backup og meta

ผวาแรงเพียงแค่เห็นหุ่นปั้น อาจเป็นที่มาของอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ก็เป็นได้

ผวาแรงเพียงแค่เห็นหุ่นปั้น อาจเป็นที่มาของอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ก็เป็นได้

เคยไหมเวลายืนจ้องหุ่นนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นปั้นในพิพิธภัณฑ์ หุ่นจำลองที่วางตั้งอยู่ตามร้านค้า ก็ทำให้เกิดจินตนาการประหนึ่งว่าพวกเขามีชีวิตและกำลังจ้องมองเราไม่วางตา จนเกิดเป็นภาพติดตานำมาสู่ความกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับอาการกลัวแปลก ๆ อย่างอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มโฟเบีย (Phobia) พร้อมทั้งวิธีขจัดความกลัวต่อหุ่นนี้ให้หมดไป

สาเหตุเบื้องต้นที่อาจทำให้คุณมีอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง

ความกลัวต่อหุ่นขี้ผึ้ง (Automatonophobia) เป็นความกลัวส่วนบุคคล ที่มักจะมีอาการตกใจเล็กน้อยเมื่อพบเห็นหุ่นจำลองที่รูปร่างเหมือนมนุษย์ หุ่นยนต์ และรูปปั้นต่างๆ โดยอาจมีความกลัวติดตัวมาตั้งแต่คุณยังอยู่ในวัยเด็ก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

  • เกิดจากพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับเคมีภายในสมอง และปัจจัยทางจิตด้านอื่นๆ ร่วม จึงนำไปสู่อาการกลัว หรือตื่นตระหนกได้
  • อาจเกิดจากการที่คุณเสพสื่อมากเกินไปในช่วงตอนที่คุณเป็นเด็ก เช่น หนังที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ ที่มีเนื้อหาเผยถึงพฤติกรรมในเชิงลบ มีความรุนแรง หรือหนังที่เกี่ยวข้องกับหุ่นจำลอง อย่างหุ่นเกิดการขยับตัวเองได้ เป็นต้น เมื่อคุณต้องออกไปเผชิญ หรือพบเห็นบรรดาหุ่นที่ตั้งเรียงราย จึงเกิดการจินตนาการ และความกลัวหุ่นนี้ออกมา
  • เป็นผลมาจากความเครียด และภาวะซึมเศร้าที่ถูกปล่อยเป็นระยะเวลานาน และไม่เคยได้รับการรักษา จึงทำให้เกิดความกลัวต่อสิ่งรอบกายขึ้น

อาการที่เด่นชัด เมื่อบังเอิญพบเห็นหุ่นขี้ผึ้ง

อาการกลัวที่ส่งผลให้ร่างกายมีความผิดปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ด้วยกันคือ

 1. อาการกลัวทางจิตใจ

2. อาการกลัวทางกายภาพ

  • อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น
  • หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
  • เหงื่อออก ใจสั่น
  • วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ร่างกายรู้สึกมีความร้อนวูบวาบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายปะปนด้วย คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และโปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีการรักษาเพิ่มเติม เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิตที่อาจเกิดขึ้น

เทคนิคทางแพทย์ ขจัดความกลัวให้หายไป

คุณสามารถพาผู้ป่วยเข้ารับการวินิจฉัย และเริ่มวางแผนการรักษาได้ในทันที นักบำบัด และแพทย์เฉพาะทางอาจนำขั้นตอนเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการปรับปรุงพฤติกรรมให้คนที่คุณรักกลับสู่ภาวะที่ปกติได้

  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive behavioral therapy ; CBT) เป็นการรักษาให้คุณมีรูปแบบพฤติกรรมเปลี่ยนไปในเชิงบวกได้ดีขึ้น รวมถึงสามารถรักษาผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ไบโพลาร์ และยังเป็นการรักษาขั้นแรกสำหรับอาการกลัวหุ่นขี้ผึ้งได้เป็นอย่างดี และมีประสิทธิภาพ
  • การบำบัดด้วยการสัมผัส (Exposure therapy) เป็นขั้นตอนการบำบัดต่อหลังจากวิธีรักษาข้างต้น ที่มีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยได้สัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัว แต่ยังคงอยู่ภายใต้การดูแลของนักบำบัด เมื่อผู้ป่วยเกิดความคุ้นชินจะทำให้รู้สึกกล้าที่จะเผชิญสิ่งเหล่านี้มากขึ้น และยังช่วยปรับปรุงสุขภาพในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไร้ความกลัวต่อสิ่งใดๆ

ระหว่างการรักษาในผู้ป่วยบางกรณี แพทย์อาจต้องให้รับประทานยา เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า วิตกกังวล แต่จะให้ใช้เป็นเวลาสั้นๆ เพียงเท่านั้น หรือตามการประเมินของแพทย์ เพราะสามารถเกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมเมื่อใช้ติดต่อกันในระยะเวลานาน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Automatonophobia or Fear of Human-Like Figures https://www.verywellmind.com/automatonophobia-2671847 Accessed March 02, 2020

Understanding Automatonophobia: Fear of Human-Like Figures https://www.healthline.com/health/anxiety/automatonophobia#treatmentAccessed March 02, 2020

Fear of Human-Like Figures Phobia – Automatonophobia https://www.fearof.net/fear-human-like-figures-phobia-automatonophobia/Accessed March 02, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกลัวความรัก คืออะไร

โรคกลัวรู (Trypophobia) ขนลุกแบบขำๆ หรืออันตรายที่ต้องระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา