ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากปัญหาสุขภาพหัวใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว คอเลสเตอรอลสูง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ยังมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกมาก ที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพของหัวใจที่แข็งแรง เรียนรู้เกี่ยวกับ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อการดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

สำรวจ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)

เวลาที่ไปตรวจร่างกาย หลายคนอาจเคยเห็นแพทย์นำอุปกรณ์หูฟังทางการแพทย์มาลองฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติที่แพทย์อาจพบคืออาการ เสียงฟู่ของหัวใจ สภาวะนี้เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้ คำจำกัดความ เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur) เป็นเสียงที่เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ คล้ายกับเสียงเป่าลม ซึ่งเกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของการไหลของเลือดในหัวใจ หรือบริเวณใกล้เคียง เสียงชนิดนี้สามารถใช้หูฟังของแพทย์ โดยจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติจะมีสองเสียง เช่น ตุบๆ (lubb-dupp) (บางครั้งเรียกว่า “lub-DUP”) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นขณะลิ้นหัวใจปิด ภาวะเสียงฟู่ของหัวใจอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในเวลาต่อมาเมื่อโตขึ้น ภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เสียงฟู่นี้อาจชี้ให้เห็นปัญหาของหัวใจที่ซ่อนอยู่ เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด เสียงฟู่ของหัวใจที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายแต่อย่างใด เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดกับเด็กๆ ร้อยละ 40-45 และผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 ในบางครั้งของช่วงชีวิต เสียงฟู่ที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายนี้พบได้บ่อยมากกว่าในผู้หญิงในระหว่างการตั้งครรภ์ เสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) และโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (mitral regurgitation) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของเสียงฟู่ของหัวใจ หากคุณมีอาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) มีแนวโน้มว่าคุณจะไม่มีสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นใด อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบผิดปกติอาจไม่ก่อให้เกิดสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นๆ อย่างชัดเจน นอกเหนือจากเสียงผิดปกติที่แพทย์จะได้ยิน เมื่อฟังเสียงหัวใจผ่านหูฟัง แต่ถ้าคุณมีสัญญาณแสดงหรืออาการเหล่านี้ อาจชี้ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่่ยวกับหัวใจ ผิวหนังกลายเป็นสีเขียว โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ความรู้พื้นฐานของอาการ ใจสั่น (Heart Palpitations) ที่คุณควรรู้

ใจสั่น (Heart Palpitations) ไม่ใช่เรื่องที่ควรประมาท ถึงแม้ว่าจะมีอาการในระดับเบาก็ตาม เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้สุขภาพหัวใจของคุณนั้นแย่ลง โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวข้องกับหัวใจอยู่แต่เดิม วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เอาไว้เบื้องต้นถึงอาการ สาเหตุ การรักษา มาฝากใฟ้ทุกคนได้ทราบเอาไว้ เพื่อรับมือเมื่ออาการใจสั่นถามหา คำจำกัดความใจสั่น (Heart Palpitations) คืออะไร ใจสั่น (Heart Palpitations) คือ ความรู้สึกที่หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที สามารถรับรู้อาการเหล่านี้ได้ที่ลำคอ หรือภายในช่องคอได้เช่นกัน อาการใจสั่นอาจจะดูน่าตกใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นอันตราย และไม่ใช่สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรง อาการ ใจสั่น พบได้บ่อยเพียงใด อาการใจสั่นนั้น เป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และยังอาจที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย อาการอาการของ ใจสั่น อาการใจสั่นประกอบไปด้วย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นถี่ หัวใจเต้นเร็วเกินไป หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ผู้ที่เกิดอาการใจสั่นสามารถรับรู้ได้ในช่องคอหรือลำคอ เช่นเดียวกับบริเวณหน้าอก อาการใจสั่นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งตอนที่ทำกิจกรรม และระหว่างพักผ่อน รวมถึงเกิดขึ้นได้ในยามที่ยืน นั่ง และนอน หากคุณมีบางอาการที่ไม่มีอยู่ในอาการข้างต้นเหล่านี้ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอเพื่อรับคำแนะนำ หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจไม่สะดวก วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก เป็นลม สาเหตุสาเหตุของอาการใจสั่น ส่วนใหญ่แล้วอาการใจสั่น มีทั้งชนิดที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพหัวใจ และชนิดที่เกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพหัวใจ เกิดอารมณ์ความรู้สึกรุนแรง เช่น […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เวียนหัวเมื่อลุกยืน คุณอาจมีภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้

คุณเคยรู้สึกเวียนหัวเมื่อเปลี่ยนท่าจากการนั่งหรือนอนเป็นยืนขึ้น บ้างหรือเปล่า? เพราะถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะจะสามารถค่อย ๆ หายไปได้เองเพียงไม่กี่วินาที หรือสองสามนาทีเท่านั้น แต่บางกรณีที่คุณมีอาการวิงเวียนอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจคาดการณ์ได้เช่นกันว่าคุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า คืออะไร ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (Orthostatic or postural hypotension) หรือ ความดันตกขณะเปลี่ยนท่า เป็นความดันโลหิตต่ำในรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง จากการนั่ง นอนเป็นยืนขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการที่ชัดเจนมากที่สุดคือ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ จนนำไปสู่เป็นลมหมดสติ และเกิดโรคแทรกซ้อนบางอย่างร่วม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ส่วนใหญ่ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่ามักมีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ดี หากคุณมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาต่าง ๆ ที่ร้ายแรงได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวขึ้นโปรดพบคุณหมอทันที แม้จะเป็นแค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม สาเหตุที่ของ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า มีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า ได้แก่ ภาวะเกี่ยวกับหัวใจ ความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ใครเสี่ยงที่จะเกิดอาการนี้ ช่วงวัยอายุมากกว่า 65 ปี ตัวเลขทางสถิติเผยว่า ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนพบได้ทั่วไป ในผู้ที่มีอายุ 65 ปี หรือสูงกว่า เนื่องจากความสามารถของเซลล์ชนิดพิเศษใกล้หลอดเลือดหัวใจ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือปวดเค้นหัวใจ (Angina)

คำจำกัดความเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด คืออะไร เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออาการแน่นหน้าอก หรืออาการปวดเค้นหัวใจ (Angina) มักเกิดจากการขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ เพราะมีการตีบตันหรือการอุดตันของหลอดเลือด โดยปกติ เลือดจะลำเลียงออกซิเจนไปสู่หัวใจ แต่หากมีเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจน้อยเท่าใด ออกซิเจนที่ลำเลียงไปยังหัวใจเพื่อสูบฉีดโลหิตก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเสมอไป หากมีอาการเจ็บหน้าอก ควรปรึกษาแพทย์ทันที อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดพบบ่อยเพียงใด ทุกคนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วมีโอกาสมากขึ้นในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร สัญญาณของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ มีอาการเจ็บหรือแน่นในหน้าอก มีอาการปวดที่แขน คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือหลัง ร่วมกับเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยหอบ มีเหงื่อออก อาการอาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ดังนี้ อาการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ หัวใจขาดเลือดที่มีอาการคงที่ เป็นอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกที่มักเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือความเครียด อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกมักเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมเดิมๆ ในเวลาเดิมๆ โดยอาการมักหายไปในเวลา 2-3 นาที หลังจากหยุดกิจกรรมนั้นๆ หรือรับประทานยา อาการเจ็บหน้าอกแบบไม่คงที่ หมายถึงลักษณะอาการเจ็บหน้าอกเปลี่ยนแปลงไป มักเกิดขึ้นตอนกลางคืนระหว่างนอนหลับ และอาจเกิดขึ้นได้บ่อยและรุนแรงมากกว่าการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งใช้ต้องออกแรงมาก หรือเกิดขึ้นแม้ขณะหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกแบบผันแปร เป็นกรณีที่พบได้น้อย เกิดจากการหดเกร็งในหลอดเลือดหัวใจ มักเกิดขึ้นในขณะพักผ่อนและมีอาการเจ็บแบบรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีอาการตอนกลางคืนและตอนเช้าตรู่ โดยสามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณใดๆ ของอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ควรปรึกษาแพทย์ทันที อาการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ส่วนอาการเจ็บหน้าอกแบบไม่คงถือว่าเป็นอันตรายมาก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เช็คหน่อย! คุณรู้จัก "อัตราการเต้นของหัวใจ" ตัวเองดีพอหรือยัง?

อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) คือ ค่าตัวเลขที่บอกอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที โดยสามารถวัดได้ด้วยการจับชีพจร ถึงแม้อัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จักการทำงานของร่างกายในส่วนนี้ดีพอ หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ และ Hello คุณหมอ มีรายละเอียดที่คุณควรรู้ในเรื่องนี้มาให้แล้ว วิธีตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจร (Pulse) คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคุณสามารถตรวจวัดเบื้องต้นเองได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ จับชีพจร โดยเราสามารถจับชีพจร ได้ในบริเวณต่อไปนี้ จับชีพจรบริเวณข้อมือ หงายฝ่ามือขึ้น ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสัมผัสข้อมือ โดยชีพจรจะอยู่ใต้นิ้วโป้งบริเวณข้อมือ จับชีพจรบริเวณคอ กดข้างลำคอบริเวณใต้กรามเบาๆ จับเวลาและนับจำนวน เมื่อเจอชีพจรแล้ว ให้จับเวลา 1 นาทีและนับว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง ก็จะทราบจำนวนอัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที อัตราการเต้นของหัวใจปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที หากอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) แต่หากอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีจะหมายถึง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (tachycardia) ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อนที่ดีที่สุด ควรอยู่ที่ 50-70 ครั้งต่อนาที และการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ก็ชี้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่า 76 ครั้งต่อนาทีในช่วงขณะหยุดพัก อาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีสุขภาพดี มีอัตราการเต้นของหัวใจในขณะหยุดพักยิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งดี […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the Great Arteries)

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน  คำจำกัดความเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว คืออะไร เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน  การสลับขั้วของเส้นเลือดหัวใจหลัก เปลี่ยนทางไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือดที่ไหลจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนมากพอ ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง หรือเสียชีวิตโดยไม่ได้รับการรักษา เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบก่อนคลอด หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงแรกจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากทารกมีชีวิต เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วถือเป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ที่เกิดขึ้นทั่วไปมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 และทำให้เกิดปัญหาในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดขึ้นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดทั้งหมด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว อาการทั่วไปของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ได้แก่ ผิวเขียวคล้ำ หายใจถี่ เบื่ออาหาร อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบทันทีที่ทารกเกิด หรือระหว่างสัปดาห์แรกของการมีชีวิต หากสัญญาณหรืออาการไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล โทรศัพท์หาแผนกฉุกเฉิน หากคุณสังเกตว่าทารกมีผิวเขียวคล้ำ โดยเฉพาะที่ใบหน้าและลำตัว สาเหตุสาเหตุของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว เซลล์จะพัฒนาเป็นหัวใจระหว่าง 8 สัปดาห์แรกในช่วงพัฒนาการของทารก ปัญหาจะเกิดขึ้นในช่วงกึ่งกลางของเวลานี้ ทำให้เส้นเลือดเอออร์ตา (Aorta artery) และเส้นเลือดพัลโมนารี (Pulmonary artery) ติดกับห้องหัวใจผิดห้อง ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด อาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ที่ทำให้บางครอบครัวมีปัญหาหัวใจมากกว่าครอบครัวอื่น ส่วนมากแล้วความผิดปกติของหัวใจชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดของการเกิดขึ้น ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว เช่น มารดามีประวัติป่วยเป็นหัดเยอรมัน […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ตัวช่วยใหม่ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก

เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ใช้สำหรับสังเกตสุขภาพของหัวใจ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “เส้นเลือดในสมองแตก” คือ ภาวะฉุกเฉินที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้คุณจะรอดชีวิตจากภาวะนี้ได้แล้ว แต่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงก็สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของคุณได้ ดังนั้น การค้นหาวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทาง Hello คุณหมอ จึงนำเรื่องนี้มาฝากกัน เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาคืออะไร เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา หรือ เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษ ที่ใช้เพื่อบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณ โดยการแปะแผ่นวัด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไว้ที่ผิวหนังบริเวณหัวใจ แผ่นนี้จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพาที่มีน้ำหนักเบา กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลานอนค้างที่โรงพยาบาล เมื่อต้องตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อติดเครื่องบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพา คุณสามารถทำกิจกรรมทั่วไป หรือทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวแขนมาก ๆ หรือทำให้เครื่องและแผ่นวัดเปียก เช่น การอาบน้ำ การว่ายน้ำ เครื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติเป็นประจำ ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวิเคราะห์ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ของคุณได้ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติ อาจกระตุ้นให้หลอดเลือดหัวใจแตกได้ ข้อมูลของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ขดลวดตาข่าย รักษาโรคหัวใจ กับสิ่งที่คุณควรรู้

สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือหากคุณมีคนใกล้ตัวที่เป็นโรคหัวใจ อาจจะมีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคหัวใจอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หลายๆ คนอาจจะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของ ขดลวดตาข่าย ที่ใช้เพื่อ รักษาโรคหัวใจ ว่าเป็นอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักเกี่ยวกับการใช้ขดลวดตาข่ายรักษาโรคหัวใจ ทั้งเรื่องของวิธีการ การเตรียมพร้อม และประโยชน์ที่คุณจะได้รับ ขดลวดตาข่าย สำหรับ รักษาโรคหัวใจ คืออะไร หมอจะเสียบท่อขนาดเล็กลงไปในหลอดเลือดที่ปิดอยู่ เพื่อให้มันเปิดออก ท่อนั้นเรียกว่าขดลวดตาข่าย (stent) หน้าที่หลักของขดลวดคือ การรักษาระดับการไหลเวียนของเลือด หรือการไหลเวียนของของเหลว ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของขดลวด ขดลวดตาข่าย ทำมาจากตาข่ายเหล็ก พลาสติก หรือบางครั้งทำจากเส้นใยชนิดพิเศษสำหรับหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ และพบเห็นได้บ่อยสำหรับการรักษาหลอดเลือดแดงตีบ นอกจากการป้องกันเส้นเลือดแตก ขดลวดตาข่ายยังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ขดลวดตาข่ายบางชนิดจะเคลือบยาเอาไว้ เป้าหมายของมันคือการป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดไม่ให้เกิดขึ้นอีก ทำไมขดลวดตาข่ายถึงมีประโยชน์ ขดลวดตาข่ายจะมีความสำคัญอย่างมาก หากมีการอุดตันในหลอดเลือดจากคราบพลัค (plague) ซึ่งก็คือคอเลสเตอรอลที่ผสมกับสารอื่นๆ ซึ่งเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ขดลวดตาข่ายสามารถนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดอุดตัน การใส่หลอดสวนเข้าไปยังบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน หมอจะสามารถทำการขยายหลอดเลือดบอลลูน (balloon angioplasty) เพื่อกำจัดสิ่งอุดตัน ขดลวดตาข่ายจะถูกนำไปใส่ในหลอดเลือดแดงภายหลัง เส้นเลือดจะสามารถเปิดได้อีกครั้ง ขดลวดตาข่ายมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ขยายเส้นเลือดแดง ลดอาการต่างๆ เช่น อาการเจ็บหน้าอก และช่วยจัดการกับโรคหัวใจวาย ขดลวดตาข่ายที่นำมาใช้กับอาการเหล่านี้ เรียกอีกอย่างว่าขดลวดหัวใจ ขดลวดตาข่ายยังถูกเอามาใช้กับอาการหลอดเลือดโป่งพองในสมองด้วย นอกเหนือจากหลอดเลือด ขดลวดตาข่าย ยังสามารถนำไปใช้เพื่อเปิดท่อที่ถูกปิดกั้นคล้ายๆ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ ไม่ได้ห้าม แค่ต้องระวัง

กิจกรรมทางเพศถือเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหัวใจมักสงสัยว่า เซ็กส์ ส่งผลกระทบอะไรกับโรคหัวใจของพวกเขาหรือไม่ ข้อมูลอ้างอิงจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่า การมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นเรื่องปลอดภัย อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่บางคนอาจพบว่าเป็นเรื่องยากในการมีความสุขกับการมีเพศสัมพันธ์ มาลองดูกันว่า เซ็กส์ กับคนเป็น โรคหัวใจ มีอะไรต้องรู้และต้องระวังบ้าง การมีเซ็กส์ถือเป็นการออกกำลังกายหรือไม่ คำตอบคือใช่ เมื่อคุณมีเซ็กส์ก็เหมือนคุณกำลังออกกำลังกายระดับเบาจนถึงระดับปกติ ดังนั้น หากคุณสามารถเดินเร็ว ๆ ได้ คุณก็สามารถกลับไปมีเซ็กส์ได้แน่นอน หรือหากคุณสามารถเดินขึ้นบันไดได้ 2 ชั้นโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น คุณก็สามารถมีเซ็กส์ได้ตามปกติ การมีเพศสัมพันธ์แบบปกติ (ประมาณ 5-15 นาที) จะเท่ากับการเดินเป็นเวลา 20 นาที ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อระบบเผาผลาญของเราด้วย เซ็กส์ดีต่อสุขภาพหรือไม่ นี่ถือเป็นข่าวที่น่ายินดี เพราะงานวิจัยเผยว่า ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์เพียงครั้งเดียว หรือน้อยครั้งใน 1 เดือน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงมาก เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ (หรือมากกว่านั้น) ถึงแม้งานวิจัยนี้จะไม่ได้พิสูจน์ว่าเซ็กส์สามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า เซ็กส์มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพชีวิตและหัวใจของเราจริง ๆ ฉะนั้น ต่อให้คุณเป็นโรคหัวใจก็สามารถเอ็นจอยกับเซ็กส์ได้ แค่ต้องมีเซ็กส์ในแบบที่ปลอดภัยกับตัวเองมากที่สุดเท่านั้น เซ็กส์ และ โรคหัวใจ หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศเหล่านี้คือสิ่งที่คุณควรจำเอาไว้ ควรสอบถามเรื่องการประเมินร่างกายจากแพทย์ของคุณก่อนที่จะกลับไปมีเซ็กส์ หากคุณเคยหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว การฟื้นฟูสุขภาพหัวใจ หรือมีกิจกรรมทางร่างกายแบบปานกลางเป็นประจำ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ สัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่าง แอลกอฮอล์และสุขภาพหัวใจ นั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน หากคุณต้องการป้องกันโรคหัวใจ คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เป็นของที่ไม่มีประโยชน์ การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่แอลกอฮอล์นั้นมีคุณสมบัติทั้งปกป้องหัวใจและสามารถทำลายหัวใจได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้แอลกอฮอล์อย่างไร ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมข้อเท็จจริงว่า แอลกอฮอล์ มีความเชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไรบ้าง การดื่ม แอลกอฮอล์ หนักเกินไปสามารถส่งผลต่อ สุขภาพหัวใจ ได้อย่างไรบ้าง สำหรับผู้เริ่มต้น การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก (มากกว่า 2 แก้วต่อวัน) อาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณดื่มเบียร์ 6 กระป๋อง วิสกี้ 1 ขวด ไวน์ ½-1 ขวด ทุกวันเป็นเวลา 10 ปี จะส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน โรคส่วนใหญ่ที่มักพบ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดแดง ฉะนั้น แอลกอฮอล์คือสาเหตุอันดับสองของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหัวใจได้รับความเสียหาย จะไม่สามารถฟื้นฟูหัวใจได้อย่างสมบูรณ์ หากหัวใจมีภาวะลิ่มเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย (แพทย์บางท่านเรียกอาการนี้ว่า “โรคหัวใจช่วงสุดสัปดาห์” (เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักดื่มอย่างหนักในช่วงวันหยุด) หากคุณยังคงดื่มต่อไปอาจมีผลเสียตามมาอย่างร้ายแรง ผู้ที่เสพติดแอลกอฮอล์กว่าครึ่ง อาการจะพัฒนาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน