ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก” หรืออะไรกันแน่?

ฮอร์โมนออกซิโทซิน บางครั้งก็มีชื่อเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน” หรือ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนชนิดนี้ออกมา เมื่อผู้คนกอดกันหรือแสดงความรักต่อกัน แม้แต่การเล่นกับน้องหมา ก็ยังทำให้เกิดฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นมาได้ ฉะนั้น ควรจะต้องทำความรู้สึกกับฮอร์โมนชนิดนี้กันให้มากขึ้นได้แล้วล่ะ [embed-health-tool-bmr] ฮอร์โมนออกซิโทซิน คืออะไรกันแน่ ฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) คือฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่ถูกผลิตขึ้นในสมองส่วนไฮโปธาลามัส แล้วถูกลำเลียงไปยังต่อมใต้สมอง และถูกหลั่งออกมาจากบริเวณนั้น ซึ่งโดยปกติผู้หญิงจะมีฮอร์โมนชนิดนี้มากกว่าผู้ชาย ฮอร์โมนออกซิโทซินมีบทบาทอย่างมากกับการทำงานทางระบบสืบพันธ์ของผู้หญิง ซึ่งมีตั้งแต่กิจกรรมทางเพศ เรื่อยไปจนถึงการคลอดบุตรและการป้อนนมแม่ ซึ่งการกระตุ้นหัวนมก็ทำให้หลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาได้แล้ว ในช่วงการคลอดลูกนั้น ฮอร์โมนออกซิโทซินจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวในมดลูก ทำให้มดลูกเกิดการบีบรัดตัว ในขณะที่คอมดลูกและช่องคลอดเริ่มขยายใหญ่เพื่อเตรียมคลอดนั้น ฮอร์โมนออกซิโทซินจะถูกหลั่งออกมา ซึ่งยิ่งมีฮอร์โมนออกซิโทซินมาก ก็ยิ่งทำให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ฮอร์โมนออกซิโทซินก็มีบทบาททางด้านสังคมด้วย โดยจะส่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านความผูกพัน การสร้างกลุ่มความทรงจำ การยอมรับทางสังคม และการทำงานทางด้านสังคมอื่นๆ ความเชื่อมโยงระหว่างความรักกับฮอร์โมนออกซิโทซิน ฮอร์โมนออกซิโทซินป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาท ที่มีส่วนเชื่อมโยงระหว่างเด็กแรกเกิดกับการป้อนนมแม่ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเห็นอกเห็นใจ ความไว้วางใจ กิจกรรมทางเพศ และการสานสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย ฮอร์โมนชนิดนี้บางครั้งก็ถูกอ้างถึงในชื่อ “ฮอร์โมนแห่งความรัก” เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโทซินจะเพิ่มระดับมากขึ้น ในช่วงที่มีการกอด หรือถึงจุดสุดยอด นอกจากยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคซึมเศร้า หวาดวิตก หรือปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2012 นักวิจัยได้รายงานว่า คนที่มีความรักในระยะแรก จะมีระดับฮอร์โมนออกซิโทซินเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนโสด  ซึ่งระดับออกซิโทซินจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปได้อย่างน้อย 6 เดือน มีการพบว่ากิจกรรมทางเพศ ก็ช่วยกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินด้วยเช่นกัน และยังมีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคซึมเศร้า เป็นกรรมพันธุ์ที่ส่งต่อกันในครอบครัวหรือเปล่า

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหากันอยู่ว่า มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่มีผลการศึกษาวิจัยหลายต่อหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้า อาจจะมาจากหน่วยพันธุกรรมของเรา หากสมาชิกในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคนี้ ลองมาอ่านบทความนี้กันดูสิคะ เพื่อที่จะได้รู้ว่า โรคซึมเศร้านั้น เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทาง กรรมพันธุ์ กันได้รึเปล่า โรคซึมเศร้าต่างจากความเศร้าตามปกติยังไง คนเราก็มักต้องพบเจอกับเรื่องเศร้าๆ ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อย แต่คนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีอาการรุนแรง ที่ต่างจากความรู้สึกเศร้าตามปกติเยอะ โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะมีอาการเศร้าอยู่นานหลายๆ สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อาการที่พบได้บ่อยๆ ก็ได้แก่ ร้องไห้น้ำตาพรั่งพรู รู้สึกหมดหวังหรือไม่มีค่า ไม่อยากอาหาร มีปัญหาทางด้านการนอนหลับ สูญสิ้นพลัง ไม่มีความต้องการทางเพศ แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อนและครอบครัว หรือแม้แต่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า เป็น กรรมพันธุ์ หรือเปล่า คุณอาจจะเห็นคุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งการที่ต้องเฝ้าดูพวกเขาต้องทนทุกข์กับอาการซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่การเห็นอาการแบบนั้นบ่อยๆ จะทำให้คุณมีอาการเดียวกับพวกเขาได้มั้ย? มีการประเมินกันว่าผู้คนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์มักจะต้องประสบพบเจอกับอาการซึมเศร้าในชีวิตไม่ช่วงใดก็ช่วงหนึ่ง ซึ่งอาการซึมเศร้าแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในหมู่ญาติพี่น้องและเด็กๆ คนที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้าจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึงห้าเท่า ผลการศึกษาวิจัยยังแสดงให้เห็นด้วยว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยพันธุกรรมกับโรคซึมเศร้า พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้นั่นเอง ยีนภาวะซึมเศร้า ทีมนักวิจัยในประเทศอังกฤษได้ค้นพบยีนตัวหนึ่ง ที่ปรากฎอย่างแพร่หลายในสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า มีการพบโครโมโซม 3p25-26 ในครอบครัวมากกว่า 800 ครอบครัว ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความสุข ที่ใครๆ ก็อยากมี คุณรู้จักมันดีแล้วหรือ

ความสุข ของคุณคืออะไร คำถามที่ยากแก่การหาคำตอบ หลายล้านคนบนโลกไม่สามารถหาคำตอบของคำถามนี้ได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา นักศาสนา หลายคน พยายามค้นหาว่าความจริงว่า แล้วแก่นแท้ของความสุขคืออะไร และสิ่งใดคือปัจจัยที่กำหนดความสุขของเรา และความสุขง่ายๆของเราเริ่มจากอะไร ความสุข คืออะไร  แม้ว่าบนโลกนี้ จะมีคนนิยามความหมายของความสุขไว้มากมาย แต่จุดร่วมของความหมายที่มีความคล้ายคลึงกันความสุขทางกาย และความสุขทางใจที่แต่ละคนมี นั่นก็มีสิ่งที่ก่อให้เกิดสุขที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า คนเรามักจะคิดแต่เรื่องทำให้จิตใจเศร้าหมอง คิดแต่เรื่องที่ทำไม่ดี ข้าวของที่หายหกตกหล่นไป และสิ่งของที่ยังขาดอยู่ แทนที่จะพอใจในสิ่งที่มีอยู่สมใจอยู่แล้ว ที่จริงเราควรจะหาความสุขในชีวิตกันไว้ เพราะเหตุว่าชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก โดยมีความเห็นว่า ความสุขไม่ได้ขึ้นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว อย่างเช่น รักแท้ ความมั่งมี หรือการงานอันท้าทาย หากแต่เป็นเรื่องซับซ้อนยิ่งกว่านั้น นักจิตวิทยา ทาล เบน ซาร์ฮาร์ นักจิตวิทยาตะวันตกได้นิยามความสุขไว้ว่า เป็นประสบการณ์โดยรวมของความพึงพอใจและการมีจุดหมายในชีวิต โดยอธิบายว่าคนมีที่ความสุข จะมีอารมณ์บวกที่เกิดขึ้นจากความพึงพอใจในปัจจุบัน และมีจุดหมายในชีวิตเป็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในมุมมองนี้ไม่ได้ปล่อยให้ความสุขเป็นเพียงความพอใจ หรือความสุขสบายที่เกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ในระยะยาว ที่ก่อให้เกิดความสุขในระยะยาวต่อไป พุทธศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ความสุข หมายถึง ความสบายกาย สบายใจ อยู่ดีมีสุข อยู่เย็นเป็นสุขหรือพบกับความสุขสมหวัง ซึ่งเป็นการสนองต่อความต้องการ เป็นความสมอยาก สมปรารถนาทั้งทางประสาทสัมผัส […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ร้องไห้ เป็นสัญญาณของความอ่อนแอจริงหรือ

การ ร้องไห้ คือสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่รับรู้ว่า นี่เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ แต่เป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ? นักวิจัยได้เผยว่าการร้องไห้นั้น จะเป็นสัญญาณของความอ่อนแอหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และการร้องไห้ก็ไม่ได้ไร้ประโยชน์ไปเสียทีเดียว เพราะการร้องไห้ไม่เพียงแต่จะช่วยทำความสะอาดตา แต่ยังมีประโยชน์ทางด้านจิตใจอื่น ๆ อีกด้วย ทำไมเราถึง ร้องไห้ ความสุขและความเศร้า อาจจะเป็น 2 ด้านที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงของเหตุผลที่ว่า ทำไมเราจึงร้องไห้ แต่นั่นก็ฟังดูง่ายเกินไป เพราะเราร้องไห้ด้วยเหตุผลที่มากกว่านั้น มันจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราเผลอตัว แล้วปล่อยให้ตัวเองอ่อนไหวไปสักชั่วขณะหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เรามักจะร้องไห้ เพราะรู้สึกเศร้าและเจ็บปวด แต่เราก็สามารถร้องไห้ให้กับสิ่งที่สวยงามได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เรายังสามารถร้องไห้ เนื่องจากความรู้สึกอึดอัด ไม่พอใจ หรือกำลังอยากเรียกร้องความสนใจจากใครสักคน ในแบบที่สิ้นหวังเป็นอย่างยิ่ง การร้องไห้ ยังมีหน้าที่อื่นที่มากไปกว่านั้น อย่างเช่น เพื่อพยายามชักจูงคนอื่นให้ทำตามใจตัวเอง เพื่อให้ได้การยอมรับจากคนที่กำลังมองดูอยู่ แม้สาเหตุที่ทำให้เราร้องไห้นั้นจะมีอยู่มากมาย แต่ประเภทของการร้องไห้ที่เราจะกล่าวถึงนี้ คือการร้องไห้ที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทางจิตใจ การร้องไห้และสุขภาพทางอารมณ์ อาการน้ำตาคลอด้วยอารมณ์อันล้นเหลือ สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อสมองได้ ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ทุกครั้งที่เราร้องไห้เนื่องจากความเครียด หรืออะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต ในน้ำตาของเราจะมีสารอย่างอื่นนอกจากน้ำอีกด้วย มีการค้นพบฮอร์โมนความเครียดในน้ำตา เช่นเดียวกับสารพิษที่ก่อตัวขึ้นมาในขณะที่เราเครียด ยิ่งกว่านั้น ก็มีรายงานว่ามีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมาในน้ำตาด้วย ซึ่งทำให้เรารู้สึกดีขึ้นออกมา โดยทำหน้าที่เหมือนยาแก้ปวดตามธรรมชาติ จากที่กล่าวมา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชีวิตมันแย่ หรือคุณก็แค่เสพติด การสงสารตัวเอง

การสงสารตัวเอง คือหนึ่งในสิ่งที่ควรระวังที่สุด เพราะหากรู้สึกสงสารตัวเองตลอดเวลา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ เราเข้าใจดีว่า เมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกแย่ได้ง่าย ๆ แต่การแยกตัวออกจากความเป็นจริง กับการเปรียบเทียบตัวคุณกับคนอื่น ๆ นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การสงสารตัวเองทำให้คนที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นเหยื่อ รู้สึกพึงพอใจและสบายใจในแบบผิด ๆ และคุณเชื่อไหมว่า หากทำบ่อย ๆ เข้าสามารถกลายเป็นอาการเสพติดได้ด้วย บทความนี้ Hello คุณหมอ มีสาระที่น่าสนใจมากคุณผู้อ่านทุกท่าน การสงสารตัวเอง คืออะไร ก่อนจะข้ามไปสู่วิธีการกำจัดอาการสงสารตัวเอง เราต้องเรียนรู้ก่อนว่า การสงสารตัวเองคืออะไรกันแน่ และมีอาการอย่างไรบ้าง ซึ่งคนที่มีอาการสงสารตัวเองมักจะมีอาการ ดังนี้ รู้สึกเสียใจ ซึมเศร้า และไม่พอใจชีวิตของตัวเอง คุณรู้สึกว่าการยอมรับสถานการณ์ที่เข้ามาในชีวิตโดยที่คุณไม่ได้ปรารถนาจะให้มันเข้ามานั้นเป็นเรื่องยากมาก โหยหาความเห็นอกเห็นใจ ความสนใจ และการกระตุ้นอารมณ์จากผู้อื่น สิ่งนี้มาจากกระบวนการทางความคิดแบบสุดโต่ง และความต้องการการสนับสนุนทางอารมณ์ และการเอาอกเอาใจ พึงพอใจที่จะอยู่กับอดีตมากกว่าปัจจุบัน หรืออนาคต คุณไม่สามารถก้าวผ่าน หรือสลัดความผิดพลาดที่คุณเคยทำไว้ได้ เหตุการณ์ที่น่าเศร้าเหล่านั้น ทำให้คุณติดอยู่ในห้วงอดีต มีความนับถือในตัวเองน้อยมาก หรือไม่มีเลย คุณเลยต้องหาความเข้าใจและการสนับสนุนจากผู้อื่น เพื่อให้คุณรู้สึกดีกับตัวคุณมากขึ้น หรือเพื่อได้ยินว่าคุณนั้นเข้มแข็ง แต่ไม่ต้องการที่จะรับมันไว้ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าหรือไม่คู่ควรกับสิ่งใดเลยแม้แต่ความรัก ทำให้คุณแยกตัวออกมาจากคนที่รักคุณ และคนที่คุณให้ความสำคัญ รู้สึกผิดอยู่เสมอ กับสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ การสงสารตัวเองทำให้รู้สึกว่าตัวเองกลายเหยื่อตลอดเวลา คิดว่าความผิดต่าง ๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความก้าวร้าว อาจเป็นเรื่องดีได้ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์

เด็กคนนี้ก้าวร้าว เด็กคนนี้ไม่น่ารัก ตั้งแต่เด็กเราโดนปลูกฝังมาตลอดว่าความก้าวร้าวคือผู้ร้าย ความก้าวร้าวคือสิ่งผิด และความก้าวร้าวคือสิ่งที่ต้องเก็บไว้ให้มิด ถ้าไม่อยากให้ใครว่าเป็นเด็กไม่ดี แต่ใครจะรู้ว่าความก้าวร้าวนี่แหละที่มีส่วนทำให้เราเติบโตขึ้นมาเป็นเราที่เข้มแข็ง และสามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่ง มาทำความรู้จักกับอีกด้านของ ความก้าวร้าว ผู้ต้องหาวายร้าย ในทางสร้างสรรค์ ความก้าวร้าว คืออะไร  ในทางจิตวิทยานั้น แรงขับก้าวร้าว (Aggressive drive) เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต เพราะทำหน้าที่พื้นฐานทางชีววิทยา ในการสงวนและดำรงไว้ซึ่งชีวิตของบุคคลและเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ ไม่แตกต่างจากสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual instinct) ความก้าวร้าวก็เหมือนกับคอเลสเตอรอลในร่างกายของคนเรา ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี ความก้าวร้าวแบบที่ดีสามารถเป็นแรงกระตุ้นให้เราประสบความสำเร็จในบางอย่างได้ อย่างเช่นนนักกีฬา ที่ความก้าวร้าวเป็นแรงขับชั้นดีที่ทำให้เกิดความอยากเอาชนะ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแข่งขัน ความก้าวร้าวยังกระตุ้นการป้องกันตัวเอง เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีแรงขับที่จะเอาตัวรอด ความก้าวร้าวจึงไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องกำจัดออกไปจากชีวิต และยิ่งเราหาทางเก็บกดความก้าวร้าวนั้นเอาไว้ กลไกทางจิตใจจะแสดงออกมาในรูปแบบของการทำร้ายตนลายตนเอง เช่น อาการซึมเศร้า หรืออาการทางร่างกายอื่นๆ แต่ความก้าวร้าวก็มีหลายระดับ ในแบบที่สุดโต่งของความก้าวร้าวก็คือ  “ความรุนแรง” ซึ่งเป็นความต้องการที่จะ “ทำลาย” ผู้อื่น ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สัญชาตญาณมนุษย์ และทางสังคม  บุคคล เป็นบุคลิกภาพที่มีผลจากทั้งพันธุกรรมและประสบการณ์ในชีวิตที่ก่อให้เกิดผลต่อบุคลิกภาพ เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดน้ำหนักแรกเกิดต่ำ  การเลี้ยงดู ระดับสติปัญญา การศึกษา เคยเห็นคนถูกทำร้าย เคยทำร้ายตัวเอง มีความภูมิใจในตัวเองต่ำ ใช้สุราและสารเสพติด  ครอบครัว เป็นประสบการณ์ที่มาจากการเรียนรู้ตั้งแต่เกิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่คิดมากก็เครียดได้ ถ้าเฉียดไปใกล้ สถานที่ก่อความเครียด พวกนี้!

ความเครียด เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคยเจอ แต่เราอาจไม่เคยเฉลียวใจเลยก็ได้ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่วนเวียนในหัวเราจะก่อให้เกิดความเครียด แต่สถานที่ซึ่งเราคลุกคลีมาตลอดชีวิตอาจเป็นต้นเหตุความเครียดของเราก็ได้ มาเช็คลิสต์ สถานที่ก่อความเครียด ซึ่งอาจเป็นสถานท่ชี่งคุณโปรดปรานก็เป็นได้ พร้อมคำแนะนำทำอย่างไรให้หายเครียด  คุณเครียดแค่ไหน? แม้ความเครียดจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ผู้ที่มีอาการเครียดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน อาจนำมาสู่โรคร้ายอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด นอกจากนั้นความเครียดทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานลดลง ลองมาเช็คตัวเองดูว่าเรามีความเครียดในระดับไหน ที่อาจเป้นอันตรายแล้วหรือยัง ความเครียดในระดับต่ำ เป็นความเครียดเล็กน้อย และหายไปได้ระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีผลคุกคามการดำเนินชีวิต เนื่องจากร่างกายสามารถปรับตัวได้ ความเครียดในระดับปานกลาง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือต้องพบเจอกับบางเหตุการณ์ในสังคม ที่ส่งผลต่อความวิตกกังวล ความกลัว หรืออาการอื่น ความเครียดในระดับนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไปไม่รุนแรงจนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ความเครียดในระดับสูง เป็นความเครียดที่เกิดจากการพบบางเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดสูง ไม่สารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งความเครียดในระดับนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่หากไม่ได้รับการบรรเทาความเครียดอาจทำให้เป็นโรคเครียดเรื้อรัง หรือโรคอื่นได้  ความเครียดในระดับรุนแรง เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคอื่นตามมาได้ง่าย สัญญาณเตือนความเครียดในระดับสูง ปวดศีรษะในวันหยุด คุณหมอจากศูนย์อาการปวดศีรษะแห่งมหาวิทยาลัยชิงตัน คาดว่าอาการปวดศีรษะในวันหยุดมาจากความเครียดจากวันทำงานที่เราไม่รู้ตัว ปวดท้องประจำเดือน ศูนย์วิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ต พบว่าความเครียดทำให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน และผู้ที่เครียดมักมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่เครียด เจ็บเหงือกโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากการนอนกัดฟันเพราะผู้ที่เครียดมักชอบนอนกัดฟัน ฝันแปลกๆ อาจารย์วิชาจิตวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรัช พบว่าทั่วไปแล้วความฝันของคนเรามีแนวโน้มจะเป็นฝันดี ก่อความสุขสดชื่นยามตื่นให้เสมอแต่หากเกิดความเครียด คนเรามักจินตนาการทางลบและกลายเป็นฝันร้ายในที่สุด  สถานที่ก่อความเครียด ที่ควรระวัง บ้าน ใครจะคิดว่าบ้านที่เราอยู่อาศัยตั้งแต่เด็กจนแก่จะเป็นสถานที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ เนื่องจากครอบครัวของไทยมักนิยมอาศัยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ที่ประกอบด้วยคนหลายช่วงวัย โดยคนแต่ละช่วงวัยจะมีความเครียดจากเรื่องที่แตกต่างกัน วัยเด็ก จะถูกเร่งรัดเรื่องการศึกษา เครียดจาการรับสื่อที่มีจากหลากหลายช่องทาง และพบว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่แตกแยก […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณกำลัง รับมือกับ โรคซึมเศร้า

อาหาร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า หลายคนเมื่อรู้สึกเศร้าเสียใจ ก็มักจะหันไประบายอารมณ์ด้วยการหาของอร่อยมากินให้สบายปากสบายท้อง โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่า จริงๆ แล้ว ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า นั้นก็มี อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อยู่ด้วยเช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหากเป็นโรคซึมเศร้า เพื่อการรับมือกับโรคนี้อย่างถูกต้อง อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณเป็น โรคซึมเศร้า กาแฟหรือคาเฟอีน ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ที่จะงดดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม แต่การงดดื่มอะไรพวกนี้จะช่วยผู้มีปัญหาเรื่องโรคซึมเศร้าได้อย่างแน่นอน เนื่องจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry ระบุว่า 80% ของผู้ป่วยจิตเวช และ 22% ของผู้มีอาการซึมเศร้าบอกว่า พวกเขาดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างหนักเลย นอกจากนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังระบุด้วยว่า 22% ของคนที่กินหรือดื่มอะไรที่มีคาเฟอีนในปริมาณสูง ก็มักจะเกิดอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน ซึ่งนั่นทำให้ทีมนักวิจัยสรุปได้ว่า คาเฟอีนมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกได้ ฉะนั้นถ้าใครรู้ตัวว่ามีอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกได้ง่าย ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรืออย่างน้อยๆ ก็ดื่มให้น้อยลง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุณอาจคิดว่าการดื่มไวน์ซักแก้วนึง หรือเหล้าค็อกเทลซักแก้วสองแก้ว ในระหว่างที่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ จะช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้เวลาที่รู้สึกหมองหม่นอยู่ แต่จริงๆแล้วคุณควรใช้วิธีอื่นจะดีกว่า เพราะตามข้อมูลของ WebMD ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทางการแพทย์ชื่อดังระบุว่า การดื่มแอลกอฮอล์กับอาการซึมเศร้านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ซึมเศร้า เมื่อเพื่อนมีอาการของโรคนี้…นี่คือวิธีช่วยเหลือกัน

ซึมเศร้า เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้า และในทุกๆ วันที่เราจะต้องเจอกับเรื่องสับสนวุ่นวายมากมาย ทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน หรือแม้แต่เรื่องราวในสื่อโซเชียล บางครั้งเราก็ต้องพบเจอกับอะไรที่เจ็บปวดหรือเศร้าโศก ซึ่งคนเราจะมีวิธีจัดการกับความเศร้าแตกต่างกันไป บางคนก็สามารถผ่านเรื่องเลวร้ายไปได้ง่ายๆ แต่สำหรับบางคน ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องเศร้าที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจจนยากที่จะสลัดออกไปได้ ถ้าเพื่อนมีอาการของโรค ซึมเศร้า เราจะรับมืออย่างไรดี การที่มีเพื่อน คนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ก็นับเป็นเรื่องที่ทำให้เรามีความทุกข์ได้เหมือนกัน ที่ต้องเห็นพวกเขาต้องจมอยู่กับความเศร้าโศกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าคุณเห็นพวกเขาตกอยู่ในความมืดมน และไร้ความหวังขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ลองหยิบยื่นความช่วยเหลือให้คนที่คุณรักด้วยวิธีพวกนี้ดูนะ รับฟังเรื่องราว คุณควรทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี โดยแสดงออกมาให้เขาเห็นว่าคุณพร้อมที่จะช่วยเหลือ โดยไม่ไปตัดสินเรื่องราวที่เขาพบเจอ บางครั้งการแสดงความช่วยเหลือแบบนี้ก็เป็นอะไรที่เขาอยากได้ ซึ่งถึงแม้คุณจะช่วยแก้ปัญหาให้เขาไม่ได้ แต่อย่างน้อยเขาก็รับรู้ได้ว่ามีคุณอยู่ข้างๆ และคอยให้ความช่วยเหลือเขาเสมอ การฟังเรื่องราวที่เขาระบายออกมานับว่ามีความสำคัญมาก ไม่ว่าเรื่องราวนั้นจะเล็กน้อยขนาดไหน คุณก็ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก พร้อมทั้งออกความคิดเห็นบ้างตามสมควร คุณควรทำให้เขารับรู้ได้ว่า คุณพร้อมที่จะฟังเรื่องราวของเขาเสมอ อย่าตำหนิ ระวังคำพูดของคุณเอาไว้ให้ดี อย่าไปตำหนิเข้าในทำนองว่า “เหลวไหลน่า” หรือ “คุณคิดแบบนั้นได้ยังไงเนี่ย” พวกเขามีเหตุผลที่จะรู้สึกอย่างนั้น ไม่ว่าเหตุผลนั้นจะฟังขึ้นสำหรับคุณหรือไม่ก็ตาม เวลาที่เขาเปิดอกคุยกับกับคุณนั้น ก็อย่าไปเล่นกับความรู้สึกของเขา ให้กำลังใจหรือปล่อยคำพูดที่ฟังแล้วรู้สึกดีออกไปจะดีกว่า อย่าไปตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด นี่เป็นอะไรที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของเขามาก เพราะเวลาที่ใครกำลังรู้สึกท้อแท้หรือสิ้นหวัง แล้วมีใครไปตัดสินความรู้สึกเขาอีก เขาก็อาจจะรู้เหมือนว่าตัวเอง ‘ไม่ปกติ‘ ได้ การไปตัดสินอะไรเค้ามีแต่จะทำให้เรื่องเลวร้ายเข้าไปกันใหญ่ ฉะนั้นเพื่อจะทำให้เขารับรู้ได้ว่าคุณพร้อมจะยืนเคียงข้างและให้ความช่วยเหลือ คุณก็ต้องเปิดใจให้กว้างเข้าไว้ ความคิดเห็นอะไรที่ฟังดูแรงๆ ก็ควรจะเก็บเอาไว้กับคุณคนเดียว ช่วยเขาให้อยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีอะไรที่ต้องอับอายในการพาเขาไปพบกับผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณสังเกตเห็นเพื่อนหยุดทำกิจกรรมที่เคยทำ ก็ควรเสนอแนะแนวทางนี้ให้เขาซะ เพราะนั่นคือหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประจำเดือนไม่ปกติ สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

ประจำเดือนไม่มา ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับใคร หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ จากที่เคยมา 3-7 วัน กลับเหลือแค่วันเดียว หรือประจำเดือนมาๆ หายๆ เป็นเวลาหลายสัปดาห์ แน่นอนว่าสาเหตุที่ทำให้ ประจำเดือนไม่ปกติ นั้นเกิดจากฮอร์โมน และหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายของสาวๆ ผิดปกติ อาจเป็นเพราะ โรคซึมเศร้าก็เป็นได้ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศหญิงกับโรคซึมเศร้า ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในเพศหญิงและเพศชาย แต่จะมีในเพศหญิงมากกว่า ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะมีเฉพาะในเพศหญิง เพราะเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและภาวะไข่ตก โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะมีบทบาทสำคัญเวลาที่สาวๆ มีประจำเดือน ช่วงก่อนมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง ทำให้สาวๆ หลายคนรู้สึกอ่อนแอ ป่วยง่าย หน้าโทรม ร่างกายอ่อนเพลีย จากนั้นไม่นานฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้น ก่อนจะลดลงอีกครั้งในช่วงไข่ตก หลังจากนั้นทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ในระดับปกติ ยิ่งในช่วง 2-3 วันก่อนมีประจำเดือน สาวๆ อาจมีอาการหิวบ่อย เต้านมคัด ก็เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ลดต่ำลงเช่นกัน การขึ้นๆ ลงๆ ของฮอร์โมนเพศหญิงก่อนมีประจำเดือนนี้ จะเกิดขึ้นเป็นปกติ ตั้งแต่ที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน แต่ถ้าสาวๆ เป็นโรคซึมเศร้า ฮอร์โมนในร่างกายก็จะทำงานผิดปกติ เช่น ระดับเอสโตรเจนต่ำตลอดเวลา ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม