โภชนาการผู้สูงวัย

ปัจจัยหนึ่งที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุก็คือ เรื่องโภชนาการ เพราะการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญมากในการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย แต่นอกจากนี้ เคล็ดลับในการดูแล โภชนาการผู้สูงวัย จะมีอะไรอีกบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่เลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการผู้สูงวัย

เทคนิค “กินดี” อาหารช่วยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

หนึ่งในอาการยอดฮิตที่มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ คืออาการ “เบื่ออาหาร” อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารไม่ครบตามพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อย่างเช่นปัญหาการเคี้ยวกลืนที่ทำให้เสี่ยงสำลัก การรับรสสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่ออรรถรสในการทานอาหาร จนทำให้ทานได้น้อยลงและไม่เจริญอาหารในที่สุด รวมไปถึงอาการท้องผูก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น แม้สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่ไม่อาจป้องกันหรือห้ามไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่เราอาจสามารถแก้ปัญหาเบื่ออาหารในผู้สูงอายุได้ด้วยเทคนิคง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำตามได้ ทานน้อยแต่ทานบ่อย เน้นโปรตีน และพลังงานเพียงพอต่อวัน การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการมีโภชนาการที่ดี โดยร่างกายของแต่ละช่วงวัยก็มีต้องการปริมาณพลังงานที่แตกต่างกันออกไป สำหรับผู้สูงอายุ การทานอาหารครบ 5 หมู่ มีจุดประสงค์เพื่อนำสารอาหารไปซ่อมแซมตามความจำเป็นเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นอาหารผู้สูงอายุควรเป็นอาหารที่เน้นเรื่องคุณภาพและสัดส่วนมากกว่าปริมาณ ทั้งนี้หากร่างกายได้รับอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ไม่ว่าจะมากเกิน หรือน้อยเกินความจำเป็น ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งถือเป็นภัยอย่างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุ เพราะอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยได้หลายประการ เช่น ผิวหนังอักเสบ ปวดศีรษะ ภาวะโลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยปริมาณพลังงานที่ผู้สูงอายุควรได้รับ อยู่ที่ 1,400 - 1,800 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน  อย่างไรก็ตาม อาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้น อาจทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อยลงในแต่ละมื้อ ลองใช้เทคนิค “ทานน้อยแต่ทานบ่อย” ปรับพฤติกรรมการทาน จากเดิม […]

สำรวจ โภชนาการผู้สูงวัย

โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่ควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับสุขภาพ แต่วัยเก๋าควรจะกินอะไรเพื่อให้สุขภาพดีบ้างนั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ อาหารผู้สูงอายุ มาฝากค่ะ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง วัยผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยโภชนาการสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุ ได้แก่ ไฟเบอร์ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญของผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ทำให้เผาผลาญได้น้อยลง และมีผลให้การย่อยอาหารไม่ดีตามมาด้วย ผู้สูงอายุ จึงควรเลือกกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้การย่อยอาหารทำได้ดีขึ้น และป้องกันปัญหาท้องผูกที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารทีสำคัญสำหรับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ควรกินอาหารที่ให้โปรตีนสูง เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าให้ดีควรเลือกโปรตีนแบบไม่ติดมัน หรือลีนโปรตีนที่ให้โปรตีนล้วน เพื่อลดปัญหาคอเลสเตอรอลสูง แคลเซียม แคลเซียมมีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกและกล้ามเนื้อก็เริ่มที่จะเสื่อมสลายลง เสี่ยงต่อการเปราะ หัก แตก หรือโรคกระดูกพรุน การกินอาหารที่ให้แคลเซียมจะช่วยป้องกันและชะลอโรคกระดูกพรุนได้ วิตามินดี เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายจะเริ่มทำงานได้น้อยลง ผู้สูงอายุ จึงควรได้รับสารอาหารประเภทวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินดีเองก็เป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงกระดูกด้วยเช่นกัน หากมีวิตามินดีน้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ อาหารผู้สูงอายุ ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง สุขภาพของ ผู้สูงอายุ นั้นมีความเสื่อมลงไปตามอายุขัย […]


โภชนาการผู้สูงวัย

กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นจริงหรือเปล่า?

เวลาจะซื้อของฝากไปให้ผู้สูงอายุที่บ้านหรือบุคคลที่เคารพรัก หลายคนก็อาจจะนึกถึงแต่ของฝากที่มี แคลเซียม เพื่อความหวังดีที่จะให้ผู้สูงอายุที่ได้รับของฝากนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะอาหารเสริมแคลเซียม ที่หลายคนมองว่าจำเป็นต้องให้คนสูงวัยได้รับประทานเพื่อที่จะได้มีกระดูกที่แข็งแรง แต่…ในความเป็นจริงแล้วการ กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ อย่างนั้นหรือ? วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกท่านไปหาคำตอบค่ะ ผู้สูงอายุกับปัญหาเรื่องกระดูก ผู้สูงอายุอย่าง คุณปู่ คุณย่า คุณตาและคุณยายหลายท่าน เมื่อเข้าถึงวัยที่เป็นผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเรื้อรังมานาน เช่น กระดูกพรุน  กระดูกแตก หรือกระดูกหัก และเมื่อแก่ตัวไปก็มีผลทำให้อาการอาจจะแย่ลงกว่าเดิม เหล่านี้จึงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงวัย โดยอาจมีสาเหตุด้วยกันหลายประการ ทั้งการได้รับปริมาณ แคลเซียม ไม่เพียงพอ การไม่ออกกำลังกาย ไปจนถึงการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเมื่อถึงวัยสูงอายุแล้ว การที่จะฟื้นฟูกระดูกให้เหมือนกับตอนยังเป็นหนุ่มสาวนั้นก็จะไม่สามารถทำได้อย่างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ กินแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่เป็น แคลเซียม (Calcium) สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและกระดูก มีส่วนช่วยให้ทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและฟันมีความแข็งแรง ซึ่งนอกจากแคลเซียมแล้วก็ยังรวมถึงวิตามินดี ซึ่งมีประโยชน์ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงเช่นเดียวกัน  ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถที่จะสังเคราะห์แคลเซียมหรือวิตามินดีได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารดังกล่าวผ่านการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หรือเสริมด้วยอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อให้แน่ใจได้ว่าตนเองได้รับสารอาหารที่ดีต่อกระดูกอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มองว่าการรับประทาน แคลเซียม ในรูปแบบของอาหารเสริมนั้นอาจจะดีกว่าการรับประทานอาหารทั่วๆ ไป เพราะมั่นใจได้ว่าอาหารเสริมที่กินเข้าไปนั้น ให้แคลเซียมอย่างเต็มที่ แต่…ในความเป็นจริงแล้ว แคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้นมากเพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายแล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องเพิ่มแคลเซียมด้วยอาหารเสริม และอีกหนึ่งข้อสำคัญของแคลเซียมก็ไม่ได้อยู่ที่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีแคลเซียมเท่านั้น […]


โภชนาการผู้สูงวัย

วิธีเพิ่มความอยากอาหาร เมื่อผู้สูงอายุเบื่ออาหาร

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเราก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย สุขภาพที่เคยแข็งแรงก็เริ่มถดถอยลง ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ตามองเห็นไม่ชัด ปวดเมื่อย ข้ออักเสบ หูไม่ได้ยิน และอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ลูกหลานไม่ควรละเลยก็คือ ความอยากอาหารของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งนั่นอาจทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่น ๆ ได้ด้วย หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ประสบปัญหา ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร การเรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เบื่ออาหาร และวิธีเพิ่มความอยากอาหารแบบที่ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยให้ผู้สูงอายุที่คุณรักรับประทานอาหารได้มากขึ้น ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร เป็นเพราะอะไร ผู้สูงอายุมักรับประทานอาหารน้อยลงอยู่แล้วเป็นปกติ แต่หากคุณสังเกตเห็นว่า อยู่ ๆ ผู้สูงอายุที่บ้านก็รับประทานอาหารน้อยลงมากจนผิดปกติ คุณควรรีบปรึกษาคุณหมอ เพราะอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้น อาจเป็นผลจากปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ผิดปกติ โรคมะเร็ง การติดเชื้อในปากและลำคอ โรคเหงือก ต่อมน้ำลายมีปัญหา นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิดก็อาจทำให้ผู้สูงอายุปากแห้ง มีรสเหล็กในปาก หรือการรับรสเปลี่ยนไป จนส่งผลให้ไม่อยากรับประทานอาหารได้เช่นกัน แต่หากอาการเบื่ออาหารไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพ หรือการใช้ยา ก็อาจเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้ได้ด้วย ไม่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็อาจทำให้ไม่อยากอาหารได้ ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) […]


โภชนาการผู้สูงวัย

ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ช่วยต้านแก่ ต้านโรค

อนุมูลอิสระ เป็นอีกหนึ่งตัวการทำลายเซลล์ ทำให้เราแก่ลงทุกวัน ยิ่งร่างกายเรามีอนุมูลอิสระมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งแก่เร็วขึ้น และเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น แต่วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ก็คือ การบริโภคสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ฟลาโวนอยด์” ที่พบได้ในพืชผักผลไม้หลากหลายชนิด และได้ชื่อว่าเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ สารจากพืชชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ด้วยกันมากกว่า 6,000 ชนิด และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอล (Flavonols) ฟลาวานอล (Flavanols) หรือ ฟลาวาน-3-ออล (Flavan-3-ols) ฟลาวาโนน (Flavanones) ฟลาโวน (Flavones) ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin) ฟลาโวนอยด์สามารถพบได้ในผักและผลไม้หลายชนิด ทั้งยังพบในไวน์ ชา ผงโกโก้ และช็อกโกแลตด้วย โดยอาหารแต่ละอย่างก็จะมีฟลาโวนอยด์แต่ละชนิดในความเข้มข้นแตกต่างกันออกไป แหล่งฟลาโวนอยด์ที่คุณหาได้ง่ายๆ คุณสามารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ให้กับร่างกายได้ ด้วยการกินอาหารต่อไปนี้ แอปเปิ้ล ในแอปเปิ้ลอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ภาวะหัวใจวาย โรคต้อกระจก ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ซ้ำ ช่วยควบคุมอาการหอบหืด ทั้งยังบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ด้วย ชาเขียว ชาเขียวมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญที่ชื่อว่า เอพิกัลโลคาเทชิน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

สารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วสารต้านอนุมูลอิสระที่พูดถึงนั้น คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ถ้าอยากรู้ล่ะก็ ต้องไม่พลาดบทความนี้ของ Hello คุณหมอ  สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร ร่างกายของคนเรานั้นต้องพบเจอกับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ควันพิษ ฝุ่นละออง หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในชีวิตประจำวันมากมาย รวมถึงอนุมูลอิสระ (Free Radicle) ซึ่งเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่สามารถพบได้จากหลากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสียรถ ก๊าซต่าง ๆ แสงแดด หรือแม้แต่อาหารการกินที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ก็มีส่วนเพิ่มอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อโมเลกุลนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปคุกคามระบบภูมิคุ้มกัน หรือทำร้ายเซลล์ในร่างกาย และเมื่อเซลล์ในร่างกายถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระ ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง ดังนั้นแล้ว เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารเคมีที่จะไปต้านทานกับสารอนุมูลอิสระเพื่อไม่ให้สุขภาพย่ำแย่ สารเคมีดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) ที่จะเข้าไปปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายให้รอดพ้นจากการถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ หน้าที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ นั่นก็คือ การช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายไม่ให้ถูกทำลายโดย อนุมูลอิสระ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง […]


โภชนาการผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องกินวิตามิน หรืออาหารเสริม หรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่าอาหารเสริมอาจไม่ได้มีประโยชน์ต่อ ผู้สูงอายุ วิตามิน จำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาให้แล้วค่ะ [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องกินวิตามิน หรืออาหารเสริม หรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่ม ผู้สูงอายุ ว่าวิตามิน จำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่ ในปี 2013 พบว่า  68 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีและมากกว่า 65 ปี กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ในปี 2017 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้พบว่า  29 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า วิตามินและอาหารเสริมโดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตราย และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยทำให้ได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้นหากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่มีสุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน