ผิวหนังของคนเราทำหน้าที่เหมือนหน้าต่างสะท้อนสุขภาพโดยรวมที่อาจมีโรคแฝงอยู่ภายในและแสดงออกผ่านการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง อาการคันที่ผิวหนังนั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงโรคที่เกิดขึ้นภายในเช่น โรคตับ แท้จริงแล้ว โรคตับและอาการคัน เป็นสัญญาณแรกของโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
โรคตับและอาการคัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร
กายวิภาคตับและทางเดินน้ำดีเกิดจากระบบน้ำดีและตับ อาการคันเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและสร้างความรำคาญมากที่สุดของโรคที่เกี่ยวกับตับและทางเดินน้ำดี อาการอาจเกิดขึ้นชั่วคราวและไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงและเรื้อรัง สาเหตุของอาการคันทั่วไปจากโรคตับยังไม่ทราบแน่ชัด นอกจากความเกี่ยวข้องที่ชัดเจนของอาการกับการอุดตันของทางเดินน้ำดี
อาการคันจากโรคตับเกิดจากภาวะการคั่งของน้ำดี ซึ่งระดับน้ำดีเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดเนื่องจากการอุดตันของทางเดินน้ำดี เซลล์ตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดี และน้ำดีไหลผ่านท่อส่งน้ำดีผ่านตับอ่อนและเข้าสู่ลำไส้เล็กทั้งหมด น้ำดีช่วยตับกำจัดของเสียและช่วยลำไส้ใหญ่ในการดูดซึมไขมันดี
ตับทำให้สารพิษเป็นกลางและกรองเกลือในน้ำดี หากการทำงานนี้เกิดความผิดปกติ จะเกิดการสะสมของเกลือน้ำดี กรดน้ำดี และบิลรูบิน การสะสมของสารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและคันที่ผิวหนัง งานวิจัยยังเผยเพิ่มเติมถึงความเข้าใจของสารเคมีบางชนิดที่เป็นสาเหตุของอาการคันจากโรคตับ ซึ่งนำไปสู่วิธีการรักษาวิธีใหม่ในที่สุด
ลักษณะของอาการคันที่ผิวหนังในโรคตับ
อาการคันทั่วไปที่เกิดขึ้นทั่วร่างกายจากโรคตับอาจเกิดขึ้นก่อนสัญญาณหรืออาการของภาวะคั่งของน้ำดีในตับ อาการคันของภาวะที่เกิดขึ้นมีลักษณะหลายประการ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการรุนแรงบริเวณลำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาการจะรุนแรงช่วงเย็นและกลางคืน จึงส่งผลต่อการนอนหลับ อีกช่วงเวลาที่อาการจะรุนแรงมากขึ้นคือช่วงที่มีประจำเดือน หรือการรักษาทดแทนฮอร์โมน การตั้งครรภ์ช่วงแรก การสัมผัสขนสัตว์และความร้อน เช่น การอาบน้ำร้อน
อาการไม่ทุเลาลงโดยการเกาและมักจะไม่เกิดรอยโรคนอกจากรอยเกา ในบางครั้งรอยโรคเช่น ผื่นแดงหรือตุ่มนูนอาจเกิดขึ้นที่ผิวและมักเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นอาการทางผิวหนังเบื้องต้น
การจัดการกับอาการคันที่ผิวหนังเนื่องจากโรคตับ
อาการคันอันเนื่องมาจากโรคตับนั้นจะดีขึ้นเป็นส่วนใหญ่หลังจากการรักษาการอุดกั้นการไหลเวียนของน้ำดี หากทำการรักษาสาเหตุที่แฝงอยู่ไม่ได้ การใช้ยาต่างๆ เช่น ยา คลอเลสทีรามีน (Cholestyramine) และ ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) สามารถบรรเทาอาการคันได้ ยาคลอเลสทีรามีนนั้นออกฤทธิ์โดยการผสานเกลือน้ำดีในลำไส้ใหญ่เพื่อขับออกแทนที่จะดูดซึมกลับเข้าไปสู่กระแสเลือด ส่วนยาไรแฟมพิซิน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะ กระตุ้นการเผาผลาญของน้ำดีในตับและสารเคมีอื่นๆ
อาการคันที่เกิดขึ้นจากโรคตับมักต่อต้านการรักษา ส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยการรบกวนการนอนหลับ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคล อีกทั้งยังนำไปสู่ความพยายามในการฆ่าตัวตายในกรณีที่เป็นรุนแรงมาก ในบางกรณี อาการคันที่หายยากในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังสามารถบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการปลูกถ่ายตับแม้ว่ายังไม่ถึงขั้นตับวายก็ตาม
[embed-health-tool-bmr]