backup og meta

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร และควรดูแลลูกอย่างไร

ลูกแหวะนม หรืออาการที่ลูกมีนมไหลออกมาทางปากหลังกินนม เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนมักมีกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงอาจทำให้อาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ อย่างไรก็ตาม ควรให้ลูกดื่มนมอย่างระมัดระวัง เพราะนมอาจไหลย้อนออกทางจมูกจนอาจทำให้เกิดการสำลักได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ลูกแหวะนม เกิดจากอะไร

ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักมีอาการแหวะนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารในเด็กทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาได้บ่อย ๆ นอกจากนี้ เด็กยังมีขนาดกระเพาะอาหารและท้องที่เล็กมาก การให้นมลูกในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น

ลูกแหวะนมและลูกอาเจียน แตกต่างกันอย่างไร

การแหวะนมเป็นการไหลย้อนกลับของนม เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โดยนมและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ ไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหารและออกทางปากอย่างช้า ๆ ซึ่งการแหวะนมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา แต่สำหรับการอาเจียนในเด็กทารกเป็นอาการที่รุนแรง โดยอาหารกับน้ำย่อยจะไหลย้อนขึ้นมาอย่างรวดเร็วและรุนแรง ในบางรายอาจเกิดลักษณะอาเจียนพุ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องถูกกระตุ้นโดยศูนย์ควบคุมการอาเจียน (Vomiting Center) ที่รับสัญญาณมาจากระบบประสาท ซึ่งอาจทำให้เด็กมีอาการร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ มีไข้ ไม่สบายตัว ท้องเสีย ท้องบวม ท้องอืด ไม่กินอาหาร และเหนื่อยล้า

อาการเมื่อลูกแหวะนม

เมื่อลูกแหวะนมอาจมีอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้

  • ลูกอาจแหวะนมออกมาทางปากและทางจมูก
  • ลักษณะของน้ำนมที่ลูกแหวะออกมา อาจเป็นก้อนลิ่มคล้ายเต้าหู้
  • ลูกร้องไห้และงอแงหลังกินนมเสร็จ
  • ลูกนอนบิดตัวไปมา เพราะอาจมีอาการไม่สบายท้อง

การดูแลและการป้องกันลูกแหวะนม

หากลูกแหวะนมบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแหวะนมของลูก

  • ควรให้นมลูกในท่ายกหัวสูง เช่น ใช้หมอนรองคอลูก อุ้มลูกในท่าที่หัวยกสูงขึ้น เพื่อป้องกันการไหลย้อนของนม
  • ควรให้นมลูกในปริมาณที่เหมาะกับวัย โดยเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ควรให้นมไม่เกิน 8-10 มื้อ/วัน ในปริมาณ 2-4 ออนซ์ และเด็กที่อายุมากกว่า 3-6 เดือน ควรให้นมไม่เกิน 6 มื้อ/วัน ในปริมาณ 4-6 ออนซ์
  • หากป้อนนมจากขวดนม ควรระมัดระวังให้มีนมท่วมจุกนมตลอดการดูดนม ป้องกันทารกดูดลมเข้าไปเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นการแหวะนมได้
  • หลังกินนมควรจับลูกนั่งหรืออุ้มพาดบ่าเพื่อให้ลูกเรอ ซึ่งอาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการแหวะนมได้
  • หากลูกแหวะนมหลังกินนมเสร็จ ควรจับลูกนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ และยกหัวให้สูงขึ้น ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้
  • หากลูกมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปและมีอาการแหวะนมบ่อย ๆ ควรเพิ่มอาหารอ่อนให้กับลูก เช่น กล้วยบด แครอทต้มบด มันฝรั่งต้มบด แอปเปิ้ลบด เนื้อสัตว์บด เนื่องจากอาหารเสริมจะมีความข้นกว่านม จึงอาจช่วยลดการไหลย้อนของนมได้
  • สังเกตอาการของลูกว่าเป็นอาการแหวะนม หรือเป็นอาการอาเจียน หากพบว่าลูกมีอาการอาเจียน เช่น ไม่อยากกินนม เซื่องซึม น้ำหนักลด น้ำลายมีสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ ควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น กรดไหลย้อน แพ้นม ไข้หวัด การติดเชื้อในหู

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหวะนม พบได้บ่อยในทารก. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81/. Accessed September 15, 2022

Breastfeeding FAQs: Spitting Up, Gagging, and Biting. https://kidshealth.org/en/parents/breastfeed-spitting-up.html. Accessed September 15, 2022

Why Is a Baby Spitting Up Curdled Milk?. https://www.webmd.com/baby/why-is-a-baby-spitting-up-curdled-milk. Accessed September 15, 2022

Spitting up in babies: What’s normal, what’s not. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20044329. Accessed September 15, 2022

Children and vomiting. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/children-and-vomiting. Accessed September 15, 2022

Vomiting in babies. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/vomiting-in-babies. Accessed September 15, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยของเด็กวัยเรียน ที่พ่อแม่ควรระวัง

1วันควรกินกี่แคล สำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา