backup og meta

ประโยชน์ของน้ำผึ้ง และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/03/2022

    ประโยชน์ของน้ำผึ้ง และข้อควรระวังในการบริโภค

    ประโยชน์ของน้ำผึ้งมีมากมาย นอกจากให้ความหวานตามธรรมชาติและให้พลังงานต่อร่างกายแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้านการอักเสบ สมานแผล บรรเทาอาการไอ ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ

    คุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้ง

    น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณ 20 กรัม ให้พลังงานประมาณ 61 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

    • คาร์โบไฮเดรต 17 กรัม
    • น้ำตาล 17 กรัม
    • ไรโบฟลาวิน หรือวิตามินบี 2 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
    • ทองแดง 1% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน

    นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ไนอาซิน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี

    ประโยชน์ของน้ำผึ้งที่มีต่อสุขภาพ

    น้ำผึ้งมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสรรพคุณของน้ำผึ้งในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

    1. อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    น้ำผึ้งอาจเพิ่มระดับอดิโนเพคติน (Adiponectin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินในการเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของสารประกอบในน้ำผึ้งที่มีผลต่อสุขภาพ พบว่า น้ำผึ้งอาจมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มความไวของอินซูลิน และต้านภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลดีต่อการดูดซึมน้ำตาล จึงสามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2

    1. อาจช่วยต้านการอักเสบและรักษาบาดแผล

    น้ำผึ้งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์ กรดฟีนอลิก (Phenolic Acids) ที่สามารถต้าน เชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อรา รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยสมานแผล เช่น แผลไฟไหม้ แผลที่เท้าจากเบาหวาน แผลกดทับ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Molecules เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวประโยชน์ของสารประกอบในน้ำผึ้งที่มีผลต่อสุขภาพ พบว่า น้ำผึ้งเป็นสารธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อรา ซึ่งสามารถใช้รักษาบาดแผลที่ติดเชื้อ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ ลดอาการบวมน้ำและการเกิดแผลเป็น อาจส่งผลดีต่อบาดแผลทั่วไป เช่น แผลไฟไหม้ แผลที่เท้าจากเบาหวาน แผลกดทับ

    1. อาจช่วยบรรเทาอาการไอในเด็ก

    น้ำผึ้งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในทางเดินหายใจ จึงอาจช่วยบรรเทาอาการไอในเด็กได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำผึ้งที่ใช้รักษาอาการไอในเด็ก พบว่า การรับประทานน้ำผึ้งอาจช่วยลดการหลั่งเมือกและลดอาการไอในเด็กได้ เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและลดอาการไอในเด็ก ควรให้เด็กอายุมากกว่า 1 ปีที่มีอาการไอดื่มน้ำผึ้งบัควีท (Buckwheat Honey) 2.5 มิลลิตร ผสมกับน้ำอุ่น 500 มิลลิลิตร ก่อนนอน ข้อควรระวังสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้กินน้ำผึ้ง เพราะในน้ำผึ้งมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอาจทำให้ทารกเป็นโรคโบทูลิซึมได้

    1. อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจ

    น้ำผึ้งอุดมด้วยโพรพอลิส (Propolis) ซึ่งเป็นของเหลวชนิดหนึ่งที่ผึ้งผลิตขึ้นจากต้นไม้ อาจมีคุณสมบัติช่วยปรับปรุงการทำงานของหัวใจ ควบคุมความดันโลหิต ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Environmental Research and Public Health เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำผึ้งที่ส่งผลต่อหัวใจ พบว่า น้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากน้ำผึ้งช่วยปกป้องหัวใจด้วยการปรับปรุงการเผาผลาญไขมัน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ควบคุมความดันโลหิต ปรับปรุงการเต้นของหัวใจ การลดพื้นที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย มีคุณสมบัติลดการตายของเซลล์

    ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำผึ้ง

    แม้น้ำผึ้งจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ผู้มีภาวะทางสุขภาพบางประการอาจต้องระวังในการบริโภคน้ำผึ้ง เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

    • โรคโบทูลิซึมในทารก (Botulism) น้ำผึ้งอาจเต็มไปด้วยแบคทีเรียที่อันตรายต่อทารก เช่น คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) จึงไม่เหมาะกับทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน เนื่องจาก ทารกยังมีร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ อาจไม่สามารถต้านเชื้อโรคจำนวนมากได้ ทารกที่เป็นโรคโบทูลิซึมอาจมีอาการท้องผูก หายใจช้า เปลือกตาหย่อน สูญเสียการควบคุมศีรษะ ไม่กินอาหาร อ่อนเพลีย ร้องไห้งอแง และอาจมีอาการอัมพาต
    • โรคภูมิแพ้ อาจเกิดขึ้นได้ในบางคน เนื่องจากในน้ำผึ้งอาจยังคงมีสปอร์ของผึ้งและเอนไซม์ย่อยอาหารจากผึ้ง จึงอาจทำให้มีอาการแพ้อย่างรุนแรง อาจทำให้มีอาการน้ำมูกไหล จาม บวม น้ำตาไหล คันคอ ผื่น อาการโรคลมพิษ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 29/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา