โรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ เป็นการอักเสบที่ข้อต่อ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบที่ข้อต่อข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ประเภทของข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้พบได้เฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ความจริงแล้ว โรคนี้สามารถพบได้ในคนทุกวัย แม้กระทั่งในเด็ก

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคข้ออักเสบ

โรคเก๊าท์ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

โรคเก๊าท์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยมีสาเหตุมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้บางคนอาจมีข้อสงสัยว่า โรคเก๊าท์ อาการ เป็นอย่างไร โดยทั่วไป โรคเก๊าท์อาจทำให้มีอาการปวดข้อต่อรุนแรง ความรู้สึกไม่สบาย ข้อต่ออักเสบ แดง และข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด การรักษาอย่างเหมาะสมจึงอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคเก๊าท์ได้ [embed-health-tool-heart-rate] โรคเก๊าท์ คืออะไร โรคเก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบที่เกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดสูง ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดง และอาจมีอากการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรงเมื่อกดข้อต่อหนึ่งข้อหรือหลายข้อ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเข่า ข้อเท้า เท้า ข้อมือ และข้อศอก โรคเก๊าท์ อาการ สัญญาณและอาการของโรคเก๊าท์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมักเกิดขึ้นในตอนกลางคืน โดยอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ ปวดข้ออย่างเฉียบพลันและรุนแรง อาการปวดข้อต่อจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรงที่สุดภายใน 4-12 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่มมีอาการปวด รู้สึกไม่สบายบริเวณข้อต่อ เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงค่อย ๆ บรรเทาลง อาจยังคงมีความรู้สึกไม่สบายบริเวณข้อต่ออยู่ ซึ่งอาจคงอยู่ได้ตั้งแต่ 2-3 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ อักเสบ บวม และแดง ข้อต่อที่อักเสบจะมีอาการบวม เจ็บปวด ไวต่อความรู้สึก อุ่น และแดง ข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด ในขณะที่โรคเก๊าท์อาการเริบอาจจะไม่สามารถขยับข้อต่อได้อย่างอิสระ หากมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและรุนแรง มีไข้ […]

สำรวจ โรคข้ออักเสบ

โรคข้ออักเสบ

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

คำจำกัดความข้อเสื่อม คืออะไร ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบของข้อที่พบบ่อยที่สุด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อน หรือหมอนรองระหว่างข้อต่อหัก นำไปสู่อาการเจ็บปวด ฝืด และบวม โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้ที่ข้อต่อทุกส่วนของร่างกาย แต่มักจะเกิดที่ข้อต่อมือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง ข้อเสื่อมพบบ่อยแค่ไหน ข้อเสื่อมจัดว่า เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย จากข้อมูลของสำนักโรคข้อต่อ ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า ก่อนอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง และหลังอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดในเพศหญิงมากกว่า อย่างไรก็ตาม โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี โรคข้อเสื่อมสามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคข้อเสื่อม อาการทั่วไปของโรคข้อเสื่อม มีดังนี้ อาการปวดและข้อฝืดแข็ง มักเกิดในช่วงเช้าหรือหลังจากการพักผ่อน อาการปวดบริเวณข้อดีขึ้นเมื่อบีบนวดเบาๆ สูญเสียความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหวของข้อต่อของคุณอาจถูกจำกัด เกิดเสียงหรือมีอาการเสียวที่ข้อต่อ ข้อต่อบวม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคข้อเสื่อม โรคข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่พยุงข้อต่อถูกทำลาย กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งแรงแต่ยืดหยุ่น ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันส่วนปลาย ของกระดูก ปกป้องข้อต่อต่างๆ และทำให้กระดูกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ หากเป็นโรคข้อเสื่อม พื้นผิวที่ลื่นของกระดูกอ่อนจะสากขึ้น และเสียดสีกัน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของข้อเสื่อม ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ข้อเสื่อมเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้สะโพกและเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่อเยื่อที่มีไขมันมากเกินไปยังส่งผลให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อต่อได้ การบาดเจ็บและการใช้ข้อต่อมากเกินไป อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ […]


โรคข้ออักเสบ

อาการของโรคข้อเสื่อม ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา

อาการของโรคข้อเสื่อม เป็นอาการที่กระดูกอ่อนในข้อต่อเสื่อมสภาพลงและเกิดการเสียดสีกันจนเกิดแรงกด ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบของข้อต่อ โดยมักมีผลต่อข้อต่อในแขน ขา นิ้วมือ ข้อมือ เข่า ข้อเท้าและสะโพก เรามารู้จักกับโรคข้อเสื่อมให้มากขึ้น จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ค่ะ สาเหตุของโรคข้อเสื่อม กระดูกอ่อนเป็นสารลักษณะคล้ายยางที่มีความทนทาน ยืดหยุ่น และนุ่มกว่ากระดูก ที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อต่อซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันกระดูกไม่ให้ได้รับกระทบกระเทือน และทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว เมื่อกระดูกได้รับความเสียหายหรือฉีกขาด จะทำให้กระดูกพรุน บริเวณข้อต่อและเนื้อเยื่อเกิดความเจ็บปวด เมื่อกระดูกอ่อนได้รับความเสียหายจะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ หากกระดูกอ่อนฉีกขาดหรือหายไปหมด ก็จะทำให้กระดูกเสียดสีจนเกิดเป็นโรคข้อเสื่อม เมื่อได้รับการกระทบกระเทือนอย่างต่อเนื่องซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักพบ โรคนี้ในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการใช้งานของข้อต่อมาเป็นระยะเวลานาน ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการเสื่อมสภาพของข้อต่อก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอีกด้วย เช่น เคยได้รับการบาดเจ็บในข้อต่อ (กระดูกอ่อนฉีกขาด ข้อต่อหลุด เอ็นได้รับการบาดเจ็บ) กระดูกผิดรูปตั้งแต่เกิด โรคอ้วน พฤติกรรมการใช้งานข้อต่อที่หนักเกินไป แต่ปัจจัยความเสี่ยงที่มักมีโอกาสเกิดมากกว่าคนอื่นๆ คือ พันธุกรรม และมักเกิดในเพศหญิง อาการของโรคข้อเสื่อม มีอะไรบ้าง โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และพบได้มากบริเวณข้อต่อ แต่บริเวณที่พบได้ทั่วไปคือ มือ ปลายนิ้ว หัวเข่า และสะโพก อาการความเจ็บปวดมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง […]


โรคข้ออักเสบ

บรรเทาอาการปวดข้อ วิธีง่ายๆ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง

อาการปวดข้อ เป็นอาการที่สร้างความลำบากในการเคลื่อนที่ให้กับผู้ที่เป็น ไม่ว่าจะเดิน จะลุกหรือนั่ง อาการปวดข้อก็คอยจะกำเริบขึ้นมาทุกครั้ง สำหรับบางคนที่มีอาการปวดหนักๆ อาจถึงขั้นที่ไม่สามารถขยับทำอะไรได้เลยทีเดียว ซึ่งเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต นอกจากการใช้ยาแก้ปวดแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการ บรรเทาอาการปวดข้อ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง มาฝากกันค่ะ บรรเทาอาการปวดข้อ ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดข้อ ด้วยการบำบัดด้วยการนวด เมื่อประมาณ 5,000 ปีที่แล้ว การนวดที่รู้จักกันว่าเป็นเพียงการสัมผัส ถูกมองว่าเป็นการรักษาอาการปวดข้อที่น่าอัศจรรย์ และเป็นวิธีการทางธรรมชาติเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และทำให้ผ่อนคลาย ชื่อเสียงและความแพร่หลายของการนวด ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป จนการนวดได้รับการอธิบายด้วยเหตุผลทางการแพทย์ในปัจจุบัน โดยนักวิจัยเผยว่า ประสิทธิภาพของการนวดในการบรรเทาอาการปวดข้อส่วนมาก เป็นผลมาจากกลไกของการจำกัดสารสื่อประสาทประเภทซับสแตนซ์พี (Substance P) ซึ่งเป็นตัวนำความรู้สึกเจ็บปวดไปสู่สมอง เมื่อไม่มีสารสื่อประสาทประเภทนี้ ร่างกายจะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด เรายังควรพิจารณาประโยชน์ของการนวด ที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้อารมณ์ดีขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านเพื่อไปนวด แต่สามารถนวดเองที่บ้านได้ ด้วยมือหรืออุปกรณ์นวดที่ให้ความร้อน หรือมีการสั่น เพื่อนวดบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น การประคบร้อนสลับเย็นเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่ช่วยลดอาการปวดข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร้อนทำให้เกิดการขยายตัวของสิ่งต่าง ๆ และเมื่อคุณประคบด้วยความร้อน จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น และสารอาหารต่าง ๆ […]


โรคข้ออักเสบ

ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (Thumb arthritis)

คำจำกัดความข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ คืออะไร ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (Thumb arthritis) เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนจากปลายกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือ หรือที่เรียกว่า ข้อต่อคาร์โปเมตาคาร์ปอล (carpometacarpal หรือ CMC) เกิดสึกหรอ ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง อาการบวม ไร้เรี่ยวแรง รวมถึงขอบเขตของการเคลื่อนไหวที่ลดลง ทำให้กิจกรรมง่ายๆ อย่างการหมุนลูกบิดประตู หรือเปิดขวด กลายเป็นเรื่องยาก การรักษาข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบมักจะใช้ยาร่วมกับการใส่เฝือก หากข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบรุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบพบได้บ่อยแค่ไหน ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ อาการแรกเริ่มและเกิดขึ้นบ่อยที่สุด หากข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ก็คือ อาการเจ็บปวด ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ฐานนิ้วหัวแม่มือ เมื่อคุณยึด จับ บีบวัตถุ หรือออกแรงกดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ สัญญาณหรืออาการอื่นอาจรวมถึง อาการบวม เมื่อย หรือกดเจ็บที่ฐานนิ้วหัวแม่มือ แรงที่ใช้บีบหรือจับวัตถุลดลง เคลื่อนไหวนิ้วได้จำกัด ข้อต่อที่ฐานนิ้วหัวแม่มือบวมหรือใหญ่ขึ้น สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการตามรายละเอียดด้านบนหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายคนแต่ละคนแสดงอาการแตกต่างกัน จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ แผลหรืออาการบาดเจ็บที่มือในอดีต อาจส่งผลให้ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบได้ ในข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือทั่วไป กระดูกอ่อนจะป้องกันบริเวณส่วนปลายของกระดูก ทำหน้าที่กันกระแทก และทำให้กระดูกเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่นเมื่อต้องกระทบกับกระดูกชิ้นอื่น ในผู้ป่วยที่ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ กระดูกข้อต่อที่ป้องกันบริเวณส่วนปลายของกระดูกจะสึกหรอ และพื้นผิวของกระดูกที่เรียบจะขรุขระขึ้น กระดูกจึงเสียดสีกัน และส่งผลให้เกิดความฝืดและความเสียหายของข้อต่อ ความเสียหายของข้อต่ออาจส่งผลให้เกิดกระดูกใหม่ข้างๆ กระดูกเดิม (กระดูกงอก) ซึ่งอาจทำให้เกิดเนื้องอกที่สังเกตเห็นได้บริเวณข้อต่อของนิ้วหัวแม่มือ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อนิ้วหัวแม่มืออักเสบ เช่น เป็นผู้หญิง อายุมากกว่า 40 ปี เป็นโรคอ้วน โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น เอ็นข้อหย่อน (joint […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน