ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง เรื่องแต่งหรือความจริงในสังคม

เด็กที่มีภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเองนั้นโดยปกติเรียกว่า คนข้ามเพศ ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายถึงคนที่ไม่แสดงตัวตนตามเพศที่เกิดมา การเป็นคนข้ามเพศนั้น ไม่ใช่อาการป่วยหรือเป็นความผิดปกติทางจิต เด็กที่มีอาการนี้ อาจประสบปัญหากับความเครียดและภาวะซึมเศร้า เพราะพวกเขานั้นมีความเสี่ยงต่อการถูกรังแก การแบ่งแยกทางสังคม และการเสื่อมเสียชื่อเสียงในรูปแบบต่างๆ จากการวิเคราะห์นั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อเด็กที่มีภาวะความไม่พอใจในเพศของตัวเองนั้นอยู่ในภาวะเครียดถึงขีดสุด หรือไม่อาจทำกิจกรรมที่โรงเรียน หรือที่บ้าน หรือสถานที่ต่างๆในสังคมได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง มาให้อ่านกันค่ะ อาการของภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง ความไม่เข้ากันระหว่างเพศที่เด็กแสดงตัวตน กับเพศที่เขาหรือเธอนั้นเกิดมาเป็น มีความรู้สึกเหมือนถูกกักขังอยู่ภายในร่างกายของคนอื่น แสดงค่านิยมในเรื่องของใช้หรือ ลักษณะ บุคลิกของเพศตรงข้าม อย่างชัดเจน มีความปรารถนาอยากจะเป็นเพศตรงข้าม รู้สึกไม่ชอบหรือไม่พอใจในอวัยวะเพศของตนเอง มีความหวังอย่างแรงกล้า ที่จะมีบุคลิกลักษณะทางเพศของเพศที่เด็กแสดงตัวตนออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ ถึงสาเหตุของ ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง (gender identity disorder หรือ GID) บ่อยครั้ง ภาวะนี้นั้นถูกจัดให้เป็นปัญหาทางสังคม แม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมยังตัดสินให้ว่าคนข้ามเพศเป็นคนแหกกฎ ดังนั้น คนข้ามเพศในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ที่อายุยังน้อยมักจะอยู่ภายใต้ความกดดันในการเข้าสังคม หรือได้รับการเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกแบ่งแยก ถูกรังแก ในขณะที่ยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งในเรื่องเพศของตนเอง ความเครียดอย่างหนักหรือความไม่พอใจ จากความเข้ากันไม่ได้ระหว่างเพศที่ได้รับ และบทบาทของเพศที่ได้รับมาอย่างน้อย 6 เดือน นั่นอาจเป็นสัญญาณของภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง หากจะวิเคราะห์ว่าเป็นภาวะความไม่พอใจในเพศของตัวเองนั้น ผู้นั้นต้องอยู่ภายใต้ความกดดันที่มากเกินไป เกินกว่าที่จะดำเนินกิจกรรมได้อย่างปกติ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง อาการของภาวะนี้ต้องรบกวนชีวิตของผู้นั้นและเป็นภัยต่อความเป็นอยู่ที่ดี ในการวิเคราะห์ภาวะความไม่พอใจในตัวเอง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวแมลง สัตว์ตัวเล็ก..แต่มีผลกระทบต่อใจ ทำอย่างไรถึงจะเลิกกลัว

ความกลัวหลายหลายในปัจจุบันไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนเรานั้นสามารถมีสิ่งที่ตนเองกลัวภายจิตใจกันได้ทั้งสิ้น อาการ กลัวแมลง นี้ก็เช่นเดียวกัน ที่คนใกล้ตัวคุณอาจมีภาวะตกใจ สะดุ้ง หรือส่งเสียงกรีดร้องออกมาเมื่อพบเห็น และยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโฟเบีย (Phobia) เหมือนดั่งโรคกลัวอื่นๆ เช่น กลัวความมืด กลัวที่แคบ เป็นต้น วันนี้ Hello จึงนำความรู้ของอาการกลัวสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยนี้ มาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวแมลง ตัวน้อยเมื่อพบเจอ “โรคกลัวแมลง” หรือ เรียกอีกอย่างได้ว่า “Entomophobia” เป็นหนึ่งในอาการกลัวที่พบได้บ่อยที่สุด จนทำให้เกิดความวิตกกังวลส่งผลต่อจิตใจ เพราะความหวาดระแวงต่อแมลงเหล่านี้ อาจนำพาไปสู่การทำกิจวัตรประจำที่ไม่สะดวกนัก ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กลัวคุณกลัวแมลงมี ดังนี้ กลัวโรคที่รับมาจากแมลง เพราะแมลงบางชนิดมักนำพาหะของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนทำให้คุณเจ็บป่วย เป็นระยะเวลานานได้ ความเจ็บปวดจากการถูกกัด แมลงบางชนิดถึงจะมีขนาดที่เล็ก แต่ก็มีพิษที่ร้ายแรง และเพิ่มความเจ็บปวดอย่างมากเมื่อถูกพวกมันกัด เช่น ผึ้ง ต่อ มด เป็นต้น รวมทั้งเคยมีประสบการณ์เชิงลบกับแมลง จึงทำให้เวลาที่พบเห็นหรือ อยู่ใกล้ จึงก่อให้เกิดสภาวะความกลัวขึ้นมาทันที เมื่อเหลือบไปเห็นแมลง ร่างกายคุณจะมีปฏิกิริยาอย่างไร นอกจากแมลงที่คุ้นเคยแล้ว เห็บ และหมัด ก็นับว่าเป็นสัตว์ชนิดเล็กที่จัดอยู่ในกลุ่มของอาการกลัวแมลงเช่นเดียวกัน จึงทำให้บุคคลบางกลุ่มนั้นอาจมีพฤติกรรมที่แสดงออกเด่นชัดถึงความกลัว ดังนี้ เหงื่อออก ตัวสั่น หายใจถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แน่นหน้าอก ปากแห้ง รู้สึกเสียขวัญ ตกใจ ผวา ร้องไห้ (อาจเป็นได้กับทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก) รักษาอาการ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

การอยู่คนเดียว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อ ภาวะซึมเศร้าหรือไม่

การอยู่คนเดียว ก็อาจจะมีความเหงาเข้ามาก่อกวนใจบ้าง อยู่เป็นระยะ เน็ตฟลิกซ์ก็ดูวนจนเบื่อ การได้ออกไปเจอเพื่อนฝูงก็ช่วยสลัดความเหงาออกไปได้อยู่บ้าง การมีชีวิตอยู่คนเดียวก็สบายตัวไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับใคร แต่บางครั้ง การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้เช่นกัน แต่การอยู่คนเดียวจะเสี่ยงภาวะซึมเศร้าอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ การอยู่คนเดียว เสี่ยง ภาวะซึมเศร้า ได้จริงหรือไม่ ผู้ใหญ่ที่อยู่คนเดียวมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติทางจิต ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ คือ ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่นั้นมาจากความเหงา จากการวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE ที่ได้ทำการสำรวจประชาชนในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวมีความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป (common mental disorders หรือ CMDs) สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้อยู่คนเดียว เนื่องจากการอยู่คนเดียวมีความสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตใจแบบทั่วไป ซึ่งความเหงานั้น ถือเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ผู้ที่อยู่คนเดียวเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต จากข้อมูลการสำรวจในปี 1993 2000 และ 2550 จากผู้ใหญ่มากกว่า 20,000 คน พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2536-2550 มีผู้ที่อยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 8.8 เป็นร้อยละ 10.7 และมีอัตราความผิดปกติทางจิตพบได้บ่อยจากร้อยละ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ทำอย่างไร เมื่อฉัน กลัวการพูดในที่สาธารณะ

หลายคนมักจะมีอาการตื่นเต้น มีอาการเหงื่อออกทุกครั้งเมื่อจะต้องพูดในที่สาธารณะ  ผลของความตื่นเต้นทำให้เราพูดตะกุกตะกัก จนรู้สึกขาดความมั่นใจ และทำให้รู้สึก “กลัวการพูดในที่สาธารณะ” ไปเลย วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเคล็ดลับเอาชนะความกลัว ให้คุณกล้าพูดในที่สาธารณะมาฝากกันค่ะ จะมีเคล็ดลับอะไรเด็ดๆ ดีๆ บ้างนั้น ไปดูพร้อมกันเลย กลัวการพูดในที่สาธารณะ เป็นอย่างไร อาการกลัวการพูดในที่สาธารณะ (Glossophobia) ไม่ใช่โรคอันตรายหรือโรคเรื้อรังใดๆ เป็นเพียงความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผลและมีผลต่อประชากรส่วนใหญ่ถึง 75% บางคนจะรู้สึกประหม่าเล็กน้อยเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ ขณะที่บางคนมีอาการกลัวอย่างมาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยงทุกสถานการณ์เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพูดในที่สาธารณะ แต่หากจำเป็นต้องพูดจริงๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้นได้ ลักษณะการแสดงออกการพูดของเขาจะมีเสียงที่สั่นเทา พูดตะกุกตะกัก อย่างไรก็ตาม ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะ เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงที่มีอายุน้อย Dr. Jeffrey R. Strawn  ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ ของโครงการวิจัยความผิดปกติของความวิตกกังวลในภาควิชาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซินซินเนติ กล่าวว่า บุคคลบางคนจะมีความรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้นในสถานการณ์บางอย่างเมื่อตนรู้สึกไม่มั่นใจที่อาจนำมาซึ่งความอับอายให้กับตนเอง ใจเต้นแรงทุกครั้ง เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ เมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับการพูดในที่สาธารณะคุณจะมีอาการวิตกกังวล ตื่นเต้น ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้และอาเจียน ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่ของความกลัวการพูดในที่สาธารณะนั้น อาจเกิดจากความทรงจำที่ไม่ดีในวัยเด็ก เช่น ประสบการณ์ในการพูดหน้าชั้นเรียนที่ไม่ดี ความกลัวที่คิดว่าผู้รับฟังอาจปฏิเสธไม่รับฟังคำพูดของคุณ เป็นต้น จัดการความกลัวด้วยการ ปรึกษาแพทย์ดีหรือไม่ หากคุณรู้สึกว่าความกลัวการพูดในที่สาธารณะของคุณส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคุณ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยปกติแพทย์จะรักษาโดยการแนะนำให้รับประทานยากลุ่มเบนไซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นพวก ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ (Victim Mentality)

คุณเคยมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ชอบโทษว่า ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตเขา เป็นความผิดของสิ่งต่างๆ หรือคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวกันบ้างไหม ผู้ที่ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ เหล่านี้ มักจะโทษทุกอย่างยกเว้นโทษตัวเอง และในบางครั้งอาจจะเป็นการยากที่จะต้องอยู่ร่วมกับคนแบบนี้ บทความนี้จะมานำเสนอเกี่ยวกับลักษณะของผู้ที่ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ และวิธีในการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ อาการ ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ เป็นอย่างไร บางครั้งคุณอาจจะสังเกตเห็นคนบางคนที่มักจะตกเป็นเหยื่อในทุกๆ สถานการณ์ ทั้งยังชอบโทษว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดของผู้อื่น หรือสิ่งอื่นๆ รอบตัว ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เขาหกล้ม ก็จะโทษว่าถนนไม่ดี ทำให้เขาต้องเจ็บตัว ผู้ที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ (Victim Mentality) เหล่านี้จะไม่ยอมรับผิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากตัวเอง แต่จะพยายามโทษผู้อื่นก่อนเสมอ แม้ว่าการกล่าวโทษนั้นจะไม่สมเหตุสมผลแค่ไหนก็ตาม สัญญาณที่เห็นได้ชัดมีดังนี้ รู้สึกไม่มีความสามารถพอที่จะแก้ปัญหา คนที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อ มักจะเชื่อว่าพวกเขาไม่มีพลัง อำนาจ และความสามารถมากพอที่จะรับมือกับปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ชื่นชอบสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และอยากให้อะไรๆ มันดีขึ้น แต่พวกเขาก็ยังมองว่า ตัวเองไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้อยู่ดี หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบ พวกเขามักจะชอบพยายามโทษคนอื่น สร้างข้ออ้าง และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่ตัวเองจะไม่ต้องรับผิดชอบกับสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้น แม้ว่าปัญหานั้นอาจจะเกิดขึ้นเนื่องมาจากการกระทำของพวกเขาก็ตาม เช่น บางคนอาจจะเดินชนโต๊ะ แล้วโทษว่าโต๊ะเกะกะ ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนเดินไปชน มองว่าปัญหาคือความโชคร้าย พวกเขามักจะชอบโทษปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากความซวยของตัวเอง จริงอยู่ว่าในบางครั้งปัญหานั้นก็อาจจะเกิดขึ้นจากโชคร้ายได้จริง แต่ก็ใช้ว่าจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป คิดว่าคนอื่นจงใจทำร้ายตัวเอง ในบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเพียงแค่เรื่องบังเอิญ หรือเกิดจากความผิดของตัวคุณเอง แต่ผู้ที่ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อจะมองว่าอีกฝ่ายตั้งใจหาเรื่องจ้องจะจับผิดพวกเขา […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น อยากมีชีวิตที่ดีต้องหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง มาดูกัน

ไม่ว่าใครก็ล้วนแล้วแต่ต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นด้วยกันทั้งนั้น เพราะการมีชีวิตที่ดีขึ้น ย่อมหมายถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ มีสุขภาพกายสมบูรณ์ และมีสุขภาพจิตที่แจ่มใส แต่การจะมีชีวิตดี ๆ ได้นั้น ต้องเริ่มจากการปฏิวัติตัวเอง หยุดทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีกว่าที่เป็น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำ 15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ถ้าอยากแฮปปี้กับชีวิตที่ดีล่ะก็ไม่ควรพลาด 15 สิ่งที่ไม่ควรทำเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น โทษคนอื่น หากต้องการมี ชีวิตที่ดี ก็อย่าโทษคนอื่นหรือแม้แต่โชคชะตาชีวิตของตัวเอง เพราะเมื่อคุณเป็นนายของตัวเอง หากคนอื่นเข้ามาทำให้ชีวิตของคุณยุ่งเหยิงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่ง มันก็คือความผิดของคุณที่ปล่อยให้พวกเขาทำกับคุณ ฉะนั้นเลิกโทษคนอื่นเสียดีกว่า เก็บความรู้สึกของตัวเอง การเก็บความรู้สึกทุกครั้งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะคงไม่มีใครเข้าใจคุณได้ตลอด หากคุณไม่แสดงความรู้สึกให้พวกเขาเห็นบ้าง การเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเองนั้น อาจนำไปสู่การคิดเชิงลบ ควรหมั่นแสดงข้อคิดเห็นของคุณต่อสิ่งต่างๆ เปิดเผยความรู้สึกและแบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจให้ผู้อื่นได้รับรู้บ้าง การนินทา การพูดถึงคนอื่นลับหลังไม่ทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นเลย มีแต่จะนำไปสู่สถานการณ์ที่ทำร้ายความรู้สึกของคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ และยังเป็นการทำลายความเชื่อใจ และความเคารพที่ผู้อื่นมีให้คุณอีกด้วย ปล่อยให้คนอื่นข่มคุณ ถึงแม้ว่าความสุภาพจะเป็นมารยาทสำคัญที่ทุกคนพึงมี แต่การเป็นคนสุภาพผิดที่ผิดทาง อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นทับถมคุณ หรือใช้คุณเป็นกระโถนรับความรู้สึก ดังนั้น สุภาพได้แต่จะต้องไม่อ่อนแอ การวิ่งหนีเมื่อได้รับคำชม นี่เป็นการกระทำของคนที่ไม่มีความมั่นใจ การมีความมั่นใจน้อยหรือไม่มีเลย อาจเป็นการปัดโอกาสดี ๆ ที่คนอื่นจะมอบให้ และท้ายที่สุดโอกาสนั้นอาจตกไปอยู่กับคนอื่น โดยที่คนนั้นอาจจะไม่ได้เก่งเท่าคุณ แต่มีความมั่นใจ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วันหนึ่งก็สามารถที่จะเก่งเท่าคุณหรือเก่งกว่าคุณก็ได้ การไม่ให้ความสนใจในสุขภาพของตน สุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญของการมี ชีวิตที่ดี การรับประทานอาหารขยะ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การออกกำลังกายน้อยหรือการไม่ออกกำลังกายเลย สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ทั้งสิ้น เพราะเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ผวาแรงเพียงแค่เห็นหุ่นปั้น อาจเป็นที่มาของอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ก็เป็นได้

เคยไหมเวลายืนจ้องหุ่นนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นปั้นในพิพิธภัณฑ์ หุ่นจำลองที่วางตั้งอยู่ตามร้านค้า ก็ทำให้เกิดจินตนาการประหนึ่งว่าพวกเขามีชีวิตและกำลังจ้องมองเราไม่วางตา จนเกิดเป็นภาพติดตานำมาสู่ความกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับอาการกลัวแปลก ๆ อย่างอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มโฟเบีย (Phobia) พร้อมทั้งวิธีขจัดความกลัวต่อหุ่นนี้ให้หมดไป สาเหตุเบื้องต้นที่อาจทำให้คุณมีอาการ กลัวหุ่นขี้ผึ้ง ความกลัวต่อหุ่นขี้ผึ้ง (Automatonophobia) เป็นความกลัวส่วนบุคคล ที่มักจะมีอาการตกใจเล็กน้อยเมื่อพบเห็นหุ่นจำลองที่รูปร่างเหมือนมนุษย์ หุ่นยนต์ และรูปปั้นต่างๆ โดยอาจมีความกลัวติดตัวมาตั้งแต่คุณยังอยู่ในวัยเด็ก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลักๆ ดังนี้ เกิดจากพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับเคมีภายในสมอง และปัจจัยทางจิตด้านอื่นๆ ร่วม จึงนำไปสู่อาการกลัว หรือตื่นตระหนกได้ อาจเกิดจากการที่คุณเสพสื่อมากเกินไปในช่วงตอนที่คุณเป็นเด็ก เช่น หนังที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ ที่มีเนื้อหาเผยถึงพฤติกรรมในเชิงลบ มีความรุนแรง หรือหนังที่เกี่ยวข้องกับหุ่นจำลอง อย่างหุ่นเกิดการขยับตัวเองได้ เป็นต้น เมื่อคุณต้องออกไปเผชิญ หรือพบเห็นบรรดาหุ่นที่ตั้งเรียงราย จึงเกิดการจินตนาการ และความกลัวหุ่นนี้ออกมา เป็นผลมาจากความเครียด และภาวะซึมเศร้าที่ถูกปล่อยเป็นระยะเวลานาน และไม่เคยได้รับการรักษา จึงทำให้เกิดความกลัวต่อสิ่งรอบกายขึ้น อาการที่เด่นชัด เมื่อบังเอิญพบเห็นหุ่นขี้ผึ้ง อาการกลัวที่ส่งผลให้ร่างกายมีความผิดปกติ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ด้วยกันคือ  1. อาการกลัวทางจิตใจ มีปัญหาทางด้านการนอนหลับ รู้สึกวิตกกังวล 2. อาการกลัวทางกายภาพ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายรู้สึกมีความร้อนวูบวาบ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายปะปนด้วย คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ชีวิตมีความสุข เป้าหมายชีวิตที่สร้างได้ ด้วยตัวคุณเอง

ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ ซ้ำยังเกิดวิกฤตโรคระบาดร้ายแรง ทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกไม่มีความสุข กับสิ่งต่างๆ ที่จะต้องเจออยู่เป็นประจำ มิหนำซ้ำบางคนถึงขั้นไม่รู้จะทำอย่างไรให้ ชีวิตมีความสุข วันนี้ทาง Hello คุณหมอ เลยมีบทความเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้ชีวิตมาความสุขมาฝากกัน การทำให้ ชีวิตมีความสุข ควรทำอย่างไรบ้าง หลายคนมักจะมีคำถามเกิดขึ้นกับตัวเองว่า จะต้องทำอย่างไรเพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตของตัวเองให้มากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการสร้างความสุขให้ตัวเอง รวมถึงการทำให้ ชีวิตมีความสุข นั้น สามารถทำได้หลายวิธี และหากทำอย่างสม่ำเสมอ มันจะยิ่งทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะมีความสุขส่วนตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีการต่างๆ มีดังนี้ จัดการกับความเครียดในชีวิต หากคุณมีความเครียดในชีวิตมาก ลองหาวิธีลดความเครียดด้วยการจัดสรรเวลา เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เริ่มจากการออกกำลังกายทั้งเวลาที่คุณเกิดความรู้สึกเครียด และเวลาที่จิตใจคุณปกติดี การออกกำลังกายจะช่วยเปลี่ยนแปลงความเครียดของคุณให้กลายเป็นความคิดเชิงบวก นอกจากนั้นการควบคุมเวลาด้วยวิธีนี้จะช่วยลดความเครียดของคุณลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้ว หากคุณมีความรู้สึกกังวลที่อาจจะมาพร้อมกับความเครียด ลองฝึกหายใจดู ซึ่งการฝึกหายใจนั้น สามารถช่วยให้คุณคลายความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยให้คุณคลายเครียดได้อีกด้วย ยิ้ม เมื่อเวลามีความสุขสิ่งที่แสดงออกให้ทุกคนได้รับรู้ก็คือ การยิ้ม นอกจากเราจะยิ้มเมื่อมีความสุขแล้ว การยิ้มยังทำให้สมองปล่อยโดพามีน (Dopamine) ออกมา ซึ่งนั่นจะทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น การสร้างความสุขให้ตัวเองง่ายๆ ก็คือ การตื่นมาในตอนเช้าและลองยิ้มให้ตัวเองในกระจก เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ชีวิตคุณมีความสุขเพิ่มขึ้นได้แล้ว ค้นหาสิ่งที่ควรจะทำก่อน คุณควรสร้างทักษะความสุขที่ถูกต้องให้กับตัวเอง ซึ่งถ้าหากคุณยังไม่รู้ว่าคุณต้องดิ้นรนกับปัญหาใดในตอนแรก จงคิดว่านี่คือประโยชน์ที่คุณจะได้ทำแบบทดสอบ เพื่อสำรวจจุดแข็งและจุดอ่อน เกี่ยวกับความสุขของคุณเอง การทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้พบ พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการปรับจุดอ่อนของคุณ นั่นเป็นการ สร้างจุดแข็งของความสุข […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ซึมเศร้า หลังแต่งงาน ปัญหาสุขภาพจิต ที่คู่แต่งงานใหม่ควรรู้

งานวิวาห์แสนหวานที่เจ้าสาว เจ้าบ่าวนั้นทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เพื่อให้งานสำคัญออกมาอย่างสมบูรณ์ ไร้ที่ติที่สุด แต่หลังจากงานแต่งสิ้นสุดลงหลายๆ คู่กลับมีอาการหดหู่ปนเศร้า ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้คืออะไรกัน Hello คุณหมอ บอกเลยว่า หลายๆ คู่หลังแต่งงานอาจมีอาการที่เรียกว่า ซึมเศร้า หลังแต่งงาน อาการอาจจะมีความคล้ายกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หลายๆ คนอาจคาดไม่ถึงว่าสามารถเกิดอาการนี้ได้ด้วย ซึมเศร้า หลังแต่งงาน คืออะไร อาการซึมเศร้า หลังแต่งงาน หรือ Post-Wedding Blues เป็นภาวะซึมเศร้าอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากแต่งงาน ผู้ที่เป็นมักจะมีความรู้สึกหดหู่ปนเศร้า รู้สึกว่าชีวิตนั้นมาเหมือนเดิม จนไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปอย่างไรดี ส่วนใหย่แล้วภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นกับคู่บ่าวสาว ที่ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ วางแผน จัดเตรียมงานแต่งงานของตนเองอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าจัดหนัก จัดเต็ม เมื่อช่วงเวลาแห่งความสุข ในคืนแต่งงานผ่านไป อาจทำให้หลายๆ คู่รู้สึกว่างเปล่า ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ บวกกับความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในชีวิตทั้งสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ครอบครัวใหม่ อาจจะทำให้บางคนไม่สามารถรับมือ กับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ จนทำให้เกิดความเครียดกับสิ่งที่เกิดขึ้น และยิ่งเฉพาะเจ้าสาวที่เมื่อแต่งงานแล้ว ยอมสละชีวิตการทำงาน ออกมาเป็นแม่บ้านอย่างเต็มตัวอาจจะยิ่งเพิ่มความเครียดให้พวกเขา วิธีจัดการกับอาการซึมเศร้า หลังแต่งงาน ให้อยู่หมัด ยอมรับความเป็นจริง การอยู่กับความเป็นจริง มองหาสาเหตุว่าจริงๆ แล้วอะไรกันที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ หาสาเหตุที่แท้จริง หากคุณรู้จักตัวเองดีมากพอ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อยากมีคู่ครองแต่ใจไม่กล้าพอ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรค กลัวผู้หญิง อยู่ก็ได้นะ

จะทำยังไงดีเมื่ออยากมีความรัก แต่ดันไม่กล้าเป็นฝ่ายจีบผู้หญิงก่อน และบางครั้งแค่เพียงเหลือบผู้หญิงน่ารักๆ ก็กังวลไปหมดเสียแล้ว แถมยังชอบกล่าวโทษตัวเองเป็นตุเป็นตะ ว่าอาจไม่ดีพอ หรือไม่เหมาะสมกับเธอเลย หยุดความคิดเหล่านั้นเอาไว้ก่อน วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีแก้อาการ กลัวผู้หญิง มาฝาก เพื่อป้องกันไม่ให้ หนุ่มๆ สุ่มเสี่ยงเข้าขั้นจิตตก สาเหตุที่ทำให้คุณ กลัวผู้หญิง จนไม่กล้าเข้าหา โรคกลัวผู้หญิง (Gynophobia) ถูกจัดเป็นโรคกลัวอย่างหนึ่ง เสมือนกับความกลัวอย่างอื่น เช่น โรคกลัวผู้ชาย โรคกลัวสุนัข เป็นต้น และนับได้ว่าเป็นโรคจิตเภทที่อาจเกิดอาการเรื้อรังนำไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้อย่างยากลำบาก ความกลัวชนิดนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยกับเพศชาย โดยเฉพาะเมื่อพบเจอผู้หญิงสวย น่ารัก ซึ่งอาจมีสาเหตุหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้ ประสบการณ์ที่ถูกทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ เช่น การถูกปฏิเสธจากความรัก การถูกล่วงละเมิดทางเพศ พันธุกรรม หรือการรับรู้จากผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมคนรอบตัวคุณ ถูกล้อเลียนเสียดสี หรือโดนบูลลี่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทั้งจากในสังคมจริง และสื่อโซเชียล อาการของคุณผู้ชาย ที่เมื่อพบผู้หญิง จนต้องรีบหลีกหนี อาการของ โรคกลัวผู้หญิง แบ่งออกทั้งหมดเป็น 2 ด้านด้วยกัน ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากปฏิกิริยาเหล่านี้ ด้านกายภาพ ตัวสั่น หายใจถี่ หัวใจเต้นแรง มีเหงื่อออกมากที่มือ หรือตามลำตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน มึนหัว เวียนหัว ด้านความรู้สึก และอารมณ์ วิ่งหนีทันทีเมื่อพบเห็น เขิน อาย รวมถึงอาการกลัว สูญเสียความเป็นตัวเอง แสดงพฤติกรรมบางอย่างออกไป […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน