backup og meta

น้อยหน่า ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

น้อยหน่า ประโยชน์ต่อสุขภาพ และข้อควรระวัง

น้อยหน่า ผลไม้เมืองร้อนที่มีลักษณะเป็นทรงรีอ้วนป้อม มีเปลือกเป็นเกล็ดซ้อน ๆ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาว ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติหวานอร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ช่วยบำรุงสายตา อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการรับประทานเปลือกและเมล็ดของน้อยหน่า เนื่องจากอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้

[embed-health-tool-bmr]

ทำความรู้จักกับ น้อยหน่า สุดยอดไม้ผลเมืองร้อน

น้อยหน่า (Custard Apple หรือ Cherimoya) มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Annona squamosa พบได้มากในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้อยหน่านั้นจะมีลักษณะผลเป็นทรงรีป้อม ๆ เปลือกรูปร่างคล้ายกับเกล็ด ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สีเขียวอ่อน เมล็ดสีดำ ส่วนเนื้อข้างในจะเป็นสีขาว รสชาติหวานมัน สามารถตักรับประทานได้เลย เลยเป็นที่ชื่นชอบอย่างมาก โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก

นอกจากผลสุกของน้อยหน่าที่สามารถนำมารับประทานได้แล้ว ส่วนอื่น ๆ ของต้นน้อยหน่า เช่น ผลดิบ เมล็ด และใบน้อยหน่า ก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น ใบน้อยหน่า สามารถนำมาตำรวมกับเหล้าขาว แล้วใช้ชโลมศีรษะ เพื่อรักษาเหาได้

คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่า

น้อยหน่า เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุ โดยในน้อยหน่า 100 กรัม จะมีคุณค่าทางโภชนาการดังต่อไปนี้

  • พลังงาน 94 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 24 กรัม
  • ไขมัน 29 กรัม
  • ใยอาหาร 4 กรัม
  • โปรตีน 2 กรัม
  • วิตามินบี 1 10% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • วิตามินบี 2 9% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • วิตามินบี 6 15% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • วิตามินซี 44% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • แคลเซียม 2% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • ธาตุเหล็ก 5% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
  • แมงกานีส 20% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน

นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม สังกะสี และวิตามินบีอื่นๆ อีกด้วย

ประโยชน์สุขภาพที่ได้จากน้อยหน่า

ดีต่อระบบทางเดินอาหาร

น้อยหน่านั้นเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร ช่วยทำให้อุจจาระดูดซึมน้ำได้มากขึ้น และช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้

ในน้อยหน่า 1 ถ้วย อาจให้ใยอาหารได้มากถึง 17% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน อีกทั้งยังเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble fiber) ที่มีประโยชน์ต่อเชื้อแบคทีเรียดีที่อยู่ในลำไส้ ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันที่มีประโยชน์ และช่วยทำให้สุขภาพของระบบทางเดินอาหารแข็งแรงอีกด้วย

อาจช่วยต้านมะเร็งได้

น้อยหน่านั้นจะอุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กรดคอรีโนอิค (Kaurenoic acid) สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) และวิตามินซี ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ สามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง

ดีต่อสุขภาพหัวใจ

มีงานวิจัยพบว่า การรับประทานน้อยหน่า อาจสามารถช่วยลดระดับของความดันโลหิตลงได้ เนื่องจากในน้อยหน่านั้นมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง สารอาหารทั้งสองนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะสามารถช่วยลดความดันโลหิตทั้งค่าบนและค่าล่างได้ โดยการช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนง่ายขึ้น และลดความดันโลหิตลง

ภาวะความดันโลหิตสูงนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง การรับประทานน้อยหน่าเพื่อช่วยลดความดันโลหิตสูง จึงสามารถช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

บำรุงสายตา

น้อยหน่านั้นอุดมไปด้วยสารลูทีน (Lutein) สารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่มีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงสายตา โดยการต่อต้านสารอนุมูลอิสระที่อาจทำให้เซลล์ของดวงตาเสื่อมลงได้

มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานอาหารที่มีสารลูทีนสูง เช่น น้อยหน่า สามารถช่วยทำให้สุขภาพของดวงตาดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตา เช่น ตาพร่า การมองเห็นลดลง หรือจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)

ข้อควรระวัง

แม้ว่าน้อยหน่าจะเป็นผลไม้ที่มากประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากในผลน้อยหน่านั้น อาจจะมีส่วนประกอบที่เป็นพิษอยู่ด้วย

ในน้อยหน่า จะมีสารที่เรียกว่า แอนโนนาซิน (Annonacin) ที่สามารถพบได้ในพืชตระกูล Annona รวมไปจนถึงน้อยหน่าได้อีกด้วย สารแอนโนนาซินนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสมอง และระบบประสาทได้ สารแอนโนนาซินนี้สามารถพบได้ในทุกส่วนของน้อยหน่า แต่ส่วนที่พบได้มากที่สุดคือบริเวณเมล็ด และเปลือกของผลน้อยหน่า

มีงานวิจัยที่พบว่า ในประเทศเขตร้อน ที่มีการรับประทานพืชในตระกูล Annona เช่น น้อยหน่า เป็นจำนวนมาก อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าในการเกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ชนิดที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาโรคพาร์กินสันตามปกติ หรือโรคในระบบประสาทอื่นๆ ได้

ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดในการรับประทานน้อยหน่า โดยหลีกเลี่ยงสารพิษแอนโนนาซินนี้ คือการรับประทานเพียงแค่เนื้อผลไม้ หลีกเลี่ยงเมล็ด และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้อยหน่าและพืชในตระกูลเดียวกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Nutritional and phytochemical composition of Annona cherimola Mill. fruits and by-products: Potential health benefits. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26433307/. Accessed November 15, 2021.

Profiling of lipophilic and phenolic phytochemicals of four cultivars from cherimoya (Annona cherimola Mill.). https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27283704/. Accessed November 15, 2021.

Ocular toxicity by seeds of Annona squamosa (custard apple). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5056555/. Accessed November 15, 2021.

Nutritional and phytochemical composition of Annona cherimola Mill. fruits and by-products: Potential health benefits. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26433307/. Accessed November 15, 2021.

Cherimoya, raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/173953/nutrients. Accessed November 15, 2021.

Profiling of lipophilic and phenolic phytochemicals of four cultivars from cherimoya (Annona cherimola Mill.) https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27283704/. Accessed November 15, 2021.

Epigallocatechin Gallate (EGCG) is the most effective cancer chemopreventive polyphenol in green tea. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23201840/. Accessed November 15, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลิ้นจี่ ผลไม้เศรษฐกิจ กินแล้วดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ

6 ประโยชน์ของ ลองกอง ผลไม้จากธรรมชาติ คู่สุขภาพคุณ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา