โภชนาการเด็กวัยเรียน

การดูแลเด็กแต่ละช่วงวัยถือเป็นภารกิจที่ท้าทายมากสำหรับพ่อแม่ โดยเฉพาะการดูแลเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ลูกจะต้องเข้าไปใช้ชีวิตในสังคมใหม่ อย่างสังคมในโรงเรียน แต่พ่อแม่สามารถเสริมการดูแลเด็กวัยนี้ให้เหมาะสม ด้วยการใส่ใจ โภชนาการเด็กวัยเรียน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเสริมสร้างร่างกายของเด็กให้แข็งแรง และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเขาให้สมวัย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเด็กวัยเรียน

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ โภชนาการเด็กวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยเรียน

ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับเด็ก

ขนมเพื่อสุขภาพ คือขนมที่ให้พลังงานและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ขนมหรือของว่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้ลูกรับประทาน คือ ขนมที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืช ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงขนมที่มีโซเดียมและน้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด เค้ก ลูกกวาด หรืออาจจำกัดปริมาณการรับประทานขนมเหล่านี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน [embed-health-tool-bmi] เด็กกินขนมมากไป ส่งผลเสียได้อย่างไร ขนมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโซเดียม และน้ำตาล หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมสารอาหารที่ไม่ดีอยู่ภายในก่อให้เกิดโรคอ้วนตั้งแต่ยังเยาว์วัย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในตับ และเกิดปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ อีกทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติส่งผลให้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องร่วง อาหารแต่ละมื้อที่ประกอบด้วยโซเดียมและน้ำตาลสูงก็อาจส่งผลให้เด็กเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองควรจำกัดปริมาณอาหารและขนมในแต่ละวันให้พอดี โดยควรจำกัดน้ำตาลไว้ที่ 25 กรัมสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำตาลไม่ว่าจะในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่ม เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,500 มิลลิกรัม เด็กที่มีอายุ 4-8 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,900 […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกติดน้ำอัดลม ดื่มน้ำอัดลมบ่อย คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในคนทุกวัย เพราะมีรสชาติหวาน ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น แต่หาก ลูกติดน้ำอัดลม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ลดการดื่มน้ำอัดลม เพื่อให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ลูกติดน้ำอัดลม อันตรายอย่างไร หากลูกติดน้ำอัดลมอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้ เสี่ยงเกิดโรคอ้วน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่างน้ำอัดลม มักให้แคลอรี่สูงแต่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้อย การดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ จึงเสี่ยงทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น คาร์โบไฮเดรต ทั้งยังอาจทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่เอาไว้มากขึ้น หากลูกไม่ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกิน ก็อาจทำให้น้ำหนักขึ้น หรือเสี่ยงเกิดโรคอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย เสี่ยงฟันผุ น้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยดูแลให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เหมาะสม และแปรงฟันหลังรับประทานอาหารและดื่มน้ำอัดลม ทำให้มีน้ำตาลสะสมตามผิวฟัน และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างฟันผุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเด็กดื่มน้ำอัดลมในมื้อเย็นแล้วไม่แปรงฟัน ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อฟันผุมากขึ้นไปอีก เสี่ยงเกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร น้ำอัดลมนอกจากจะให้น้ำตาลสูงแล้ว ยังมีกรดจำพวกกรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟอง และมีรสออกเปรี้ยว แต่กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน หากลูกติดน้ำอัดลมและดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ กรดคาร์บอนิกอาจทำให้จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร จนกระเพาะอาหารอักเสบ ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้อักเสบได้ด้วย เสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุน น้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) ซึ่งหากดื่มบ่อย ๆ เกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะเสี่ยงทำให้แคลเซียมในมวลกระดูกสูญสลาย ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ วิธีรับมือเมื่อ ลูกติดน้ำอัดลม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเด็ก ๆ ดังต่อไปนี้ อาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาลูกติดน้ำอัดลมได้ ลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม การลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลมของลูกลงทีละนิด โดยไม่ห้ามหรือหักดิบจนเกินไป […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกเป็นนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย ควรให้กินอาหารแบบไหนดี

การกินอาหารสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก ยิ่งหากลูกเป็นนักกีฬา ชอบออกกำลังกาย ต้องใช้แรงเยอะเป็นประจำ ยิ่งควรได้รับพลังงานและสารอาหารต่าง ๆ อย่างพอเพียง เนื่องจากร่างกายอาจมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กที่ชอบเล่นกีฬา เพื่อช่วยดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของลูก [embed-health-tool-bmi] สารอาหารที่ควรเน้นเมื่อลูกเป็นนักกีฬา เด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นนักกีฬา และชอบออกกำลังกายเป็นประจำ ควรได้รับสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสม เขาจะได้ทำกิจกรรมที่ชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โปรตีน ร่างกายต้องการโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อใหม่ และใช้ในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ลูกกินโปรตีนให้เพียงพอ โดยคุณสามารถหาโปรตีนได้จากเนื้อสัตว์ (เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ปีก เนื้อหมู เนื้อวัว) ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วชนิดต่าง ๆ แต่คุณต้องระวังอย่าให้ลูกได้รับโปรตีนมากเกินพอดีด้วย เพราะอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ หรือการสูญเสียแคลเซียมได้ คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี แม้นักกีฬาเด็กหรือวัยรุ่นจะไม่จำเป็นต้องกินคาร์โบไฮเดรตเยอะ ๆ ก่อนลงสนามเหมือนผู้ใหญ่ แต่คุณก็ควรให้เขาได้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ผักและผลไม้นานาชนิด ให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากเด็กบริโภคคาร์โบไฮเดรตน้อยเกินไป อาจทำให้เขาหมดพลังงานอย่างรวดเร็วได้ ไขมัน เด็กควรได้รับไขมันดีจากอะโวคาโด ทูน่า แซลมอน น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ถั่วชนิดต่าง ๆ (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวัง อย่าให้ลูกได้รับไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงก่อนลงแข่ง หรือก่อนออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เขารู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายท้องได้ วิตามินและแร่ธาตุ เมื่อลูกเป็นนักกีฬา […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แคลเซียมในนมแต่ละชนิด ต่างกันอย่างไรบ้าง

เด็กในวัยเรียนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดื่มนม การดื่มนมช่วยในด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย เพิ่มโอกาสที่จะสูงขึ้น นมเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่างโปรตีนและแคลเซียมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม แคลเซียมในนมแต่ละชนิด อาจจะมีปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของแคลเซียมในนมแต่ละชนิด และเลือกชนิดของนมให้เหมาะสมกับความต้องการของลูก [embed-health-tool-bmi] แคลเซียมในนม มีประโยชน์อย่างไรบ้าง นมอุดมไปด้วยแคลเซียมและสารอาหาร มากมาย อีกทั้งยังช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยให้ฟันแข็งแรง ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ดังนั้นการดื่มนมสำหรับเด็ก ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ปริมาณของแคลเซียมในน้ำนมแต่ละชนิด นมถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง คือ นมที่ได้จากถั่วเหลือง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัว คนกินมังสวิรัติ และวีแกน (Vegan) ด้วย โดยนมถั่วเหลืองมีปริมาณแคลเซียมอยู่ 25 มิลลิกรัม  นมวัว นมวัวหนึ่งในเมนูสุดคลาสสิกตลอดกาล ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย ทั้งโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและแคลเซียม โดยนมวัวมีปริมาณแคลเซียม 113 มิลลิกรัม นมแพะ ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มหันมาให้ลูกดื่มนมแพะกันเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างนมแพะกับนมชนิดอื่นๆพบว่า นมแพะมีปริมาณของโปรตีนที่สูงกว่านมชนิดอื่นๆ และนมแพะมีปริมาณแคลเซียม 327 มิลลิกรัม นมข้าวโอ๊ต นมข้าวโอ๊ต สกัดมาจากข้าวโอ๊ต ปัจจุบันเป็นกระแสนิยมในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในอเมริกา และกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะตามร้านกาแฟ ปัจจุบันมีร้านกาแฟหลายร้านที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้นมข้าวโอ๊ต และนมข้าวโอ๊ตถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของมังสวิรัติด้วย นมข้าวโอ๊ตมีปริมาณแคลเซียมมากถึง 350 มิลลิกรัม นมอัลมอนด์ นมอัลมอนด์จัดว่าเป็นนมที่มีปริมาณแคลอรี่มากกว่านมชนิดอื่น ไม่มีไขมันอิ่มตัว และไม่มีแลคโตส และยิ่งไปกว่านั้นนมอัลมอนด์ยังจัดว่ามีปริมาณแคลเซียมมากกว่านมวัวอีกด้วย โดยนมอัลมอนด์มีปริมาณแคลเซียมสูงสุดถึง 400 มิลลิกรัมเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ปริมาณของแคลเซียมในนมแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

พ่อแม่รู้หรือไม่ เด็กกินมื้อเช้า สำคัญกว่าที่คิด

เด็กกินมื้อเช้า เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นมื้อเริ่มต้นที่ช่วยให้ร่างกายมีอาหารสำหรับเผาผลาญแคลอรี่และร่างกายนำพลังงานไปใช้อย่างพอเพียงสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนั้น สารอาหารต่าง ๆ ยังช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สมอง สติปัญญา และอารมณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กกินมื้อเช้า ได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาจัดเตรียมอาหารให้เด็ก ๆ ได้รับประทานทุกเช้า เพราะมื้อเช้านั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ หลายประการ ดังนี้ ช่วยเสริมสร้างสมาธิ อาหารเช้าช่วยให้เด็ก ๆ อิ่มท้อง อารมณ์ดี มีพลังงาน และมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรียน ทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนมากขึ้น เด็กที่กินอาหารเช้าก่อนมาเรียน มักจะมีสมาธิดีกว่าเด็กที่อดอาหารเช้าเนื่องจากความหิวจะทำให้กระวนกระวายและยากจะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ ช่วยให้เด็กมีผลการเรียนที่น่าพึงพอใจ เมื่อเด็กมีสมาธิในการเรียนที่ดี โอกาสที่การเรียนและผลคะแนนต่าง ๆ จะออกมาน่าพึงพอใจย่อมสูงกว่าเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียน ทั้งนี้ อาหารเช้านอกจากจะให้พลังงานที่จำเป็นแล้ว สารอาหารต่าง ๆ ยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่า่ง ๆ ทั้งด้านความคิด ความจำ ทักษะการแก้ปัญหาต่าง ๆ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาหารเช้าต่อพฤติกรรมและผลการเรียนของเด็กและวัยรุ่น เผยแพร่ในวารสาร Frontiers in Human Neuroscience พ.ศ.2556 ระบุว่า เด็กที่รับประทานมื้อเช้าเป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมตั้งใจเรียนและมีผลการเรียนที่ดี   พลังงานที่เพิ่มขึ้น เด็กหลายคนมักจะนอนดึกเพื่อนั่งทบทวนบทเรียนหรือทำการบ้าน และหลายครั้งมักหลับโดยที่ไม่ได้กินอาหารเย็น เมื่อตื่นเช้าก็ต้องรีบเดินทางไปโรงเรียนทำให้ต้องอดอาหารเช้า และอาจเหลือเพียงมื้อกลางวันเพียงมื้อเดียว ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายง่วงระหว่างวัน การกินอาหารเช้าจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

วิตามินซี สำคัญกับเด็กวัยเรียนอย่างไร

วิตามินซี เป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน หลอดเลือด และกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและปริมาณของวิตามินซีที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินซี สำคัญต่อเด็กวัยเรียนอย่างไร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างหรือผลิตวิตามินซีได้เอง เด็กวัยเรียนจึงต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมที่มีวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ เนื้อเยื่อในร่างกาย และผิวหนัง วช่วยกระตุ้นให้ร่างกายคอลลาเจน หลอดเลือด กระดูกอ่อน รวมถึงกล้ามเนื้อ มีสารช่วยสลายไขมัน เพื่อนำมาสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ช่วยสารที่ช่วยให้ระดับ ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นลดลง ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์เม็ดเลือดแดง กระดูก และเนื้อเยื่อ ทั้งยังทำให้เหงือกและหลอดเลือดของเด็กแข็งแรง นอกจากนี้ ยังช่วยลดรอยช้ำ รักษาแผล เพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ร่างกายดูดซึมแหล่งอาหารจากธาตุเหล็กได้ดีอีกด้วย ปริมาณวิตามินซีสำหรับเด็กวัยเรียน แม้วิตามินซีจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็กๆ ก็ควรได้รับ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับเด็กแต่ละช่วยวัย อาจมีดังนี้ 0-6 เดือน : 40 มิลลิกรัม/วัน 7-12 เดือน : 50 มิลลิกรัม/วัน 1-3 […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกวัยประถม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรทำอย่างไร

การมีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การมีน้ำหนักเกินอาจเป็นสัญญาณของโรคอ้วน หรือถ้าลูกของคุณมี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ และควรดูแลลูกอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบมาให้คุณค่ะ รู้ได้อย่างไรว่าลูกคุณ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กวัยประถม อายุ 6-12 ปี ยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องการพลังงาน (แคลอรี่) และสารอาหาร จากการกินอาหารที่มีประโยชน์และอาหาร 5 หมู่ และในกรณีที่เด็กๆ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจหมายความว่าพวกเขาได้รับแคลอรี่จากอาหารไม่เพียงพอ เรามักจะใช้ตารางการเจริญเติบโต (growth charts) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา เพื่อดูค่าน้ำหนัก ความสูง และค่าดัชนีมวลกาย (BMI, body mass index) ซึ่งสำหรับเด็กวัยรุ่น เด็กวัยประถม และเด็กเล็ก ที่มีอายุ 2-18 ปี การคำนวณค่าดัชนีมวลกายจะคำนวณจาก อายุ เพศ ความสูง และน้ำหนัก ซึ่งเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคต่างๆ และสำหรับค่าดัชนีมวลกายจะมีเกณฑ์ดังนี้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยมีค่าเปอร์เซนไทล์อยู่ที่ 2 หรือต่ำกว่า น้ำหนักตามเกณฑ์ อยู่ระหว่างค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกกินกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

กาแฟ คือ เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่วัยทำงาน เนื่องจากมีสารคาเฟอีนที่ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัว อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหากให้ ลูกกินกาแฟ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของลูกที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกกินกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ นอนไม่หลับ  เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี จำเป็นต้องนอนหลับอย่างน้อย 11 ชั่วโมง ส่วนในช่วงวัยรุ่น ควรนอนหลับอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน แต่เด็กส่วนน้อยในปัจจุบันสามารถนอนหลับได้อย่างเพียงพอ เนื่องจาตารางเวลาที่แน่นไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับการจัดการโดยคุณพ่อคุณแม่  ทำให้เด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ และทำให้เกิดเด็กหันไปดื่มกาแฟเพื่อเพิ่มพลังงานจากการนอนไม่พอ ด้วยวงจรการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและการต้องพึ่งพาการดื่มกาแฟนี่เอง ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายนาฬิกาชีวิตและทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ระบุด้วยว่าหากเด็กที่มีอาการวิตกกังวล ผลจากคาเฟอีนจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นด้วย ปัสสาวะบ่อย กาแฟออกฤทธิ์คล้ายเป็นยาขับปัสสาวะ กระตุ้นการผลิตปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบรายงานจากงานวิจัยบางแห่งที่ระบุถึงการสูญเสีย แคลเซียม จากร่างกายออกทางปัสสาวะหลังการดื่มกาแฟอีกด้วย โดยปริมาณคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้แคลเซียมถูกขับออก 6 มิลลิกรัม ซึ่งสำหรับเด็กนั้น แคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก หากได้รับไม่เพียงพอก็อาจมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูกได้ สมาธิสั้น กาแฟ ส่งผลให้เด็กตื่นตัวตลอดเวลา มากกว่าอาการตื่นตัวกาแฟยังทำให้เด็กมีสมาธิสั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่ได้ประโยชน์จากสารกระตุ้นในกาแฟที่เพิ่มพลังงานและการตื่นตัว หรือที่เราเรียกกันว่า คาเฟอีน แต่สำหรับเด็นนั้นการได้รับ คาเฟอีน อาจมากเกินไปยาวนานหลายชั่วโมง […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน สำหรับเด็ก

โปรตีน เป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ สำคัญต่อสุขภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็ก ๆ ได้รับโปรตีนในแต่ละวัน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โปรตีน สำคัญกับสุขภาพเด็กอย่างไร โปรตีนมีหน้าที่สร้าง รักษา และซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันต่างก็สร้างมาจากโปรตีน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ร่างกายยังใช้โปรตีนที่ได้รับจากการกินอาหาร เพื่อสร้างโมเลกุลโปรตีนชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น ร่างกายใช้โปรตีนเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อกินอาหารที่มีโปรตีน ร่างกายจะย่อยโปรตีนให้กลายเป็นกรดอะมิโน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีกรดอะมิโน 22 ชนิดที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโน 13 ชนิดร่างกายสามารถสร้างเองได้ ส่วนกรดอะมิโนอีก 9 ชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เรียกว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้ง  9 ชนิด จากการกินอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน มากไปกว่านั้น แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โปรตีนที่มาจากสัตว์และโปรตีนที่มาจากพืช ดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์และนม เป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด โปรตีนจากพืช ส่วนใหญ่จะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็น 1 ชนิดหรือมากกว่า […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ของหวานหรืออาหารไขมันสูง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การกิน เกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไปจนอาจทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics ให้ข้อมูลว่า เด็กบริโภค เกลือ หรือ โซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงตั้งแต่เด็ก สามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า 800,000 คนในแต่ละปี และการกินอาหารที่มีรสเค็ม การบริโภค เกลือ หรืออาหารโซเดียมสูง อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เด็กกินเค็ม (โซเดียม) เท่าไหร่ถึงจะพอดี เด็กควรบริโภคเกลือแต่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มักจะเพิ่มเกลือลงไป เช่น ขนมปัง ถั่วอบ หรือแม้แต่ขนมปังอบกรอบ จึงทำให้เด็กๆ กินเค็มมากเกินไป ปริมาณ เกลือ ที่สูงที่สุดที่เด็กควรได้รับต่อวัน ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับ เกลือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน