backup og meta

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ตอนแก่ และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

    ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ตอนแก่ และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์ตอนแก่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ อีกทั้งโอกาสในการตั้งครรภ์ก็อาจจะยากขึ้นจนจำเป็นต้องพึ่งวิธีการทางแพทย์เข้ามาช่วย ดังนั้น ผู้สูงอายุที่มีความต้องการจะตั้งครรภ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ตอนแก่ให้ดี เพื่อจะได้สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

    ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ตอนแก่

    ผู้หญิงหมู่มาก ส่วนใหญ่มักเริ่มอยากสร้างครอบครัวตั้งแต่อายุช่วงยังน้อย แต่เนื่องจากปัญหารอบด้านของแต่ละบุคคล อาจทำให้บางกรณีจำเป็นต้องมีบุตรในช่วงที่อายุเริ่มเยอะขึ้น ซึ่งผู้ที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของการตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก คือ กลุ่มสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ที่สำคัญในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงแก่ และทารกได้ ดังนี้

    • คุณแม่อาจมีแนวโน้มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
    • เกิดความผิดปกติของโครโมโซม มีความเสี่ยงที่ทารกอาจอยู่ในของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
    • มีโอกาสการได้ลูกแฝดสูง เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเกิดการปล่อยไข่ออกมาหลายครั้ง
    • อาจทำให้เด็กทารกแรกเกิดมีน้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
    • มีความเป็นไปได้ถึงการคลอดก่อนหนด

    นอกจากความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ยังอาจทำให้นำไปสู่ภาวะการแท้งบุตร อีกด้วย เพราะเป็นผลมาจากอาการข้างเคียงเรื่องสุขภาพของคุณแม่ในช่วงอายุมาก ดังนั้นจึงควรเตรียมตัวและร่างกายให้พร้อม รวมทั้งปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนเสมอ

    วิธีดูแลสุขภาพของผู้ที่ตัดสินใจอยากมีบุตรตอนสูงวัย

    การตั้งครรภ์ หรือการมีบุตรถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตพอสมควร ที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีและละเอียดเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจนำพามาถึงความสูญเสียที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นก็เป็นได้ ซึ่งสามารถทำได้วิธีเหล่านี้

    1. นัดหมายกับบุคลากรทางการแพทย์เป็นประจำในการตรวจร่างกายทั้งคุณแม่ และลูกรักในครรภ์
    2. แจ้งถึงอาการในขณะตั้งครรภ์ รวมถึงพัฒนาการของเด็กในครรภ์ให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นการรับวิธีการดูแลในขั้นตอนถัดไป
    3. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยอาจเป็นอาหารเสริม วิตามิน แร่ธาตุสำหรับตรีตั้งครรภ์ที่ทางแพทย์จัดให้เท่านั้น
    4. เพิ่ม-ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำ
    5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
    6. หมั่นเข้ารับการทดสอบของความผิดปกติของโครโมโซมด้วยเทคนิคทางการแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์สุ่มเสี่ยงอยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down’s Syndrome)

    วิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ตอนแก่

    วิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับผู้สูงอายุ มีดังนี้

    • การผสมเทียม (Intrauterine Insemination; IUI)

    คือการนำเชื้ออสุจิของเพศชายมาทำการคัดกรอง เลือกตัวที่แข็งแรงที่สุด และฉีดเข้าสู่ภายในมดลูกของเพศหญิงในวันที่ไข่ตก เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการปฏิสนธิขึ้น

    • การทำกิฟต์ (Gamete Intrafollopian Transfer; GIFT)

    เป็นการเก็บเซลล์ไข่ในผู้หญิง และอสุจิของเพศชายมาผสมกัน จากนั้นค่อยนำใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และไปฝังตัวอยู่ในมดลูก สำหรับเทคนิคนี้อาจทำให้ผู้ที่มีบุตรยาก มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงกว่าเดิม

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (Invitro Fertilization and Embryo Transfer; IVF& ET)
  • ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการนำไข่ประมาณ 10 – 20ใบออกมาผสมกับเชื้ออสุจิในหลอดแก้ว โดยการผสมกันจะทำให้รู้ในทันทีว่ามีการพัฒนาในเรื่องของการปฏิสนธิหรือไม่ จากนั้นแพทย์จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนไว้ เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัด แล้วจึงค่อยนำกลับเข้าไปฝังในมดลูกของฝ่ายหญิง

    • การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection; ICSI)

    การทำอิ๊กซี ถือเป็นหนึ่งในวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อเนื่องของการทำเด็กในหลอดแก้ว ที่แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้เข็มที่มีเชื้อสเปิร์มเจาะเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง เป็นการช่วยตัวเชื้ออสุจิที่ไม่แข็งแรงให้เจาะเข้าไปในรังไข่ของเพศหญิงได้ง่าย

    อย่างไรก็ตาม แต่ละเทคนิคนั้นย่อมมีราคาและประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับร่างกาย และสภาวะอื่น ๆ ของสตรีที่อยากมีบุตร โดยคุณหมอจะเป็นคนกำหนดให้เท่านั้น ตามประวัติทางสุขภาพ เพื่อความปลอดภัย และได้ผลที่แม่นยำสำหรับการมีบุตร

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา