วัยรุ่น

เมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสู่ "วัยรุ่น" (หญิงอายุ 12-17 ปี และชายอายุ 14-19 ปี) แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพและเรื่องอื่น ๆ โดยรวมก็ต้องเปลี่ยนไปจากตอนที่ยังเป็นเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกและสนับสนุนพวกเขาได้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

วัยรุ่น

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ วัยรุ่น เพิ่มเติม

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

สำรวจ วัยรุ่น

วัยรุ่น

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย สังเกตได้อย่างไร

Precocious puberty คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนเพศที่ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น มีหน้าอก มีประจำเดือน มีหนวดขึ้น มีขนตามแขน ขา อวัยวะเพศ องคชาตและอัณฑะขยายใหญ่ขึ้น ตั้งแต่เด็กผู้หญิงมีอายุไม่ถึง 8 ปี และเด็กผู้ชายมีอายุไม่ถึง 9 ปี ส่งผลให้เด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนวัยที่ควรจะเป็น อีกทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อยังพัฒนารวดเร็วกว่าปกติจนหยุดพัฒนาก่อนเวลา ส่งผลให้เตี้ยกว่าที่ควรเนื่องจากร่างกายถูกเร่งให้โตเร็วเกินไป และอาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเองที่รวดเร็วเกินไป จนกระทบต่อสภาพจิตใจได้ด้วย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าบุตรหลานมีอาการที่เข้าข่าย Precocious puberty ควรพาเด็กไปพบคุณหมอและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ  เพื่อช่วยให้เด็กกลับมามีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-bmi] Precocious puberty คือ อะไร ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย หรือ Precocious puberty คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการของกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด ความสูงของร่างกาย เร็วกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตไปเป็นวัยรุ่นก่อนวัยอันควร มักพบในเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชาย โดยปกติแล้วร่างกายของเด็กผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-13 ปี ในขณะที่เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนอายุ 9-14 ปี แต่หากร่างกายของเด็กผู้หญิงเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ 8 ปี และร่างกายของเด็กผู้ชายเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ […]


วัยรุ่น

นมตั้งเต้า ในเด็กผู้หญิง และพัฒนาการทางร่างกายที่ควรรู้

อาการ นมตั้งเต้า ในเด็กผู้หญิง เป็นหนึ่งในสัญญาณของการเข้าสู่วัยรุ่นระยะแรก อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 10-11 ปี มักทำให้เด็กมีอาการปวดหัวนมและหน้าอก เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงและเต้านมขยายตัว ในช่วงแรกอาจคลำพบก้อนนูนใต้หัวนม เจ็บเวลาสัมผัสโดน จากนั้นหน้าอกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ เด็กผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจมีพัฒนาการด้านร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีประจำเดือน สะโพกผายออก เอวคอดลง มีทรวดทรงมากขึ้น ตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีขนขึ้นตามแขน ขา รักแร้ อวัยวะเพศ มีกลิ่นตัว [embed-health-tool-bmi] นมตั้งเต้า ในวัยรุ่นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นมตั้งเต้า เป็นความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอันดับแรก ๆ ที่ทำให้ทราบว่าเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่นระยะแรกแล้ว โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กมีอายุได้ประมาณ 10-11 ปี แต่หากเกิดก่อนหน้านี้อาจหมายความว่า ลูกเป็นสาวก่อนวัย ในช่วงนี้เด็กผู้หญิงอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกหรือหัวนม หน้าอกขยายตัวขึ้นเป็นก้อน หัวนมตั้ง ลานนมหรือบริเวณวงสีคล้ำรอบหัวนมขยายใหญ่ขึ้น สาเหตุมาจากรังไข่เริ่มผลิตและหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายสะสมไขมันในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในทรวงอก ส่งผลให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดต่อมน้ำนมในหน้าอก โดยอัตราการเจริญเติบโตของหน้าอกอาจแตกต่างไปในแต่ละคน นอกจากการเปลี่ยนแปลงของเต้านมแล้ว ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย เช่น เริ่มมีขนหัวหน่าว […]


วัยรุ่น

วัยรุ่นตอนปลาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

วัยรุ่นตอนปลาย จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 18-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านเพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีพัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงอาจต้องเลี้ยงดูและดูแลเด็กในวัยนี้ด้วยความเข้าใจและเปิดใจว่าลูกเริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้ว เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและสมวัย [embed-health-tool-bmi] วัยรุ่นตอนปลาย คืออะไร วัยรุ่นตอนปลาย คือ ช่วงอายุประมาณ 18-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปวัยรุ่นตอนปลายจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์และมีการเติบโตเต็มที่พร้อมก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อาจสามารถควบคุมตัวเองเมื่อถูกแรงกระตุ้นได้มากขึ้น และอาจคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง แม้ว่าคู่รักจะคุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมก็ตาม เพราะการคุมกำเนิดทุกชนิดไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% นอกจากนี้ การสวมถุงยางอนามัยยังอาจช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย วัยรุ่นตอนปลาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วัยรุ่นตอนปลายอาจจะไม่มีพัฒนาการทางร่างกายเกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมักเกิดขึ้นมากในช่วงวัยเด็ก และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นบางคนอาจยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้นเล็กน้อย เช่น มีขนบนใบหน้า ขนตามร่างกายเพิ่มมากขึ้น อาจมีสิวเพิ่มขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนที่ยังคงมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ วัยรุ่นตอนปลายยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ความรู้ความเข้าใจ วัยรุ่นตอนปลายจะมีความรู้ความเข้าใจที่ก้าวเข้าสู่บทบาทและความรับผิดชอบที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อาจเข้าใจแนวคิดเชิงนามธรรมอย่างถ่องแท้ ตระหนักถึงผลที่จะตามมาและข้อจำกัดเฉพาะบุคคลมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจสามารถระบุเป้าหมายอาชีพและเตรียมพร้อมที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ งานอดิเรก และความสนใจที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อารมณ์ เริ่มเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่กับคุณพ่อคุณแม่ และมองว่ากลุ่มเพื่อนมีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของตัวเองลดลง […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

วัยรุ่นชาย การเจริญเติบโตและปัญหาสุขภาพที่ควรระวัง

วัยรุ่นชาย อาจเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าวัยรุ่นหญิง และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมมากขึ้น รวมถึงอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ เช่น ความปลอดภัยทางเพศ การใช้สารเสพติด ความรุนแรง พฤติกรรมเสี่ยง ปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งการรู้ถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย ควบคู่ไปกับการดูแลอย่างใกล้ชิดช่วยป้องกันปัญหาวัยรุ่นที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] การเจริญเติบโตของ วัยรุ่นชาย เด็กผู้ชายจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 9-14 ปี ซึ่งจะช้ากว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 2 ปี โดยจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ดังนี้ มีการขยายของอัณฑะ ถุงอัณฑะ และองคชาต มีขนอ่อนงอกและยาวขึ้นบริเวณหัวหน่าวและรอบ ๆ อวัยวะเพศ เมื่อเวลาผ่านไปขนจะมีสีเข้มขึ้น หยาบ ขดงอและมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขนของวัยรุ่นชายบางคนอาจกระจายไปถึงต้นขาหรือบริเวณหน้าท้อง ขนจะเริ่มขึ้นบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้ว รักแร้ องคชาตจะขยายใหญ่ขึ้นเต็มที่และเริ่มมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศ เนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาตมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่วัยรุ่นชายมีความคิดเรื่องเพศ อัณฑะจะเริ่มสร้างน้ำอสุจิที่ประกอบด้วยตัวอสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่าง ๆ ซึ่งวัยรุ่นชายอาจมีการหลั่งน้ำอสุจิออกมานอกร่างกายในระหว่างที่อวัยวะเพศแข็งตัว และสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่นอนหลับ หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัยเจริญพันธุ์ และหากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ก็สามารถทำให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์ได้ ขนาดร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้น […]


วัยรุ่น

วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง การเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่ควรรู้

วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม การทำความเข้าใจว่า วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง และวัยรุ่นในแต่ละช่วงวัยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างไรบ้าง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยให้ลูกเจริญเติบโตได้สมวัย มีสุขภาพกายใจและความเป็นอยู่ที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ คนที่อยู่ในช่วงอายุ 10-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ คนวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ ส่วนใหญ่มักเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง สามารถมองสิ่งต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งมากขึ้น เริ่มสนใจรูปลักษณ์ของตัวเองและพยายามมองหาอัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัว มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย รู้สึกอยากมีอิสระจากครอบครัว เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น และมักต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนและสังคมที่ตัวเองอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่บางประการขณะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจทำให้ลูกรู้สึกสับสนและรับมือไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เวลาในการปรับตัวและเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น พร้อมทั้งมอบความรักและความเข้าใจให้กับลูกอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นวัยที่สับสนนี้ไปได้ด้วยดี วัยรุ่นแบ่งออกเป็นกี่ช่วง วัยรุ่น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ วัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-13 ปี ในช่วงนี้ วัยรุ่นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้อย่างชัดเจน เช่น สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เริ่มมีขนขึ้นตามแขน ขา และบริเวณอวัยวะเพศ ผู้หญิงอาจเริ่มมีหน้าอก ผู้ชายอาจเริ่มเสียงแตกหนุ่ม มีสิว วัยรุ่นตอนต้นจึงจะเริ่มรู้สึกอ่อนไหวและกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง อาจรู้สึกไม่มั่นใจและมักเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน หากวัยรุ่นบางคนเติบโตได้เร็วหรือช้ากว่าเพื่อนคนอื่น ๆ […]


วัยรุ่น

วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ และปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสำคัญ

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจ แต่บางคนอาจมีการเจริญเติบโตทางร่างกายและมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ จึงอาจทำให้พ่อแม่หรือคนภายนอกเกิดความสงสัยว่า วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ ซึ่งปกติวัยรุ่นจะมีอายุอยู่ในช่วง 10-20 ปี ซึ่งเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่อาจจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้วัยรุ่นดำเนินชีวิตและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] วัยรุ่นอายุเท่าไหร่ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จึงเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยช่วงวัยรุ่นจะมีอายุตั้งแต่ 10-20 ปี ซึ่งร่างกายของเพศหญิงและเพศชายจะเริ่มเจริญเติบโตมากขึ้นและค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วน เช่น หน้าอกและอัณฑะขยายใหญ่ขึ้น เสียงแตกหนุ่ม มีขนขึ้นที่รักแร้และอวัยวะเพศ สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ วัยรุ่นจะเริ่มให้ความสนใจในบางเรื่องมากขึ้น เช่น อัตลักษณ์ทางเพศ ความสนใจเรื่องรูปร่างหน้าตา การเข้าสังคม ความต้องการเป็นอิสระจากครอบครัว สนใจเรื่องความสัมพันธ์แบบคู่รัก ซึ่งในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้เช่นกัน ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในวัยรุ่น ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่อาจพบได้บ่อยในวัยรุ่น มีดังนี้ ปัญหาภาพลักษณ์ทางร่างกาย วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ทางเพศและรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างมาก จึงอาจทำให้วัยรุ่นบางคนพยายามทำพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น อดอาหารเพื่อให้ผอม กินยาลดความอ้วน ใช้สารสเตียรอยด์เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ ปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น ความไม่เข้าใจในครอบครัว พ่อแม่แยกทาง ความรุนแรงในครอบครัว การถูกล่วงละเมิดทางเพศ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสุขภาพร่างกายของวัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นปมปัญหาภายในจิตใจในระยะยาวได้ การถูกกลั่นแกล้ง วัยรุ่นเป็นวัยที่ให้ความสำคัญกับการเข้าสังคมเป็นอย่างมาก จึงอาจมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้ง หรือ […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างตรงจุด อาจเป็นวิธีที่จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พ่อแม่จึงควรรู้ถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ทั้ง 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ สภาพจิตใจและอารมณ์ โภชนาการ การเลี้ยงดูของครอบครัว ภาวะสุขภาพ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีทั้งปัจจัยตามธรรมชาติที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยที่สามารถส่งเสริม จัดการให้สามารถพัฒนาไปในทางที่ดีได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของวัยรุ่นที่ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต [embed-health-tool-ovulation] การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น มีความสำคัญอย่างไร การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นที่เหมาะสมตามวัย อาจมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องมีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก จึงอาจทำให้มีความอ่อนไหวง่ายทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต บ่อยครั้งที่ปัจจัยต่าง ๆ อาจกระตุ้นให้วัยรุ่นเกิดความเครียด กดดัน และวิตกกังวล จนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมของวัยรุ่น 6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น ในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา อาจมีดังนี้ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางชีวภาพเป็นปัจจัยภายในที่ได้รับมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน เพศ ลักษณะรูปร่าง พื้นฐานอารมณ์ สภาพร่างกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น เช่น ส่วนสูง รูปร่าง สีผม สีตา สีผิว และอาจมีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

วัยรุ่น กับพัฒนาการทางจิตใจที่ควรให้ความสำคัญ

วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาท รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจทำให้วัยรุ่นรู้สึกอยากรู้ อยากลอง กดดัน หรืออาจมีความวิตกกังวล เกี่ยวกับภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ของตนเอง ความสนใจในเรื่องเพศ หรือต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ดูแลและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] วัยรุ่น คืออะไร วัยรุ่น คือ ช่วงวัยที่มีอายุระหว่าง 10-21 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ วัยรุ่นจึงต้องมีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและระบบประสาทที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด จึงทำให้วัยรุ่นเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น ต้องการอิสระ มีความสนใจในรูปลักษณ์ของตัวเอง แสวงหาอัตลักษณ์ของตนเอง รวมถึงมีความสนใจในเรื่องเพศ สนใจที่จะเข้าสังคม และต้องการการยอมรับในสังคมมากขึ้น ความสำคัญของพัฒนาการทางจิตใจของวัยรุ่น ช่วงวัยรุ่นแบ่งออกเป็นวัยรุ่นตอนต้น วัยรุ่นตอนกลาง และวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งในแต่ละช่วงวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม ไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้ วัยรุ่นตอนต้น อายุ 10-13 ปี ในช่วงนี้ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น […]


วัยรุ่น

วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก

ประจำเดือน คือเลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดในทุก ๆ เดือน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยส่วนใหญ่มักมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี การเป็นประจำเดือนถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรสอนให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือนครั้งแรกและวิธีการใช้ผ้าอนามัยอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมเมื่อเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาเนื่องจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) โดยปกติในแต่ละเดือน ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนออกมาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมา และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีอสุจิมาผสมกับไข่ ระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะลดลง และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน โดยประจำเดือนมักจะมาทุก ๆ 21-45 วัน และอาจเป็นประจำเดือนนานประมาณ 3-8 วัน ทั้งนี้ รอบเดือนของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป สัญญาณเตือนเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก โดยปกติลูกมักจะเป็นประจำเดือนครั้งแรกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยแรกรุ่น ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงอายุ 12 ปี แต่บางคนอาจมาช้าหรือเร็วกว่านั้นตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยสัญญาณเตือนการเป็นประจำเดือนครั้งแรกของลูก มีดังนี้ ท้องเสีย ท้องอืด และอาจปวดท้องเกร็งช่วงท้องด้านล่าง อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอกและเต้านมเมื่อสัมผัส รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น หิวบ่อยขึ้น วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก วิธีรับมือเมื่อลูกเป็นประจำเดือนครั้งแรก อาจทำได้ดังนี้ พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการเป็นประจำเดือน หากเป็นไปได้ควรพูดก่อนที่ประจำเดือนจะมา เพื่อให้ลูกทำความเข้าใจและรับมือได้ด้วยตัวเอง ช่วยลดอาการตื่นตกใจเมื่อประจำเดือนมา สอนลูกเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้าอนามัย วิธีการใช้ผ้าอนามัย […]


วัยรุ่น

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความเสี่ยงสุขภาพที่อาจพบได้ และวิธีรับมือ

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรับมืออย่างถูกวิธี โดยคำนึงถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเนื่องจากความไม่พร้อมหรือปัญหาสุขภาพ ควรเลือกวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องโดยให้หน่วยงานรัฐหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ตั้งครรภ์มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] ความเสี่ยงต่อสุขภาพของ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งต่อแม่และทารก ดังต่อไปนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้หญิงที่อายุยังน้อยเสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้หญิงในวัย 20-30 ปี ภาวะนี้อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ ใบหน้าและมือบวม ระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงขึ้น และหากความดันโลหิตสูง หรือมีความรุนแรงจนทำให้เกิดอาการชัก อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็กได้ เช่น รกเสื่อม ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เด็กที่เกิดมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น เช่น เด็กอาจมีน้ำหนักเพียง 1.4-2.4 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยกว่าน้ำหนักตัวทารกคลอดตามกำหนดที่มักอยู่ระหว่าง 2.9-4 กิโลกรัม ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit หรือ NICU) เพื่อให้การดูแลในด้านที่จำเป็น เช่นเสริมโภชนาการ รักษาภาวะติดเชื้อ หรือ สังเกตอาการหายใจที่อาจผิดปกติเนื่องจากบางรายปอดยังเจริญไม่เต็มที่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน