backup og meta

มะกอก ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 13/05/2022

    มะกอก ประโยชน์ต่อสุขภาพและข้อควรระวังในการบริโภค

    มะกอก เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานและนิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน เช่น ประกอบอาหาร บำรุงผิว มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารและสารประกอบหลายชนิดที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กรดโอเลอิก (Oleic acid) สารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบ ลดระดับไขมันในเลือด และอาจช่วยต้านมะเร็งได้

    คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

    มะกอก ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 141 กิโลแคลอรี่ และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น

  • โปรตีน 1.15 กรัม
  • ไขมัน 12.9 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม
  • ไฟเบอร์ 4 กรัม
  • นอกจากนี้ มะกอกยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม สังกะสี

    ประโยชน์ต่อสุขภาพของมะกอก

    มะกอกอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติในการรักษาและและการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

    อาจช่วยต้านการอักเสบ

    มะกอกมีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research Reviews เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic) ของน้ำมันมะกอก: โครงสร้าง ฤทธิ์ทางชีวภาพ และประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์ พบว่า สารประกอบฟีนอลิกที่อยู่ในน้ำมันมะกอก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อการลดอาการอักเสบในเซลล์ ช่วยต้านการก่อตัวของภาวะหลอดเลือดแข็งที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ และต้านโรคมะเร็งได้

    อาจช่วยเสริมสร้างกระดูก

    มะกอกอาจช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ จากสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่เป็นสารพฤกษเคมีซึ่งสามารถลดภาวะอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Environmental Research เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับ มะกอกและกระดูก: ตัวเลือกการป้องกันโรคกระดูกพรุน พบว่า การบริโภคน้ำมันมะกอกทุกวันสามารถป้องกันการสูญเสียความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้

    อาจช่วยลดระดับไขมันในเลือด

    น้ำมันมะกอกช่วยลดไขมันเลว หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และรักษาระดับไขมันดี หรือคอเลสเตอรอลดี (HDL) เอาไว้ใช้เป็นพลังงานภายในร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจช่วยชะลอการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดงของหัวใจได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Nutrition and Metabolism เมื่อพ.ศ. 2536 ศึกษาเรื่อง การลดการดูดซึมไขมันเลวของน้ำมันมะกอกในอาหาร โดยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน รับประทานน้ำมันมะกอกในรูปแบบอาหารเสริมในปริมาณ 50 กรัม/วัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า สามารถลดระดับคอเรสเตอรอลได้ถึง 16% ซึ่งอาจเกิดจากสรรพคุณของกรดโอเลอิกและเบต้า-ซิโตสเตอรอล (Beta-sitosterol) ที่อยู่ในน้ำมันมะกอก จึงอาจสรุปได้ว่า มะกอก มีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจลดลงได้

    อาจช่วยต้านมะเร็งได้

    โอลีโอแคนทาล (Oleocanthal) เป็นสารประกอบฟีนอลธรรมชาติที่พบในมะกอก มีคุณสมบัติในการต้านเซลล์มะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Public Library of Science เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ศึกษาเรื่อง การกระตุ้นการย่อยสลายเซลล์มะเร็งของโอลีโอแคนทาลและน้ำมันกอกที่มีโอลีโอแคนทาลปริมาณสูง พบว่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์สามารถลดจำนวนเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติที่ไม่เป็นอันตรายได้

    ข้อควรระวังเมื่อบริโภคมะกอก

    • เนื่องจากน้ำมันมะกอกสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ที่ใช้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงควรระมัดระวังในการบริโภคมะกอก เพราะอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานมะกอก ใบมะกอก และน้ำมันมะกอก หากเคยรับประทานแล้วมีอาการแพ้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 13/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา