ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากปัญหาสุขภาพหัวใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว คอเลสเตอรอลสูง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ยังมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกมาก ที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพของหัวใจที่แข็งแรง เรียนรู้เกี่ยวกับ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อการดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดแข็งตัว เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมจำนวนมากตามผนังหลอดเลือด จนส่งผลให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยการก่อตัวของจุลินทรีย์นี้สามารถมาได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ระดับกลูโคส การสูบบุหรี่ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จัก การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการเตรียมตัวเข้ารับการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อรับมือให้พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกันค่ะ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแข็งตัว ส่วนใหญ่ โรคหลอดเลือดแข็งตัว มักส่งสัญญาณเตือนมาในรูปแบบอาการเจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง การสื่อสารผิดปกติ ปวดขาขณะเคลื่อนไหว และเริ่มสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นเมื่อใดที่คุณพบกับสัญญาณเตือนข้างต้นนี้ ไม่ว่าจะอาการใดอาการหนึ่ง โปรดรีบขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในทันที และตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุโรคหลอดเลือดแข็งตัว ดังนี้ จดบันทึกโรคประจำตัว อาการ ที่คุณกำลังเป็น รวมถึงยา วิตามิน ที่คุณกำลังใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคนในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด อาจต้องแจ้งให้แพทย์ทราบร่วมด้วย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มก่อนการเข้าทดสอบ นำคนรอบข้างคนใดคนหนึ่งไปด้วย เพื่อช่วยจดจำข้อมูลที่แพทย์จะแจ้งเพิ่มเติม เทคนิคการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็งตัว หลังจากที่แพทย์สอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณแล้ว คุณอาจได้รับการวินิจฉัยด้วยเทคนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ 2-3 เทคนิคร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของอาการ และสาเหตุเผยออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ตรวจเลือด แพทย์ หรือพยาบาลผู้ช่วยจะดำเนินการเจาะเลือดนำไปวิเคราะห์หาระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลว่ามีระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถส่งผลก่อให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ […]

สำรวจ ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade)

ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ คำจำกัดความภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) คืออะไร ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) เกิดจากการสะสมของน้ำภายในช่องเยื่อหุ้มหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะภายใน เกิดภาวะช็อค และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด ส่วนใหญ่ภาวะบีบรัดหัวใจจะพบในผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ การผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นต้น อาการอาการของภาวะบีบรัดหัวใจ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยภาวะบีบรัดหัวใจ มีอาการดังต่อไปนี้ มีความวิตกกังวล และความกระสับกระส่าย มีอาการอ่อนแรง อาการเจ็บบริเวณหน้าอก ส่งผลไปยังคอ ไหล่หรือหลัง มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจติดขัด หายใจเร็ว รู้สึกไม่สบายตัว แต่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า เวียนศีรษะ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ  สาเหตุของภาวะบีบรัดหัวใจ เกิดจากสาเหตุและปัจจัย ดังต่อไปนี้ การได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์หรืออุตสาหกรรม การผิดพลาดทางการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การสวนหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดโป่งพองแตก ภาวะไตวาย การติดเชื้อที่มีผลต่อหัวใจ โรคลูปัส เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มะเร็งที่แพร่ลามไปยังถุงหุ้มหัวใจ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะบีบรัดหัวใจ  ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการทดสอบเพื่อยืนยันการวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography : CT SCAN) ตรวจหาความผิดปกติการสะสมของเหลวบริเวณหน้าอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) เมื่อทดสอบการประเมินการเต้นของหัวใจ การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ตรวจดูระบบหมุนเวียนเลือดในหัวใจ การรักษาภาวะบีบรัดหัวใจ  ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการและประวัติผู้ป่วย การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาแรงกดดันบริเวณหัวใจ โดยแพทย์จะเจาะระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มหัวใจ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจโต (Cardiomegaly)

หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ คำจำกัดความหัวใจโต (Cardiomegaly) คืออะไร หัวใจโต (Cardiomegaly) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะที่ทำให้หัวใจโต หรือหนาผิดปกติ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจเกิดจากสภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีหัวใจโตจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากต้องใช้ยารักษาตลอดชีวิต หัวใจโต พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหัวใจโต สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น อาการอาการของ ภาวะหัวใจโต ในระยะเริ่มต้นของ ภาวะหัวใจโต อาจไม่มีอาการแสดงปรากฏ หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จนอาการอยู่ในระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง จะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก ไอ เวียนศีรษะ หายใจถี่ ท้องอืด อาการบวมที่ข้อเท้าและขา ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของ ภาวะหัวใจโต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ ภาวะหัวใจโต อาจเกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ และความดันโลหิตสูง รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ การติดเชื้อที่หัวใจ ลิ้นหัวใจผิดปกติ การตั้งครรภ์ที่ภาวะหัวใจโตขึ้นในระหว่างที่คลอด การฟอกไต สำหรับผู้ป่วยโรคไต การติดเชื้อเอชไอวี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหัวใจโต ใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมาย หรือดื่มแอลกอฮอล์ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเบาหวาน สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัย ภาวะหัวใจโต ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย และทดสอบวินิจฉัย เพื่อระบุความแน่ชัดของโรค ดังนี้ การตรวจเลือด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease)

หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease หรือ PAD) คือ การตีบตันของหลอดเลือดที่จะนำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงที่ขา ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดง จริง ๆ แล้วการตีบตันของหลอดเลือดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลอดเลือดทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดที่ขามากกว่า คำจำกัดความหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก เกิดการสะสมที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน ซึ่งโรคนี้มีผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงและโรคหัวใจ เนื่องจากการสะสมของคราบที่ผนังหลอดเลือดและการตีบตันของหลอดเลือด ในผู้ป่วยที่มีปัญหา หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน พบได้บ่อยเพียงใด จากข้อมูลของ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมักจะมีปัญหา โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จนทำให้เกิดปัญหาที่ขาและเท้า อาการอาการของ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีปัญหาหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันนั้น มักจะมีสัญญาณและอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ปวดน่อง เมื่อเดินหรืออกกำลังกาย แต่อาการปวดน่องนั้นจะหายไปเมื่อคุณพัก รู้สึกชา หรือรู้สึกเหมือนมีเข็มมุดหลาย ๆ เล่มทิ่มที่ขาหรือเท้าส่วนล่าง เมื่อเกิดแผลที่ขาและเท้า มักจะหายช้ากว่าปกติ บางครั้งอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็แสดงอาการได้น้อยมาก จนเราไม่สามารถรับรู้ได้ ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติที่เท้าและขาควรจะต้องสังเกตอย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้ปรึกษาและทำการรักษาได้ทัน นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณทางกายภาพที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามี โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เช่น กล้ามเนื้อลีบ ผมร่วง ผิวหนังเย็นเมื่อสัมผัส นิ้วเท้าเย็นหรือรู้สึกชา เล็บเท้าเจริญเติบโตช้า ผิวที่ขามันเงา เกิดตะคริวที่สะโพกหรือต้นขา ขาอ่อนแรง ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร เมื่อมีอาการปวดขา เกิดอาการชาที่ขา หรืออาการที่ได้กล่าวไปข้างคนควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการของ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)

เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น คำจำกัดความเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis) เกิดจากการอักเสบจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุหัวใจ (เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือดและติดเชื้อในหัวใจ) โดยเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณปาก ผิว ลำไส้ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ รู้สึกหนาว อาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ปัสสาวะเป็นเลือด อาการปวดและบวมในข้อต่อ เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานหรือได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หัวใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยเยื่อบุหัวใจติดเชื้อส่วนใหญ่มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ อาการอาการของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ อาการเยื่อบุหัวใจติดเชื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในบางคนอาจแสดงอาการแบบฉับพลันทันทีในขณะที่บางคนอาจค่อย ๆ แสดงอาการ  โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ ไข้ รู้สึกหนาว อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ร่างกายอ่อนเพลีย เหงื่อออกผิดปกติ มีเลือดในปัสสาวะ มีผื่นสีแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง มีจุดขาวๆ ขึ้นในปากหรือบนลิ้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้และอาเจียน น้ำหนักลด ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของเยื่อบุหัวใจติดเชื้อ เยื่อบุหัวใจติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด แต่ในบางกรณีอาจเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแปรงฟันหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจทำให้เหงือกของคุณมีเลือดออก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)

กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) เกิดจากการทำงานผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก คำจำกัดความอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS) คืออะไร อาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome : SSS)  เกิดจากกการทำงานที่ผิดปกติของไซนัส ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก  รู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย พบได้บ่อยเพียงใด กลุ่มอาการซิคไซนัส เกิดขึ้นได้กับทุกวัย พบได้ในวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอลสูง อาการกลุ่มอาการซิคไซนัส ผู้ที่ที่อยู่ในกลุ่มอาการซิคไซนัส มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ แสดงออกมาให้เห็น อย่างไรก็ตามหากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ในปริมาณที่เพียงพอ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้ รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เวียนศีรษะ ใจสั่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส กลุ่มอาการซิคไซนัสเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย ดังนี้ การผ่าตัด การเกิดเนื้อเยื่อแผล จากการผ่าตัดหัวใจ ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาช่วยลดความดันโลหิตหรือยารักษาโรคหัวใจ เช่น ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้หรือไม่...พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีอะไรบ้าง

แม้การทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง แต่รู้หรือไม่ว่าบาง พฤติกรรมทำลายหัวใจ ได้เช่นกัน แต่คุณอาจจะยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่สามารถทำลายหัวใจได้เช่นกัน ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับพฤติกรรมทำลายหัวใจ มาฝากกัน มาดูกันซิว่าคุณมี พฤติกรรมทำลายหัวใจ เหล่านี้อยู่หรือเปล่า กิจกรรมหลายๆ  อย่างที่คุณทำ อาจจะไม่ได้คิดว่ามีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของหัวใจ แต่มีพฤติกรรมหลายอย่างซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่คุณจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อไม่ให้ทำลายหัวใจไปมากกว่านี้ พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีดังนี้ นั่งทั้งวัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบเคลื่อนไหว ผู้ที่เคลื่อนไหวไม่เพียงพอและนั่งนานถึง 5 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงเป็น 2 เท่าที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนั้น ถ้างานของคุณจะต้องนั่งโต๊ะทุกวัน ควรหาเวลาลุกขึ้นและเดินประมาณ 5 นาทีทุกชั่วโมง การบิดตัวเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้หลอดเลือดแดงของคุณมีการยืดหยุ่น และทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างถูกต้อง อย่าคิดว่าตัวเองยังเด็กเกินไป ความจริงแล้วไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ก็สามารถมีปัญหาโรคหัวใจเหมือนกันได้หมด ดังนั้น อย่ามัวแต่คิดว่าตัวเองยังเด็กเกินไป เริ่มออกกำลังกาย และกินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้งคอยตรวจเช็คความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการดีที่สุด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควันจากบุหรี่ส่งผลที่ไม่ดีต่อหัวใจ หลอดเลือดแดง และปอด หากคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้จะถือเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพมาก นอกจากนั้นควันบุหรี่มือ 2 ก็เป็นพิษต่อหัวใจเช่นกัน ดังนั้นถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง จำกัดปริมาณไขมันเพื่อสุขภาพ โดยส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้ว่าไขมันนั้นไม่ดีสำหรับตัวเรา ทุกคนเลยต่างพากันจำกัดไขมัน แต่การจำกัดไขมันอาจทำให้คุณพลาดการได้รับไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผลที่ดีต่อหัวใจด้วย […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากความรักก็มี ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต นี่แหละที่ดีต่อหัวใจ

เมื่อถึงช่วงวันวาเลนไทน์เมื่อใด สาว ๆ ที่มีหนุ่มให้ดอกไม้ ของขวัญ หัวใจก็คงจะกระชุ่มกระชวยไม่ใช่น้อย ส่วนใครที่ไม่มีหนุ่ม ๆ คอยทำให้หัวใจพองโต ก็ไม่ต้องเสียใจกันไปค่ะ วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ มาฝากกัน แม้จะไม่มีหนุ่ม ๆ ทำให้กระชุ่มกระชวยหัวใจ ก็ยังมีดาร์กช็อกโกแลตที่ดีต่อหัวใจเสมอนะคะ ความสัมพันธ์ระหว่างโกโก้และสุขภาพหัวใจ มีงานวิจัยชี้ว่าผลโกโก้ โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต นั้นดีต่อสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่บริโภคดาร์กช็อกโกแลต จะมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีความดันโลหิตต่ำลง ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง นอกจากนี้การบริโภคดาร์กช็อกโกแลตยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย  อย่างไรก็ตามจากคำแนะนำของคุณหมอ T. Jared Bunch ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจประจำ Heart Rhythm Services แห่ง University of Utah Health สหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า ควรบริโภคดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ต่อสุขภาพหัวใจ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต มีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด เมล็ดของโกโก้ที่เป็นแหล่งที่มาของ ดาร์กช็อกโกแลต ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านั้นมีส่วนช่วยในการบำรุงเซลล์ของหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสารต้านต้านอนุมูลอิสระชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และเครื่องเทศต่าง ๆ การรับประทานช็อกโกแลตช่วยลดความดันโลหิต จากงานวิจัยในปี 2012 พบว่าช็อกโกแลตมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้อย่างมีนัยยะสำคัญ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome)

โรคหัวใจสลาย คืออะไรโรคหัวใจสลาย คืออะไร โรคหัวใจสลาย (Broken Heart Syndrome) เป็นอาการชั่วคราวที่เกิดขึ้นกับจิตใจ มีสาเหตุมาจากสถานการณ์เครียด ๆ เช่น การสูญเสียของคนที่เรารัก อาการเช่นนี้อาจถูกรับแรงกระตุ้นโดยอาการไม่สบายทางกาย หรือการผ่าตัด ในบางคนที่เป็นโรคหัวใจสลายนั้นมักมีอาการเจ็บหน้าอกจนตนเองเข้าใจว่ามีอาการหัวใจวาย ร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกจนส่งผลกับความเครียดนำไปสู่โรคหัวใจสลายได้เช่นเดียวกัน สำหรับโรคหัวใจสลายนั้นหน้าที่การสูบฉีดเลือดที่ด้านหนึ่งของหัวใจจะหยุดการทำงานชั่วคราว ในขณะที่หน้าที่อื่นของหัวใจจะยังคงทำงานตามปกติ หรืออาจจะมีอาการหดตัวมากขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาความเชื่อมดยงของหัวใจที่มีต่อฮอร์โมนความเครียดซึ่งแพทย์อาจจะเรียกอาการนี้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคหัวใจขาดเลือดกระทันหัน ผู้ป่วยกรณีใดที่อยู่ในกลุ่มอาการที่หัวใจห้องล่างส่วนปลายโป่งพอง หรือโรคหัวใจจากความเครียด อาการของโรคหัวใจสลายนี้สามารถรักษาได้ และจะกลับมาดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ โรคหัวใจสลาย พบได้บ่อยแค่ไหน โรคหัวใจสลายเป็นอาการที่ไม่ค่อยพบบ่อยนัก และมีผลกับคนแค่ 2% ที่เป็นโรคหัวใจ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหัวใจจากความเครียดเป็นผู้หญิงที่อายุ 50 หรืออายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป อาการอาการของโรคหัวใจสลาย เป็นอย่างไร อาการทั่วไปของโรคหัวใจสลาย ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจสั้น ๆ หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ ดังนั้นจึงควรติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก นอกจากนี้ยังมีอาจจะมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้นที่กล่าวมา หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ หรือรับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์อีกครั้งได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการอย่างที่กล่าวตามข้างต้น หรือมีคำถามใด ๆ โปรดขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นต่างกันตามสภาวะสุขภาพ แต่หากคุณเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงที่ส่งผลต่อการหายใจร่วม หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียด อาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันที สาเหตุสาเหตุของ โรคหัวใจสลาย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจสลายยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ และมีข้อควรกังวลอย่างไรบ้าง

ผู้ที่เป็น โรคหัวใจ อาจมีคำถามว่า สามารถ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ ซึ่งสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า ค่อนข้างปลอดภัยหากผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ต้องการมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่อาการของโรคคงที่ แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้คุณยังสามารถศึกษาข้อมูลโรคหัวใจ กับการมีเพศสัมพันธ์ ใน Hello คุณหมอ ดังนี้ ผู้ป่วย โรคหัวใจ มีเซ็กส์ ได้หรือไม่ หากคุณมีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ไม่แน่นอน หรืออาการรุนแรง ควรรักษาอาการและรอให้อาการทรงตัวก่อน จึงค่อยมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเรื่องกาย อาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ หรือหายใจสั้นๆ และแม้แต่การออกกำลังกาย ก็ยังทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก จนผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอาจมีคำถามว่า  สามารถมีเซ็กส์ได้หรือไม่ การมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย ที่มีระดับความหนักคล้ายกับการเดินขึ้นบันได 2-3 เที่ยว ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจจึงควรกังวล และควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดหัวใจ นอกจากนี้ การกินยาเพื่อรักษาโรค ยังอาจมีผลข้างเคียง คือทำให้ความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากประมาณ 60-87% ของผู้ที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ให้ข้อมูลว่าพวกเขามีปัญหาเรื่องทางเพศ ผู้ป่วยโรคหัวใจมีเรื่องอะไรบ้าง ที่ต้องกังวล มีเพศสัมพันธ์อาจไม่ปลอดภัย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur)

เวลาที่ไปตรวจร่างกาย หลายคนอาจเคยเห็นแพทย์นำอุปกรณ์หูฟังทางการแพทย์มาลองฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติที่แพทย์อาจพบคืออาการ เสียงฟู่ของหัวใจ สภาวะนี้เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้ คำจำกัดความ เสียงฟู่ของหัวใจ คืออะไร เสียงฟู่ของหัวใจ (Heart murmur) เป็นเสียงที่เกิดในระหว่างรอบการเต้นของหัวใจ คล้ายกับเสียงเป่าลม ซึ่งเกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของการไหลของเลือดในหัวใจ หรือบริเวณใกล้เคียง เสียงชนิดนี้สามารถใช้หูฟังของแพทย์ โดยจังหวะการเต้นของหัวใจตามปกติจะมีสองเสียง เช่น ตุบๆ (lubb-dupp) (บางครั้งเรียกว่า “lub-DUP”) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดขึ้นขณะลิ้นหัวใจปิด ภาวะเสียงฟู่ของหัวใจอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดในเวลาต่อมาเมื่อโตขึ้น ภาวะนี้ไม่ใช่โรค แต่เสียงฟู่นี้อาจชี้ให้เห็นปัญหาของหัวใจที่ซ่อนอยู่ เสียงฟู่ของหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด เสียงฟู่ของหัวใจที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายแต่อย่างใด เกิดขึ้นได้บ่อย และมักจะเกิดกับเด็กๆ ร้อยละ 40-45 และผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 ในบางครั้งของช่วงชีวิต เสียงฟู่ที่ไม่บ่งบอกถึงอันตรายนี้พบได้บ่อยมากกว่าในผู้หญิงในระหว่างการตั้งครรภ์ เสียงฟู่ของหัวใจที่ผิดปกติเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) และโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (mitral regurgitation) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของเสียงฟู่ของหัวใจ หากคุณมีอาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบไม่เป็นอันตราย ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เสียงฟู่หัวใจชนิดปกติ (innocent heart murmur) มีแนวโน้มว่าคุณจะไม่มีสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นใด อาการเสียงฟู่ของหัวใจแบบผิดปกติอาจไม่ก่อให้เกิดสัญญาณแสดงหรืออาการอื่นๆ อย่างชัดเจน นอกเหนือจากเสียงผิดปกติที่แพทย์จะได้ยิน เมื่อฟังเสียงหัวใจผ่านหูฟัง แต่ถ้าคุณมีสัญญาณแสดงหรืออาการเหล่านี้ อาจชี้ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่่ยวกับหัวใจ ผิวหนังกลายเป็นสีเขียว โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือหรือริมฝีปาก […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม