backup og meta

สูตรสปาเกตตี้โบโลเนสเห็ด

สูตรสปาเกตตี้โบโลเนสเห็ด

ซอสโบโลเนส (Bolognese Sauce) เป็นซอสมะเขือเทศ เมนูอาหารอิตาเลียนที่หลาย ๆ คนคงเคยได้ลิ้มรส ส่วนใหญ่แล้วมักจะนำมาผัดกับเนื้อหมูหรือเนื้อวัว ซอสโบโลเนสเป็นซอสที่ผัดออกมาได้รสชาติมะเขือเทศเข้มข้น หอม กลมกล่อม ใคร ๆ ได้ลองเป็นต้องติดใจ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ เอาใจสายมังสวิรัติด้วย สูตรสปาเกตตี้โบโลเนสเห็ด ที่อร่อยไม่แพ้เนื้อสัตว์เลยทีเดียว ใครอยากได้สูตรนี้ตามไปจดกันได้เลยค่ะ

สูตรสปาเกตตี้โบโลเนสเห็ด

ส่วนผสมสำหรับ สูตรสปาเกตตี้โบโลเนส

วัตถุดิบ ปริมาณ
แครอท 1 หัว
หัวหอม 1 หัว
กระเทียม 2 หัว
เซเลอรีี 1 ต้น
น้ำมันมะกอก
ใบไทม์
เห็ด
มะเขือเทศเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุปผัก 400 มิลลิลิตร
มะเขือเทศ 400 กรัม
เส้นสปาเกตตี้

 วิธีทำ

  1. ปลอกเปลือกแครอท หอมใหญ่ และกระเทียม หั่นเซเลอรีแบบหยาบ ๆ นำส่วนผสมทั้งหมดนี้ลงไปปั่นให้ละเอียด
  2. ตั้งกระทะด้วยไฟปานกลาง ใส่น้ำมันมะกอกใส่ส่วนผสมที่ปั่นเมื่อซักครู่ลงไปผัดนานประมาณ 10 นาที ให้ส่วนผสมทั้งหมดนิ่ม แล้วใส่ใบไทม์ลงไป
  3. ใส่เห็ดที่หั่นเป็นชิ้น ๆ ลงไปผัดจนกว่าเห็ดจะนิ่ม
  4. ใส่มะเขือเทศเข้มข้นและน้ำซุปผัก พร้อมมะเขือเทศสดลงไปผัด พร้อมทั้งบดมะเขือเทศสดให้ละเอียด
  5. ใส่เส้นสปาเกตตี้ลงไปคลุกเคล้ากับซอสโบโลเนส
  6. ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย

ประโยชน์น่ารู้ของ เห็ด

เห็ดนั้นมีรูปร่าง ขนาดและสีที่แตกต่างกันมากมาย เห็ดที่ไม่เป็นพิษนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แถมยังอร่อยอีกด้วย ในปัจจุบันเราใช้สำหรับการปรุงอาหารหลากหลายเมนู เห็ดเป็นตัวช่วยเพิ่มรสชาติที่แสนพิเศษ แถมยังเป็นวัตถุดิบให้โซเดียม ไขมัน แคลอรี่ที่ต่ำ

สูตรสปาเกตตี้โบโลเนสซอสเห็ด-ประโยชน์ของเห็ด

ที่สำคัญเห็ดนั้นปราศจากคอเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้เห็ดยังเป็นผักที่มีประโยชน์ทางโภชนาการมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด แต่ส่วนใหญ่แล้วเห็ดเป็นแหล่งอาหารที่ดีของสารอาหาร ดังต่อไปนี้

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและมะเร็งได้ นอกจากนี้ยังปกป้องความเสียหายที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นและยังช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน เห็ดอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าซีลีเนียม

เบต้ากลูแคน (Beta glucan)

เบต้ากลูแคน เป็นไฟเบอร์รูปแบบหนึ่งที่ละลายน้ำได้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับการปรับปรุงคอเลสเตอรอลและส่งเสริมสุขภาพหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 โดยเฉพาะเห็ดหอมเป็นอาหารที่มีมีเบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่แพ้หอยนางรมเลยทีเดียว

วิตามินบี

เห็ดอุดมไปด้วยวิตามินบี ได้แก่ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) ไนอาซิน(Niacin) และ กรดแพนโทธีนิก (Pantothenic acid) ซึ่งสารเหล่านี้มีส่วนช่วยปกป้องสุขภาพของหัวใจ ไรโบฟลาวินดีต่อเม็ดเลือดแดง ไนอาซินดีต่อระบบย่อยอาหารและบำรุงผิวพรรณให้แข็งแรง ส่วนกรดแพนโทธีนิกดีต่อระบบประสาทและช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่ร่างกายต้องการ

ทองแดง

ทองแดงเป็นแร่ธาตุที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งใช้ในการส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ทองแดงเป็นแร่ธาตุมีความสำคัญต่อกระบวนการอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น การบำรุงกระดูกและเส้นประสาทให้แข็งแรง ซึ่งเห็ด 1 ถ้วยให้ปริมาณทองแดงประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน

โพแทสเซียม

โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท

แม้ว่าเห็ดจะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ว่าสารพิษในเห็ดป่าบางชนิด อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ ไม่เพียงเท่านั้น เห็ดป่าบางชนิดยังมีโลหะหนักและสารเคมีอันตรายอื่น ๆ ในปริมาณสูง ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายเหล่านี้ คุณควรเลือกบริโภคเห็ดจากแหล่งเก็บเกี่ยวที่สามารถเชื่อถือได้เท่านั้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Mushroom & lentil pappardelle Bolognese

https://www.jamieoliver.com/recipes/pasta-recipes/mushroom-lentil-pappardelle-bolognese/

Are Mushrooms Good for You?

https://www.healthline.com/health/food-nutrition/are-mushrooms-good-for-you

What is the nutritional value of mushrooms?

https://www.medicalnewstoday.com/articles/278858

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/10/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมสุดยอด แหล่งของโอเมก้า 3 จากพืช สำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติ แต่ไม่อยากขาดสารอาหาร

เห็ดหลินจือ สมุนไพรต้านมะเร็ง พร้อมประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 30/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา