การทราบข้อมูลเกี่ยวกับ อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ที่ควรรับประทานและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาจช่วยให้คนในครอบครัวและผู้ป่วยวางแผนการดูแลสุขภาพของคนเป็นโรคหัวใจได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไป คนเป็นโรคหัวใจสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเน้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และควรหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่ส่งผลเลียต่อสุขภาพ เช่น อาหารน้ำตาลสูง อาหารไขมันอิ่มตัวสูง อาหารโซเดียมสูง
[embed-health-tool-bmi]
อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ มีอะไรบ้าง
ตัวอย่าง อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ อาจมีดังนี้
โปรตีน
โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ และอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน คนเป็นโรคหัวใจควรเลือกรับประทานโปรตีนจากแหล่งที่หลากหลาย และควรเลือกโปรตีนที่ไม่มีไขมันหรือไม่ติดหนัง เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวที่อาจไปสะสมในร่างกาย
ตัวอย่างอาหารจำพวกโปรตีนสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ
- อาหารทะเล เช่น ปลา หอย กุ้ง
- เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด
- เนื้อแดงไม่ติดมัน เช่น สันคอหมู เนื้อสันนอก
- พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
- ไข่ไก่ ไข่เป็ด
- เต้าหู้
ธัญพืชเต็มเมล็ด (Whole Grain)
ธัญพืชเต็มเมล็ด อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้
ตัวอย่างธัญพืชเต็มเมล็ดสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ
- ขนมปังโฮลเกรน
- ข้าวโอ๊ต
- ข้าวกล้อง
- ควินัว
- พาสต้าโฮลวีต
ผักและผลไม้
ผักและผลไม้มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม โฟเลต ทั้งยังมีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการหัวใจวายโรคหลอดเลือดสมอง โดยควรเลือกผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน และควรล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ
ตัวอย่างผักและผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ
- ผักใบเขียว เช่น ผักเคล ผักบุ้ง ผักคะน้า บรอกโคลี ผักโขม ปวยเล้ง
- ผักสีขาว เช่น กระเทียม ดอกกะหล่ำ ขิง ข่า
- แอปเปิล
- กล้วย
- ส้ม
- องุ่น
- บลูเบอร์รี
- ลูกพรุน
น้ำมันและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
การบริโภคไขมันชนิดอิ่มตัวจะทำให้มีคอเรสเตอรอลสะสมอยู่ในหลอดเลือด คนเป็นโรคหัวใจควรหันมาบริโภคไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเป็นหลัก เพราะนอกจากจะช่วยลดคอเรสเตอรอลและเพิ่มไขมันดีแล้ว ยังเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่เสี่ยงทำให้สุขภาพหัวใจแย่ลง
- น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันเมล็ดฟักทอง
- ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน
- มายองเนสไขมันต่ำ
- เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง
อาหาร คน เป็น โรค หัวใจ ควรหลีกเลี่ยง
อาหารคนเป็นโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงหรือบริโภคแต่น้อย อาจมีดังนี้
- อาหารโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เบเกอรี่ อาหารอบแห้งและทอดกรอบ ซอสปรุงรส เพราะจะทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง จนทำให้หลอดเลือดอ่อนแอและเปราะบาง และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
- อาหารไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย ชีส เนื้อแดง เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง อาหารทอด น้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ ไส้อั่ว ไส้กรอก แหนม แฮม หมูยอ พิซซ่า เพราะอาจทำให้ไขมันอุดตันในหลอดเลือดและทำให้ความดันโลหิตสูง
- อาหารน้ำตาลสูง เช่น เค้ก พาย คุกกี้ น้ำอัดลม กาแฟรสหวาน เพราะจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต ซึ่งอาจทำให้สุขภาพหัวใจแย่ลง และเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ โซจู เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง เมื่อดื่มเป็นประจำจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น จนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
วิธีดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง
วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจทำได้ดังนี้
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
- รับประทานอาหารให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยหรือมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ โดยอาจเลือกกิจกรรมในระดับความเหนื่อยปานกลาง เช่น เดินเร็ว ตีแบด ว่ายน้ำ แอโรบิค ทำสวน ซึ่งอาจช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลได้ ทั้งยังเสริมสร้างสุขภาพของร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด เพราะส่งผลต่อสุขภาพของหลอดเลือดและการไหลเวียนโลหิต อาจทำให้โรคหัวใจที่เป็นอยู่แย่ลงได้
- ควรทำอาหารรับประทานเอง เนื่องจากอาหารจากร้านอาหารมักปรุงรสจัดและใส่เครื่องปรุงเยอะ อาจทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินไป นอกจากนี้ การทำอาหารเองที่บ้านยังช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพ ความสะอาด และแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้สะดวกกว่าด้วย
- ปรุงรสอาหารด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศในปริมาณที่เหมาะสม แทนการใช้เกลือ และเครื่องปรุงรสอย่างซีอิ๊ว น้ำมันหอย ซอสมะเขือเทศ ซอสถั่วเหลือง
- ตรวจวัดความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และไปพบคุณหมอตามนัดหมายตรวจสุขภาพทุกครั้ง