ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไร

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจเกิดจากร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังสมองได้ตามปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เซลล์สมองเสียหายและถูกทำลายอย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ล้มลงกระทันหัน พูดลำบาก สับสนมึนงง สายตาพร่ามัว ผู้ที่มีมีอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ควรถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสียหายถาวรและการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มักเกิดจากหลอดเลือดตีบตันหรือหลอดเลือดสมองมีลิ่มเลือดอุดกั้นจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อสมองส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในเนื้อสมองและภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง ที่ทำให้มีเลือดคั่งสะสมและกดอัดเนื้อเยื่อสมอง แต่อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเนื่องจากมีภาวะเลือดออกในสมองเป็นกรณีที่พบได้น้อยกว่ากรณีแรก โดยปกติแล้วเลือดจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์สมอง หากสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอนำไปใช้เป็นพลังงาน จะทำให้เซลล์สมองตายและเสียหายถาวร หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อาจเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้มากกว่าคนทั่วไป อายุ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่มือสองจะได้รับสารพิษในบุหรี่อย่างนิโคติน (Nicotin) ที่ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมไปถึงบริเวณเนื้อสมองได้น้อยลง ภาวะความดันโลหิตสูง หากมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง เช่น […]


ระบบประสาทและสมอง

ตากระตุกข้างซ้าย เกิดจากอะไร และมีวิธีรักษาอย่างไร

ตากระตุกข้างซ้าย อาจไม่ได้บ่งบอกลางร้ายหรือดีเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกถึงสุขภาพบางอย่างที่เกี่ยวกับเส้นประสาทและสมอง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อัมพาตครึ่งซีก เส้นเลือดตีบ และโรคทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) หากสังเกตว่าตากระตุกบ่อยครั้งและติดต่อกันเป็นเวลานานควรเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจนและรักษาอย่างรวดเร็ว  [embed-health-tool-heart-rate] ตากระตุกข้างซ้าย เกิดจากอะไร ตากระตุกข้างซ้าย เกิดจากกล้ามเนื้อตาอยู่รอบเปลือกตาหรือหนังตาบนและล่างมากเกินไป ทำให้เปลือกตาข้างใดข้างหนึ่งกระตุกเองโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้และอาจมีอาการกระตุกต่อเนื่องหรือกระตุกเป็นพัก ๆ ทุก ๆ 2-3 วินาที หรือ 1-2 นาที นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระตุ้นให้ตากระตุกข้างซ้าย ดังนี้ ความเครียด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการตาล้า ตาแห้งและตาไวแสงที่อาจเกิดจากการจ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและโทรทัศน์เป็นเวลานาน สภาพแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงแดด ฝุ่น ควัน ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคลมชัก ยารักษาอาการทางจิต นอกจากนี้ หากมีอาการตากระตุกขางซ้ายต่อเนื่องและเป็นเวลานานกว่าหลายเดือน ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะเปลือกตาอักเสบ กระจกตาถลอก โรคต้อหิน รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis […]


ระบบประสาทและสมอง

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุ และการรักษา

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ คือ อาการที่ส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสาร อัมพาตที่ใบหน้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อเมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองบางส่วนได้เพียงพอ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงคุกคามชีวิต ดังนั้น ควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว  [embed-health-tool-heart-rate] อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดอุดตันของลิ่มเลือดหรือไขมันอุดตันในหลอดเลือดทำให้ขวางการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองส่งผลให้สมองขาดเลือด โดยมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ดังต่อไปนี้ น้ำหนักเกินเกณฑ์และเป็นโรคอ้วน ที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน คาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ความผิดปกติการแข็งตัวของหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันโลหิตสูง การใช้สารเสพติดและการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่และสารติดอาจทำลายหลอดเลือดและส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปยังสมองได้ไม่ดี โรคเบาหวาน การทำงานของหัวใจบกพร่อง ทำให้หัวใจสูบเฉียดเลือดที่เพิ่มออกซิเจนและไปหล่อเลี้ยงสมองได้น้อยลง เนื้อเยื่อติดเชื้อในกระแสเลือดและเดินทางไปยังสมองทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือด อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีอะไรบ้าง อาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีดังนี้ มีปัญหาในการสื่อสารทำให้พูดไม่ชัด และไม่เข้าในคำพูด ใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกหรือรู้สึกชาบริเวณแขน ขา ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง มีปัญหาในการมองเห็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่งผลให้ตาพร่ามัว มองเห็นเป็นภาพซ้อน สูญเสียการได้กลิ่นและการรับรสชาติ รู้สึกปวกศีรษะรุนแรง วิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้และอาเจียน อารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นลมหมดสติ การรักษาอาการเส้นเลือดในสมองตีบ การรักษาอาการเส้นเลือดในสมองตีบ มีดังต่อไปนี้ ฉีดยาสลายลิ่มเลือด คุณหมออาจฉีดยาสลายลิ่มเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการผิดปกติ เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นไปหล่อเลี้ยงสมอง การใส่สายสวน เป็นวิธีรักษาที่อาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากหลอดเลือดตีบ โดยคุณหมออาจพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยเนื่องจากการใส่สายสวนสามารถใส่ได้ 2 รูปแบบ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวข้างเดียว เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

ปวดหัวข้างเดียว เป็นอาการที่อาจพบได้บ่อย โดยอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันหรือเรื้อรัง และอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสมอง เซลล์ประสาท กะโหลกศีรษะ หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น หูอักเสบ ความผิดปกติของสายตา โพรงจมูกอักเสบ อุบัติเหตุ ดังนั้น จึงควรสังเกตความรุนแรงของอาการปวดหัวข้างเดียวอยู่เสมอ หากอาการแย่ลงควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] ปวดหัวข้างเดียว เกิดจากอะไร อาการปวดหัวข้างเดียวอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากปัจจัยภายในร่างกายหรือปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดอาการ ดังนี้ ปัจจัยภายในร่างกาย ความผิดปกติของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพอง ความผิดปกตินอกเหนือจากสมอง เช่น หูอักเสบ ความผิดปกติของสายตา โพรงจมูกอักเสบ ความดันโลหิตสูง ไมเกรน ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อ สภาวะทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การออกกำลังกายและการมีเพศสัมพันธ์อย่างหนัก ความเหนื่อยล้าและความอ่อนเพลีย การรับประทานของเย็นจัด ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ปัจจัยภายนอกร่างกาย การกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะอย่างรุนแรง เช่น รถชน หกล้ม อาจส่งผลทำให้สมอง กะโหลกศีรษะ หรือเซลล์ประสาทบางส่วนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวได้ ปวดหัวข้างเดียว อันตรายหรือไม่ ปวดหัวข้างเดียว เป็นอาการปวดหัวเพียงข้างใดข้างหนึ่งที่อาจพบได้บ่อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไมเกรน ความเครียด […]


ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาทคือ อะไร มีความสำคัญอย่างไร

ระบบประสาทคือ ระบบที่คอยควบคุมความคิด การรับรู้ การหายใจ การย่อยอาหาร และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ระบบประสาทประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท รวมถึงเซลล์ประสาท ซึ่งเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งสัญญาณระหว่างส่วนต่าง ๆ ในระบบประสาท [embed-health-tool-bmi] ระบบประสาทคือ อะไร ระบบประสาท เป็นหนึ่งในระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีความซับซ้อนสูง โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขมันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ซึ่งหมายถึงเส้นประสาทต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ การคิด การเรียนรู้ ความทรงจำ การรับสัมผัส ความรู้สึกต่าง ๆ การรับรู้ถึงอุณหภูมิ การเคลื่อนไหว การทรงตัว การนอนหลับ การฟื้นฟูบาดแผล การเต้นของหัวใจ การหายใจเข้า-ออก การรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียด การย่อยอาหาร และความรู้สึกหิวหรืออิ่มท้อง กระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เส้นเลือดในสมองแตก สาเหตุ อาการ และการรักษา

เส้นเลือดในสมองแตก เป็นโรคเส้นเลือดสมองชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) แต่พบค่อนข้างน้อยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ เมื่อมีอาการ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปวดหัวรุนแรง ควรไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เส้นเลือดในสมองแตกคืออะไร เส้นเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) เป็นโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) ชนิดหนึ่ง หมายถึง การที่เส้นเลือดในสมองแตกและมีเลือดไหลออกมา ส่งผลให้สมองบางส่วนขาดออกซิเจน หรือเสียหายเนื่องจากปริมาณเลือดในสมองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เส้นเลือดในสมองแตกอาจเแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ เลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) หมายถึง เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองรอบ ๆ เส้นเลือดที่แตกมีความดันสูงขึ้น เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง (Subarachnoid Hemorrhage) หมายถึง การแตกของเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดผ่านเยื่อหุ้มสมองอะแร็กนอยด์แตก (Arachnoid) ทำให้มีเลือดไหลเข้าไปสะสมในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มสมองและแรงดันภายในกะโหลกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ เส้นเลือดในสมองแตกพบได้ไม่บ่อย หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของโรคเส้นเลือดสมองทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกส่วนใหญ่ มักมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป อาการ อาการของเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อเป็นเส้นเลือดในสมองแตก ผู้ป่วยจะมีอาการเฉียบพลัน ดังนี้ รู้สึกชาหรืออ่อนแรง บริเวณใบหน้า […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปลายประสาทอักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากเส้นประสาทเสียหาย เมื่อเป็นแล้ว จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาตามเท้ามือเท้า หรือหัวใจเต้นเร็ว ทั้งนี้ เมื่อมีอาการปลายประสาทอักเสบ ควรไปพบคุณหมอทันที เพื่อลดความเสี่ยงเส้นประสาทเสียหายมากขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) หรือบางครั้งเรียกว่าปลายประสาทเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากปลายประสาท (Peripheral Nerve) หรือเส้นประสาทส่วนที่อยู่นอกเหนือสมองและไขสันหลังได้รับความเสียหาย ปลายประสาทอักเสบแบ่งเป็นหลายชนิด โดยชนิดหลัก ๆ ได้แก่ Motor Neuropathy เป็นปลายประสาทอักเสบซึ่งเกิดจากเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวเสียหาย Sensory Neuropathy เป็นปลายประสาทอักเสบซึ่งเกิดจากเส้นประสาทรับความรู้สึก หรือเส้นประสาทที่ช่วยให้มนุษย์รู้สึกถึงอุณหภูมิและความเจ็บปวดเสียหาย Autonomic Nerve Neuropathy เป็นปลายประสาทอักเสบซึ่งเกิดจากเส้นประสาทอัตโนมัติ หรือเส้นประสาทส่วนที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่อยู่เหนือจิตใต้สำนึกของมนุษย์เสียหาย อาการ อาการของ ปลายประสาทอักเสบ อาการของปลายประสาทอักเสบแตกต่างกันไปตามชนิดของปลายประสาทอักเสบ ดังนี้ Motor Neuropathy มีอาการดังนี้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ ตะคริว Sensory Neuropathy มีอาการดังนี้ รู้สึกเสียวซ่าน รู้สึกชา ไม่รับรู้ต่ออุณหภูมิและความเจ็บปวด ร่างกายเสียสมดุล การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเมื่อร่างกายสัมผัสเบา ๆ กับผ้าปูที่นอน Autonomic Nerve Neuropathy […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เส้นเลือดในสมองตีบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด โดยเกิดการตีบหรืออุดตันของเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง ซึ่งส่งผลให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และค่อย ๆ ตายลง หรือส่งผลให้ร่างกายผิดปกติ เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ชาตามใบหน้าหรือร่างกาย หากมีอาการเส้นเลือดในสมองตีบควรไปพบคุณหมอทันที เพราะหากไปพบคุณหมอช้า อาการจะยิ่งแย่ลง หรืออาจถึงขั้นพิการถาวรหรือเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ เส้นเลือดในสมองตีบคืออะไร เส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) หมายถึง การมีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เพราะเส้นเลือดตีบหรืออุดตันจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด หรือเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กขัดขวางการไหลเวียนเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนจากเลือดไม่เพียงพอ และเซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง จนส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เส้นเลือดในสมองตีบโดยพบได้บ่อยกว่าเส้นเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดสมองแตกหักหรือฉีกขาดส่งผลให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง อาการ อาการของ เส้นเลือดในสมองตีบ เมื่อเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะเกิดอาการเฉียบพลัน ดังนี้ รู้สึกชาหรืออ่อนแรง บริเวณใบหน้า ขา หรือแขน มักเกิดกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง มีปัญหาในการพูดและไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด เดินหรือทรงตัวลำบาก ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยอาจมีอาการมึนงงหรืออาเจียนร่วมด้วย มองภาพตรงหน้าไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย โดยอาการอาจเกิดขึ้นกับดวงตาเพียงข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สาเหตุ สาเหตุของ เส้นเลือดในสมองตีบ เส้นเลือดในสมองตีบเกิดจากเส้นเลือดตีบแคบลงหรือเกิดการอุดตันจากไขมัน เกล็ดเลือด หรือสสารอื่น ๆ ที่พบได้ในเลือด เช่น เนื้อเยื่อ จนทำให้ไม่เส้นเลือดไม่สามารถส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองได้ตามปกติ โดยทั่วไป เส้นเลือดในสมองตีบจะพบในผู้ที่สูบบุหรี่ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวท้ายทอย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ปวดหัวท้ายทอย เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การนั่งหรือยืนตัวงอ รวมถึงการรั่วของน้ำไขสันหลัง โดยส่วนใหญ่ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด หรือการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ  แต่หากอาการปวดไม่หายไปหรือรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทบชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวท้ายทอย เกิดจากอะไร การปวดบริเวณท้ายทอย เกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ บุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม การยืนหรือนั่งตัวงออาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ขากรรไกร คอ หรือหลังส่วนบนมีอาการตึง และยังเพิ่มแรงกดให้กับเส้นประสาทบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวท้ายทอยตามมาได้ อย่างไรก็ตาม การปวดหัวท้ายทอยจากบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ปรับท่าทางการยืน เดิน หรือนั่ง หรือเข้ารับการกายภาพบำบัด ภาวะความดันน้ำไขสันหลังต่ำ ภาวะความดันน้ำไขสันหลังต่ำ (Spontaneous Intracranial Hypotension) เป็นการรั่วของน้ำไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเป็นผลจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้น้ำไขสันหลังในสมองลดลง และเกิดอาการปวดหัวบริเวณคอหรือท้ายทอยตามมา โดยอาการปวดนี้จะรุนแรงเมื่อนั่งหรือยืน ปกติแล้ว ภาวะความดันน้ำไขสันหลังต่ำสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการนอนพักเป็นเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ร่วมกับการดื่มน้ำและการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ การฉีดเลือดของผู้ป่วยเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ยังช่วยอุดบริเวณที่น้ำไขสันหลังรั่วออกมาได้ การปวดเส้นประสาทต้นคอ การปวดเส้นประสาทต้นคอ (Occipital Neuralgia) เป็นสาเหตุของอาการปวดหัวท้ายทอยที่พบได้ไม่บ่อย มักพบในผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน และมีสาเหตุจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น การอักเสบของหลอดเลือด โรคเบาหวาน การติดเชื้อ การบาดเจ็บบริเวณหลังศีรษะ ซึ่งส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณท้ายทอยที่ทอดยาวไปถึงหัวมีอาการอักเสบหรือระคายเคือง ทั้งนี้ […]


ระบบประสาทและสมอง

สมอง มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสมองทำได้อย่างไรความสำคัญ

สมอง เป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่รับสัมผัสทั้ง 5 คิดวิเคราะห์ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว และควบคุมให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ หากไม่ดูแลสุขภาพให้ดี สมองอาจเสื่อมสมรรถภาพ ป่วย หรือติดเชื้อ จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เพื่อรักษาสุขภาพของสมองให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการสูดดมควันของบุหรี่ [embed-health-tool-bmi] สมองคืออะไร สมองเป็นอวัยวะสำคัญของมนุษย์ อยู่ข้างในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะเป็นก้อนสีชมพูหรือแดงซึ่งเต็มไปด้วยรอยหยัก มีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม โดยสมองของผู้ชายจะหนักกว่าของผู้หญิงเล็กน้อย สมอง ประกอบด้วยไขมัน 60 เปอร์เซ็นต์ และส่วนประกอบอื่น ๆ อีก 40 เปอร์เซ็นต์ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำ เซลล์ประสาท หลอดเลือด ทั้งนี้ สมองสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้ ซีรีบรัม (Cerebrum) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่บริเวณครึ่งบนของกะโหลกศีรษะ คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สมองทั้งหมด หน้าที่ของซีรีบรัมสัมพันธ์กับสัมผัสทั้ง 5 […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม