยะแรกบางรายอาจมีอาการแพ้ท้องรุนแรงและถี่กว่าปกติ เรียกว่า Hyperemesis gravidarum มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 9-13 ของการตั้งครรภ์ ภาวะนี้มักไม่ทุเลาเมื่อเวลาผ่านไปสักพักเหมือนอาการแพ้ท้องทั่วไป ทั้งยังอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มได้ตามปกติ จนเสี่ยงเกิดภาวะขาดสารอาหารและขาดน้ำที่อาจส่งผลให้ปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้ม ผิวแห้ง อ่อนแรง หน้ามืด เป็นลม หรือรุนแรงจนถึงขั้นช็อคหรืออาเจียนเป็นเลือดได้ อาการ Hyperemesis gravidarum เป็นอย่างไร อาการของ Hyperemesis gravidarum อาจมีดังนี้ คลื่นไส้รุนแรง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Preeclampsia หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ สาเหตุและวิธีรักษา

Preeclampsia หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษจะมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ มีโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ ทำให้เกิดปัญหาอาการในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง มองเห็นไม่ชัด หน้าและมือบวม หรืออาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้อวัยวะสำคัญเสียหาย เช่น ตับหรือไตวาย น้ำท่วมปอด เลือดออกในสมอง หรือเกิดการชักได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์วินิจฉัยพบว่ามีภาวะนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอไปจนวันคลอด เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ การฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์และไปตรวจครรภ์ตามนัดหมายเสมอจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณหมอจะได้วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิตของแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] Preeclampsia คืออะไร ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ จนกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ ไต ตับ ปอด และส่งผลต่อสุขภาพของทั้งแม่และทารกในครรภ์ จะเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป หรือช่วงหลังคลอด (Postpartum preeclampsia) ได้เช่นกัน อาการของภาวะนี้จะแตกต่างไปในแต่ละคน ระดับความรุนแรงมีตั้งแต่ไม่รุุนแรงมาก เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น หน้าบวม มือบวม ไปจนถึงรุนแรง […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

PIH คือ อะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา

PIH (Pregnancy Induced Hypertension) คือ ความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีความดันโลหิตสูงและโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ แต่อาจมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะ PIH เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อน ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยหรือเมื่ออายุมาก เป็นโรคเรื้อรัง ท้องลูกแฝด ดังนั้น การฝากครรภ์จึงเป็นวิธีที่อาจช่วยตรวจสอบความผิดปกติเบื้องต้น และช่วยควบคุมความรุนแรงของอาการได้ [embed-health-tool-due-date] คำจำกัดความ PIH คือ อะไร PIH คือ ภาวะครรภ์เป็นพิษซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเกิดขึ้นเมื่อมีความดันโลหิตสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น ที่อาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการชัก ความผิดปกติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำ รวมถึงยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ อาการ อาการของ PIH อาการความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป โดยอาการอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรืออาจค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ดังนี้ อาการ PIH เบื้องต้น สัญญาณแรกของความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ คือ อาการความดันโลหิตสูงและโปรตีนในปัสสาวะที่เพิ่มมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาการนี้อาจไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพครรภ์เป็นประจำตามนัดหมาย เพื่อตรวจดูอาการความดันโลหิตสูงเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้น อาการ PIH กำเริบ อาการความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ที่กำเริบหนักขึ้น อาจส่งผลทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion/miscarriage) คือ ภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่ปากมดลูกยังไม่เปิด เลือดที่ไหลออกมาอาจมีลักษณะกะปริบกะปรอย ร่วมกับมีอาการปวดหน่วง ปวดบิด บริเวณท้องน้อย ภาวะนี้อาจนำไปสู่การสูญเสียตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ได้ร้อยละ 50 แต่หากเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ก็สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ตามปกติ [embed-health-tool-due-date] ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร ภาวะแท้งคุกคาม เป็นภาวะเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่พบในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ภาวะนี้บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการสูญเสียตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ สามารถพบได้ถึงร้อยละ 20-25 ของหญิงตั้งครรภ์ แม้จะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเป็นผลมาจากความเครียด อุบัติเหตุ ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เป็นต้น โดยความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และหากเคยแท้งบุตรในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะแท้งคุกคามได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแท้งบุตร ทั้งนี้ ภาวะแท้งคุกคามไม่ได้หมายความว่าจะต้องสูญเสียทารกในครรภ์ทุกกรณี หากหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะแท้งคุกคามเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงการสูญเสียทารกในครรภ์ และสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ไปตามปกติได้โดยที่ทารกมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ อาการของภาวะแท้งคุกคาม อาการของภาวะแท้งคุกคาม อาจมีดังนี้ มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดหลังส่วนล่างแบบปวดหน่วงคล้ายตอนมีประจำเดือน อาการอาจเกิดตลอดเวลาแต่ไม่รุนแรง หรือมีอาการเป็นพัก ๆ ก็ได้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะแท้งคุกคาม สาเหตุของภาวะแท้งคุกคามยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยบางประการที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแท้งคุกคามได้ ดังนี้ มีอาการบาดเจ็บที่หน้าท้อง เป็นโรคอ้วน อายุมากกว่า 35 ปี […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

Vasa previa คือ อะไร อาการ ปัจจัยเสี่ยง วิธีรักษา

Vasa previa คือ ภาวะที่เส้นเลือดของสายสะดือหรือรกทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกในครรภ์ผ่านบริเวณปากมดลูกด้านในและอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารก ส่งผลให้เส้นเลือดดังกล่าวถูกกดทับได้ง่ายและจะฉีกขาดเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด และอาจส่งผลให้ทารกเสียเลือดมากและเสียชีวิตได้ ภาวะนี้เป็นอีกสาเหตุของการตกเลือดก่อนคลอดและพบได้ไม่บ่อยนัก ทั้งนี้ หากคุณแม่ไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์ตามนัดครบถ้วน ก็จะช่วยให้คุณหมอสามารถตรวจสอบสภาวะสุขภาพและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังลดความเสี่ยงทางสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ [embed-health-tool-due-date] Vasa previa คือ อะไร วาซา พรีเวีย (Vasa previa) คือ ภาวะที่หลอดเลือดของรกหรือสายสะดือของทารกในครรภ์อย่างน้อย 1 เส้นทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกผ่านบริเวณปากมดลูกด้านใน มักเกิดร่วมกับภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะรกน้อย หรือครรภ์แฝด หากเยื่อหุ้มทารกในครรภ์หรือถุงน้ำคร่ำแตก จะทำให้เส้นเลือดที่พาดอยู่ฉีกขาดไปด้วย และอาจทำให้ทารกเสียเลือดมากจนเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับคุณแม่ เช่น เกิดภาวะช็อกเนื่องจากเสียเลือดเป็นเวลานาน มีอาการซีด อ่อนเพลีย มีความดันโลหิตลดลง อย่างไรก็ตาม หากวินิจฉัยพบตั้งแต่ยังไม่ถึงช่วงใกล้คลอด ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากทีมแพทย์ และผ่าคลอดทางหน้าท้องแทนการคลอดทางช่องคลอด ก็มีโอกาสสูงถึง 97% ที่ทารกจะคลอดออกมาตามปกติโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ปัจจัยเสี่ยงของภาวะ Vasa previa หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะ Vasa previa ได้ เคยผ่าตัดมดลูกหรือเคยผ่าคลอดมาก่อน ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) เป็นภาวะที่รกปกคลุมหรือปิดขวางปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมด เมื่อถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเปิดออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกฉีกขาดจนเสียเลือดมาก เป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารก […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ อันตรายหรือไม่

อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ปัญหาทางเดินอาหาร มดลูกเป็นตะคริว กล้ามเนื้อตึง มดลูกหดรัดตัว นอกจากนี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะรุนแรง เช่น แท้งบุตร ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ครรภ์เป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นนิ่ว จึงควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพการตั้งครรภ์ตามนัดหมายเป็นประจำ เพื่อป้องกันปัญหาร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-ovulation] อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ อันตรายหรือไม่ อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ ในช่วงไตรมาสแรกหรือประมาณ 1-3 เดือนของการตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งในบางกรณีอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเป็นอาการโดยทั่วไปของการตั้งครรภ์ เช่น มดลูกขยายตัว มดลูกบีบรัดตัว กล้ามเนื้อตึง หรือในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณร้ายแรงของปัญหาการตั้งครรภ์ เช่น การแท้งบุตร ไส้ติ่งอักเสบ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ท้องนอกมดลูก ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณแม่จึงควรสังเกตอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ  เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด อาการปวดท้องรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการอาเจียน มีไข้ ปัสสาวะผิดปกติ เพื่อป้องกันปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เพื่อสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ เกิดจากอะไร อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อย อาจมีดังนี้ สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ ปัญหาทางเดินอาหาร ทารกในครรภ์อาจกดกระเพาะอาหารและลำไส้ จนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน มีแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น และอาจทำให้มีอาการท้องอืดที่ส่งผลให้ปวดท้องน้อยได้ มดลูกเป็นตะคริว […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน เกิดจากอะไร และควรดูแลสุขภาพอย่างไร

คนท้องเป็นกรดไหลย้อน อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สรีระของคุณแม่และทารกในท้อง รวมถึงฮอร์โมนที่สูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ทำให้ลดการบีบตัวของทางเดินอาหาร ทำให้อาหารและกรดค้างในกระเพาะนาน หรือกระเพาะได้รับอาหารมากเกินไปจนเกิดการไหลย้อนกลับของอาหารและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ดังนั้น การดูแลตัวเองในขณะตั้งท้องอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนในคนท้องได้ [embed-health-tool-due-date] คนท้องเป็นกรดไหลย้อน เกิดจากสาเหตุใด คนท้องเป็นกรดไหลย้อนได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งท้อง ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งท้อง ที่ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร เวลารับประทานอาหาร กล้ามเนื้อในหลอดอาหารจะดันอาหารเข้าไปในหลอดอาหารช้าลง ทำให้ท้องว่างเป็นเวลานาน และยังอาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารคลายตัวจนกรดในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการเสียดท้องได้ นอกจากนี้ ในการตั้งท้องในช่วงไตรมาสที่ 3 การเจริญเติบโตของทารกในท้องอาจดันท้องของคุณแม่ให้ขยายออกจากตำแหน่งปกติ ซึ่งก็อาจนำไปสู่อาการเสียดท้องได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม คนท้องอาจเสี่ยงมีอาการเสียดท้องที่ลุกลามไปเป็นกรดไหลย้อนได้มากขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สรีระของคุณแม่และทารกในท้อง อาหารและกิจวัตรประจำวัน คนท้องเป็นกรดไหลย้อน มีอาการอย่างไร คนท้องเป็นกรดไหลย้อนอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้ แสบร้อน หรือเจ็บหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด หรือท้องป่อง เรอ ไอ เจ็บคอ ในปากมีรสเปรี้ยวหรือขม ไม่สบาย คลื่นไส้ อาเจียน อาการคนท้องเป็นกรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการมากขึ้นในสัปดาห์ที่ 27 ของการตั้งท้อง และมักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม หรืออาจเกิดขึ้นทันทีในระหว่างรับประทานอาหาร คนท้องเป็นกรดไหลย้อนควรรักษาอย่างไร สำหรับคนท้องเป็นกรดไหลย้อนอาจต้องระมัดระวังในการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการเสียดท้อง โดยคุณแม่อาจซื้อยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) หรือแมกนีเซียม ตามร้านขายยาทั่วไป และควรหลีกเลี่ยงยาลดกรดที่มีส่วนผสมบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งท้อง ดังนี้ […]


ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์

IUGR คือ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

IUGR คือ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรและมีขนาดตัวไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ในขณะนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของรกและมดลูกที่ทำให้ทารกได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว ภาวะสุขภาพของคุณแม่ อย่างไรก็ตาม ทารกที่มีภาวะนี้สามารถเจริญเติบโตต่อไปและคลอดออกมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติได้ สิ่งสำคัญคือ คุณแม่ต้องไปพบคุณหมอตามนัดหมายเป็นประจำ หากตรวจพบความผิดปกติจะได้สามารถดูแลครรภ์และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-due-date] IUGR คือ อะไร ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (Intrauterine Growth Restriction หรือ IUGR) คือ ภาวะที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์ของคุณแม่ในขณะนั้น สาเหตุที่แท้จริงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของรกหรือสายสะดือ ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารอาหาร ออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ และกำจัดของเสียให้กับทารก หากทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ตัวเล็กกว่าปกติได้ โดยทั่วไป มักตรวจพบภาวะนี้ได้ในช่วงหลังจากสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่คุณหมอหรือทีมแพทย์ผู้ดูแลจะตรวจสอบพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วยการวัดระดับยอดมดลูกจากการตรวจครรภ์ (Fundal height) ซึ่งเป็นการวัดระยะห่างระหว่างกระดูกหัวหน่าวและมดลูก โดยปกติแล้ว ระยะห่างของสองตำแหน่งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณแม่ เช่น คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ควรมีระยะห่างระหว่างกระดูกหัวหน่าวและมดลูกประมาณ 20 เซนติเมตร หากตรวจวัดแล้วมีระยะห่างสั้นกว่าที่ควร คุณหมออาจให้เข้ารับการทดสอบเพิ่มเติม เพื่อตรวจดูว่ามีภาวะทารกโตช้าในครรภ์หรือไม่ ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม