backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer)


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/07/2021

มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer)

โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer) เป็นระยะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ผิวหนัง ตับ สมอง

คำจำกัดความ

มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 คืออะไร

โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 (Stage 4 Breast Cancer) เป็นระยะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ผิวหนัง ตับ หรือสมอง

หากคนเป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 นั่นหมายความว่า เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ระยะของมะเร็งมีตั้งแต่ 1-4 และบ่งบอกถึงขอบเขตของโรค แพทย์อาจอ้างถึงระยะที่ 4 ว่า เป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือระยะแพร่กระจาย

การรักษาระยะที่ 4 ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถลดขนาดมะเร็ง ซึ่งมักจะทำให้มะเร็งลุกลามช้าลง ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ผู้ป่วย โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 อาจมีชีวิตอยู่ได้นนหลายปี แต่โดยปกติแล้วอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 พบบ่อยเพียงใด

โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

ผู้ที่เป็น โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 อาจพบกับอาการบางอย่างที่เฉพาะเจาะจงกับเต้านม เช่นเดียวกับอาการอื่น ๆ ที่มีผลต่อร่างกาย อาการที่เกี่ยวข้องกับเต้านม ได้แก่

  • ก้อน
  • ผิวเป็นหลุ่ม หรือผิวที่ดูเหมือนเปลือกส้ม
  • การเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น แบน ตำแหน่งเปลี่ยน มีรอยบุ๋ม แดง บวม และรู้สึกร้อน

สำหรับอาการอื่น ๆ ที่อาจปรากฏทั่วร่างกาย ได้แก่

เมื่อเซลล์มะเร็งเต้านมเคลื่อนไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เซลล์เหล่านี้จะยังคงเป็นเซลล์มะเร็งเต้านม ตัวอย่างเช่น มะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายไปที่ปอด ก็ยังคงเป็นมะเร็งเต้านมไม่ใช่มะเร็งปอด ใน โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในกระบวนการที่เรียกว่า “การแพร่กระจาย” ก็อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับผล

กระทบ นอกจากนั้น ในการศึกษาหนึ่งคนที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 รายงานว่า จะมีอาการหงุดหงิดซึ่งมีผลมาจากอาการที่จำกัดกิจกรรมของตัวเอง อาการเหล่านี้รวมถึงภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ปัญหาการนอนหลับ ความเหนื่อยล้า และความเศร้า

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ถ้าคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น คุณนัดหมายกับคุณหมอ การคัดกรองจากผู้ที่เชื่อถือได้เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการตรวจจับและรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น การคัดกรองจะเกี่ยวข้องกับ

การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากบุคคลนั้นมีการกลายพันทางพันธุกรรมบางอย่าง มีประวัติส่วนตัว หรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 คุณควรแจ้งให้คุณหมอทราบโดยเร็วที่สุด หากคุณมีอาการใหม่ ๆ เกิดขึ้น

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

คุณหมอทราบดีว่า มะเร็งเต้านมจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เต้านมบางส่วนเริ่มเติบโตผิดปกติ เซลล์เหล่านี้แบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์ที่มีสุขภาพดี และมันจะสะสมต่อเนื่องกันจนเป็นก้อน ซึ่งเซลล์อาจแพร่กระจายผ่านเต้านมไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักเริ่มจากเซลล์ในท่อสร้างน้ำนม ต่อมน้ำนม หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ภายในเต้านม

นักวิจัยได้ระบุว่า ปัจจัยด้านฮอร์โมน วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ทำไมบางคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงจึงเป็นมะเร็ง แต่คนอื่น ๆ ที่มีปัจจัยเสี่ยงถึงไม่เป็นมะเร็ง อาจเป็นไปได้ว่า มะเร็งเต้านมอาจเกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของการสร้างพันธุกรรมของคุณ และสภาพแวดล้อมของคุณ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

หากคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมและปัจจัยอื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ อะไรก็ตามที่สามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมจะเรียกว่า “ปัจจัยเสี่ยง” แต่การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเป็นมะเร็ง และการไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้น คุณควรคุยกับคุณหมอหากคิดว่าคุณอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนั้นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้

  • ประวัติส่วนตัวของมะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมและไม่แพร่กระจาย (Ductal Carcinoma In Situ หรือ DCIS) หรือมะเร็งที่เกิดในต่อมน้ำนมและมะเร็งก็อยู่ต่อมไม่แพร่กระจายไปที่อื่น (Lobular Carcinoma In Situ หรือ LCIS)
  • ประวัติส่วนตัวของโรคเต้านมที่ไม่เปปั็นอันตราย (ไม่ใช่มะเร็ง)
  • ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในญาติคนแรก เช่น แม่ ลูกสาว หรือน้องสาว
  • การเปลี่ยนแปลงของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 ที่สืบทอดมา หรือในยีนอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
  • เนื้อเยื่อเต้านมที่หนาแน่นบนแมมโมแกรม (Mammogram)
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อเต้านมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างขึ้น อาจเกิดจาก
  • มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ตั้งครรภ์ครั้งแรกตอนอายุมาก หรือไม่เคยคลอดบุตร
  • เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • การใช้ฮอร์โมน เช่น เอสโตเจนร่วมกับโปรเจสติน (Progestin) สำหรับอาการวัยหมดประจำเดือน
  • การรักษาด้วยการฉายรรังสีที่เต้านมหรือหน้าอก
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • โรคอ้วน
  • อายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของมะเร็งส่วนใหญ่ ดังนั้น โอกาสในการเป็นมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

    ในการวินิจฉัย โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 มีการทดสอบและขั้นตอน ดังต่อไปนี้

    • การตรวจเต้านม คุณหมอจะตรวจเต้านมและต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อตรวจดูก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่น ๆ
    • แมมโมแกรม (Mammogram) แมมโมแกรม คือ การเอกซเรย์เต้านม ซึ่งมักใช้ในการคัดกรองมะเร็งเต้านม หากตรวจพบความผิดปกติในการตรวจคัดกรอง คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจแมมโมแกรม เพื่อประเมินความผิดปกติเพิ่มเติม
    • อัลตราซาวด์เต้านม อัลตราซาวด์ คือ การใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของโครงสร้างที่อยู่ลึกเข้าไปในร่างกาย คุณหมออาจใช้อัลตราซาวด์เพื่อตรวจสอบว่าก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ที่เต้านมเป็นก้อนแข็งหรือถุงน้ำที่เต็มไปด้วยของเหลว
    • การตรวจชิ้นเนื้อเพื่อทำการทดสอบ การตรวจชิ้นเนื้อเป็นวิธีเดียวที่ให้ความชัดเจนในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม ในระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อ คุณหมอจะใช้อุปกรณ์เฉพาะทางในการดึงแกนของเนื้อเยื่อออกจากบริเวณที่น่าสงสัย บ่อยครั้งที่โลหะขนาดเล็กจะถูกทิ้งไว้ภายในเต้านม เพื่อให้สามารถระบุพื้นที่ได้ง่ายในการทดสอบด้วยการเอกซเรย์ในอนาคต

    ตัวอย่างชิ้นเนื้อจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการวิเคราะห์ โดยผู้เชี่ยวชาญจะระบุว่า เซลล์นั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ตัวอย่างชิ้นเนื้อ เพื่อกำหนดชนิดของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระดับของโรคมะเร็งเต้านม และวิเคราะห์ว่าเซลล์มะเร็งนั้นมีตัวรับฮออร์โมนหรือตัวรับอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อทางเลือกในการรักษาของคุณหรือไม่

  • การถ่ายภาพเต้านมด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เครื่อง MRI ใช้แม่เหล็กและคลื่นวิทยุ เพื่อสร้างภาพภายในเต้านมของคุณ ก่อนตรวจด้วยเครื่อง MRI เต้านมคุณจะได้รับการฉีดย้อมสี ซึ่งไม่เหมือนกับการทดสอบภาพประเภทอื่น ๆ เนื่องจาก MRI ไม่ได้ใช้รังสีในการสร้างภาพ
  • นอกจากนั้น คุณหมอยังอาจใช้การทดสอบและขั้นตอนอื่น ๆ ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณด้วย

    การรักษา โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

    สำหรับการรักษา โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 อาจรวมถึงการผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด หากคุณหมอเชื่อว่า โรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4 จะเป็นระยะสุดท้าย คุณหมอจะมุ่งเน้นไปที่การพยายามบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออึดอัด เพื่อช่วยให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    หากเนื้องอกของโรคมะเร็งเต้านมเป็นตัวรับฮอร์โมนที่เป็นบวก (Hormone Receptor-positive) คุณหมออาจแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดจะรวมถึงการใช้ทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) อะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์ (Aromatase Inhibitors) และการรักษาอื่น ๆ เพื่อลดการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการเติบโตของโรคมะเร็งเต้านม ในบางกรณี คุณหมออาจผ่าตัดเอารังไข่ออก เพื่อลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย สำหรับการบำบัดแบบกำหนดเป้าหมายอื่น ๆ จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยในการจัดการกับเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้แก่

    • สารภูมิต้านทานโมโนโคลน (Monoclonal Antibody)
    • สารยับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine Kinases)
    • สารยับยั้งไซคลินดีเพนเดนท์ไคเนส (Cyclin-dependent Kinase)
    • สารยับยั้ง PARP

    การรักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายของกระดูก อาจรวมถึงยากลุ่มไบฟอสโฟเนตส์ (Bisphosphonates) หรือยาดีโนซูแมบ (Denosumab) เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือมะเร็งเต้านมในระยะที่ 4

    แม้ว่ามะเร็งในระยะนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ยังสามารถรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยการรักษาและการดูแลอย่างสม่ำเสมอ แจ้งให้คุณหมอทราบเกี่ยวกับอาการใหม่ ๆ หรือความรู้สึกไม่สบาย เพื่อให้คุณหมอช่วยจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น การใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งระยะที่ 4 อาจทำให้คุณรู้สึกกังวลและเหงาได้เช่นกัน การติดต่อกับผู้คนที่เข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังประสบอยู่ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยคุณได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 14/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา