backup og meta

ข้อแนะนำ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต ด้วยตนเอง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/08/2021

    ข้อแนะนำ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต ด้วยตนเอง

    บทความนี้ Hello คุณหมอ นำเทคนิคดี ๆ ในการ อ่านค่าความดันโลหิต มาฝากกัน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ต้องการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เอาล่ะ! จะมีวิธีการอ่านอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

    การ อ่านค่าความดันโลหิต สำคัญอย่างไร?

    สิ่งแรกที่เราจะเห็นในการอ่าน ค่าความดันโลหิต คือ ตัวเลข 2 ตัว ที่บ่งบอกถึงระดับความดันโลหิตของคุณ หากความดันโลหิตของคุณปกติ จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท ในกรณีที่คุณมีความดันโลหิตมากกว่า 180/120 แสดงว่า คุณอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ต้องได้รับการรักษาทันที 

    ความหมาย ค่าความดันโลหิต ที่คุณควรรู้

    ในเบื้องต้น เราจะต้องรู้ ค่าความดันโลหิต ที่แสดงในเครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งเราสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยการใช้เครื่องวัดความดันที่ลำแขน โดยแสดง ค่าความดันโลหิต ออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

    • ความดันช่วงบน หรือความดันซิสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าที่บ่งบอกถึงความดันเลือด แรงดันในขณะที่หัวใจบีบตัว
    • ความดันช่วงล่าง หรือความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ ค่าที่บ่งบอกถึงความดันเลือด แรงดันในขณะที่หัวใจคลายตัว

    เกณฑ์การวัด ค่าความดันโลหิต

    เราสามารถรู้ระดับ ค่าความดันโลหิต ของตนเองว่าอยู่ในระดับไหน ด้วยการประเมินจากเกณฑ์การวัด ค่าความดันโลหิต ดังต่อไปนี้

    ค่าความดันโลหิต ส่วนบน

    และ/หรือ ค่าความดันโลหิต ส่วนล่าง

    การแปลผล

    ต่ำกว่า 120 และ ต่ำกว่า 80 ความดันโลหิตที่ดี
    120-129 และ ต่ำกว่า 80 ความดันโลหิตสูง
    130-139 หรือ 80-89 ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
    140 ขึ้นไป หรือ 90 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
    สูงกว่า 180 และ สูงกว่า 120 ความดันโลหิตภาวะวิกฤต

    การป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง

    เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นทานผักและผลไม้ รวมถึงลดปริมาณโซเดียม 
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ เป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • ควบคุมน้ำหนัก หรือรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์เพียงวันละ 1 แก้ว หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา