เมื่อมีอาการปวดฟัน หลายคนก็อาจจะเลือกใช้ ยาแก้ปวดฟัน ไม่ว่าจะเป็น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน เพื่อมาช่วยบรรเทาอาการปวดฟันเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การใช้ยาแก้ปวดฟันเหล่านี้อย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาแก้ปวดฟันอย่างเหมาะสม รวมถึงปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
[embed-health-tool-bmi]
ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี
คนส่วนใหญ่มักคิดว่ามีเพียงแต่ยาพาราเซตามอลเท่านั้นที่สามารถบรรเทา อาการปวดฟัน แต่แท้จริงแล้วยังมียาอีกหลากหลายกลุ่ม หลายชนิดที่สามารถบรรเทา อาการปวดฟัน ได้ ดังต่อไปนี้
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- คุณสมบัติ มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดเล็กน้อย ในผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทานเพียง 1-2 เม็ดต่อวัน ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานเกิน 800 มิลิกรัม
- ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ผื่น ปวดท้อง มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น
ยาพาราเซตามอล
- คุณสมบัติ มีคุณสมบัติใช้บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง ในผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทานระหว่าง 650-1,000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานมากกว่า 3,000 มิลิกรัม
- ผลข้างเคียง คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูง ปวดท้องด้านขวา
หลังกินยาแก้ปวดฟันแล้วควรทำอย่างไร
- นอนพักผ่อน
โดยยกศีรษะให้สูงขึ้น การตั้งศีรษะให้สูงกว่าลำตัวจะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลมาที่ศีรษะได้ เนื่องจาก หากมีเลือดคลั้งบริเวณสมองมาก อาจส่งผลให้มี อาการปวดฟัน เพิ่มมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเย็น
เพราะอาจกระตุ้นให้เรารู้สึกปวดฟันมากยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีอาการปวดฟันควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ แทน
- น้ำยาบ้วนปาก
ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและทำให้ฟันชา เพื่อบรรเทา อาการปวดฟัน ให้ลดลง
- น้ำแข็งประคบ
ห่อน้ำแข็งด้วยผ้าแล้ววางบนใบหน้าด้านที่เรามีอาการปวด จนกว่าเราจะรู้สึกชา วิธีนี้จะช่วยบรรเทา อาการปวดฟัน ให้ลดลงได้
เคล็ดลับป้องกัน อาการปวดฟัน
- ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกปี
- ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- รักษาสุขอนามัยช่องปาก แปรงฟันเป็นประจำวัน 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 2 นาที ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
- ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำหลังแปรงฟัน เพื่อขจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่ติดตามฟัน
เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ
หากคุณมี อาการปวดฟัน ดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อทำการรักษา