backup og meta

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) ภัยเงียบที่แฝงตัวมากับความ อ้วนลงพุง

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) ภัยเงียบที่แฝงตัวมากับความ อ้วนลงพุง

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยง  5 ประการ นอกจากนี้ยังทำให้ อ้วนลงพุง อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีรอบเอวที่มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม รับประทานอาหารมากไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะเมแทบอลิก มาให้อ่านกันค่ะ

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) คืออะไร

การเกิด ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 5 ประการ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจัย 5 ประการมีดังนี้

การที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่ามีภาวะเมแทบอลิก แต่อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 ปัจจัยก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไปมีโอกาสในการเกิดภาวะเมแทบอลิกสูงมาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก คือ อ้วนลงพุง มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย และการต้านอินซูลิน ส่งผลทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ยาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิกได้อีก เช่น อายุ มีคนในครอบครัวเคยเกิดภาวะนี้ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

ภาวะเมแทบอลิกทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดที่จาก ภาวะเมแทบอลิก มักจะมีความรุนแรงและเรื้อรัง ได้แก่

หากผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิก เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น

  • ดวงตาเกิดความเสียหาย
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย
  • มีโอกาสในการถูกตัดแขนหรือขา

ป้องกันโรค อ้วนลงพุง และภาวะเมแทบอลิกอย่างไรให้ได้ผล

รอบเอวปกติของคนไทย สำหรับผู้ชายไม่ควรมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงไม่ควรมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร หากมีรอบเอวเกินหรือ อ้วนลงพุง อาจทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิกได้ ภาวะเมอทบอลิกเป็นภาวะที่สามารถป้องกันโดยการรักษาระดับต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม ดังนี้

  • รักษารอบเอวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • รักษาระดับความดันโลหิต
  • รักษาระดับคอเลสเตอรอล

หากสามารถรักษาระดับเหล่านี้ให้อยู่ในระดับที่ปกติ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดภาวะเมแทบอลิกได้ ซึ่งวิธีการต่าง ๆ ที่จะรักษาให้อยู่ในระดับปกติคือ ต้องมีการควบคุมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้น้ำหนักและรอบเอวเกิน กว่าที่กำหนด ที่สำคัญควรมีการตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ หากมีความผิดปกติในด้านใด จะได้รักษาและดูแลได้ทันท่วงที

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

เมตะบอลิค ซินโดรม กับอาการอ้วนลงพุง

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=763

Metabolic syndrome

https://www.nhs.uk/conditions/metabolic-syndrome/

Metabolic Syndrome

https://www.healthline.com/health/metabolic-syndrome

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่กินข้าวเย็น เพื่อลดความอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

อาหารกระตุ้น เมตาบอลิซึม (Metabolism) มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา