backup og meta

ภาวะถอนพิษสุรา (Withdrawal) อาการที่เกิดจากการหยุดสุราอย่างกระทันหัน

ภาวะถอนพิษสุรา (Withdrawal) อาการที่เกิดจากการหยุดสุราอย่างกระทันหัน

ภาวะถอนพิษสุรา หรือ ภาวะถอนสุรา (Withdrawal) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ เมื่อหยุดหรือลดปริมาณลงอย่างกะทันหัน อาจทำให้เกิดภาวะถอนสุราได้ ซึ่งภาวะนี้ก็จะแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจอันตรายจนถึงชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปทำความรู้จักกับภาวะถอนพิษสุรา ว่าจะมีอาการเช่นไรบ้าง

ภาวะถอนพิษสุรา คืออะไร

อาการถอนสุรา เป็นอาการที่เกิดจากผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก แล้วอยู่ ๆ หยุดดื่มอย่างกะทันหัน หรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายเกิดภาวะถอนสุรา จะส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและอารมณ์ เช่น เกิดความวิตกกังวล ไปจนถึงรู้สึกคลื่นไส้ และเหนื่อยล้า บางคนที่เกิดอาการถอนสุราอย่างรุนแรง จะทำให้เกิดภาพหลอน มีอาการชัก บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

อาการของผู้ที่มี ภาวะถอนสุรา

สัญญาณและอาการของ ภาวะถอนสุรา จะเกิดขึ้นหลังจากหยุดหรือลดสุราไปแล้ว 6 ชั่วโมง หรือ 1-2 วันหลังจากที่ดื่มสุราครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่มีภาวะถอนสุรามักจะมีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไปจาก อาการทั้งหมดเหล่านี้

อาการเหล่านี้อาจจะแย่ลงในช่วง 2-3 วันแรก แต่สำหรับบางคนอาการที่ไม่รุนแรง อาจจะเกิดขึ้นได้นานถึง 1 สัปดาห์ ยิ่งปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงมากเท่าไร อาการถอนสุราก็จะเริ่มชัดและมากขึ้นเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีอาการถอนสุราอย่างรุนแรงอาจเกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า “Delirium Tremens’ หรือ DT ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • เกิดความสับสนอย่างรุนแรง
  • มีอาการกระสับกระส่ายอย่างรุนแรง
  • มีไข้
  • มีอาการชัก
  • เห็นภาพหลอน
  • ได้ยินเสียงแว่ว
  • เกิดอาการหลอน เช่น คิดไปเองว่าร้อน คิดไปเองว่ารู้สึกคัน

หากมี ภาวะถอนสุรา อย่างรุนแรง ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์อย่างทันที เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะถอนสุรา

ผู้ที่ติดสุราหรือผู้ที่ดื่มสุราอย่างหนักเป็นประจำ โดยที่ไม่สามารถลดปริมาณการบริโภคลงได้ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะถอนสุราได้สูง ส่วนใหญ่แล้วภาวะถอนสุรามักจะพบได้ในผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็ก วัยรุ่นก็สามารถเกิดภาวะถอนสุราได้เช่นกัน หากมีการดื่มอย่างหนัก นอกจากนี้หากเคยเกิดถาวะถอนอื่น ๆ มาก่อน เช่น ถอนยา ก็จะทำให้เกิดถาวะถอนสุราได้มากขึ้น

การรักษาภาวะถอนสุรานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น สำหรับบางคนที่มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถรักษาตัวเองที่บ้านได้ โดยมีญาติคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้นำตัวส่งโรงพยาบาลได้ทัน แต่สำหรับผู้ที่มีอาการถอนสุราอย่างรุนแรงอาจจะต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Alcohol Withdrawal?. https://www.webmd.com/mental-health/addiction/alcohol-withdrawal-symptoms-treatments#1.Accessed February 18, 2021

Alcohol Withdrawal Syndrome. https://www.healthline.com/health/alcoholism/withdrawal.Accessed February 18, 2021

Alcohol Withdrawal. https://www.health.harvard.edu/a_to_z/alcohol-withdrawal-a-to-z.Accessed February 18, 2021

Common Alcohol Withdrawal Symptoms. https://www.verywellmind.com/symptoms-of-alcohol-withdrawal-63791.Accessed February 18, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/03/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดหัวตุ๊บๆ สาเหตุ และวิธีรักษา

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 04/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา