backup og meta

วิจัยใหม่เผย การดื่ม ช็อกโกแลตร้อนโฮมเมด อาจช่วยบำรุงสมองให้ดีขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/01/2021

    วิจัยใหม่เผย การดื่ม ช็อกโกแลตร้อนโฮมเมด อาจช่วยบำรุงสมองให้ดีขึ้น

    แน่นอนว่าช็อกโกแลตเป็นผลผลิตจากโกโก้ที่ ผู้ผลิตได้นำมาแปรรูปไม่ว่าจะมาในรูปแบบขนมหวาน หรือเครื่องดื่ม และย่อมเป็นของว่างที่ใครหลายคนชื่นชอบ ซึ่งรวมถึง ช็อกโกแลตร้อนโฮมเมด นี้ด้วย ที่ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับประโยชน์ และผลงานวิจัยล่าสุดที่ออกมาเผยถึงข้อดีว่าอาจมีส่วนช่วยในการบำรุงสมองได้

    ผลวิจัยเผย การดื่ม ช็อกโกแลตร้อนโฮมเมด อาจช่วยบำรุงสมอง

    จากการศึกษาหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham) ซึ่งพวกเขานั้นได้พบว่าฟลาวานอล (Flavanols) ที่เป็นสารประกอบต้านอนุมูลอิสระในโกโก้อาจเชื่อมโยงต่อการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    โดยทำการเริ่มวิจัยศึกษากับเพศชายจำนวน 18 คน โดยมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 18-40 ปี ซึ่งแต่ละคนนั้นได้รับการเพิ่มปฏิกิริยาบางอย่างเข้าไปเพื่อทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่กระแสเลือดมากกว่า 100 เท่าเมื่อเทียบกับการได้รับในอากาศตามปกติ และจึงให้พวกเขาดื่มโกโก้ประมาณ 8.5 กรัม ภายในน้ำ 300 มิลลิลิตร

    ซึ่งผลการทดสอบดังกล่าวนี้ทำให้ทีมนักวิจัยได้พบว่าผู้ที่ดื่มโกโก้มีผลต่อการตอบสนองต่อระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี สามารถเพิ่มระดับออกซิเจน เพื่อไปหล่อเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ทำให้การทำงานของสมองด้านการรับรู้การเข้าใจถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วถึง 11%

    ประโยชน์ทางสุขภาพของ ช็อกโกแลต

    นอกจาการรับประทานโกโก้ หรือ ช็อกโกแลต จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของสมองแล้ว ยังอาจสามารถเพิ่มคุณประโยชน์ที่ดีแก่สุขภาพร่างกายของคุณทางด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนี้

    ปรับปรุงอารมณ์จากโรคซึมเศร้า

    เนื่องจากโกโก้มีสารประกอบของทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายเรานั้นไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ ซึ่งสารนี้อาจเข้าไปช่วยทำให้จิตใจ และอารมณ์ของเรานั้นสงบมากขึ้น พร้อมช่วยให้คุณผ่อนคลายจากความเครียด และนอนหลับได้ง่ายอย่างเต็มที่

    • ควบคุมน้ำหนัก

    ถึงจะเป็นเรื่องที่น่าตกใจอยู่ไม่ใช่น้อย แต่การรับประทานโกโก้ หรือช็อกโกแลตอาจช่วยให้คุณนั้นลดน้ำหนักได้ ซึ่งจากการศึกษาหนึ่งของผู้ที่ร่วมทำการทดสอบนั้น พบว่ากลุ่มที่รับประทานโกโก้ในปริมาณ 105 ออนซ์ต่อวัน สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารปกติ แต่ถึงอย่างไรในการรับประทานโกโก้เพื่อลดน้ำหนักหนักอาจต้องทำการศึกษา พร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้รอบคอบเสียก่อน มิเช่นนั้นร่างกายคุณอาจได้รับโทษกว่าได้ประโยชน์อย่างแน่นอน

    ป้องกันโรคมะเร็ง

    โกโก้ คือผลที่มีสารประกอบของฟลาวานอล (Flavanols) ความเข้มข้นค่อนข้างสูง และอาจมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ผลเซลล์มีความคล้ายคลึงกับคนนั้นพบว่า โกโก้มักให้ผลเชิงบวกแก่การลดอัตราการการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งในลำไส้ได้ ถึงอย่างไรทีมวิจัยยังคงจำเป็นที่ต้องทำการพิสูจน์กับมนุษย์ เพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไปในการนำโกโก้มาช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    • พัฒนาการเจริญเติบโตแก่ทารกในครรภ์

    สำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ที่รับประทานช็อกโกแลตในปริมาณ 30 กรัม หรือ 1 ออนซ์ ต่อวันเป็นประจำ อาจส่งผลให้ทารกนั้นได้รับสารอาหารสำคัญ และสามารถก่อให้เกิดการเจริญเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ ตามผลการศึกษาของสมาคมเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ แห่งแอตแลตา ในรัฐจอร์เจีย เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่นำมาเข้าร่วมประชุมในครั้งหนึ่งได้ระบุไว้

    ข้อควรระวังในการรับประทาน ช็อกโกแลตร้อนโฮมเมด

    ผลเสียของช็อกโกแลตที่คุณอาจได้รับ มักมีไม่แพ้กับคุณประโยชน์ข้างต้นเลยก็ว่าได้ หากคุณมีการรับประทานที่มากเกินไป และไม่ได้ทำการศึกษาให้ครบถ้วน เพราะบางผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโกโก้ หรือช็อกโกแลตแปรรูปมักประกอบด้วยน้ำตาลที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้คุณสามารถมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้

    รวมถึงช็อกโกแลตยังประกอบไปด้วย ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) สารไทรามีน (Tyramine) ฮิสทามีน (Histamine) ที่อาจทำให้คุณเกิดอาการไมเกรน และปวดศีรษะขึ้นได้ ซึ่งก่อนการรับประทานไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม คุณควรศึกษาถึงประโยชน์ และโทษของอาหารให้ดีเสียก่อน หรืออาจขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เบื้องต้นร่วม เพื่อความปลอดภัยทั้งทางด้านสุขภาพตั้งแต่ภายในสู่ภายนอกของคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา