backup og meta

เป็นเกาต์ จะมีวิธีดูแลตัวเองให้สุขภาพดีได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/08/2023

    เป็นเกาต์ จะมีวิธีดูแลตัวเองให้สุขภาพดีได้อย่างไรบ้าง

    โรคเก๊าท์ หรือ โรคเกาต์ เป็นอาการทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดอาการปวดที่ข้อต่อ เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถพบได้ในหลายช่วงวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี แต่เกาต์เกิดจากอะไร และผู้ที่ เป็นเกาต์ จะมีวิธีดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง 

    โรคเกาต์ เป็นอย่างไร

    เกาต์ หรือ โรคเกาต์ (Gout) เกิดจากการที่ร่างกายผลิตกรดยูริก (Uric acid) ออกมามากกว่าปกติ ทำให้มีค่ากรดยูริกในเลือดสูงกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อรกดยูริกเหล่านั้นสูงเกินความจำเป็นของร่างกายก็จะตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (Urate Crystal) และผลึกดังกล่าวจะค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกายโดยเฉพาะบริเวณข้อต่อ จนกระทั่งส่งผลให้เกิดอาการบวม เจ็บ และปวดบริเวณข้อต่อขึ้นมา

    โดย โรคเกาต์ จัดเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ หรือแดงที่บริเวณข้อต่ออย่างกะทันหัน โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเข่า ข้อศอก ซึ่งอาการของโรคเกาต์มักจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่สามารถดูแลและรักษาได้ตามอาการ

    เป็นเกาต์ จะดูแลสุขภาพได้อย่างไรบ้าง

    หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเกาต์ สิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตประจำวันบางประการ ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้อาการของ โรคเกาต์ ที่เป็นอยู่ค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับได้ ซึ่งผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

    เป็นเกาต์ ควรประคบเย็น

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ที่มีอาการปวดข้อเป็นประจำ นอกเหนือจากการรับประทานยาแก้ปวดแล้ว ควรบรรเทาอาการปวดด้วยการประคบเย็น โดยนำผ้าขนหนูบาง ๆ ห่อด้วยน้ำแข็ง แล้วนำไปประคบที่บริเวณข้อต่อที่มีอาการปวดครั้งละ 20 นาที ทำเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้

    ผ่อนคลายข้อต่อ

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ที่มีอาการปวดข้อเป็นประจำ ไม่ควรขยับหรือเคลื่อนไหวข้อต่อมากนัก เพราะจะยิ่งก่อให้เกิดการอักเสบและปวดข้อ ควรพักการใช้งานข้อต่อจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง และเวลานอน ควรวางข้อต่อลงบนหมอนนุ่ม ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนที่ข้อต่อ 

    ดื่มน้ำให้มาก ๆ 

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ หรือมีระดับน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะผลิตกรดยูริกออกมา เสี่ยงที่โรคเกาต์จะกำเริบมากขึ้นไปอีก

    รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

    ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเสี่ยงที่ร่างกายจะผลิตกรดยูริกสูง และมีแนวโน้มที่จะเป็น โรคเกาต์ การลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยลดอัตราการผลิตกรดยูริกจนเกินความจำเป็น และควรลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารหรือลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายผลิตกรดยูริกสูงกว่าเดิม

    หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

    การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้พิวรีน (Purine) ในร่างกายสูง ซึ่งเมื่อพิวรีนมีระดับสูงขึ้น ร่างกายก็จะผลิตกรดยูริกออกมามากขึ้นเพื่อเผาผลาญพิวรีน มากไปกว่านั้น แอลกอฮอล์ยังจะไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ซึ่งจะทำให้มีการสะสมกรดยูริกในร่างกายมากขึ้นจนเสี่ยงที่จะเป็นเกาต์

    รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียม

    เนื่องจากสารอาหารทั้งสองชนิดนี้มีส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกและฟันแข็งแรง อาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ และเสริมให้ข้อต่อแข็งแรง

    ใส่ใจกับอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก

    • น้ำเชื่อม
    • อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส
    • อาหารที่มีไขมันสูง
    • แอลกอฮอล์

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ควรจำกัดอาหารจำพวก (รับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม)

    • เนื้อสัตว์ 
    • อาหารทะเล
    • น้ำผลไม้ที่ให้รสหวานตามธรรมชาติ
    • อาหารที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล
    • อาหารที่ปรุงรสด้วยเกลือ
    • ขนมหวานต่าง ๆ

    ผู้ป่วย โรคเกาต์ ควรเน้นรับประทานอาหารจำพวก

    เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    ถ้าหากคุณสงสัยว่าอาจจะเป็น โรคเกาต์ ควรไปพบคุณหมอ เพราะโรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดอย่างรุนแรง และทำให้ข้อต่อถูกทำลาย มากไปกว่านั้น หากคุณมีอาการปวดเกาต์ขึ้นมาอย่างรุนแรงและกะทันหัน ควรไปพบคุณหมอทันที หรือถ้าหากมีอาการปวดเกาต์ขึ้นมาอย่างรุนแรงและกะทันหัน พร้อมกับมีไข้ มีอาการร้อนที่บริเวณข้อต่อ ควรไปพบคุณหมอในทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่าข้อต่อเกิดการติดเชื้อ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา