backup og meta

ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression หรือ Holiday Blues) เมื่อเวลาแห่งความสุขหมดลง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 13/11/2020

    ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression หรือ Holiday Blues) เมื่อเวลาแห่งความสุขหมดลง

    เมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงสิ้นปี เทศกาลแห่งวันหยุดยาวก็เริ่มใกล้เข้ามาทุกที หลายคนเริ่มวางแผนเที่ยวในวันหยุดยาวกันแล้ว ช่วงเทศกาลหยุดยาวนี้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขเลยก็ว่าได้ เพราะได้เที่ยว พักผ่อน ผ่อนคลายจากการทำงานเครียดมาทั้งปี แต่เมื่อเวลาแห่งความสุขหมดลง ก็ต้องกลับมาทำงาน ทำให้หลายคนมีภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression หรือ Holiday Blues) วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ภาวะซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว พร้อมวิธีรับมือมาให้อ่านกันค่ะ หลังจากหยุดยาวเราจะได้รับมือทันถ่วงที

    ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Holiday Depression) คืออะไร

    ภาวะซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว นั้นจะทำให้เรารู้สึกเศร้า เสียใจ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะมีความรุนแรงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนอาจจะมีภาวะซึมเศร้าเพียงแค่วันแรกของการกลับมาทำงานเท่านั้น สำหรับบางคนอาจจะมีภาวะนี้นานจนกว่าจะถึงวันหยุดอีกครั้งเลยทีเดียว

    ทำไมบางคนจึงมีภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว

    เทศกาลวันหยุดยาวนั้นถือเป็นเวลาแห่งความสุข และเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนที่ใครหลาย ๆ คนรอคอยเลยก็ว่าได้ ช่วงวันหยุดยาวนั้นถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง บางคนนัดปาร์ตี้ สังสรรค์กับเพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เจอกันนาน ทั้งดื่มทั้งกิน สนุกอย่างเต็มที่ สำหรับบางคนอาจเลือกการพักผ่อนด้วยการไปเที่ยว เมื่อเวลาแห่งความสุขเหล่านี้จบลง หลายคนมีภาวะเครียด ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รายจ่ายที่จ่ายไปกับการปาร์ตี้จนเกินพอดี ทำให้เกิดความเครียดด้านการเงิน อีกหนึ่งความรู้สึกคือรู้สึกเศร้า เหงาที่ต้องอยู่คนเดียว หลังจากที่คนอื่น ๆ ต่างแยกย้ายกันไปทำหน้าที่ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพจิต จนทำให้เรานั้นเกิด ภาวะซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว ได้

    ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะมีภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว เด็ก ๆ เองก็สามารถมีภาวะนี้ได้เช่นกัน ในช่วงหยุดยาวเขาได้สนุกสนานและมีความสุขอย่างเต็มที่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน งานปาร์ตี้จบลง เพื่อนที่เคยเล่นด้วยกันมากมายก็ต่างแยกย้ายกลับบ้านอาจทำให้พวกเข้ารู้สึกเหงา เครียด และรู้สึกวิตกกังวลได้เช่นกัน

    วิธีรับมือเมื่อมีอาการ ซึมเศร้าหลังหยุดยาว

    เมื่อร่างกายเกิดความเครียดจนถึงจุดสูงสุด แน่นอนว่าการจัดการเรื่องเครียดจึงเป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้นการรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเครียดที่อาจเกิดขึ้นหลังหยุดยาวได้

    ไม่คาดหวัง หลาย ๆ คนอาจจะคาดหวังความสุขมากมายในช่วงหยุดยาว แต่เมื่อทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่หวังอาจทำให้คุณรู้สึกผิดหวัง และเศร้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น

    วางแผนการใช้จ่าย ก่อนที่จะใช้จ่ายไปกับช่วงหยุดยาว ควรคำนวณเงินอย่างดีว่าหากใช้ง่ายไปแล้วจะกระทบต่อการเงินหรือไม่ และควรใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล จะได้ไม่เครียดและมีปัญหาทางการเงินหลังหยุดยาว จนส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว

    ไม่เปรียบเทียบ แน่นอนว่าในช่วงหยุดยาวคุณจะสนุกและมีความสุขกับมัน เมื่อทุกอย่างจบลงอาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้ว่า ที่ผ่านมาสนุกกว่า ทำให้คุณรู้สึกเศร้าและเหงา ดังนั้นไม่ควรเปรียบเทียบในแต่ละวัน แต่ใช้ชีวิตให้มีความสุข

    จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากไป อาจทำให้คุณรู้สึกซึมเศร้าได้

    ภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว เป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดความเครียด เศร้า และเหงาหลังจากที่กลับมาทำงาน เนื่องจากในช่วงหยุดยาวเราได้ใช้เวลาไปกับการเฉลิมฉลอง การท่องเที่ยว อยู่กับคนที่รัก ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นช่วยทำให้เรานั้นมีความสุข จนทำให้ร่างกายของเราเสพติดความสุข อยากจะมีความสุขแบบนี้เรื่อยไป

    เมื่อเทศกาลหยุดยาวหมดลง ความสุขเหล่านั้นก็ค่อย ๆ หมดลงไปด้วย ทำให้หลายคนเกิดภาวะ ซึมเศร้าหลังหยุดยาวได้ ดังนั้นเราควรอยู่กับปัจจุบัน รับรู้ความรู้สึกของตนเองให้ดี เพื่อจะได้ก้าวข้ามความรู้สึกนี้ และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 13/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา