โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคหอบหืด

ประเภทของหอบหืด กับวิธีการป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่คุณควรรู้

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยอาจมาจากสาเหตุของโรคภูมิแพ้เป็นหลัก จนเกิดอาการแพ้เรื้อรังส่งผลให้เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลบตีบแคบตามมาในที่สุด แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า โรคหอบหืด นี้ยังถูกแบ่งออกอีกหลายชนิดด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของหอบหืด ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักประสบ เพื่อรู้ให้เท่าทันถึงอาการ และวิธีการรักษา 5 ประเภทของหอบหืด มีอะไรบ้าง โรคหอบหืด ถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ได้กับทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับอาการแพ้อยู่แต่เดิมเช่น แพ้ขนสัตว์ แพ้อากาศ แพ้ละอองเกสร เป็นต้น โดยสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้ โรคหอบหืดจากการทำงาน ส่วนมากผู้ที่เป็นหอบหืดประเภทนี้มักประกอบอาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อสารก่อให้เกิดภูมิแพ้เช่น โรงงานที่สัมผัสปะปนสารเคมี โลหะ ตะกั่ว และไม้ เกษตรกร สัตวแพทย์ เป็นต้น โดนจะส่งผลให้คุณมีอาการแพ้  โพรงจมูกบวม มีน้ำมูก จนเข้าไปปิดกันช่องทางเดินหายใจ วิธีการรักษา อาการดังกล่าวข้างต้นที่เกิดขึ้น ปกติแล้วจะหายไปได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่หากกรณีที่คุณมีอาการรุนแรงขึ้นอาจต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมรับประทานยาตามคำแนะนำ จนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามีอาการที่ดีขึ้น หรือรับประทานจนกว่าจะครบระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โรคหอบหืดตามฤดูกาล สามารถเกิดขึ้นได้ในบางสภาวะตามสภาพอากาศที่ร่างกายคุณมีการตอบสนอง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเจอผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดประเภทนี้ในช่วงฤดูหนาวได้มากกว่า พร้อมกับมีไข้เล็กน้อย หรือเป็นไข้หวัดร่วมด้วย วิธีการรักษา แพทย์อาจต้องมีการตรวจร่างกายว่าคุณมีอาการใดบ้าง พร้อมกับให้ยารักาตามอาการ และให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ฤดูหนาวคุณควรสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหนา […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียต่อปอดได้อย่างไร

ถึงแม้ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จัก หรือเคยได้ยินมาบ้างแล้วเกี่ยวกับ โรคปอดอักเสบ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีโรคปอดอักเสบอีกประเภทที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพปอดของคุณได้ไม่แพ้กัน โดยวันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เพื่อให้คุณนำไปสังเกตอาการเบื้องต้น พร้อมรับการรักษาได้อย่างเท่าทัน เมื่อรู้สึกว่าตนเองกำลังเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์อาการผิดปกติ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียอย่างไรต่อปอด  โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะการจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์เล็ก ๆ จนส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงไม่สามารถปกป้องร่างกาย หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ทำให้เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ เริ่มเข้ามารุกรานทำลายเนื้อเยื่อผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ลำไส้ จนไปถึงกระเพาะอาหาร แต่อาจเกิดความเสียหายไม่เท่าปอด เพราะเมื่อใดที่ปอดมีการติดเชื้อจนอักเสบ และมีอาการปอดบวมร่วม ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตลงได้ อาการของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เนื่องจากเป็นโรคประเภทเดียวกับ โรคปอดอักเสบ ปอดบวมทั่วไป จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มักมีอาการ ดังต่อไปนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถึงอย่างไรหากคุณพบอาการใดอาการหนึ่งที่ผิดปกติขึ้นไม่ว่าจะระดับรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ควรเข้ารับการรักษาในทันทีจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด มีไข้ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก เมื่อคุณหายใจเข้า และหายใจออก น้ำมูกไหล ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม และรู้สึกเจ็บ คันระคายเคืองบริเวณผิวหนัง ผื่นแดง และบวม เนื้อเยื่อในช่องปากมีอาการบวมแดง อาเจียน ท้องร่วง บางครั้งอาจมีอุจาระเป็นเลือด หนองบริเวณทวารหนัก ไอแห้ง วิธีรักษาโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะทำการพิจารณาจากอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ ดังนั้นคุณจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่คุณเป็นอยู่ เพื่อให้แพทย์นำไปวิเคราะห์เลือกหนทางการรักษาที่เหมาะสมด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ ควบคุมการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ ยกตัวอย่างยา ซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulfamethoxazole) และไทรเมโทพริม (Trimethoprim) ที่อาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน […]


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ภัยใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) เป็นอีกหนึ่งโรคทางระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย โดยมีสาเหตุมาจากมลภาวะทางอากาศและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับโรค หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มาให้ผู้อ่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจถึงโรคดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้รับมือกับโรคได้อย่างทันท่วงที  โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) คืออะไร โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะเข้าไปในท่อหลอดลมมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก เป็นต้น  ถึงแม้ว่าโรค หลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายเท่าใดนักในผู้ป่วยครั้งแรก (ผู้ป่วยบางรายมีอาการปอดบวมได้) แต่หากหลอดลมเกิดการอักเสบหลายครั้งซ้ำ ๆ อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีดังต่อไปนี้ ควันบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นหวัดหรือมีภาวะเรื้อรังที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง  มลภาวะทางอากาศ  การสัมผัสกับ ฝุ่น ควัน สารเคมี อาจทำให้เกิดการระคายเคียงในปอด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบ กรดไหลย้อน อาการเสียดท้องอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ อาจทำให้คอเกิดการระคายเคือง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป 5 สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรค […]


โรคหอบหืด

ความแตกต่างของหอบหืดกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง สามารถสังเกตได้จากอะไร

ความแตกต่างของหอบหืดกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจจะเป็นอะไรที่ทำให้หลายคนสับสน และแยกไม่ออกว่าโรคไหนเป็นโรคไหนกันแน่ เพราะความคล้ายคลึงของอาการที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ เลยได้นำข้อแตกต่างระหว่าง หอบหืดกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง มาเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้ทราบกันในบทความนี้ สาเหตุของโรคหอบหืดกับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แม้ว่า โรคหอบหืด กับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อาจจะมีอาการของโรคคล้ายกัน แต่มีสาเหตุการเกิดโรคที่แตกต่างกัน มาลองดูกันดีกว่าว่า โรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง สาเหตุของการเกิด โรคหอบหืด ถึงแม้ว่า โรคหอบหืด จะมีสาเหตุในการเกิดโรคที่ไม่ชัดเจนมากนัก แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าโรคหอบหืดอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลให้ร่างกายมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าไปทำปฏิกิริยากับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ทำให้มีอาการของโรคหอบหืดกำเริบ นอกจากนี้ยังอาจรวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรมที่สืบทอดมาจากครอบครัวด้วยเช่นกัน สาเหตุของการเกิด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สิ่งที่ทำให้คุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ส่วนใหญ่มักมาจากปัจจัยด้านการใช้ชีวิตของตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี สารพิษ หรือฝุ่นควัน สิ่งเหล่านี้อาจเข้าไปสร้างความระคายเคืองแก่ปอด ส่งผลให้หลอดลม และถุงลมมีความยืดหยุ่นน้อยลง รับออกซิเจนได้ยากขึ้น และนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ในที่สุด 6 ความแตกต่างของหอบหืดกับปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1. อาการของโรคหอบหืดกำเริบจะมีระยะสั้น และสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ไม่นานหลังจากนั้น แต่สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติดังเดิมได้อีก 2. อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะค่อย ๆ มีระดับอาการที่รุนแรงขึ้น แต่โรคหอบหืดอาจเกิดอาการที่มีความรุนแรงได้ในทันที ตามสภาวะร่างกายของผู้ป่วย 3. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจมีน้ำมูกหรือเสมหะมากกว่า โรคหอบหืด 4. โรคหอบหืดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย […]


โรคหอบหืด

โรคหอบหืดจากการทำงาน ยิ่งทำงานกับสารเคมี ยิ่งต้องระวัง!

โรคหอบหืดจากการทำงาน เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านการประกอบอาชีพ หรือสภาวะแวดล้อมบริเวณที่ทำงานที่ต้องเจอเป็นประจำ แต่เราจะสามารถรับรู้ได้อย่างไรว่า อากาศที่เราสูดดมเข้าไประหว่างทำงานส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจของเราหรือไม่ และอาการอย่างไรบ้างที่เรียกว่า โรคหอบหืด วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมเช็กอาการของโรคหอบหืดจากการทำงานไปด้วยกัน เพื่อรับทราบความเสี่ยงของโรค และทำการป้องกันได้อย่างเหมาะสม โรคหอบหืดจากการทำงาน เกิดจากอะไร โรคหอบหืด จากการทำงาน หรือ โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma) เกิดจากการหายใจนำเอาควัน ฝุ่น ก๊าซ สารเคมี และขนสัตว์ต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย เช่น สารเคลือบเงาบรรจุภัณฑ์บัดกรีผสมเรซิ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) นิเกิลซัลเฟต (Nickel Sulphate) จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารพิษที่สร้างความระคายเคืองและอาการแพ้เหล่านี้ และกลายเป็นอาการของ โรคหอบหืด โดยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้ ที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคหอบหืด สัตวแพทย์ ช่างพ่นสี ช่างโลหะ ช่างทำผม ผู้ผลิตด้านการผลิตอาหารทั้งในรูปแบบแปรรูปและไม่แปรรูป ช่างไม้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก เกษตรกร ผู้ผลิตด้านสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวแล้ว หากคนใดมีความไวต่อการรับสารเคมีต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจทำให้คุณมีอาการแพ้ จนเป็น โรคหอบหืด ได้เช่นเดียวกัน อาการของโรคหอบหืดจากการทำงาน อาการของโรคหอบหืดจากการทำงาน อาจคล้ายกับอาการของ โรคหอบหืด ประเภทอื่น ๆ ดังนี้ หายใจไม่ออก […]


ไข้หวัด

คอแห้งเพราะเป็นหวัด สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาที่ควรรู้

เมื่อเป็นหวัดมักจะมีอาการต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น น้ำมูกไหล จาม ไอ เจ็บคอ มีไข้ นอกจากนั้น บางคนยังอาจมีอาการ คอแห้งเพราะเป็นหวัด ซึ่งอาจทำให้รู้สึกรำคาญอย่างมากด้วย อาการคอแห้งเพราะเป็นหวัด เกิดจากสาเหตุใด มีอาการ และวิธีรักษาจะทำอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีคำตอบในเรื่องนี้มาให้แล้วค่ะ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ คอแห้งเพราะเป็นหวัด อาการคอแห้งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ แต่อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมานั้นอาจแตกต่างกันไป ดังนั้น เราลองมาดูกันดีกว่าว่า คอแห้งเพราะเป็นหวัด และคอแห้งเพราะไข้หวัดใหญ่ นั้น มีอะไรบ้าง คอแห้งเพราะเป็นหวัด หวัดมีสาเหตุจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิดด้วยกัน และการติดเชื้อหวัดทำให้คุณรู้สึกคอแห้งได้ และเมื่อคุณมีอาการ คอแห้งเพราะเป็นหวัด ก็อาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา ดังนี้ น้ำมูกไหล จาม ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีไข้เล็กน้อย คอแห้งเพราะไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ เนื่องมาจากเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา แต่อาการของไข้หวัดใหญ่นั้นจะรุนแรงกว่าหวัดธรรมดา เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วคุณจะมีอาการคอแห้ง ทั้งยังอาจมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ไข้ หนาวสั่น ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล […]


ไข้หวัด

เป็นหวัดแล้วปากมีกลิ่น เรื่องแสนลำบากของคนเป็นไข้หวัด

กลิ่นปาก ถือเป็นปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่สามารถส่งผลให้คุณเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ เพราะปัญหากลิ่นปากมักทำให้คนเสียบุคลิกภาพ และเสียความมั่นใจเวลาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กลิ่นปากเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากไข้หวัด ว่าแต่ทำไม เป็นหวัดแล้วมีกลิ่นปาก และคุณจะจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้ว [embed-health-tool-bmi] เป็นหวัดแล้วปากมีกลิ่น เกิดจากสาเหตุใด Diane Osso ผู้อำนวยการโครงการสุขอนามัยทันตกรรมที่วิทยาเขต Aurora ของ Concorde, Colo กล่าวว่า ปากคือกระจกสะท้อนสุขภาพร่างกายโดยรวมของเรา เพราะเมื่อเราเกิดปัญหาสุขภาพ ถึงแม้จะไม่ใช่ในช่องปาก เช่น เมื่อเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ร่างกายของเราจะได้รับความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยทางทันตกรรม หรือสุขภาพช่องปากด้วยเช่นกัน เมื่อคุณรู้สึกอ่อนเพลีย ป่วย หรือฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ร่างกายมักจะแสดงสัญญาณบางอย่างออกมาให้เห็นผ่านทางสุขภาพช่องปาก สุขภาพผิว เป็นต้น ก่อนที่จะมีอาการป่วยตามมา ซึ่งสัญญาณที่พบบ่อย ได้แก่ เหงือกอักเสบ ผื่นแดง อาการบวมน้ำ เจ็บเหงือก ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ อาจทำให้คุณเจ็บปวด จนแปรงฟันได้ไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะการแปรงตามแนวเหงือก เมื่อแปรงฟันไม่สะอาด ย่อมส่งผลให้มีแบคทีเรียตกค้างในช่องปากมากเกินไป ซึ่งแบคทีเรียก็ถือเป็นสาเหตุเห็นของกลิ่นปากเช่นกัน ส่วนเหตุผลที่ เป็นหวัดแล้วปากมีกลิ่น นั่นก็เพราะน้ำมูกที่อุดตันรูจมูกตอนเป็นหวัด ทำให้คุณหายใจทางจมูกได้ลำบาก เลยต้องหายใจทางปากแทน […]


ไข้หวัด

ปากเปื่อยร้อนใน มีสาเหตุจากโรคไข้หวัดจริงหรือ

หลายคนอาจพบว่า เวลาตัวเองไม่สบาย เป็นหวัด มักจะมีแผลปากเปื่อยร้อนในเกิดขึ้นด้วย จนอาจทำให้สงสัยว่า แผลปากเปื่อยร้อนในมีสาเหตุมาจากโรคไข้หวัดใช่ไหม ปากเปื่อยร้อนในกับโรคไข้หวัดเกี่ยวข้องกันอย่างไร ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอจึงได้นำเรื่องเกี่ยวกับแผล ปากเปื่อยร้อนใน มาฝากกัน [embed-health-tool-bmi] ความเกี่ยวข้องระหว่าง ปากเปื่อยร้อนใน กับโรคไข้หวัด ความจริงแล้ว ปากเปื่อยร้อยใน หรือที่เรียกว่า “Fever Blisters” ไม่ได้เกิดจากโรคไข้หวัด แต่เกิดจากไวรัสเริม (Herpes) โดย แผลปากเปื่อยร้อนใน เกิดจากไวรัส HSV-1 ในขณะที่ไวรัส HSV-2 เป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ ความจริงแล้ว เกือบทุกคนมีไวรัส HSV-1 อยู่ในร่างกายตั้งแต่อายุ 10 ปี แต่ไม่ใช่ว่าไวรัส HSV-1 จะแสดงอาการในทุกคน หากคุณติดเชื้อไวรัส HSV-1 ครั้งแรก นอกจาก แผลปากเปื่อยร้อนใน คุณอาจจะพบอาการอื่น ๆ ดังนี้ ไข้ เจ็บคอ ปวดหัว อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองบวม หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก คุณอาจจะมีอาการคันบริเวณรอบ ๆ แผลประมาณ […]


โรคหอบหืด

น้ำผึ้งรักษาหอบหืด ความหวานจากธรรมชาติ ช่วยได้จริงหรือไม่

น้ำผึ้ง เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ บางคนยังใช้น้ำผึ้งสำหรับบรรเทาอาการไอและอาการเจ็บคออีกด้วย แต่ก็มีข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเชื่อว่า “น้ำผึ้งรักษาหอบหืด” ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่จะมาช่วยไขความกระจ่างว่าแท้จริงแล้ว น้ำผึ้งมีคุณสมบัติช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการหอบหืดหรือไม่ น้ำผึ้งรักษาหอบหืด ได้จริงหรือไม่ น้ำผึ้ง ถูกใช้เป็นยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามธรรมชาติมานานหลายปี ด้วยคุณสมบัติที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต่อสู้กับการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย และมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญน้ำผึ้งมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยหอบหืด ตรงที่มีส่วนช่วยควบคุมอาการไอ น้ำผึ้งยังช่วยเพิ่มการผลิตน้ำลาย ซึ่งมีส่วนช่วยหล่อลื่นทางเดินหายใจ และช่วยลดอาการระคายเคืองในลำคอ นอกจากนี้ยังช่วยระงับอาการไอในตอนกลางคืน น้ำผึ้ง มีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุดสำหรับ โรคหอบหืดในเวลากลางคืน เพราะช่วยลดอาการไอและอาการแน่นหน้าอก การศึกษาปี 2555 ในเด็กอายุ 1-5 ปี จำนวน 300 คนที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โดยนักวิจัยให้ น้ำผึ้งจากผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผึ้งจากต้นยูคาลิปตัส และน้ำผึ้งจากพืชตระกูล Labiatae ส่วนคนอื่น ๆ ได้รับยาหลอก จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับน้ำผึ้ง มีส่วนจะช่วยบรรเทาอาการไอในตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ในปี 2555 ได้ทำการศึกษา ผลการทดลองทางคลินิก […]


โรคทางเดินหายใจ

หายใจไม่ออก สาเหตุ และวิธีทำให้หายใจสะดวกขึ้น

หายใจไม่ออก เป็นปัญหาระบบทางเดินหายใจที่มักเกิดขึ้นเวลาเหนื่อยมาก ๆ หรืออยู่ในบริเวณที่ไม่เอื้อต่อการหายใจ เช่น สถานที่แคบ สถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทน้อย อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สาเหตุอาจแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจมีอาการหายใจไม่ออกเพราะเหนื่อยจากการออกกำลังกาย ขณะที่บางคนอาจหายใจไม่ออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหอบหืด อย่างไรก็ตาม หากรู้วิธีรับมือที่ถูกต้อง อาจบรรเทาอาการหายใจไม่ออก และช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นได้ [embed-health-tool-heart-rate] หายใจไม่ออก เกิดจากอะไร อาการหายใจไม่ออก คือ ภาวะทางสุขภาพที่ทำให้หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก หายใจได้น้อย ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่อาการวิตกกังวล ไข้หวัด ความเครียด การออกกำลังกาย รวมถึงอาการสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้ อาการทางสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคหอบหืด ปอดอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน อาการทางสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีบรรเทาอาการหายใจไม่ออก วิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่ออก และช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นได้ หายใจออกทางปาก หากมีอาการหายใจไม่ออก อาจลองหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก วิธีนี้จะช่วยควบคุมการหายใจให้ถี่ขึ้นหรือช้าลงได้ตามต้องการ  วิธีทำ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอและไหล่ ปิดปากไว้ และหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ 2 ครั้ง ห่อปากคล้ายกำลังผิวปาก ค่อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน