backup og meta

โรคไข้หวัดนก ทำไมเกิดในคน กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/03/2023

    โรคไข้หวัดนก ทำไมเกิดในคน กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

    โรคไข้หวัดนก (Bird Flu) จัดเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่แพร่ระบาดในกลุ่มสัตว์ปีก และสามารถคุกคามมนุษย์ได้ในหลายกรณี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไข้หวัดนกเกิดการระบาดไปทั่วโลก และเป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก ทำไมโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในคน และมีข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่ควรรู้เกี่ยวกับไข้หวัดนก

    โรคไข้หวัดนก คืออะไร

    ไข้หวัดนก มีอยู่หลายสายพันธุ์ และถือเป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง ถึงแม้ว่าสายพันธุ์ส่วนใหญ่จะไม่มีผลต่อมนุษย์ แต่ก็มีไข้หวัดนกอยู่ 2 สายพันธุ์ ที่สามารถสร้างปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ ซึ่งนั่นก็คือ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 และ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9

    นอกจากนี้ ยังมีไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ๆ อีก เช่น ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N7 และไข้หวัดนกสายพันธุ์ H9N2 หรือที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ อย่างสายพันธุ์ H6N1 H10N8 และ H5N6 แม้มนุษย์จะสามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพหรือนำไปสู่การเสียชีวิตแต่อย่างใด

    สาเหตุของการติดเชื้อ ไข้หวัดนก

    ไข้หวัดนก มักจะแพร่ระบาดในกลุ่มสัตว์ปีกทุกชนิด ได้แก่ ไก่ เป็ด และนกป่า มนุษย์ที่สัมผัสกับนกที่ติดเชื้อ มีโอกาสสูงที่จะได้รับเชื้ออันตรายนี้ การสัมผัสที่กล่าวถึงนี้ ประกอบด้วยการสัมผัสกับตัวนกที่ติดเชื้อ การสูดดมมูล หรือสารคัดหลั่งของนก รวมถึงการนำนกหรือไก่ที่ติดเชื้อมาปรุงเป็นอาหาร เป็นต้น

    อาการของไข้หวัดนก

    อาการของ ไข้หวัดนก มักมีความคล้ายคลึงกับอาการไข้หวัดทั่วไป เช่น

    และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น

    ผู้ป่วยจากการติดเชื้อ ไข้หวัดนก จะแสดงสัญญาณและอาการเหล่านี้หลังการติดเชื้อ 3-5 วัน ในบางครั้ง ระยะฟักตัวอาจกินเวลานานได้ถึง 7 วันเลยทีเดียว เมื่อผู้ป่วยแสดงอาการเหล่านี้ ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาได้ เช่น ปอดบวม อวัยวะภายในล้มเหลว ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาอย่างรุนแรง

    การรักษา โรคไข้หวัดนก

    หากท่านใดสงสัยว่าตนเองป่วยเป็น ไข้หวัดนก โปรดทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    • แยกตนเองออกจากคนที่มีสุขภาพดีด้วยการหยุดอยู่กับบ้าน หรือทางที่ดีที่สุดก็คือ ไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาจากมืออาชีพ
    • รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
    • ดื่มน้ำเยอะๆ
    • วางแผนการรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ

    ยาที่ผู้ป่วยต้องรับประทาน คือ ยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสขยายตัวและแพร่กระจายไปยังทั่วร่างกายได้ส่วนผู้ที่สัมผัสกับคนที่ติดเชื้อ ก็ต้องใช้ยาต้านไวรัสเหล่านี้กันไว้ก่อนเช่นกัน

    ส่วนในกรณีที่การรักษามีความซับซ้อน เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น ปอดบวม ผู้ป่วยก็ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะที่ช่วยจัดการแบคทีเรีย รวมถึงต้องใส่หน้ากากให้ออกซิเจน เพื่อช่วยการหายใจ

    การป้องกันโรคไข้หวัดนก

    • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ซึ่งมีสัตว์ปีกเยอะๆ เช่น ตลาดขายไก่หรือฟาร์มสัตว์ปีก
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัส แตะต้องสัตว์ปีก เช่นเดียวกับมูลและสารคัดหลั่งของพวกมัน
    • หลีกเลี่ยงการทานไก่หรือไข่ดิบ หรือไก่กับไข่ที่ยังปรุงไม่สุก
    • ล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา