backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หัวใจโต (Cardiomegaly)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

หัวใจโต (Cardiomegaly)

หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ

คำจำกัดความ

หัวใจโต (Cardiomegaly) คืออะไร

หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหัวใจโตจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้ยารักษาตลอดชีวิต

หัวใจโต พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะหัวใจโต สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

อาการ

อาการของ ภาวะหัวใจโต

ในระยะเริ่มต้นของ ภาวะหัวใจโต อาจไม่มีอาการแสดงปรากฏ หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จนอาการอยู่ในระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง จะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะหัวใจโต

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ ภาวะหัวใจโต อาจเกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหัวใจโต

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย ภาวะหัวใจโต

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และทดสอบวินิจฉัย เพื่อระบุความแน่ชัดของโรค ดังนี้

  • การตรวจเลือด เพื่อทดสอบดูความผิดปกติของความดันโลหิตและหัวใจ
  • การเอกซเรย์ แพทย์อาจเอ็กซ์เรย์บริเวณทรวงอกเพื่อดูความผิดปกติของหัวใจและปอด
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การทดสอบเพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจชิ้นเนื้อหัวใจ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในขาหนีบผ่านเส้นเลือดไปยังหัวใจ เพื่อเก็บเนื้อเยื่อหัวใจมาวิเคราะห์

การรักษาภาวะหัวใจโต

วิธีการรักษาภาวะหัวใจนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการความรุนแรงของผุ้ป่วย โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยยา แพทย์อาจแนะนำยา เพื่อรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและความดันโลหิตสูง และยาขับปัสสาวะที่อาจใช้เพื่อลดความดันในหลอดเลือดแดง
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ หากใช้ยารักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจติดตั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การผ่าตัด ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจทำการผ่าตัดโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ เช่น การผ่าตัดลิ้นหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ และการปลูกถ่ายหัวใจ เป็นต้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะหัวใจโต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะหัวใจโต มีดังนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา