backup og meta

ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล จะทำยังไงให้นอนหลับได้ดี

ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล จะทำยังไงให้นอนหลับได้ดี

เมื่อ ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล เพราะต้องได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หลายๆ คนจะไม่ชอบใจนัก เพราะนอกจากจะไม่คุ้นชินกับสถานที่เหมือนที่บ้านแล้ว บางครั้งยังอาจนอนหลับได้ไม่สนิทอีกด้วย แต่เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนอนโรงพยาบาล จะทำอย่างไรให้นอนหลับได้ดี วันนี้ทาง Hello คุณหมอมีเรื่องนี้มาฝากกัน

ไขข้อสงสัย: ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล แล้วมักจะตื่นกลางดึก เป็นเพราะเหตุใด?

บางครั้งการนอนโรงพยาบาลมักจะต้องตื่นในช่วงกลางดึก ก็เพราะว่า คุณอาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ต้องให้ในช่วงกลางดึก ทั้งนี้การให้ยาจะขึ้นอยู่กับเวลาครั้งแรกที่คุณได้รับยา บางครั้งก็อาจจะต้องมีการตรวจเลือดสำหรับยาปฏิชีวนะบางอย่างที่จะต้องให้ไปตามขนาดของยา ทั้งช่วงกลางดึกเลือดยังไหลเวียนดีอีกด้วย

หากคุณเข้ารับการรักษาตัวเพื่อตรวจหาอาการหัวใจวาย คุณอาจจะได้รับการตรวจเลือดตามกำหนดเวลา ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการเจาะเลือดในเวลากลางคืน นอกจากนั้น การศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยตื่นตัว ก็คือ ความเจ็บปวด เสียง ยา และสัญญาณรบกวน จากการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า กิจวัตรของโรงพยาบาล สามารถรบกวนการนอนหลับของผู้ป่วยได้ แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่เงียบสงบเช่นกัน

บางครั้งการรักษาด้วยยา ก็อาจจะทำให้คุณถูกปลุกให้ตื่นเพื่อมากินยาทุกๆ 4 ชั่วโมงหรือทุกๆ 6 ชั่วโมง ซึ่งนั่นหมายถึงการที่พยาบาลจะต้องปลุกให้คุณตื่นขึ้นมาเพื่อมอบยาให้กับคุณ แม้ว่าคุณจะนอนหลับอยู่ก็ตาม ส่วนสัญญาณรบกวนที่อาจทำให้คุณต้องตื่นกลางดึกก็เพราะ ในโรงพยาบาลอาจมีเสียงดังตอนกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นเสียงพนักงาน เครื่องทำความสะอาด หรือแม้แต่เพื่อนร่วมห้องก็ตาม

ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล จะทำให้ยังไงให้หลับดีขึ้น

เมื่อทราบเหตุผลที่เมื่อนอนโรงพยาบาลแล้วมักจะตื่นตอนดึกกันไปแล้ว ลองมาดูกันดีกว่าว่าจะมีวิธีใดบ้าง ที่จะทำให้คุณหลับได้ดีขึ้น เมื่อต้องนอนอยู่ที่โรงพยาบาล

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารู้สึกสะดวกสบาย

สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องแน่ใจว่าหมอนอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ผ้าปูเตียงและชุดเครื่องนอนทำให้รู้สึกสบาย ไม่เช่นนั้นลองนำหมอนและผ้าห่มของตัวเองมาเอง หากมีคุณมีความเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเรื่องชุดเครื่องนอน การนำหมอนของคุณมาเองอาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้อย่างมาก แต่หากคุณยังมีปัญหารเองการนอนหลับ การขอความช่วยเหลือจากพยาบาลถือเป็นสิ่งที่ควรทำ

ขอยาเพื่อช่วยให้คุณนอนหลับ

ยาบางชนิดเช่น แอมเบีย (Ambien) จะช่วยทำให้คุณหลับได้เร็วขึ้น ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ถ้าคุณทานยานอนหลับที่บ้านเป็นประจำอยู่แล้ว อย่าลืมบอกเรื่องนี้แก่คุณหมอและพยาบาลให้ได้ทราบเอาไว้ นอกจากนั้นถ้าคุณมีปัญหาในการนอนหลับหรือไม่สามารถกลับไปนอนหลับได้หลังจากตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน การขอยาจากพยาบาลที่จะช่วยให้คุณนอนหลับก็ถือเป็นสิ่งที่ทำได้

เช่นเดียวกันกับการดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ อาจช่วยในเรื่องของการนอนหลับในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่บางครั้งการดื่มเครื่องดื่มหรือน้ำในตอนกลางคืน ก็อาจทำให้คุณตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกได้เช่นกัน จึงควรระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ

หลีกเลี่ยงการงีบหลับ

การหลีกเลี่ยงการงีบหลับ ก็เพื่อให้คุณพร้อมที่จะนอนหลับตลอดทั้งคืนเมื่อถึงเวลา การนอนมากเกินไปในระหว่างวันอาจหมายถึงการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน

เตรียมเครื่องดื่มไว้ใกล้ๆ

การตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนด้วยความกระหายนั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่เมื่ออยู่โรงพยาบาลอาจจะเกิดความไม่สะดวกหากเกิดอาการกระหายน้ำ ดังนั้น พยายามวางเครื่องดื่มให้ใกล้ๆ ตรงที่คุณสามารถเอื้อมได้ เผื่อเวลากระหายน้ำในตอนกลางคืน

ปิดประตูห้อง

หากคุณนอนห้องผู้ป่วยเดี่ยวก็สามารถปิดประตูเพื่อป้องกันการรบกวนได้ เว้นแต่ผู้ป่วยที่อยู่ในห้องไอซียู การปิดประตูมักจะช่วยลดเสียงรบกวนจากโถงทางเดินและห้องอื่นๆ ได้อย่างมาก

แจ้งพยาบาลเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

หากความเจ็บปวดทำให้คุณนอนหลับได้ยากในตอนกลางคืน ไม่ต้องกลัวที่จะบอกอาการเหล่านั้นแก่คุณหมอหรือพยาบาล เพื่อพวกเขาจะได้หาตัวเลือกในการบรรเทาอาการปวด นอกจากนั้นคุณควรพูดคุยถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

ใช้ที่อุดหู

การปิดประตูห้องอาจจะไม่เพียงพอสำหรับบางคน การใช้ที่อุดหูเข้ามาช่วยอาจเป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ได้เพื่อลดเสียงในโรงพยาบาล เสียงโดยรอบ และจะได้นอนหลับอย่างเหมาะสม

ใช้หน้ากากปิดตานอน

หน้ากากปิดตานอนจะช่วยลดการรบกวนจากแสงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงจากโถงทางเดิน หรือแสงจากนอกหน้าต่าง ซึ่งมันอาจทำให้นอนหลับยากได้

จัดการกับปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม

หากห้องที่คุณพักรักษาตัวอยู่สว่างหรือเสียงดังเกินไป ลองปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลคุณดูว่า สามารถหรี่แสงไฟหรือลดเสียงรบกวนของอถุปกรณ์การแพทย์บางอย่างลงได้หรือไม่ ถ้ารู้สึกหนาวเกินไปก็ลองของผ้าห่มพิเศษเพิ่ม การปิดม่านหรือประตูอาจจะช่วยลดเสียงรบกวนได้

จัดตารางเวลาที่เหมาะสำหรับผู้เยี่ยม

การนอนหลับจะยากขึ้นเมื่อเพื่อนหรือครอบครัวอยู่รอบๆ ดังนั้น ลองบอกให้พวกเขามาเยี่ยมในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงเย็นดู เพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาดสำหรับนอนหลับในช่วงเย็น การทำเช่นนี้ยังช่วยลดแรงกดดันที่อาจทำให้ตัวเองหลับไป เพื่อจะได้ตื่นในเวลาที่แน่นอนสำหรับผู้ที่จะมาเยี่ยมในช่วงเช้า

คำนึงถึงผู้ป่วยรายอื่นๆ

ขนาดตัวคุณเองยังอาจจะนอนหลับยากในช่วงกลางคืน ผู้ป่วยรายอื่นๆ ก็อาจจะประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับคุณ ดังนั้น ลองพิจารณาผลกระทบของการนอนหลับที่จะเกิดกับผู้ป่วยรายอื่นด้วย โดยการปิดโทรศัพท์มือถือหรือเปลี่ยนเป็นโหมดเงียบในช่วงตอนเย็น เมื่อต้องการฟังเพลงก็ควรจะต้องใช้หูฟังแทน พยายามหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่เปล่งแสงในตอนกลางคืน เช่น แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือ หากคุณอยู่ในห้องผู้ป่วยรวม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Getting sleep in the hospital. https://www.health.harvard.edu/blog/getting-sleep-in-the-hospital-2019123118571. Accessed June 04, 2020

How to Sleep Better in the Hospital. https://www.healthcentral.com/slideshow/how-to-sleep-better-in-the-hospital. Accessed June 04, 2020

How to Get Better Sleep in the Hospital. https://www.verywellhealth.com/how-to-get-better-sleep-in-the-hospital-3156868. Accessed June 04, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนร่วมงาน เจ็บป่วยเรื้อรัง ควรปฏิบัติตัวอย่างไรดี

วิธีที่จะช่วยให้ ผู้ป่วย โรคกลัวการเข้าสังคม เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 18/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา