สุขภาพหญิง

เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คุณผู้หญิงทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลและการสนับสนุนในเรื่องของสุขภาพ เพื่อจะได้รักษาสุขภาพและป้องกันตนเองจากสภาวะต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทาง Hello คุณหมอได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ สุขภาพหญิง เอาไว้ โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่ช่วงเริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงช่วงหมดประจำเดือน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหญิง

‘ผมร่วงหลังคลอด’ ปัญหากวนใจคุณแม่ แต่รับมือได้!

นอกจากจะต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกน้อยที่เพิ่งคลอดแล้ว เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่กำลังหนักใจกับปัญหา ‘ผมร่วงหลังคลอด’ เพราะแค่ใช้มือสางผมเบาๆ ผมก็ร่วงหลุดออกมาเต็มฝ่ามือกันเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ แล้วอาการดังกล่าวจะหายไปหรือไม่ และจะรับมืออย่างไรดี? ตามมาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้ได้เลย   ผมร่วงหลังคลอด เกิดจากอะไร?  ปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมทั้งศีรษะประมาณ 80,000 - 120,000 เส้น และผมจะหลุดร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน แต่ในช่วงหลังคลอดนั้นคุณแม่อาจต้องเผชิญกับภาวะผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน โดยสาเหตุของอาการผมร่วงหลังคลอดนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผมของคนเราจะมีการหลุดร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มจำนวนขึ้นส่งผลให้ผมร่วงลดลง อย่างไรก็ตาม หลังคลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้เส้นผมที่หยุดร่วงไปหลายเดือนก่อนหน้านี้กลับมาร่วงอีกครั้ง เป็นเหตุผลว่าทำไมจำนวนของเส้นผมที่ร่วงหลังคลอดจึงดูเยอะผิดปกตินั่นเอง   อาการผมร่วงหลังคลอด มักเกิดขึ้นตอนไหน?  โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะเริ่มสังเกตุอาการผมร่วงช่วงประมาณ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจพบว่ามีผมหลุดร่วงออกมาจำนวนมากตอนหวีผมหรือตอนสระผม อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงหลังคลอดนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงและจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 1 ปีหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกและเกิดอาการผมร่วงไม่ต้องวิตกกังวล ทั้งนี้ หากพบว่าอาการผมร่วงยังไม่หายไปหลังจากคลอดลูกมานานแล้วกว่า 1 ปี ควรนัดหมายปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการผมร่วงที่นานติดต่อกันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างเช่น การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ภาวะขาดธาตุเหล็ก หรือโรคทางต่อมไทรอยด์ เป็นต้น วิธีรับมือกับอาการผมร่วงหลังคลอด แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง แต่หากคุณแม่รู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหญิง เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหญิง

ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกราน คืออะไร มาทำความรู้จักกันเถอะ

กระดูกเชิงกรานเป็นกระดูกขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่หลาย ๆ คนไม่รู้ว่ามีความสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ กระดูกเชิงกราน ว่าคืออะไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไร พร้อมวิธีง่ายในการคำนวณการตกไข่ให้สาว ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร กดได้ที่นี่เลย กระดูกเชิงกราน คืออะไร กระดูกเชิงกราน (Bony pelvis) คือ เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ในร่างกายประกอบด้วยกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) กระดูกก้นกบ(Coccyx) และกระดูกสะโพก (Hip bone) 2 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกปีกสะโพก(Ilium) เป็นกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากระดูกเชิงกราน แบ่งออกเป็นฝั่งซ้าย และขวา กระดูกก้น(Ischium) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุด และส่วนที่ 3 คือกระดูกหัวหน่าว(Pubis) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณด้านหน้า กระดูกเชิงกรานเป็นโครงของช่องเชิงกราน (pelvic cavity) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดย pelvic brim คือช่องเชิงกรานไม่แท้ (false pelvis/greater pelvis) อยู่ทางส่วนบน และช่องเชิงกรานแท้ (true […]


ปัญหาสุขภาพหญิงแบบอื่น

ถุงน้ำในรังไข่แตก คืออะไร อันตรายหรือไม่อย่างไร

ซีสต์ (cyst) หมายถึง “ถุงน้ำ” อะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่าซีสต์ ซึ่งสามารถเกิดได้ในหลายอวัยวะในร่างกาย โดยในวันนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่อง ถุงน้ำในรังไข่แตก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีถุงน้ำรังไข่ผิดปกติในระยะแรกอาจไม่ค่อยมีสัญญาณเตือนอาการใด ๆ แล้วถ้าหากเกิดถุงน้ำนั้นแตกขึ้นมาจะอันตรายหรือไม่อย่างไร คำจำกัดความ รังไข่ จำเป็นอย่างไรในร่างกาย รังไข่ (Ovary) เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายวงรี มีอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง คือด้านซ้าย และด้านขวาเชื่อมต่อกับปีกมดลูก โดยมีหน้าที่สำคัญในการผลิตเซลล์สืบพันธ์ และฮอร์โมนเพศหญิง ก็คือ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะต่าง ๆ ในเพศหญิง โดยรังไข่จะปล่อยไข่ในจุดกึ่งกลางของรอบประจำเดือนในแต่ละรอบ ซึ่งสามารถคำนวณการตกไข่ได้ ที่นี่ ถุงน้ำในรังไข่ คืออะไร ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian Cyst) คือ ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ โดยสาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภาวะถุงน้ำในรังไข่นั้นยังมีหลากหลายประเภท เช่น ถุงน้ำเนื้องอกซีสตาดีโนมา ถุงน้ำเดอร์มอยด์ อาการ อาการ ถุงน้ำในรังไข่แตก อาการที่อาจพบหากถุงน้ำในรังไข่แตก ได้แก่: ปวดท้องน้อยอย่างกะทันหัน ปัสสาวะบ่อยขึ้น คลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณหน้าท้อง กดเจ็บ ในรายที่ผอมมาก ๆ ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ และอาเจียน รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนสามารถพบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด […]


ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกรานหัก ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใดกันนะ

กระดูกเชิงกรานหัก ปัญหากระดูกที่เราจำเป้นต้องระมัดระวัง เพราะไม่งั้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดินอาจจะไม่สะดวกเหมือนปกติ ซึ่งกระดูกเชิงกรานหักนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรบ้างนะ เพื่อเพิ่มการระมัดระวังในตนเองให้มากขึ้น [embed-health-tool-ovulation] กระดูกเชิงกราน ประกอบด้วยกระดูกกี่ชิ้น  กระดูกเชิงกราน เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์อยู่ล่างหน้าท้อง ตำแหน่งระบบสืบพันธุ์ โดยประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น กระดูกหัวหน่าว (Pubis) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณด้านหน้า กระดูกก้น (Ischium) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุด กระดูกปีกสะโพก (Ilium) เป็นกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากระดูกเชิงกราน แบ่งออกเป็นฝั่งซ้าย และขวา กระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกันทั้งหมด ซึ่งกระดูกเชิงกรานในเพศหญิง และเพศชายนั้นไม่เหมือนกันในลักษณะของรูปร่าง สาเหตุของกระดูกเชิงกรานหักคืออะไร ส่วนใหญ่สาเหตุของกระดูกเชิงกรานหัก มักเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถ ไม่ว่าจะรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ การบาดเจ็บจากการถูกทับ หรือการตกจากที่สูง สาเหตุอื่น ๆ คือกระดูกเชิงกรานหักเนื่องจากเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อหลุดออกจากกระดูก มาจากการเล่นกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว และหยุดกะทันหัน ได้แก่ การวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งระยะสั้น รวมไปถึง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน อาการ กระดูกเชิงกรานหัก การเดิน หรือยืนลำบาก รวมไปถึงการเคลื่อนไหว ปวด และเจ็บบริเวณขาหนีบ สะโพก หลังส่วนล่าง […]


ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง

ยาปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ที่แพทย์นิยมใช้ มีอะไรบ้าง

เหล่าสาว ๆ ที่ไม่ว่าจะก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือแม้แต่วัยทองนั้น อาจจะประสบกับปัญหาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้อีกด้วย ดังนั้นหากสาว ๆ ต้องการปรับฮอร์โมนให้สมดุล โดยหมอจะแนะนำ ยาปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ให้ซึ่งมียาแบบไหนบ้างที่สามารถช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และลดอาการต่าง ๆ จากฮอร์โมนไม่สมดุลได้บ้างนะ ตามไปอ่านกันเลย เพราะเหตุใดฮอร์โมนเพศหญิงถึงไม่สมดุล ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้น เมื่อฮอร์โมนสูงขึ้น หรือลดต่ำกว่าระดับปกติในกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมในระบบต่อมไร้ท่อ ระดับฮอร์โมนในผู้หญิงมักจะแปรปรวนในบางช่วงเวลา เช่น ก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือน ระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างวัยหมดประจำเดือน ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงสามารถพบเจอได้ เนื่องจากในอะดรีนาลีน ฮอร์โมนสเตียรอยด์ อินซูลิน เอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนมีการผันผวน การทดสอบความไม่สมดุลของฮอร์โมน ไม่มีการทดสอบความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงแบบครบทุกอย่าง ซึ่งมีวิธีการเช็ก ได้แก่: การตรวจเลือด การตรวจเลือดสามารถวัดระดับฮอร์โมนได้เกือบทั้งหมด การทดสอบเอสโตเจน การวัดระดับของเอสโตรเจนสามารถตรวจได้จากในเลือด และปัสสาวะ  หรือในน้ำลายโดยใช้ชุดทดสอบที่สามารถทำเองที่บ้านได้  การทดสอบฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถตรวจได้หากมีปัญหาบางอย่าง ได้แก่ การตั้งครรภ์ที่มีปัญหา ช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่ประจำเดือนยังไม่มา หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน การตรวจอุ้งเชิงกราน สามารถตรวจสอบว่ามีก้อนซีสต์ หรือเนื้องอกที่ผิดปกติภายในร่างกายหรือไม่ อัลตราซาวนด์ การสแกนอัลตราซาวนด์ใช้คลื่นเสียงเพื่อจับภาพมดลูก รังไข่ ไทรอยด์ และต่อมใต้สมอง ปัจจัยการเกิดของฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล […]


ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง

ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง อีกเรื่องที่สาว ๆ ควรรู้

ฮอร์โมน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งสุขภาพกาย หรือสุขภาพจิต ระดับฮอร์โมนนั้นมีส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด รวมไปถึงฮอร์โมนควบคุมการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายแล้วถ้าหาก ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง เกิดจากสิ่งใด และสามารถสังเกตได้จากอะไรบ้างนะ [embed-health-tool-bmi] ฮอร์โมน คืออะไร ฮอร์โมน คือ สารที่สร้างจากเซลล์ภายในร่างกาย จากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท้อ แล้วถูกส่งไปยังระบบเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ฮอร์โมนส่งผลต่อทางสรีรวิทยาหลายอย่าง เช่น การเจริญเติบโต เมตาบอลิซึม ความอยากอาหาร และภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง เกิดจากอะไร อายุ การรับประทานยาบางชนิด โรคอ้วน การแพ้อาหารบางชนิด การสัมผัสกับสารเคมีบางอย่าง ความเครียด หรือวิตกกังวล ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล พบได้ในช่วงใดบ้าง เหล่าผู้หญิงสามารถพบเจอกับภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ใน วัยแรกรุ่น ช่วงประจำเดือนมา ในขณะตั้งครรภ์ คลอดบุตร และให้นมบุตร รวมไปถึงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลประเภทต่าง ๆ มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีอวัยวะ และวัฏจักรต่อมไร้ท่อต่างกัน ดังนั้นผู้ชายก็สามารถเป็นภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ไม่ต่างจากผู้หญิง สาเหตุภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล พฤติกรรมการใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจเข้ามีบทบาทในความไม่สมดุลของฮอร์โมน ได้แก่: ความเครียดเรื้อรัง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ […]


ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในเพศหญิง

วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ง่าย ๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

ฮอร์โมนสิ่งสำคัญที่มีบทบาทกับร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ หรือร่างกาย เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนได้ ดังนั้น วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง เป็นวิธีการง่าย ๆ เพื่อให้สาว ๆ ได้สามารถลองปรับเปลี่ยนบางอย่างในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายให้เหล่าสาวน้อย สาวใหญ่ได้ ฮอร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศ คือเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในด้านรูปร่าง และการเจริญพันธุ์เข้าสู่ลักษณะของวัยรุ่น ฮอร์โมนเป็นสารเคมีทำหน้าที่ส่งสารที่สร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนเพศประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ ฮอร์โมนเพศชาย(ฮอร์โมนแอนโทรเจน หรือเทสโทสเตอโรน) ฮอร์โมนเพศหญิง โดยฮอร์โมนเพศหญิงมีประเภทอะไรบ้างนะ ประเภทของฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในสุขภาพของผู้หญิง โดยเอสโตรเจนมี 3 ประเภท ได้แก่ เอสโทรน เอสตราไดออล และเอสตริออล ส่งผลต่อพัฒนาการทางเพศ รวมถึงการเจริญพันธุ์การเติบโตของหน้าอก หรือแม้แต่การเริ่มมีรอบเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงที่ร่างกายผลิตขึ้นเองส่วนใหญ่จากรังไข่เป็นหลัก ต่อมหมวกไต และเซลล์ไขมันยังผลิตเอสโตรเจนในปริมาณเล็กน้อย แม้ว่าจะฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้ร่างกายจะสามารถสร้างเองได้ แต่การผลิตเอสโตรเจนอาจจะเริ่มลดลงในช่วงกลุ่มวัยทอง โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้น และควบคุมการทำงานที่สำคัญ มีบทบาท ในการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการปฏิสนธิเพื่อการตั้งครรภ์ และควบคุมรอบเดือนประจำเดือน  กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านม พบว่าโปรเจสเตอโรนต่ำจะกระตุ้นการหลั่งแอลเอช เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า […]


วัยหมดประจำเดือน

ไขข้อสงสัย!! วัยหมดประจำเดือน ท้องได้ไหม

วัยหมดประจำเดือน สามารถเกิดขึ้นได้กับสาว ๆ ทุกคน ซึ่งมีอีกหลาย ๆ คนที่คิดว่า เมื่อประจำเดือนฉันหมดก็ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นมีความมหัศจรรย์ ซึ่งเมื่อคุณรู้คำตอบก็อาจจะอึ้งเลยก็ได้ ว่าเอ๊ะ เป็นไปได้จริงเหรอ แล้วจริง ๆ แล้ว วัยหมดประจำเดือน ท้องได้ไหม ไปหาคำตอบกันเลย [embed-health-tool-ovulation] วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Manopause) คือช่วงวัยประมาณ 40- 60 ปี แต่ผู้หญิงบางคนประจำเดือนอาจจะหมดก่อนหน้านั้นได้ เพราะอาจผ่านการผ่าตัดมดลูก หรือปัจจัยอื่น ๆ วัยหมดปรจำเดือนเป็นจุดสิ้นสุดของรอบเดือนของผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน ท้องได้ไหม คำตอบคือ วัยหมดประจำเดือนนั้นยังสามารถท้องได้ ดังนั้นอย่าประมาทเชี่ยวนะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะมีลูกหลงมาได้ แต่อย่างไรก็ตามวัยหมดประจำเดือน หรือใกล้หมดประจำเดือน การตั้งครรภ์แบบธรรมชาติอาจทำได้ยากขึ้น เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ สำหรับสาววัยหมดประจำเดือน ใครก็ตามที่หวังจะตั้งครรภ์ในช่วง วัยหมดประจำเดือน ควรปรึกษากับแพทย์ แม้ว่าภาวะเจริญพันธุ์มีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังมีวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ดังนี้ การนับวันตกไข่ ใช้แผ่นทดสอบการตกไข่ เนื่องจากอาจมีความแม่นยำมากกว่า การปรับไลฟ์สไตล์ หมายถึงการรับประทานอาหารที่สมดุล และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำอาจเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ สาววัยหมดประจำเดือนกับการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ยาก จำเป็นต้องใช้หลาย ๆ […]


วัยหมดประจำเดือน

เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์ช่วงวัยทอง

ความต้องการทางเพศเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ แต่หากถึงช่วงวัยทอง ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงส่งผลทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่าง ๆ รวมถึง เพศสัมพันธ์ช่วงวัยทอง แล้วเราสาว ๆ ควรทำอย่างไรดีนะ มาอ่านที่บทความนี่กันเลย [embed-health-tool-bmi] ช่วงวัยทอง คือช่วงอายุเท่าไรกันนะ ผู้หญิงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) คือ ช่วงอายุประมาณ 40 – 60 ปี เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ โดยเฉพาะการขาดฮอร์โมนเพศจากรังไข่ สามารถส่งผลทั้งต่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการตกไข่ สามารถคำนวณการตกไข่ง่าย ๆ ด้วยการคลิ๊ก ที่นี่ รวมไปถึงอารมณ์ต่าง ๆ และที่สำคัญคือทำให้ไม่มีประจำเดือนติดต่อกัน 1 ปี และค่อย ๆ หมดไป ทำไมวัยทองถึงยังมีความรู้สึกทางเพศ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทองมีความต้องการทางเพศลดลง แต่ยังมีความรู้สีกอารมณ์ทางเพศอยู่ อย่างไรก็ตามการเล้าโลม หรือการมีอารมณ์ร่วมอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าเดิม ทั้งนี้ผู้หญิงแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เลือดไหลไปยังช่องคลอดน้อยลง ส่งผลให้เนื้อเยื่อของช่องคลอด และแคมบางลง ทำให้ผู้หญิงมีความไวต่อการกระตุ้นทางเพศลดลง ซึ่งเหตุผลที่วัยทองยังมีอารมณ์ทางเพศอยู่ก็เนื่องจากฮอร์โมนเพียงลดลงเท่านั้น ไม่ได้หายไปแต่อย่างใด ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์ช่วงวัยทอง การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวัยทองเป็นเรื่องที่น่าอาย เพราะอาจจะคิดว่าอายุก็เยอะแล้วแต่ทำไมถึงยังมาคิดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ช่วงวัยทองมักไม่เร้าร้อนเหมือนตอนสาว ๆ สมุนไพร หรือยาบำรุงต่าง […]


สุขภาพหญิง

ช็อกโกแลตซีส อาการเป็นอย่างไร รักษาได้หรือไม่

ช็อกโกแลตซีส เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิง โรคนี้มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดได้ในผู้หญิงทุกคน และมักมีอาการปวดท้องร่วมด้วย คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน ช็อกโกแลตซีส อาการเป็นอย่างไร โรคนี้รักษาได้หรือไม่ [embed-health-tool-ovulation] ลักษณะของโรคช็อกโกแลตซีส ช็อกโกแลตซีสหรือถุงน้ำช็อกโกแลต ชื่อโรคที่แพทย์เรียก คือ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง พบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หรือช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงไม่แน่ใจว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะการปวดประจำเดือนหรือปวดเพราะเป็นช็อกโกแลตซีสกันแน่ เรื่องของอาการปวดในบางรายอาจไม่มีอาการปวดเลย แต่เมื่อขนาดของช็อกโกแลตซีสโตขึ้นมาก จะไปกดอวัยวะข้างเคียง หรือแตกออกมา ส่งผลให้เกิดภาวะปวดท้องรุนแรง  สาเหตุของโรคช็อกโกแลตซีส ส่วนใหญ่ช็อกโกแลตซีส จะเกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่น โดยนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนจะเกิดเป็นถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบจุดเกิด ช็อกโกแลตซีสต์บ่อย ๆ ได้แก่ ช็อกโกแลตซีสในรังไข่ เมื่อเจริญเติบโตผิดที่ก็จะยังคงทำหน้าที่ในการสร้างประจำเดือน ทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลต ขังอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ หากเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน   จากเดิมที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตภายในโพรงมดลูก เมื่อไปเจริญเติบโตผิดที่จะทำให้เกิดอาการแสดงของโรคได้  2 ชนิด ชนิดที่พบภายนอกมดลูก : พบได้บ่อยที่บริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ รังไข่ ท่อนําไข่ เยื่อบุช่องท้อง ในอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลําไส้ใหญ่ รวมถึงท่อไต ลําไส้เล็ก […]


สุขภาพหญิง

ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร

ฮอร์โมนเพศหญิง มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นส่วนหนึ่งในทุกช่วงชีวิตของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือกระบวนการเผาผลาญพลังงาน สุขภาพหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ อารมณ์ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ การผลิตน้ำนม ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน รังไข่ก็จะหยุดทำงาน ทำให้การทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงหยุดลงอย่างสมบูรณ์ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศหญิง สำคัญอย่างไร รังไข่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงตัวหลัก ๆ ที่สำคัญที่สุดต่อสุขภาพของผู้หญิงตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ จนถึงวัยหมดประจำเดือน มีบทบาทในการกระตุ้นพัฒนาการทางเพศและเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วในระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศหญิง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนเพศหญิง อาจแบ่งได้ดังนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องเพศและระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนใหญ่จะผลิตมาจากรังไข่ ในขณะที่ฮอร์โมนบางส่วนในปริมาณน้อยจะผลิตมาจากต่อมหมวกไตและเซลล์ไขมัน เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะหยุดทำงานและหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป หน้าที่ของฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีดังนี้ ควบคุมการมีประจำเดือน  พัฒนาลักษณะทางเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่น กระตุ้นพัฒนาการของเต้านม รักษาความชุ่มชื้นของผิวและเนื้อเยื่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อหัวใจ สมอง หลอดเลือด แข็งแรง เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ ควบคุมภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะถูกหลั่งออกมาจากรังไข่หลังจากที่การตกไข่ หน้าที่หลักของฮอร์โมนนี้คือการกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว เพื่อเป็นที่รองรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วให้เติบโตกลายเป็นตัวอ่อนไปเป็นทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ในที่สุด ซึ่งหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกไปเป็นประจำเดือนในทุก ๆ เดือน แต่หากมีการตั้งครรภ์ รังไข่จะหลั่งโปรเจสเตอโรนในปริมาณมากเพื่อบำรุงมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน