backup og meta

ดื่มกาแฟแล้วทำให้ง่วงนอน กาแฟทำให้ง่วงได้ด้วยหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 08/06/2020

    ดื่มกาแฟแล้วทำให้ง่วงนอน กาแฟทำให้ง่วงได้ด้วยหรือ?

    ดื่มกาแฟทำให้ไม่ง่วงนอน เป็นคำแนะนำที่หลายคนได้ยินกันมานานแล้ว และได้ผลสำหรับหลายต่อหลายคน แต่ในบางครั้งการดื่มกาแฟกลับทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาเสียอย่างนั้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้? ถ้าอยากรู้ล่ะก็ มาหาคำตอบกันดีกว่าว่าการ ดื่มกาแฟแล้วทำให้ง่วงนอน เป็นเพราะอะไรกันแน่

    กาแฟ 1 แก้ว ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

    กาแฟ เครื่องดื่มยอดนิยมสำหรับผู้ใหญ่และวัยทำงาน ทุก ๆ ช่วงพักเบรก พักเที่ยง หรือตกบ่ายเข้าหน่อยเป็นต้องหาเวลาออกมาจิบกาแฟให้ได้สักแก้ว ซึ่งในกาแฟนั้น มีสารขึ้นชื่อที่เรารู้จักกันดีคือคาเฟอีน ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายมีความรู้สึกตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน แต่แท้จริงแล้ว ในกาแฟ 1 แก้ว ไม่ได้ให้แค่คาเฟอีนเท่านั้น แต่ยังให้สารอาหารอื่น ๆ ด้วย ได้แก่

  • วิตามินบี2 หรือ ไรโบเฟลวิน ( Riboflavin )
  • วิตามินบี2 หรือ ไรโบเฟลวิน เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำได้ และเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยวิตามินนี้ยังสามารถพบได้ในอาหารประเภท เนื้อ นม ไข่ แป้ง ผักชนิดต่าง ๆ และถั่ว

    • แมกนีเซียม

    แมกนีเซียม เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และร่างกายจำเป็นที่จะต้องมีสารแมกนีเซียมอยู่ในระดับที่เพียงพอ เพราะถ้าหากมีปริมาณแมกนีเซียมในร่างกายน้อย อาจทำให้พบกับความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน โรคกระดูกพรุน รวมถึงอาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองด้วย หากไม่ใช่กาแฟ การรับประทานอาหารประเภทถั่ว ธัญพืช เนื้อสัตว์ นม หรืออัลมอนด์ ก็ให้สารแมกนีเซียมได้เช่นกัน

    • สารเคมีที่มีประโยชน์จากพืช

    สารดังกล่าว ได้แก่ โพลิฟีนอล (Pholyphenols) กรดคลอโรจินิก (Chlorogenic acid) กรดควินิก (Quinic acid) ไดเทอร์พีน (Diterpenes) คาเฟสตอล (Cafestol) และคาห์วิออล (Kahweol) ซึ่งสารเหล่านี้เป็นทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ และสารเคมีที่ให้ประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงลดความเสี่ยงโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็งได้

    • คาเฟอีน (Caffeine)

    และแน่นอน ตัวเอกของกาแฟก็คือสารคาเฟอีนนั่นเอง คาเฟอีนเป็นสารที่พบได้ในพืชและอาหารหลายชนิด เช่น กาแฟ ชา โคล่า (Cola) กัวราน่า (Guarana)  เป็นต้น คาเฟอีนเป็นสารที่มีสรรพคุณในการกระตุ้นระบบประสาท ทำให้มีการตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้สารคาเฟอีนเพื่อประโยชน์ในการบรรเทาอาการปวดได้อีกด้วย

    การ ดื่มกาแฟทำให้ง่วงนอน ได้จริงหรือ?

    หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมานานแล้วกับคำกล่าวที่ว่า ไม่อยากง่วงก็ไปดื่มกาแฟสิ ซึ่งคำกล่าวนั้นได้ผลกับหลายคน แต่ขณะเดียวกันก็มีบางคนที่การดื่มกาแฟไม่ได้ส่งผลใด ๆ แถมยังสามารถดื่มกาแฟได้วันละหลาย ๆ แก้วอีกด้วย และเนื่องจากการตอบสนองต่อกาแฟของแต่ละคนต่างกัน จึงทำให้มีอีกหลายคนที่ดื่มกาแฟแล้วรู้สึกง่วง แต่กาแฟทำให้เราง่วงได้จริงหรือ? คำตอบคือกาแฟไม่ได้ทำให้ง่วง แต่เป็นสารคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟต่างหากที่เป็นตัวการทำให้รู้สึกง่วง

    สาเหตุที่ ดื่มกาแฟแล้วทำให้ง่วงนอน

    คาเฟอีนขัดขวางการทำงานของอะดีโนซีน (Adenosine)

    อะดีโนซีน เป็นสารเคมีที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ในการควบคุมวงจรการนอนหลับของมนุษย์ หรือพูดอีกความหมายหนึ่งคือ อะดีโนซีนเป็นสารทำให้รู้สึกง่วงนอน โดยสารนี้จะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ตื่นนอน และไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ในสมองส่วนหน้าเพื่อทำให้รู้สึกง่วง ท้ายที่สุดระดับของสารอะดีโนซีนจะลดลงเมื่อคุณนอนหลับ

    แต่เมื่อดื่มกาแฟ สารคาเฟอีนในกาแฟจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของตัวรับสารอะดีโนซีน ไม่ให้สารอะดีโนซีนออกมากระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกง่วง แต่สมองยังคงผลิตสารอะดีโนซีนตามปกติ และเมื่อระดับคาเฟอีนเริ่มลดลง สารอะดีโนซีนที่ถูกสะสมไว้ในปริมาณมากและยังไม่ได้ปล่อยออกมา จึงกลับมาทำหน้าที่ตามปกติหลังจากระดับของคาเฟอีนเริ่มลดลง และด้วยปริมาณของสารอะดีโนซีนที่ถูกสะสมไว้ในปริมาณสูงนั่นเองจึงทำให้รู้สึกง่วงนอน

    ง่วงเพราะน้ำตาล

    บางครั้งการง่วงนอนหลังจากดื่มกาแฟเข้าไป อาจเป็นผลมาจากน้ำตาลที่เติมลงไปในกาแฟ หลายคนชอบดื่มกาแฟ แต่ขอเป็นกาแฟที่มีรสหวานเท่านั้น เมื่อร่างกายได้รับความหวานทั้งจากน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือวิปครีม ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะเพิ่มขึ้น ระบบการเผาผลาญก็จะทำงาน อีกทั้งร่างกายมีปฏิกิริยากับน้ำตาลได้ไวกว่าคาเฟอีน เมื่อร่างกายดูดซึมเอาน้ำตาลไปใช้ พลังงานในร่างกายก็จะต่ำลง ทำให้เริ่มรู้สึกง่วงนอนขึ้นมา

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 08/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา