ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สุขภาพจิตดีขึ้นได้ เพียงออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

การวิ่งออกกำลังกาย เป็นรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้นมีส่วนช่วยในการทำให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้สมองของเรานั้นปลอดโปร่ง คิดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การวิ่งยังช่วยให้ร่างกายปล่อยสารประกอบบางอย่างที่ช่วยให้อารมณ์มีความคงที่ นอกเหนือจากประโยชน์สุขภาพอย่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแล้ว การวิ่ง ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วย Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากผู้อ่านกันค่ะ การวิ่ง ส่งเสริมสุขภาพจิต ด้านใดบ้าง การวิ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพเราให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การวิ่งช่วยเปลี่ยนแปลงภายในสมองได้ การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้น มีส่วนช่วยในการฝึกจิตใจได้มากเท่า ๆ กับการฝึกร่างกายเลยทีเดียว เพราะการวิ่งช่วยให้คุณเรียนรู้ถึงการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งความเหนื่อยล้า และระยะทาง การวิ่งจะช่วยให้คุณได้มุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับปัญหาทั้งใหญ่และเล็ก ความอดทนในการวิ่ง ความแข็งแกร่งของร่างกาย ระยะทางเมื่อคุณพยายามเพื่อที่จะผ่านสิ่งเหล่านี้มามันจะทำให้คุณรู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในสมองนั่นเอง จากการศึกษาที่พิมพ์ในวารสาร Frontiers in Human Neuroscience โดยนักวิจัยได้ทำการสแกนสมองของนักวิ่งหลังจากการแข่งวิ่งระยะไกล พบว่าสมองของนักวิ่งที่ทำงานได้ดี เกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่ควบคุมตนเองและความจำในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานชี้ให้เห็นว่า การวิ่งนั้นมีประโยชน์กับสมองอีก ในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ พบว่าผู้ที่วิ่งเป็นประจำนั้นมีความยืดหยุ่นทางความคิดมากที่สุด ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา การมีความคิดยืดหยุ่นนั้น จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและพร้อมรับมือกับปัญหาได้อย่างดี การวิ่งช่วยให้คุณมีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ตนเองเหมือนกับการออกกำลังกายในกีฬารูปแบบอื่น ๆ การวิ่งจะช่วยให้นักวิ่งเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ที่เจอในขณะวิ่ง ในการวิ่งแต่ละครั้ง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกไปข้างนอกทีสุดแสนจะลำบาก เพราะฉันมีอาการ กลัวการข้ามถนน

อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับเราทุกคนอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุทางยานพาหนะ หรือแม้กระทั่งเพียงแค่ก้าวข้ามผ่านถนน เหตุการณ์เหล่านี้นับได้ว่าเป็นสิ่งที่รุนแรงต่อจิตใจอย่างมาก จนก่อให้เกิดอาการหวาดกลัวทุกครั้งที่มองเห็นรถยนต์ หรือทางข้าม เป็นต้น วันนี้  Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนไปรู้ถึงวิธีรักษาอาการ กลัวการข้ามถนน เพื่อให้คุณจะได้ใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น และเลิกหวาดระแวง มาฝากกันค่ะ กลัวการข้ามถนน อย่างหนัก เกิดมาจากสาเหตุใด อาการกลัวการข้ามถนน มีชื่อเรียกว่า โดรโมโฟเบีย (Dromophobia) สำหรับผู้ที่มีอาการเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าอาจมาจากพันธุกรรมทางครอบครัว ที่มีประวัติด้านทางจิตใจเล็กน้อย หรือมีอาการวิตกกังวลอยู่สูง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ถูกถ่ายทอดมาแก่บุตรหลานได้ อีกทั้งยังอาจเกิดจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทางสภาพจิตใจ เช่น เหตุการณ์เกือบโดนรถชนจากการข้ามถนน หรือเคยถูกอุบัติรุนแรงมาก่อนแล้ว จึงทำให้บางครั้งเมื่อเห็นภาพท้องถนน ทางม้าลาย สัญญาณไฟ อาจทำให้นึกถึงภาพช่วงวลานั้น ๆ ที่เคยเกิดขึ้น จนทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดอาการบางอย่างฉับพลันขึ้นมาทันที สัญญาณของร่างกายเบื้องต้น เมื่อคุณเหลือบไปเห็นถนน ความกลัวการข้ามถนนมีทั้งการแสดงออกแบบด้านกายภาพ และทางอารมณ์จิตใจ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายของผู้ป่วยตอบสนองอย่างรวดเร็ว ดังต่อนี้ไป อาการทางกายภาพ เหงื่อออก รู้สึกร้อนวูบวาบ หายใจถี่ หายใจลำบาก อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนศีรษะ คล้ายเป็นลม หูอื้อ ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น อาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ รู้สึกโกรธ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน กังวล หวาดกลัว รู้สึกว่าตนเองสิ้นหวัง เสียการควบคุมตนเอง รู้สึกโทษตัวเองอยู่บ่อยครั้ง อยากใช้ชีวิตแบบปกติสุข ควรรักษาอาการ กลัวการข้ามถนนอย่างไร หากเช็กอาการเบื้องต้นแล้ว ว่าตัวคุณ หรือคนรอบข้างคุณ เริ่มมีอาการดังกล่าว โปรดเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ โดยบอกอาการอย่างละเอียด ส่วนในการรักษานั้น นักบำบัด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

บำบัดสุขภาพจิต ด้วยการ ขี่ม้า กีฬาอีกชนิดที่สำหรับคนรักสัตว์

การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาที่เราถนัด เป็นตัวช่วยอย่างดีในเรื่องของการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และฟื้นฟูสภาพจิตใจของเราให้ลืมความเครียดต่าง ๆ ไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเลือกวิธี ขี่ม้า ก็เช่นเดียวกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาเปิดโลกการเล่นกีฬาในรูปแบบใหม่ จนอาจทำให้คุณหลงไปกับความน่ารักแสนรู้ของเจ้าม้าทั้งหลายได้เลยทีเดียว ขี่ม้า สามารถปรับปรุงสุขภาพจิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร ในสมัยก่อนนั้นมนุษย์มักใช้ม้าเป็นยานพาหนะขับเคลื่อนไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ในปัจจุบันตามการพัฒนาของเทคโนโลยี จากนั้นสัตว์ขนาดใหญ่นี้ก็ถูกนำมาเป็นผู้ช่วยในการรักษาสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจทดแทน ศาสตร์ตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ของมหาวิทยาลัยเทกซัส อาร์ลิงตัน ได้กล่าวไว้ว่า “ม้า” เป็นสัตว์อีกชนิดที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และไวต่อการรับรู้ทางด้านสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนได้ดีกว่าสุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในโปรแกรมการบำบัดเดียวกัน ที่สำคัญพวกเขามีศักยภาพในการตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของผู้ป่วยได้เองผ่านกระบวนการรับรู้ของพวกเขา และยังช่วยกำจัดความกลัว เพิ่มความสบายใจให้แก่ผู้ขี่ที่อยู่บนหลังได้เป็นอย่างดี ใครที่เหมาะสมกับการใช้วิธี ขี่ม้า บำบัด มากที่สุด จริง ๆ แล้วกีฬาขี่ม้าเหมาะกับทุกเพศทุกวัยตามแต่วัตถุประสงค์ เช่น การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเพิ่มความสมดุลทางด้านทรงตัว หรือเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่จะใช้ในการรักษาสุขภาพจิตอาจเหมาะกับแค่บุคคลบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากเทคนิคการขี่อาจไม่เหมือนกัน เพราะต้องอยู่ในการดูแลของนักบำบัดอีกที ซึ่งการขี่ม้าอาจเหมาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ ดังต่อไปนี้ โรคซึมเศร้า ผู้ที่มีความวิตกกังวลบ่อยครั้ง อารมณ์ไม่คงที่แปรปรวนง่าย โรคเครียดหลังจากผ่านเหตการณ์รุนแรง (Post-traumatic stress disorder; PTSD) พฤติกรรมก้าวร้าว ติดสารเสพติด สมาธิสั้น กลัวการเข้าสังคม ไม่เชื่อมั่นในตนเอง อุปกรณ์ที่ควรมีเพื่อความปลอดภัย ก่อนการเริ่มขี่ม้า โดยปกตินักบำบัด หรือผู้เจ้าหน้าที่ที่คอยควบคุมม้าจะทำการพูดคุยถึงอุปกรณ์เบื้องต้นจนถึงขั้นตอนการเริ่มขี่ และคอยดูแลคุณใกล้ชิดเพื่อไม่ให้คุณเกิดอันตรายในระหว่างการบำบัดบนหลังม้า ซึ่งอย่างแรกที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองอาจแนะนำสิ่งที่คุณควรมีนั่นก็คือ หมวกกันน็อคสำหรับกีฬาขี่ม้า รองเท้าหนังฉพาะสำหรับขี่ม้า ถุงมือหนังป้องกันการบาดของสายบังเหียน แส้ สนับเข่า กางเกงยืดหยุ่นสำหรับการนั่งบนอาน การบำบัดครั้งนี้อาจมีข้อเสียในเรื่องบประมาณค่าใช้จ่ายเล็กน้อย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ที่ไม่ชอบไปโรงพยาบาล เพราะฉันเป็น โรคกลัวหมอ

วันนี้ Hello คุณหมอ พาทุกคนมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งอาการกลัว ทื่เชื่อว่าต้องเกิดขึ้นกับใครหลายคนในช่วงวัยเด็กอย่างแน่นอน  เวลาคุณพ่อคุณแม่พาไปโรงพยาบาลหาหมอทีไร มักเกิดอาการกลัวหมอ ร้องไห้ งอแง ทุกที  ถึงแม้ว่าความรู้สึกกลัวหมอจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่มักเกิดขึ้นกับเด็ก แต่อาการกลัวดังกล่าวนี้อาจส่งผลจนถึงปัจจุบัน ให้คุณรู้สึกกลัวคุณหมอขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคกลัวหมอ” นั่นเอง เรามาทำความรู้จักกับโรคกลัวหมอให้มากขึ้นกันค่ะ ทำความรู้จัก โรคกลัวหมอ (Iatrophobia) โรคกลัวหมอ (Iatrophobia) คือ เมื่อผู้ป่วยเห็นคุณหมอจะเกิดความรู้กลัวขึ้นมาแบบไม่มีเหตุผล  มีความเครียด วิตกกังวลแม้จะรู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงและน่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการหาหมอ แม้ว่าจะมีอาการป่วยหนักแค่ไหนก็ตาม บางรายเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องไปหาหมอ จะมีอาการวิตกกังวล ตัวสั่น คลื่นไส้อาเจียน อย่างไรก็ตามอาการกลัวดังกล่าวนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก แต่หากเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะสาเหตุใดถึงทำให้คุณกลัวคุณหมอกันนะ ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็กที่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่เกี่ยวข้องกับคุณหมอ เช่น การรับประทานยาที่มีรสชาติขม การโดนฉีดวัคซีน เป็นต้น ประสบกับเหตุการณ์เชิงลบ ในช่วงวัยเด็กคุณอาจเห็นภาพคุณหมอที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ความทรงจำด้านลบ การดูข่าวหรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น ฉากการผ่าตัดที่น่ากลัว ข่าวที่ไม่ดีที่เกี่ยวกับการแพทย์ สามารถปลูกฝังภาพลบที่นำไปสู่ความกลัวได้ 5 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคกลัวหมอ ผู้ป่วยโรคกลัวคุณหมอ สามารถพูดคุยกับคนทั่วไปได้อย่างปกติมั่นใจ แต่เมื่อไหร่ที่ต้องไปโรงพยาบาล พบคุณหมอแล้วล่ะก็จะมีอาการตัวสั่นหรือไม่สามารถพูดคุยได้ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกวิตกกังวล เครียด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประโยชน์ของ รอยยิ้ม ที่ให้มากกว่าความสุข

โดยปกติแล้ว คนเรามักจะยิ้มเมื่อมีความสุข และรู้หรือไม่ว่า รอยยิ้ม ของคุณนั้น สามารถทำให้คนอื่นยิ้มตามและรู้สึกดีไปกับคุณได้ นอกจากนั้นแล้วรอยยิ้มยังเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดสำหรับคนอื่น ๆ รอบตัวคุณอีกด้วย แต่ความจริงแล้วประโยชน์ของรอยยิ้มนั้นไม่ได้มีแต่การสร้างความสุขให้กับตัวคุณเองและคนอื่น มันยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องของรอยยิ้มมาฝากกัน รอยยิ้ม มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง จากการศึกษาหลายๆ ชิ้น ชี้ให้เห็นว่า การยิ้มนั้นสามารถยกระดับอารมณ์ของคุณและอารมณ์ของคนรอบข้างได้ นอกจากนั้นมันยังเชื่อมโยงกับสุขภาพที่ดี และการมีอายุยืน การยิ้มสามารถทำให้คุณได้รับประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพของคุณ ซึ่งนี่คือประโยชน์ทั้งหมดของรอยยิ้ม รอยยิ้มเป็นเหมือนกาวที่ช่วยยึดความสัมพันธ์เอาไว้ คนที่ใจดีและยิ้มแย้ม ถือเป็นคนที่น่ารัก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ชอบขมวดคิ้วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นการยิ้มยังทำให้ความสัมพันธ์ของชีวิตคู่นั้นยืนยาวขึ้นอีกด้วย ยิ่งถ้ายิ้มด้วยอารมณ์เชิงบวกจะทำให้ชีวิตการแต่งงานนั้นดีขึ้นอีกด้วย รอยยิ้มทำให้คุณน่าสนใจ โดยปกติแล้ว คนเรามักจะถูกดึงดูดด้วยรอยยิ้ม ซึ่งมันเป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีการเชื่อมโยงกับการยิ้ม จึงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ ถ้าคนที่ชอบแสดงออกทางสีหน้าเชิงลบ เช่น ขมวดคิ้ว หน้าซีด และหน้าตาบูดบึ้ง จะเกิดผลตรงกันข้าม คือ ผลักดันคนให้ออกห่างจากตัวเรา ดังนั้น รอยยิ้มจึงใช้สำหรับการดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาหา นั่นเอง รอยยิ้มสามารถทำให้คุณดูอ่อนกว่าวัย จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า รอยยิ้มนั้นอาจทำให้คนอื่นๆ มองว่าคุณอายุน้อยกว่าความเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว ผู้สูงวัยที่ยิ้มอย่างมีความสุขบนใบหน้า ยังดูอ่อนกว่าวัยอีกด้วย ส่วนคนที่หน้านิ่วคิ้วขมวด ใบหน้าของพวกเขามักจะดูแก่กว่าวัย รอยยิ้มทำให้หัวใจมีความสุข เมื่อคุณมีรอยยิ้มปรากฏบนใบหน้า นั่นก็จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขตามไปด้วย นอกจากนั้น ยังทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง การผลิตฮอร์โมนคอร์ดิซอร์ (Cortisol) ลดลง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เมื่อรู้สึกผิดต่อตัวเอง ควร ให้อภัยตัวเอง อย่างไร

คนเราสามารถทำผิดกันได้เสมอ แต่เมื่อทำผิดแล้ว บางคนยังอาจจะรู้สึกผิดต่อตัวเองอยู่ตลอดเวลา บางครั้งถึงขั้นทำให้กลายเป็นโรคต่างๆ ได้ อย่างเช่น วิตกกังวล หรือซึมเศร้า ถ้าหากคุณอยากปล่อยวางความรู้สึกผิดต่อตัวเอง การ ให้อภัยตัวเอง ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่จะทำได้อย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การ ให้อภัยตัวเอง มีประโยชน์ด้านใดบ้าง ในด้านจิตวิทยา การให้อภัยนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการให้อภัยตัวเองหรือผู้อื่นก็ตาม นอกจากนั้น การให้อภัยยังมีผลต่อความสุขทางจิตใจอีกด้วย จากการศึกษาในปี 2016 นักวิจัยพบว่า ความเครียด สุขภาพ และการให้อภัยนั้นมีความเชื่อมโยงกันเป็นอย่างมาก ผู้ที่มีระดับความเครียดสูงตลอดชีวิตมักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่ดี นอกจากนั้น ผู้ที่สามารถให้อภัยผู้อื่นและตัวเองได้ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะมีระดับความเครียดที่สูงด้วยก็ตาม สำหรับประโยชน์ของการให้อภัยตัวเอง มีดังนี้ สุขภาพจิต การวิจัยแสดงให้เห็นว่า การให้อภัยมีประโยชน์ทางด้านจิตวิทยาเป็นอย่างมาก ทั้งยังอาจลดอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล และเงื่อนไขทางจิตเวชอื่นๆ แต่ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่มาจากการปลดปล่อยความโกรธ ก็จะทำให้ความเครียดลดลงด้วย ซึ่งผู้ที่สามารถลดระดับความเครียดได้ ก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น รวมถึงมีพลังงานที่มากขึ้นด้วย สุขภาพกาย การที่คนรู้จักให้อภัยตัวเองอาจมีอาการทางสุขภาพร่างกายดีขึ้นและมีอัตราการตายที่ลดลง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความรู้สึกโกรธและความเกลียดชัง สามารถส่งผลด้านลบต่อสุขภาพได้ ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความโกรธ ความเกลียดชัง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป ความสัมพันธ์ ความโกรธ ความผิด ความเสียใจ และความขุ่นเคืองใจนั้น สามารถสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ได้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำอย่างไรดี เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง

เด็กและผู้ใหญ่หลายคนมักมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง บางรายอาจมีอาการตัวสั่น ร้องไห้ และยิ่งหวาดกลัวมากขึ้นเมื่ออยู่คนเดียว เราจะมีวิธีการกำจัดความกลัวเหล่านี้ออกไปได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ในบทความเรื่อง ทำอย่างไรดี  เมื่อฉันเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง [embed-health-tool-bmr] ทำความรู้จักกับโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia) โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง (Astraphobia) คือ ความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นขณะได้ยินเสียงฟ้าร้อง เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในวัยเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก ทุกครั้งเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้อง โรคกลัวเสียงฟ้าร้องนั้นสามารถรักษาให้หายได้ เช่นเดียวกับโรคอาการกลัวอื่น ๆ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เช็กด่วน! คุณมีอาการกลัวเสียงฟ้าร้องหรือไม่ ถ้าเสียงฟ้าทำให้คุณแล้วมีอาการดังต่อไปนี้ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวเสียงฟ้าร้อง รู้สึก ชา ตัวสั่น หัวใจเต้นไว หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก ฝ่ามือ มีเหงื่อออก รู้สึกว่าต้องหลบซ่อนตัวขณะที่เสียงฟ้าร้อง เช่น หลบอยู่ในตู้เสื้อผ้า ห้องน้ำ ใต้เตียง เป็นต้น ร้องไห้ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็น โรคกลัวเสียงฟ้าร้อง ความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณกลัวเสียงฟ้าร้อง อาจเกิดจากความความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่นความรู้สึกกลัวเสียงฟ้าร้องในวัยเด็ก อาจส่งผลกระทบให้คุณรู้สึกกลัวจนถึงปัจจุบัน ความผิดปกติทางสมอง เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่เรียกว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รักได้ แต่อย่า ขี้หึงเกินไป ไม่งั้นสุขภาพแย่ ความสัมพันธ์ดิ่งลงเหวชัวร์

เชื่อว่าในความสัมพันธ์ของทุกคน ทั้งความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว หรือความสัมพันธ์ในรูปแบบคนรัก น่าจะเคยมีอารมณ์หึงหวงเกินขึ้นบ้างอย่างน้อยก็หนึ่งครั้ง ยิ่งเมื่อเป็นความสัมพันธ์ของคู่รัก ก็มักเกิดอารมณ์หึงหวงได้ง่ายกว่าความสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ แม้ความหึงหวงจะเป็นเรื่องปกติในความสัมพันธ์ แต่หากคุณเป็นคน ขี้หึงเกินไป เราแนะนำให้คุณรีบแก้ไขด่วน ไม่อย่างนั้น สุขภาพแย่ ความสัมพันธ์มีปัญหาแน่นอน [embed-health-tool-bmr] ความหึงหวง… เป็นเรื่องธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ความหึงหวง เป็นอารมณ์ที่ซับซ้อน เพราะมักเกิดจากหลายอารมณ์ผสมกัน เช่น ความหวาดกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง ความโกรธแค้น ความเจ็บปวด ความเศร้า ความรู้สึกอับอายขายหน้า ไม่ว่าจะเป็นคนเพศไหนวัยไหน ก็สามารถเกิดอารมณ์หึงหวงได้ทั้งสิ้น ส่วนใหญ่แล้ว คนเรามักรู้สึกหึงหวงเพราะรู้สึกว่ามีมือที่สามมาทำให้ความสัมพันธ์อันล้ำค่าของตัวเองสั่นคลอน ความสัมพันธ์ในที่นี่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ในรูปแบบของคู่รักอย่างเดียว พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน เพื่อนฝูงก็เกิดความหึงหวงกันได้ แต่หากเป็นคู่รักอาจเกิดอาการหึงหวงกันบ่อยกว่าความสัมพันธ์รูปแบบอื่นหน่อย อีกหนึ่งอารมณ์ที่ใกล้เคียงกับความหึงหวงก็คือ ความอิจฉาริษยา ซึ่งจริงๆ แล้วมีคำนิยามที่แตกต่างกัน ความหึงหวงหมายถึง ความหวาดกลัวว่าจะมีใครมาแย่งคนที่คุณรักหรือของรักของคุณไป แต่ความอิจฉาริษยานั้นหมายถึง ความต้องการ หรืออยากมีอยากได้ในสิ่งที่เป็นของคนอื่น ซึ่งบางครั้งทั้งสองอารมณ์นี้ก็อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้เช่นกัน ประเภทของความหึงหวง ความหึงหวงนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ความหึงหวงในความสัมพันธ์ เกิดจากความกลัวว่าคนที่ตัวเองรักจะมีคนอื่นเข้ามาแทนที่ตัวเอง เช่น ภรรยาโกรธเวลาเห็นสามีคุยกับผู้หญิงคนอื่น สามีรู้สึกไม่มั่นใจเวลาเห็นภรรยาออกไปเที่ยวกับเพื่อนผู้ชาย เพื่อนรู้สึกงอนเวลาเพื่อนสนิทไปดูหนังกับคนอื่น ความหึงหวงที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและสถานภาพ มักเกิดขึ้นในที่ทำงาน เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง เช่น รู้สึกโมโหที่เห็นเพื่อนร่วมงานตำแหน่งเดียวกันได้เลื่อนขั้นก่อนตัวเอง ความหึงหวงที่ผิดปกติ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เห็นคนสวย เป็นต้องหนี เพราะ ผมเป็น โรคกลัวผู้หญิงสวย

เห็นคนสวย ทีไร มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น เหงื่อออก ทุกที จนบางครั้งต้องเก็บตัวแยกออกมาคนเดียว อาการเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของ โรคกลัวผู้หญิงสวย ได้ยินชื่อแล้วอาจไม่น่าเชื่อว่าจะมีโรคนี้เกิดขึ้นจริงอยู่บนโลกใช่ไหมล่ะคะ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะโรคนี้เป็นหนึ่งในอาการกลัวที่มีอยู่จริง  วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ เพราะผมเป็น โรคกลัวผู้หญิงสวย (Venustraphobia) โรคกลัวผู้หญิงสวย (Venustraphobia) เป็นความกลัวแบบเฉพาะเจาะจงที่ไม่มีเหตุผล ไม่สามารถควบคุมความกลัวได้เมื่อเห็นผู้หญิงสวย  ความกลัวสามารถเกิดขึ้นได้แม้เพียงคิดเกี่ยวกับผู้หญิงที่สวยงาม ความหวาดกลัวนี้ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการควบคุมอารมณ์และกระทบกับการดำรงชีวิตในประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เพราะเหตุใด จึงกลัวผู้หญิงสวย โรคกลัวผู้หญิงสวยนั้น เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันดังนี้ ความทรงจำหรือการได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น การต้องมองดูคนที่รักโดนทรมานจากผู้หญิงสวย ความบกพร่องภายในสมอง เช่น พันธุกรรม กลัวว่าผู้หญิงที่สวยจะทำให้เรารู้สึกอับอาย ขายหน้า 6 อาการ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวผู้หญิง แต่ละบุคคลจะมีอาการกลัวที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออก ปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน มีความวิตกกังวลสูง ตกใจกลัวอย่างรุนแรง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ สูญเสียการทรงตัวเมื่อเจอผู้หญิงสวย หลีกตัวเองออกจากสังคม ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว วิธีการรักษา แพทย์จะทำการรักษาโรคกลัวผู้หญิงสวยด้วยการใช้จิตบำบัดและการสะกดจิตเป็นหลัก บางรายอาจจะใช้ยาร่วมด้วยในการรักษา จิตบำบัด วิธีการบำบัดประเภทนี้เป็นวิธีที่แพทย์ส่วนใหญ่ใช้ในการบำบัดที่เรียกว่า การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behaviour therapy ; CBT) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่เน้นเจาะจงแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเริ่มจากสิ่งของหรือวัตถุใกล้ตัวที่เกี่ยวกับอาการป่วย ให้ผู้ป่วยเผชิญกับปัญหา เริ่มสัมผัสกับความกลัวทีละน้อย จนเกิดความคุ้นชิน การสะกดจิต การใช้เทคนิคการสะกดจิต ได้รับการพิจารณาว่ามีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการรักษาโรคกลัวผู้หญิงสวย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่กล้าสัมผัสอะไร หวาดระแวงเชื้อโรค คุณอาจจะกำลังเป็น โรคกลัวความสกปรก อยู่รึเปล่า

ความหวาดกลัวต่อสิ่งสกปรกและเชื้อโรคนั้นจัดได้ว่าเป็นความรู้สึกปกติ ที่ไม่ว่าใครต่างก็ต้องมี เพราะคงไม่มีใครอยากที่จะเอามือไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกให้เปื้อนมือ หรือสัมผัสกับเชื้อโรคให้เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย แต่ในบางครั้ง หากอาการกลัวสิ่งสกปรกและเชื้อโรคนั้นมีความรุนแรงอย่างมากผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น โรคกลัวความสกปรก ก็เป็นได้ อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และจะรักษาให้หายได้หรือไม่ หาคำตอบได้จากบทความนี้ โรคกลัวความสกปรก (Mysophobia) คืออะไร เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่า สิ่งสกปรกนั้นมักจะแฝงไปด้วยเชื้อโรคตัวร้าย ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น การหวาดกลัว ไม่อยากสัมผัสสิ่งสกปรกเหล่านี้ จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ เขาก็เป็นกัน แต่ในบางคน อาจจะมีอาการหวาดกลัวสิ่งสกปรกและเชื้อโรคเหล่านี้มากจนเกินความจำเป็น และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ อาการแบบนี้เรามักจะเรียกว่า เป็นผู้ที่มีอาการของโรคกลัวสิ่งสกปรก โรคกลัวความสกปรก (Mysophobia) บางครั้งอาจจะเรียกว่าโรคกลัวเชื้อโรค (Germaphobia) อาการหวาดกลัวความสกปรกอย่างรุนแรงจนเข้าขั้น โฟเบีย (Phobias) นั้นจะแตกต่างไปจากความกังวลและความกลัวทั่วๆ ไป คนที่กังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อโรค มักจะแค่ล้างมือหลังจากสัมผัสสิ่งสกปรก หรือฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรค แต่ผู้ที่เป็นโรคกลัวความสกปรกนั้น อาจจะล้างมือบ่อยครั้งซ้ำไปซ้ำมา หรือไม่กล้าสัมผัสกับใครเพราะกลัวติดเชื้อโรค อาการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น อาการของผู้ที่เป็นโรคกลัวความสกปรก อาการเบื้องต้นของโรคกลัวความสกปรกคือการหวาดกลัวเชื้อโรค ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน บางคนอาจจะหวาดกลัวเชื้อโรคเพียงชนิดเดียวเป็นพิเศษ เช่น ผู้หวาดกลัวเชื้อโควิด-19 ในขณะที่บางคนอาจจะหวาดกลัวเชื้อโรคหรือโรคทุกชนิด หรือแม้กระทั่งเศษฝุ่นเศษดินทั่วไป อาการที่พบเห็นได้ทั่วไปมีดังนี้ ล้างมือบ่อยเกินไป ใช้สบู่ เจลล้างมือ หรือน้ำยาสำหรับฆ่าเชื้อโรคในปริมาณมาก กลัวการสัมผัสกับผู้อื่น กลัวการป่วยอย่างรุนแรง แสดงออกให้เห็นถึงอาการหวาดกลัวเมื่อได้ยินข่าวเกี่ยวกับเชื้อโรคอย่างเห็นได้ชัด หมกหมุ่นอยู่กับความสะอาด ไม่ยอมเข้าใกล้สถานที่บางแห่ง เช่น แหล่งทิ้งขยะ หรือโรงพยาบาล โรคกลัวความสกปรก เกี่ยวข้องอะไรกับ โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือไม่? หลายคนอาจสังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างโรคกลัวความสกปรกกับโรคย้ำคิดย้ำทำ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน