backup og meta

ไม่ใส่ถุงยางมีโอกาสท้องไหม และวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ท้อง

ไม่ใส่ถุงยางมีโอกาสท้องไหม และวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้ท้อง

หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่ใส่ถุงยางมีโอกาสท้องไหม อาจเป็นไปได้ว่าท้องและไม่ท้อง แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรหรือไม่พร้อมตั้งครรภ์ ควรคำถึงความปลอดภัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัยและการใช้ยาคุมกำเนิดให้ถูกวิธี เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

[embed-health-tool-ovulation]

ไม่ใส่ถุงยางมีโอกาสท้องไหม

การไม่ใส่ถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจมีโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหลั่งในเข้าสู่ช่องคลอดเมื่อถึงจุดสุดยอด นอกจากนี้การหลั่งนอกก็ยังอาจทำให้มีโอกาสการตั้งครรภ์ เพราะอสุจิอาจเล็ดลอดออกมาพร้อมกับน้ำหล่อลื่นของผู้ชายและเข้าสู่ช่องคลอดของผู้หญิง ตั้งแต่ก่อนช่วงหลั่งจริงๆ เพราะฉะนั้นการหลั่งข้างนอกในทางปฏิบัติ ถึงมีโอกาสตั้งครรภ์สูงได้ถึง 20% และถึงแม้ว่าจะรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินหรือยาคุมรายเดือน หากรับประทานผิดวิธี เช่น ไม่รับประทานยาในช่วงเวลาที่กำหนด ลืมรับประทานยาคุม ลืมกินยาคุม 1-3 วัน ก็อาจเสี่ยงทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นวิธีที่ช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรและไม่พร้อมตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกที่สุด อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคหูดหงอนไก่ โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียมได้อีกด้วย

คำแนะนำในการคุมกำเนิด

คำแนะนำในการคุมกำเนิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ อาจมีดังต่อไปนี้

  • การใช้ยาคุม เช่น ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน การฝังยาคุม การใส่ห่วงคุมกำเนิด การแปะแผ่นคุมกำเนิด ที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเมือกบริเวณปากมดลูกให้หนาขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก
  • ควรรับประทานยาคุมให้ตรงเวลา สำหรับยาคุมในรูปแบบอื่น ๆ ควรถอดเปลี่ยนตามวันและเวลาที่คุณหมอกำหนด เพื่อให้การคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับยาบางชนิด เช่น ยารักษาต้านไวรัสเอชไอวี ยารักษาโรคลมชัก ยาสมุนไพร เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง และควรแจ้งให้คุณหมอทราบหากรับประทานยารักษาโรคประจำตัว รวมถึงวิตามิน สมุนไพรต่าง ๆ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมอย่างถูกวิธี
  • ผู้ชายควรเลือกถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์ไม่ควรเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพื่อป้องกันถุงยางแตก ถุงยางหลุด ที่ทำให้ถุงยางและอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดผู้หญิง และควรใช้ถุงยางอย่างถูกวิธีโดยนำออกจากบรรจุภัณฑ์อย่างระวังและสวมครอบองคชาตเมื่อแข็งตัวให้ชิดติดกับโคนองคชาตมากที่สุด สำหรับถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงจะมีลักษณะเป็นด้านเปิดสำหรับใส่องคชาติผู้ชายและอีกด้านเป็นด้านปิดเพื่อป้องกันอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด โดยนำส่วนปิดสอดเข้าไปในช่องคลอดที่ให้อีดด้านหนึ่งอยู่ด้านนอกบริเวณปากช่องคลอด
  • นับวันตกไข่ ซึ่งอาจใช้ได้ผลกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอทุกเดือน โดยจะนับในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา ยกตัวอย่าง ผู้หญิงที่มีรอบเดือน 28 วัน วันไข่ตกจะอยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน (นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน) เมื่อนับวันไข่ตกได้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันไข่ตกประมาณ 2-3 วัน เพื่อป้องกันอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ที่ก่อให้เกิดการปฏิสนธิและฝังตัวในผนังมดลูกจนก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามแม้ใช้วิธีการคุมกำเนิด แบบนับวัน นี้ก็ยังสามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 4-14%

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

withdrawal method. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/withdrawal-method/about/pac-20395283.Accessed January 15, 2023  

Pull Out Method (Withdrawal). https://www.webmd.com/sex/birth-control/pull-out-withdrawal.Accessed January 15, 2023 

What You Can Do to Prevent Pregnancy. https://www.webmd.com/sex/birth-control/easy-ways-prevent-pregnancy.Accessed January 15, 2023  

Contraception. https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/index.htm.Accessed January 15, 2023  

How effective is contraception at preventing pregnancy?. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/how-effective-contraception/.Accessed January 15, 2023 

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2024

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคุมผู้ชาย ตัวเลือกของการคุมกำเนิดในอนาคต

ทำหมัน วิธีคุมกำเนิดแบบถาวรสำหรับชายและหญิง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/07/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา