backup og meta

เจาะตามร่างกาย ความสวย เท่ ที่มาพร้อมความเสี่ยง

เจาะตามร่างกาย ความสวย เท่ ที่มาพร้อมความเสี่ยง

ปัจจุบันดูเหมือนว่าการเจาะนั้นไม่ใช้เพียงแค่เจาะเฉพาะที่หู เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีการ เจาะตามร่างกาย ในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคิ้ว สะดือ ลิ้น หรือแม้กระทั่งจมูก เป็นต้น การเจาะเหล่านี้ควรได้รับการเจาะจากผู้ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ทั้งยังต้องมีความสะอาดประกอบอีกด้วย ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับการเจาะตามร่างกายมาฝากกัน

ข้อควรรู้ก่อน เจาะตามร่างกาย

การเจาะติ่งหูดูเหมือนเป็นเรื่องที่ฮิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดการเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่จากการสำรวจของ Paw ในปี 2010 พบว่าวัยรุ่นเกือบ 25% นิยมเจาะที่อื่นด้วยนอกเหนือจากติ่งหู นั่นก็คือ ลิ้น ริมฝีปาก จมูก คิ้ว รวมไปถึงสะดือ อีกด้วย นอกจากนั้นหัวนม และอวัยวะเพศ ก็มีคนเจาะด้วยเช่นกัน ในบรรดาผู้ที่ได้รับการเจาะนอกเหนือจากติ่งหูประมาณ 1 ใน 3 มักจะจบลงด้วยการมีภาวะแทรกซ้อน โดยทางคลินิกของ American Academy of Pediatrics (AAP) กล่าวเอาไว้ว่า วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ได้รับการเจาะ หรือการสัก ที่ทำให้เกิดแผล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องขึ้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์จากการเจาะร่างกายนั่นเอง

ภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตามร่างกาย

สำหรับภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตามร่างกานนั้น มีด้วยกันดังนี้

  • การติดเชื้อที่จุดเจาะ

เมื่อใดก็ตามที่เกราะป้องกันของผิวแตก การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยการติดเชื้อแบคทีเรีย อย่าง เชื้อสตาฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus) และเชื้อสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcosis) ถือเป็นแบคทีเรียที่มีความเสี่ยงสูงในทุกส่วนของร่างกายที่ถูกเจาะ การติดเชื้อเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยที่ดีต่อผิวหนัง รวมถึงใช้ยาปฏิชีวนะในการร่วมด้วย การติดเชื้อเหล่านี้โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องถอดเครื่องประดับออก เพื่อป้องกันไม่ให้รูที่เจาะตันนั้นเอง

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด

การเจาะใดๆ จะมีอันตรายจากการติดเชื้อบริเวณที่เจาะตามมา ซึ่งเชื้อที่ติดมาอาจรวมถึงเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถติดเชื้อบาดทะยักด้วยอีก การติดเชื้อประเภทนี้เกิดขึ้นจากอุปกรณ์การเจาะมีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือเชื้อต่างๆ หากเป็นขึ้นมาแล้วควรได้รับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉัดวัคซีนไวรับตับอักเสบบี และบาดทะยัก ก่อนที่จะมีการเจาะ

  • การบาดเจ็บทางทันตกรรม ฟันบิ่น หรือแตกหัก

เป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบบ่อยที่สุดเนื่องมาจากการเกี่ยวข้องกับการเจาะลิ้น เนื่องจากเครื่องประดับริมฝีปากหรือลิ้นยังสามารถทำเกิดปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและความเสี่ยงหายต่อเคลือบฟันได้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้วเครื่องประดับที่ใส่อยู่ในริมฝีปาก หรือลิ้นยังสามารถหลวม จนอาจทำให้หลุด และกลืนเข้าไปในร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังพบว่าในบางกรณีกระดูกขากรรไกรก็อาจจะได้รับผลกระทบ เมื่อต้องมีการผ่าตัดในช่องปากเพื่อรักษาฟันอีกด้วย การติดเชื้อที่ปากหรือริมฝีปากนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในการพูด เคี้ยว กลืน หรือมีอาการบวมที่สามารถปิดกันคอได้อีกด้วย

  • ปฏิกิริยาการแพ้

การแพ้นิเกิลเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย และมีความเสี่ยงที่จะเกิดจากการเจาะ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องประดับที่มีส่วนผสมของนิเกิล สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก็คือ ต้องรู้ว่าเครื่องประดับทองคำบางชิ้นก็มีส่วนผสมของนิเกิลด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้มักจะต้องเอาเครื่องประดับออก แล้วใช้ครีมสเตียรอยด์เพื่อช่วยหยุดปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นเครื่องประดับคุณภาพต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับนิกเกิล เนื่องจากวัยรุ่นบางคนมีงบประมาณจำกัด พวกเขาจึงตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องประดับที่มีคุณภาพต่ำมาใส่

  • ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องประดับอื่นๆ

ความจริงแล้วเครื่องประดับที่จะจำมาเจาะตามร่างกายนั้นควรเป็นของใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานจากใครทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้วควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับส่วนของร่างกายที่จะถูกเจาะอีกด้วย เพราะถ้าหากมีขนาดใหญ่จนเกินไปอาจทำให้เกิดแผลเป็น หรือเนื้อเยื่อเสียหายได้ หากมีขนาดเล็กเกินไป มันก็อาจบาดผิวหนังหรือหลุดออกได้ การสวมใส่เครื่องประดับที่มีน้ำหนักมากเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ติ่งหูยาวขึ้นและผิดรูปได้

    • เครื่องประดับในบริเวณอวัยวะเพศ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและอาจทำให้ถุงยางอนามัยแตก หรือหลุด ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการสัมผัสกับการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
    • เครื่องประดับที่อยู่ตรงส่วนสะดือ สามารถติดบนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน นอกจากนั้นยังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างต่อเนื้อง ซึ่งการระคายเคืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้สามารถชะลอการรักษา ดังนั้นการเจาะสะดืออาจใช้เวลานานถึง ปีในการรักษาให้แผลหายอย่างสมบูรณ์
    • สำหรับต่าวหูนั้นอาจจะมีก้านที่แหลม จนอาจทำให้เกิดแผลกดทับหรือระคายเคืองผิวหนังเมื่อสวมใส่ระหว่างการนอนหลับ
  • การฉีกขาด / อุบัติเหตุ

บางแผลที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา ความรุนแรงระหว่างบุคคลหรือจากการโดนดึงต่างหูโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อป้องกันแผลเป็นที่จะเกิดขึ้นควรรักษาแผลภายใน 12-24 ชั่งโมง

  • การเกิดคีลอยด์ หรือแผลเป็น

การเกิดคีลอยด์นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากเยื่อบุหรือแผล มีเส้นใยมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในบางคนแม้จะเป็นแผลเล็กๆ ก็ตาม แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจนัก นอกจากจะกังวลด้านความงามเพียงเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีคีลอยด์ อาจมีอาการคันและบริเวณที่เป็นคีลอยด์จะบอบบางกว่าปกติ สำหรับการจัดการกับคีลอยด์ สามารถทำได้โดยการ ผ่าตัด รักษาด้วยความเย็น หรือรักษาด้วยเลเซอร์ก็สามารถทำได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นคีลอยด์อาจจะไม่ได้รับการเจาะ นอกจากนั้นวัยรุ่นที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือผู้ที่ทานยาทุกวัน เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือรับประทานยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะร่างกายได้ ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก่อนทำการเจาะ

เจาะมาแล้วควรดูแลอย่างไรดี

หลังจากผ่านการเจาะมาเรียบร้อยแล้ว ผิวหนังรอบแผลเจาะใหม่อาจบวมแดงและใน 2-3 วัน อาจจะมีเลือดออกเล็กน้อย แต่ถ้าหากมีอาการบวมแดงและมีเลือดออกนานกว่า 2-3 อาทิตย์แนะนำว่าให้รีบไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุด เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจร้ายแรงได้

นอกจากนั้นแล้วเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการดูแลรักษาแผลหลังจากที่เจาะมาแล้ว สามารถทำได้ดังนี้

  • ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก หากเจาะลิ้น ริมฝีปาก หรือแก้ม ควรล้างปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อหลังอาหารทุกมื้อและก่อนเข้านอน นอกจากนั้นแล้วควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงการนำแบคทีเรียเข้าไปในปาก หลังจากบริเวณที่เจาะแผลหายสนิทแล้วลองถอดเครื่องประกับออกในเวลากลางคืนและทำความสะอาดโดยการใช้แปรง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ นอกจากนั้นตอนที่ทานอาหารหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ ก็แนะนำให้ถอดเครื่องประดับออกก่อนจะเป็นการดีที่สุด
  • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เจาะ หากเจาะผิวหนังควรทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วยสบู่ และน้ำวันละ 2 ครั้ง และก่อนทำความสะอาดทุกครั้งควรล้างมือก่อนที่จะทำความสะอาดบริเวณที่เจาะ
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ อยู่ให้พ้นจากแอ่งน้ำ อ่านน้ำร้อน แม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำอื่นๆ ในขณะที่การเจาะยังอยู่ในขั้นตอนการรักษา
  • อย่าทำตัวตามใจชอบ อย่าแตะบริเวณที่เจาะใหม่ หรือบิดเครื่องประดับ เว้นแต่ต้องการจะทำความสะอาด นอกจากนั้นแล้วควรเก็บเสื้อผ้าให้ห่างจากการเจาะด้วย เพราะเสื้อผ้าอาจจะไปเสียดสีกับบริเวณที่มีการเจาะมากเกินไป จนอาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • เก็บเครื่องประดับให้เข้าที่ แผลเจาะส่วนใหญ่นั้นจะรักษาหายภายใน 6 เดือน แต่บางคนอาจจะใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้นในการรักษา เพื่อรักษาแผลการเจาะให้หายดี ควรปล่อยเครื่องประดับไว้ตรงบริเวณที่เจาะเสียก่อนแม้แต่ในเวลากลางคืน เพื่อไม่ให้รูที่เจาะปิดนั่นเอง

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Piercings: How to prevent complications. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/piercings/art-20047317. Accessed January 10, 2020

Body Piercings, Teens & Potential Health Risks: AAP Report Explained. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/teen/Pages/body-piercings.aspx. Accessed January 10, 2020

Body Piercing. https://kidshealth.org/en/teens/body-piercing-safe.html. Accessed January 10, 2020

11 Things You Should Know About Piercings. https://www.huffpost.com/entry/piercing-safety-health-facts_n_5154687. Accessed January 10, 2020

Piercings: How to prevent complications. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/piercings/art-20047317. Accessed January 10, 2020

Body Piercings, Teens & Potential Health Risks: AAP Report Explained. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/teen/Pages/body-piercings.aspx. Accessed January 10, 2020

Body Piercing. https://kidshealth.org/en/teens/body-piercing-safe.html. Accessed January 10, 2020

11 Things You Should Know About Piercings. https://www.huffpost.com/entry/piercing-safety-health-facts_n_5154687. Accessed January 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความสะอาดหู วิธีที่ดีที่สุดคืออะไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

รอยสัก (Tattoo) กับผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา