backup og meta

เอาชนะอาการ กลัวสุนัข พร้อมเปิดใจให้ความน่ารักของสัตว์แสนรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/06/2020

    เอาชนะอาการ กลัวสุนัข พร้อมเปิดใจให้ความน่ารักของสัตว์แสนรู้

    เป็นเรื่องที่น่าเหลือเลยทีเดียว ถึงอาการ กลัวสุนัข ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอยู่จริง เพราะความน่ารัก ขี้เล่น และแสนรู้เช่นนี้ จะทำให้ผู้คนกลัวได้ถึงเชียวหรือ บางคนอยากจะสัมผัส แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะเอื้อมมือไปเล่นกับเจ้าสุนัขด้วยเหตุผลบางอย่าง มาร่วมค้นหาสาเหตุของพวกเขาเหล่านี้ พร้อมเคล็ดลับเอาชนะความกลัวแปลกๆ ไปพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเถอะ

    สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวสุนัข มีอะไรบ้างนะ

    คำนิยามของอาการ กลัวสุขนัข (Cynophobia) มีที่มาจากภาษากรีก คือ Cyno ที่แปลว่า สุนัข และ Phobia ที่แปลว่ากลัว เมื่อนำมารวมกันจึงได้คำที่ตรงตัวก็คือ อาการกลัวสุขนัข หรือความกลัวสุนัข

    ซึ่งสาเหตุที่ผู้คนบางกลุ่มมีความหวาดกลัวต่อสัตว์สี่ขาชนิดนี้ สันนิษฐานได้ว่า อาจมาจากประสบการณ์ด้านลบกับสุนัขโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับคุณในวัยเด็ก ก่อให้เกิดการจดจำจวบจนถึงปัจจุบันที่คุณเติบโตขึ้น เช่น ถูกสุนัขกระโจนเข้าหา ได้รับบาดเจ็บการจากถูกสุนัขกัด กลัวเสียงขู่เสียงเห่า และโรคติดต่อจากสัตว์ เป็นต้น

    รวมถึงมาจากกรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว และถูกปลูกฝังตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อปกป้องคุณไม่ให้ใกล้ชิดกับสุนัข เพราะอาจทำให้ได้รับอันตรายอย่างที่พวกเขาประสบมาก็เป็นได้

    อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหวาดกลัวเมื่อพบน้องหมา

    ถึงแม้จะอยากเข้าไปเล่นเพียงใด แต่เพียงแค่เห็นน้องหมาจ้องตาก็รู้สึกผวาในใจขึ้นมาทุกที และยังส่งผลให้มีอาการทางด้านอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้น

    พิชิตอาการ กลัวสุนัข ให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้ อย่างมีความสุข

    การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy) โดยปรับพฤติกรรมด้านความรู้ความเข้าใจ และการสัมผัสกับสุนัขโดยตรง อาจช่วยให้ผู้ป่วยกล้าที่จะเผชิญกับสัตว์สี่ขาแสนน่ารักนี้มากขึ้น แต่การบำบัดเช่นนี้ควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนักบำบัด เพื่อที่จะคอยควบคุมอาการกลัว รวมถึงคอยบอกขั้นตอนถัดไปเรื่อยๆตลอดจนกว่าคุณจะหายดี

    แต่ยังมีอีกสิ่งที่นักบำบัดทางจิตอาจให้คุณใช้ร่วมด้วยกันก็คือ ยาในกลุ่ม เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker) และยาระงับประสาท เพราะจะช่วยให้คุณคลายความวิตกกังวลลงได้ และลดสารอะดรีนาลีน ที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา